เขตพื้นที่การศึกษา (Educational Service Area) เป็นระบบการจัดแบ่งเขตพื้นที่การศึกษาการปกครองที่จัดแบ่งโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อจัดระบบและกระจายอำนาจการจัดการศึกษาในประเทศไทยให้ครอบคลุมมากขึ้น[1] เดิมมีสำนักงานประจำแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ใช้ชื่อว่า "สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ..." (สพท.) และต่อมาได้มีการแบ่งเขตพื้นที่การศึกษาออกเป็น 2 ระดับ คือ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา[2] โดยจัดแบ่งเขตพื้นที่การศึกษา ดังนี้[3]

ศึกษาธิการเขต (พ.ศ. 2516–2520) และเขตการศึกษา (พ.ศ. 2520–2546)

รัฐบาลได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาแบ่งท้องที่ของกระทรวงศึกษาธิการออกเป็นเขต พ.ศ. 2516 ในรัฐบาลของจอมพลถนอม กิตติขจร เพื่อแบ่งเขตพื้นที่ในการบริหารการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการออกเป็น 12 เขต[4] เรียกว่า "ศึกษาธิการเขต" ตั้งแต่เขต 1 ถึงเขต 12 ในอีกสี่ปีถัดมา รัฐบาลของธานินทร์ กรัยวิเชียรได้แยกกรุงเทพมหานครออกจากศึกษาธิการเขต 1 เนื่องจากมีโรงเรียนเป็นจำนวนมาก และเปลี่ยนชื่อเรียกจาก "ศึกษาธิการเขต" เป็น "เขตการศึกษา"[5] ทำให้มีเขตการศึกษาเพิ่มเป็น 13 เขต โดยแต่ละเขตมีพื้นที่บริหารราชการดังนี้ (ชื่อจังหวัดที่แสดงเป็นตัวเอนหมายถึงจังหวัดที่จัดตั้งขึ้นภายหลังจากพระราชกฤษฎีกามีผลบังคับใช้)

หลังจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2546–ปัจจุบัน)

ในรัฐบาลของทักษิณ ชินวัตร ได้มีการปรับปรุงรูปแบบการบริหารราชการในกระทรวงศึกษาธิการเพื่อลดความซ้ำซ้อน โดยออกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 ซึ่งเนื้อหาส่วนหนึ่งของพระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดให้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพื่อรับผิดชอบอำนาจหน้าที่เดิมของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กรมสามัญศึกษา กรมวิชาการ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด และสำนักงานศึกษาธิการอำเภอ[6] และกระทรวงศึกษาธิการได้อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวออกประกาศแบ่งเขตพื้นที่การศึกษาจำนวน 175 เขต[7] และมีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) บริหารงานในแต่ละเขต ซึ่งในเวลาต่อมาได้มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการอีก 2 ฉบับกำหนดเขตพื้นที่การศึกษาเพิ่มเติมใน 10 จังหวัด จังหวัดละ 1 เขตได้แก่นราธิวาส ปัตตานี ยะลา[8] กาญจนบุรี เชียงใหม่ ปราจีนบุรี พัทลุง เลย มหาสารคาม และอุทัยธานี[9] จำนวนเขตพื้นที่การศึกษาจึงเพิ่มขึ้นเป็น 185 เขต

ต่อมาใน พ.ศ. 2553 รัฐบาลของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้แก้ไขพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวโดยให้แยกการบริหารงานสถานศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาออกจากกัน[10] กระทรวงศึกษาธิการได้ออกประกาศเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่การศึกษาเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ยุบรวมเขตพื้นที่การศึกษาของกรุงเทพมหานครทั้ง 3 เขตรวมกันเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร[11] และจัดตั้งเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขึ้น 42 เขต[12] โดยแยกโรงเรียนที่สอนเฉพาะระดับมัธยมศึกษาไปสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ส่วนโรงเรียนอื่นที่เหลือให้สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา การบริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาเปลี่ยนแปลงอีกครั้งใน พ.ศ. 2564 ในสมัยที่ณัฏฐพล ทีปสุวรรณดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยเพิ่มจำนวนเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจากเดิม 42 เขตเป็น 62 เขต[13]

การเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่การศึกษาในกรุงเทพมหานคร

ท้องที่บริหารการศึกษาในกรุงเทพมหานครตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 แบ่งออกเป็น 3 เขต โดยเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ครอบคลุมเขต 17 เขตในฝั่งพระนครได้แก่คลองเตย ดินแดง ดุสิต บางคอแหลม บางซื่อ บางนา บางรัก ปทุมวัน ป้อมปราบศัตรูพ่าย พญาไท พระโขนง พระนคร ยานนาวา ราชเทวี วัฒนา สัมพันธวงศ์ และสาทร เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ครอบคลุมอีก 18 เขตที่เหลือในฝั่งพระนคร ในขณะที่ 15 เขตในฝั่งธนบุรีอยู่ในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3[7] อย่างไรก็ตาม หลังจากแก้ไขพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวใน พ.ศ. 2553 เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานครทั้ง 3 เขตถูกยุบรวมกันเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) กรุงเทพมหานคร มีอำนาจครอบคลุมทั้ง 50 เขต[11] ในขณะที่โรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครถูกโอนไปสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) โดยพื้นที่กรุงเทพมหานครถูกแบ่งออกเป็น 2 เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ได้แก่ สพม.1 และ สพม.2 พื้นที่ของ สพม.1 ประกอบด้วยเขตทุกเขตในฝั่งธนบุรีรวมกับอีก 8 เขตในฝั่งพระนครได้แก่ดุสิต บางซื่อ ปทุมวัน ป้อมปราบศัตรูพ่าย พญาไท พระนคร ราชเทวี และสัมพันธวงศ์ ส่วนอีก 27 เขตในฝั่งพระนครอยู่ในพื้นที่ของ สพม.2[12] ก่อนที่ใน พ.ศ. 2564 เมื่อมีการจัดแบ่งเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาใหม่จาก 42 เป็น 62 เขต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานครทั้งสองแห่งได้ใช้ชื่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2[13]

แผนที่แสดงเขตพื้นที่การศึกษาในกรุงเทพมหานคร
ตั้งแต่พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการมีผลบังคับใช้
 
สพท.กรุงเทพมหานคร เขต 1-3
(พ.ศ. 2546–2553)
สพท.กรุงเทพมหานคร เขต 1-3
(พ.ศ. 2546–2553) 
 
สพป.กรุงเทพมหานคร
(พ.ศ. 2553–ปัจจุบัน)
สพป.กรุงเทพมหานคร
(พ.ศ. 2553–ปัจจุบัน) 
 
สพม.1 และสพม.2
(พ.ศ. 2553–2564)
สพม.กรุงเทพมหานคร เขต 1 และเขต 2 (พ.ศ. 2564–ปัจจุบัน)
สพม.1 และสพม.2
(พ.ศ. 2553–2564)
สพม.กรุงเทพมหานคร เขต 1 และเขต 2 (พ.ศ. 2564–ปัจจุบัน) 

การเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดหนองคายและจังหวัดบึงกาฬ

จังหวัดบึงกาฬจัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2554 แยกตัวออกจากจังหวัดหนองคาย ซึ่งก่อนที่จะมีการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬนั้น จังหวัดหนองคายมีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 3 แห่ง ได้แก่ สพป.หนองคาย เขต 1 สพป.หนองคาย เขต 2 และ สพป.หนองคาย เขต 3 ซึ่งพื้นที่จังหวัดบึงกาฬที่จัดตั้งขึ้นใหม่นั้นครอบคลุมพื้นที่ 6 อำเภอของ สพป.หนองคาย เขต 3 เดิมและอีก 2 อำเภอในพื้นที่ของ สพป.หนองคาย เขต 2 ได้แก่อำเภอโซ่พิสัยและอำเภอปากคาด หลังจากจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬแล้ว กระทรวงศึกษาธิการจึงมีประกาศให้ทุกอำเภอในจังหวัดบึงกาฬอยู่ในพื้นที่ของ สพป.บึงกาฬ ยกเลิก สพป.หนองคาย เขต 3 และให้ สพป.หนองคาย เขต 2 มีพื้นที่ครอบคลุมสามอำเภอเดิมที่เหลือได้แก่อำเภอโพนพิสัย อำเภอเฝ้าไร่ และอำเภอรัตนวาปี[14] ส่วนเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานั้น ให้ สพม.21 ซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมจังหวัดหนองคายเดิมมีอำนาจครอบคลุมจังหวัดบึงกาฬด้วย[15] จนกระทั่ง พ.ศ. 2564 เมื่อกระทรวงศึกษาธิการออกประกาศแบ่งเขตพื้นที่การศึกษาใหม่ พื้นที่ สพม.21 เดิมได้แยกออกเป็นสองเขตพื้นที่ตามเขตจังหวัด ได้แก่ สพม.หนองคายและ สพม.บึงกาฬ[13]

แผนที่แสดงเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดหนองคายและจังหวัดบึงกาฬ
ก่อนและหลังตั้งจังหวัดบึงกาฬ
 
ก่อนตั้งจังหวัดบึงกาฬ
ก่อนตั้งจังหวัดบึงกาฬ 
 
หลังตั้งจังหวัดบึงกาฬ (แสดงเฉพาะเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา)
หลังตั้งจังหวัดบึงกาฬ (แสดงเฉพาะเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา) 

เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

อำเภอที่เป็นที่ตั้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจะแสดงด้วยตัวหนา ในขณะที่จังหวัดที่มีเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขตเดียวครอบคลุมทั้งจังหวัด ได้แก่จังหวัดกระบี่ ชัยนาท ตราด นครนายก บึงกาฬ พังงา ภูเก็ต มุกดาหาร ระนอง สตูล สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สิงห์บุรี อ่างทอง และอำนาจเจริญ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจะตั้งอยู่ในอำเภอเมืองของจังหวัดนั้น ๆ ส่วนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานครตั้งอยู่ที่เขตราชเทวี

ภาคเหนือ

แผนที่แสดงเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคเหนือ
 
จังหวัดเชียงราย (4 เขต)
 
จังหวัดเชียงใหม่ (6 เขต)
 
จังหวัดน่าน (2 เขต)
 
จังหวัดพะเยา (2 เขต)
 
จังหวัดแพร่ (2 เขต)
 
จังหวัดแม่ฮ่องสอน (2 เขต)
 
จังหวัดลำปาง (3 เขต)
 
จังหวัดลำพูน (2 เขต)
 
จังหวัดอุตรดิตถ์ (2 เขต)

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แผนที่แสดงเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
 
จังหวัดกาฬสินธุ์ (3 เขต)
 
จังหวัดขอนแก่น (5 เขต)
 
จังหวัดชัยภูมิ (3 เขต)
 
จังหวัดนครพนม (2 เขต)
 
จังหวัดนครราชสีมา (7 เขต)
 
จังหวัดบึงกาฬ (1 เขต)
 
จังหวัดบุรีรัมย์ (4 เขต)
 
จังหวัดมหาสารคาม (3 เขต)
 
จังหวัดมุกดาหาร (1 เขต)
 
จังหวัดยโสธร (2 เขต)
 
จังหวัดร้อยเอ็ด (3 เขต)
 
จังหวัดเลย (2 เขต)
 
จังหวัดศรีสะเกษ (4 เขต)
 
จังหวัดสกลนคร (3 เขต)
 
จังหวัดสุรินทร์ (3 เขต)
 
จังหวัดหนองคาย (2 เขต)
 
จังหวัดหนองบัวลำภู (2 เขต)
 
จังหวัดอำนาจเจริญ (1 เขต)
 
จังหวัดอุดรธานี (4 เขต)
 
จังหวัดอุบลราชธานี (5 เขต)

ภาคตะวันตก

แผนที่แสดงเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันตก
 
จังหวัดกาญจนบุรี (4 เขต)
 
จังหวัดตาก (2 เขต)
 
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (2 เขต)
 
จังหวัดเพชรบุรี (2 เขต)
 
จังหวัดราชบุรี (2 เขต)

ภาคตะวันออก

แผนที่แสดงเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออก
 
จังหวัดจันทบุรี (2 เขต)
 
จังหวัดฉะเชิงเทรา (2 เขต)
 
จังหวัดชลบุรี (3 เขต)
 
จังหวัดตราด (1 เขต)
 
จังหวัดปราจีนบุรี (2 เขต)
 
จังหวัดระยอง (2 เขต)
 
จังหวัดสระแก้ว (2 เขต)

ภาคกลาง

แผนที่แสดงเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคกลาง
 
กรุงเทพมหานคร (1 เขต)
 
จังหวัดกำแพงเพชร (2 เขต)
 
จังหวัดชัยนาท (1 เขต)
 
จังหวัดนครนายก (1 เขต)
 
จังหวัดนครปฐม (2 เขต)
 
จังหวัดนครสวรรค์ (3 เขต)
 
จังหวัดนนทบุรี (2 เขต)
 
จังหวัดปทุมธานี (2 เขต)
 
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (2 เขต)
 
จังหวัดพิจิตร (2 เขต)
 
จังหวัดพิษณุโลก (3 เขต)
 
จังหวัดเพชรบูรณ์ (3 เขต)
 
จังหวัดลพบุรี (2 เขต)
 
จังหวัดสมุทรปราการ (2 เขต)
 
จังหวัดสมุทรสงคราม (1 เขต)
 
จังหวัดสมุทรสาคร (1 เขต)
 
จังหวัดสระบุรี (2 เขต)
 
จังหวัดสิงห์บุรี (1 เขต)
 
จังหวัดสุโขทัย (2 เขต)
 
จังหวัดสุพรรณบุรี (3 เขต)
 
จังหวัดอ่างทอง (1 เขต)
 
จังหวัดอุทัยธานี (2 เขต)

ภาคใต้

แผนที่แสดงเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคใต้
 
จังหวัดกระบี่ (1 เขต)
 
จังหวัดชุมพร (2 เขต)
 
จังหวัดตรัง (2 เขต)
 
จังหวัดนครศรีธรรมราช (4 เขต)
 
จังหวัดนราธิวาส (3 เขต)
 
จังหวัดปัตตานี (3 เขต)
 
จังหวัดพังงา (1 เขต)
 
จังหวัดพัทลุง (2 เขต)
 
จังหวัดภูเก็ต (1 เขต)
 
จังหวัดยะลา (3 เขต)
 
จังหวัดระนอง (1 เขต)
 
จังหวัดสงขลา (3 เขต)
 
จังหวัดสตูล (1 เขต)
 
จังหวัดสุราษฎร์ธานี (3 เขต)

เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

 
แผนที่แสดงเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 และเขต 2

เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553 โดยในระยะแรกมีจำนวน 42 เขต[12] ต่อมาได้มีการปรับปรุงโดยเพิ่มจำนวนเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจาก 42 เป็น 62 เขต[13]

42 เขต (พ.ศ. 2553–2564)

 
แผนที่แสดงเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 ถึงเขต 42 (พ.ศ. 2553–2564)

หมายเลขเขตในส่วนนี้ถือตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการลงวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553[12] โดยจังหวัดที่เป็นที่ตั้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาที่ครอบคลุมมากกว่า 1 จังหวัด และเขตที่เป็นที่ตั้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 และ 2 จะแสดงเป็นตัวหนา

62 เขต (ตั้งแต่ พ.ศ. 2564)

 
แผนที่แสดงเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 62 เขตในส่วนภูมิภาคตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2564

ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการลงวันที่ 28 มกราคม 2564[13] เขตพื้นที่การศึกษาเพิ่มจำนวนจาก 42 เป็น 62 เขต และชื่อของเขตพื้นที่เปลี่ยนจากเดิมที่ใช้หมายเลข 1 ถึง 42 เป็นชื่อจังหวัดที่พื้นที่ของเขตนั้น ๆ ครอบคลุม ในกรณีที่เขตพื้นที่การศึกษาครอบคลุมมากกว่า 1 จังหวัด ชื่อเขตจะขึ้นต้นด้วยชื่อจังหวัดที่ตั้งสำนักงานเขต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาที่จัดตั้งขึ้นใหม่โดยส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในอำเภอเมืองของจังหวัดที่ตั้งสำนักงาน (รวมทั้ง สพม.พระนครศรีอยุธยาซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอพระนครศรีอยุธยา) ยกเว้น สพม.นครปฐม (อำเภอนครชัยศรี) สพม.น่าน (อำเภอภูเพียง) และ สพม.พัทลุง (อำเภอควนขนุน) โดยในประกาศฉบับ พ.ศ. 2564 เปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจากเดิมดังนี้

  • สพม.กรุงเทพมหานคร เขต 1 สพม.1 เดิม
  • สพม.กรุงเทพมหานคร เขต 2 สพม.2 เดิม
  • สพม.นนทบุรี แยกมาจาก สพม.3 เดิม
  • สพม.พระนครศรีอยุธยา แยกมาจาก สพม.3 เดิม
  • สพม.ปทุมธานี แยกมาจาก สพม.4 เดิม
  • สพม.สระบุรี แยกมาจาก สพม.4 เดิม
  • สพม.ลพบุรี แยกมาจาก สพม.5 เดิม
  • สพม.สิงห์บุรี อ่างทอง แยกมาจาก สพม.5 เดิม
  • สพม.อุทัยธานี ชัยนาท แยกจาก สพม.42 และสพม.5 เดิม
  • สพม.ฉะเชิงเทรา แยกมาจาก สพม.6 เดิม
  • สพม.สมุทรปราการ แยกมาจาก สพม.6 เดิม
  • สพม.ปราจีนบุรี นครนายก แยกมาจาก สพม.7 เดิม
  • สพม.สระแก้ว แยกมาจาก สพม.7 เดิม
  • สพม.กาญจนบุรี แยกมาจาก สพม.8 เดิม
  • สพม.ราชบุรี แยกมาจาก สพม.8 เดิม
  • สพม.นครปฐม แยกมาจาก สพม.9 เดิม
  • สพม.สุพรรณบุรี แยกมาจาก สพม.9 เดิม
  • สพม.ประจวบคีรีขันธ์ แยกมาจาก สพม.10 เดิม
  • สพม.เพชรบุรี แยกมาจาก สพม.10 เดิม
  • สพม.สมุทรสาคร สมุทรสงคราม แยกมาจาก สพม.10 เดิม
  • สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร สพม.11 เดิม
  • สพม.นครศรีธรรมราช แยกมาจาก สพม.12 เดิม
  • สพม.พัทลุง แยกมาจาก สพม.12 เดิม
  • สพม.ตรัง กระบี่ สพม.13 เดิม
  • สพม.พังงา ภูเก็ต ระนอง สพม.14 เดิม
  • สพม.นราธิวาส แยกมาจาก สพม.15 เดิม
  • สพม.ปัตตานี แยกมาจาก สพม.15 เดิม
  • สพม. ยะลา แยกมาจาก สพม.15 เดิม
  • สพม.สงขลา สตูล สพม.16 เดิม
  • สพม.จันทบุรี ตราด สพม.17 เดิม
  • สพม.ชลบุรี ระยอง สพม.18 เดิม
  • สพม.เลย หนองบัวลำภู สพม.19 เดิม
  • สพม.อุดรธานี สพม.20 เดิม
  • สพม.บึงกาฬ แยกมาจาก สพม.21 เดิม
  • สพม.หนองคาย แยกมาจาก สพม.21 เดิม
  • สพม.นครพนม แยกมาจาก สพม.22 เดิม
  • สพม.มุกดาหาร แยกมาจาก สพม.22 เดิม
  • สพม.สกลนคร สพม.23 เดิม
  • สพม.กาฬสินธุ์ สพม.24 เดิม
  • สพม.ขอนแก่น สพม.25 เดิม
  • สพม.มหาสารคาม สพม.26 เดิม
  • สพม.ร้อยเอ็ด สพม.27 เดิม
  • สพม.ศรีสะเกษ ยโสธร สพม.28 เดิม
  • สพม.อุบลราชธานี อำนาจเจริญ สพม.29 เดิม
  • สพม.ชัยภูมิ สพม.30 เดิม
  • สพม.นครราชสีมา สพม.31 เดิม
  • สพม.บุรีรัมย์ สพม.32 เดิม
  • สพม.สุรินทร์ สพม.33 เดิม
  • สพม.เชียงใหม่ แยกมาจาก สพม.34 เดิม
  • สพม.แม่ฮ่องสอน แยกมาจาก สพม.34 เดิม
  • สพม.ลำปาง ลำพูน สพม.35 เดิม
  • สพม.เชียงราย แยกมาจาก สพม.36 เดิม
  • สพม.พะเยา แยกมาจาก สพม.36 เดิม
  • สพม.แพร่ แยกมาจาก สพม.37 เดิม
  • สพม.น่าน แยกมาจาก สพม.37 เดิม
  • สพม.ตาก แยกมาจาก สพม.38 เดิม
  • สพม.สุโขทัย แยกมาจาก สพม.38 เดิม
  • สพม.พิษณุโลก อุตรดิตถ์ สพม.39 เดิม
  • สพม.เพชรบูรณ์ สพม.40 เดิม
  • สพม.นครสวรรค์ แยกมาจาก สพม.42 เดิม
  • สพม.กำแพงเพชร แยกมาจาก สพม.41 เดิม
  • สพม.พิจิตร แยกมาจาก สพม.41 เดิม

อ้างอิง

  1. "กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-07-02. สืบค้นเมื่อ 2010-07-29.
  2. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓
  3. http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1326194843&grpid=&catid=19&subcatid=1903
  4. "พระราชกฤษฎีกาแบ่งท้องที่ของกระทรวงศึกษาธิการออกเป็นเขต พ.ศ. 2516" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. 28 พฤษภาคม 2516. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  5. "พระราชกฤษฎีกาแบ่งท้องที่ของกระทรวงศึกษาธิการออกเป็นเขต พ.ศ. 2520" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. 18 มกราคม 2520. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  6. "พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. 6 กรกฎาคม 2546. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  7. 7.0 7.1 "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่การศึกษา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. 7 กรกฎาคม 2546. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-06-05. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  8. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ปรับปรุงแก้ไขการกำหนดเขตพื้นที่การศึกษา และกำหนดเขตพื้นที่การศึกษาเพิ่มเติม พ.ศ. 2550" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. 14 มีนาคม 2550. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  9. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ปรับปรุงแก้ไขการกำหนดเขตพื้นที่การศึกษา และกำหนดเขตพื้นที่การศึกษาเพิ่มเติม พ.ศ. 2551" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. 4 กุมภาพันธ์ 2551. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  10. "พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. 22 กรกฎาคม 2553. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  11. 11.0 11.1 "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การกำหนดและแก้ไขเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่การศึกษาเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. 18 สิงหาคม 2553. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การกำหนดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. 18 สิงหาคม 2553. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  13. 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 "การกำหนดและแก้ไขเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. 17 กุมภาพันธ์ 2564. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2564. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  14. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การกำหนดและแก้ไขเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. 26 สิงหาคม 2554. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  15. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การกำหนดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2554)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. 26 สิงหาคม 2554. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)