อำเภอเมืองสระแก้ว
เมืองสระแก้ว เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสระแก้ว
อำเภอเมืองสระแก้ว | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Mueang Sa Kaeo |
คำขวัญ: หลวงพ่อทองคู่เมือง ลือเลื่องน้ำตกปางสีดา ล้ำค่าธรรมชาติ แหล่งประวัติศาสตร์สระแก้ว-สระขวัญ สร้างสรรค์เกษตรอินทรีย์ | |
แผนที่จังหวัดสระแก้ว เน้นอำเภอเมืองสระแก้ว | |
พิกัด: 13°48′53″N 102°4′19″E / 13.81472°N 102.07194°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สระแก้ว |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 1,832.55 ตร.กม. (707.55 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 111,468 คน |
• ความหนาแน่น | 60.83 คน/ตร.กม. (157.5 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 27000 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 2701 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอเมืองสระแก้ว ถนนสุวรรณศร ตำบลสระแก้ว อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว 27000 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ประวัติ
แก้ชื่ออำเภอว่า "สระแก้ว" นั้นมีที่มาจากในท้องที่อำเภอมีสระน้ำโบราณอยู่ 2 สระ ได้แก่ "สระแก้ว" และ "สระขวัญ" ซึ่งตามประวัติของจังหวัดสระแก้ว สระน้ำทั้งสองนี้ถือว่ามีความสำคัญมาตั้งแต่ในอดีต เนื่องจากได้นำน้ำจากสระไปใช้ในพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา โดยถือว่าเป็นน้ำบริสุทธิ์และศักดิ์สิทธิ์ สระน้ำทั้งสองสระนี้เรียกกันติดปากว่า สระแก้ว-สระขวัญ
สระแก้วในอดีต (ประมาณ พ.ศ. 2452) มีฐานะเป็น กิ่งอำเภอสระแก้ว อยู่ภายใต้การปกครองของอำเภอเมืองกระบินทร์บุรี จังหวัดกระบินทร์บุรี ต่อมาใน พ.ศ. 2468 จังหวัดกระบินทร์บุรีถูกยุบรวมเข้ากับจังหวัดปราจิณบุรี กิ่งอำเภอสระแก้วจึงอยู่ภายใต้การปกครองของอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ต่อมาในปี พ.ศ. 2501 จึงได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเป็น อำเภอสระแก้ว และยกฐานะเป็น อำเภอเมืองสระแก้ว ในปี พ.ศ. 2536 ตามลำดับ
- วันที่ - 2452 ยกฐานะตำบลสระแก้ว อำเภอกระบินทร์บุรี ขึ้นเป็น กิ่งอำเภอสระแก้ว ขึ้นกับอำเภอกระบินทร์บุรี
- วันที่ 20 กันยายน 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลสระแก้ว ในท้องที่บางส่วนของตำบลสระแก้ว[1]
- วันที่ 23 กรกฎาคม 2501 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอสระแก้ว อำเภอกบินทร์บุรี เป็น อำเภอสระแก้ว[2]
- วันที่ 5 กันยายน 2515 ตั้งตำบลศาลาลำดวน แยกออกจากตำบลบ้านแก้ง[3]
- วันที่ 26 ตุลาคม 2519 ตั้งตำบลวังน้ำเย็น แยกออกจากตำบลเขาฉกรรจ์ ตั้งตำบลวังสมบูรณ์ แยกออกจากตำบลเขาฉกรรจ์ และตั้งตำบลตาหลังใน แยกออกจากตำบลเขาฉกรรจ์[4]
- วันที่ 30 พฤศจิกายน 2519 แยกพื้นที่ตำบลวังน้ำเย็น ตำบลวังสมบูรณ์ และตำบลตาหลังใน อำเภอสระแก้ว มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอวังน้ำเย็น ขึ้นกับอำเภอสระแก้ว[5]
- วันที่ 3 มิถุนายน 2523 จัดตั้งสุขาภิบาลวังน้ำเย็น ในท้องที่บางส่วนของตำบลวังน้ำเย็น[6]
- วันที่ 4 พฤษภาคม 2525 ตั้งตำบลสระขวัญ แยกออกจากตำบลสระแก้ว[7]
- วันที่ 31 มีนาคม 2526 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอวังน้ำเย็น อำเภอสระแก้ว เป็น อำเภอวังน้ำเย็น[8]
- วันที่ 30 สิงหาคม 2526 ตั้งตำบลหนองหว้า แยกออกจากตำบลเขาฉกรรจ์[9]
- วันที่ 23 ตุลาคม 2527 ตั้งตำบลพระเพลิง แยกออกจากตำบลเขาฉกรรจ์[10]
- วันที่ 21 ตุลาคม 2528 ตั้งตำบลหนองบอน แยกออกจากตำบลท่าแยก[11]
- วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2529 จัดตั้งนิคมสหกรณ์ ในท้องที่อำเภอสระแก้ว อำเภอวังน้ำเย็น อำเภอวัฒนานคร และกิ่งอำเภอคลองหาด[12]
- วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2533 จัดตั้งสุขาภิบาลเขาฉกรรจ์ ในท้องที่บางส่วนของตำบลเขาฉกรรจ์[13]
- วันที่ 30 กันยายน 2535 จัดตั้งสุขาภิบาลศาลาลำดวน ในท้องที่บางส่วนของตำบลศาลาลำดวน[14]
- วันที่ 26 เมษายน 2536 จัดตั้งสุขาภิบาลท่าเกษม ในท้องที่บางส่วนของตำบลท่าเกษม[15]
- วันที่ 2 กันยายน 2536 แยกพื้นที่อำเภอสระแก้ว อำเภอคลองหาด อำเภอตาพระยา อำเภอวังน้ำเย็น อำเภอวัฒนานคร และอำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี มาตั้งเป็น จังหวัดสระแก้ว และเปลี่ยนชื่ออำเภอสระแก้ว เป็นอำเภอเมืองสระแก้ว[16]
- วันที่ 8 พฤศจิกายน 2536 ตั้งตำบลเขาสามสิบ แยกออกจากตำบลเขาฉกรรจ์[17]
- วันที่ 26 พฤษภาคม 2537 แยกพื้นที่ตำบลเขาฉกรรจ์ ตำบลหนองหว้า ตำบลพระเพลิง และตำบลเขาสามสิบ อำเภอเมืองสระแก้ว มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอเขาฉกรรจ์ ขึ้นกับอำเภอเมืองสระแก้ว[18]
- วันที่ 8 ธันวาคม 2537 ยกฐานะจากสุขาภิบาลสระแก้ว เป็นเทศบาลเมืองสระแก้ว[19]
- วันที่ 26 ธันวาคม 2537 จัดตั้งศาลจังหวัดสระแก้ว[20]
- วันที่ 26 กันยายน 2540 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอเขาฉกรรจ์ อำเภอเมืองสระแก้ว เป็น อำเภอเขาฉกรรจ์[21]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลศาลาลำดวน และสุขาภิบาลท่าเกษม เป็นเทศบาลตำบลศาลาลำดวน และเทศบาลตำบลท่าเกษม ตามลำดับ
ภูมิศาสตร์
แก้ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอเมืองสระแก้วตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอครบุรี (จังหวัดนครราชสีมา)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอวัฒนานคร
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเขาฉกรรจ์
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอกบินทร์บุรีและอำเภอนาดี (จังหวัดปราจีนบุรี)
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอเมืองสระแก้วประกอบไปด้วย 8 ตำบล 129 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[22] |
---|---|---|---|---|
1. | สระแก้ว | Sa Kaeo | 18
|
20,586
|
2. | บ้านแก้ง | Ban Kaeng | 16
|
13,479
|
3. | ศาลาลำดวน | Sala Lamduan | 15
|
13,526
|
4. | โคกปี่ฆ้อง | Khok Pi Khong | 19
|
12,881
|
5. | ท่าแยก | Tha Yaek | 15
|
12,749
|
6. | ท่าเกษม | Tha Kasem | 13
|
14,236
|
7. | สระขวัญ | Sa Khwan | 21
|
16,517
|
8. | หนองบอน | Nong Bon | 12
|
7,571
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้อำเภอเมืองสระแก้วประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองสระแก้ว ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลสระแก้วและบางส่วนของตำบลท่าเกษม
- เทศบาลตำบลท่าเกษม ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลท่าเกษม
- เทศบาลตำบลศาลาลำดวน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลศาลาลำดวน
- องค์การบริหารส่วนตำบลสระแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสระแก้ว (นอกเขตเทศบาลเมืองสระแก้ว)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแก้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านแก้งทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลศาลาลำดวน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศาลาลำดวน (นอกเขตเทศบาลตำบลศาลาลำดวน)
- องค์การบริหารส่วนตำบลโคกปี่ฆ้อง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกปี่ฆ้องทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าแยก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าแยกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเกษม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าเกษม (นอกเขตเทศบาลเมืองสระแก้วและเทศบาลตำบลท่าเกษม)
- องค์การบริหารส่วนตำบลสระขวัญ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสระขวัญทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบอน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองบอนทั้งตำบล
การศึกษา
แก้- มัธยมศึกษา
- อุดมศึกษา
- วิทยาลัยชุมชนสระแก้ว
- มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ศูนย์สระแก้ว
- มหาวิทยาลัยปทุมธานี ศูนย์สระแก้ว ตั้งอยู่ที่โรงเรียนไฮเทค-เทคโนโลยี
- มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขต สระแก้ว
- ระดับอาชีวศึกษา
- โรงเรียนไฮเทค-เทคโนโลยี (สถาบันเอกชน ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าเกษม)
- โรงเรียนเทคโนโลยีสระแก้ว (สถาบันเอกชน ตั้งอยู่ที่ตำบลศาลาลำดวน)
การสาธารณสุข
แก้- โรงพยาบาลรัฐบาล 1 แห่ง
- สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 1 แห่ง
- สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ 1 แห่ง
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 21 แห่ง
แหล่งท่องเที่ยว
แก้- วัดสระแก้ว (พระอารามหลวง) เป็นวัดที่เก่าแก่ในตัวเมืองสระแก้ว เริ่มสร้างในปี พ.ศ. 2453 ระยะเวลาในการสร้างรวมแล้วประมาณ 13 ปี ตั้งอยู่ที่ เลขที่ ๑๒๒ ถนนสุวรรณศร ตำบลสระแก้ว เทศบาลเมืองสระแก้ว อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว บันเป็นวัดสระแก้ว ถือเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เดิมวัดสระแก้ว ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของวัดสระแก้วในปัจจุบัน ประมาณ ๕๐๐ เมตร โดยวัดสระแก้ว ตั้งอยู่ติดกับหนองน้ำด้านทิศตะวันออก โดยมีเนื้อที่ ๓ ไร่เศษ จึงถูกเรียกว่า“วัดหัวหนอง,วัดศาลานอก” (ปัจจุบันหนองน้ำดังกล่าวได้เป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว โดยสันนิษฐานว่า“วัดหัวหนอง” หรือ“วัดสระแก้ว”ในปัจจุบันได้สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๕๓ ถึงปี พ.ศ. ๒๔๖๖ วัดสระแก้วถือว่าเป็นวัดราษฎร์ ที่ได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๓ และได้รับการยกย่องเป็น วัดพัฒนาตัวอย่างดีเด่น สำนักเรียนดีเด่น เป็นโรงเรียนปริยัติธรรมของอำเภอเมือง ปัจจุบันเป็นศูนย์หลักสูตรประกาศนียบัตรบริหารกิจการคณะสงฆ์ ของมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย มีผู้เรียนที่เป็นพระสังฆาธิการจำนวน ๔๐ รูป เป็นศูนย์เปิดสอนการศึกษาสายสามัญของพระภิกษุในอำเภอเมืองอีกด้วย ด้านอาคารสถานที่ มีห้องโถงที่สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้มากกว่า ๒๐๐ คน และมีห้องน้ำสะอาด ปลอดภัยกลางใจเมืองสระแก้ว
- สระแก้ว-สระขวัญ ตั้งอยู่ในสวนสาธารณะสระแก้ว-สระขวัญ เชื่อว่าสระนี้เป็นสระที่ใช้ในพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาในสมัยกรุงธนบุรี
- อุทยานแห่งชาติปางสีดา เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 41 ของประเทศไทย และได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ
และสัตว์ป่ามากมายกว่า 300 ชนิด
- อ่างเก็บน้ำท่ากระบาก อ่างเก็บน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่มีทิวทัศน์ที่สวยงาม บรรยากาศร่มรื่น
- "'โรงเรียนกาสรกสิวิทย์'" เป็นโครงการพระราชดำริในมูลนิธิชัยพัฒนา ตั้งอยู่ที่ตำบลศาลาลำดวน อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว เมื่อวันจันทร์ที่ 28 มกราคม 2551 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ และได้พระราชทานชื่อว่า "โรงเรียนกาสรกสิวิทย์" โดยให้เป็นศูนย์การอบรมกระบือในการทำนา ทำการเกษตร และกิจกรรมต่างๆ และให้ความรู้แก่เกษตรกรที่สนใจจะใช้ประโยชน์จากกระบือในการประกอบอาชีพ รวมทั้งจัดทำแปลงสาธิตทางการเกษตรรูปแบบต่างๆ
- ศาลหลักเมืองจังหวัดสระแก้ว จัดสร้างตามแบบมาตรฐานของกองสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร รูปแบบเป็นปรางค์องค์ใหญ่กว้าง 6.60 เมตร สูง 19.10 เมตร และปรางค์ 4 ทิศโดยรอบ ภายในศาลประดิษฐานเสาหลักเมืองซึ่งเป็นไม้ชัยพฤกษ์ที่มีคุณลักษณะต้องตาม โบราณราชประเพณี ขนาดเส้นรอบวงที่โคนต้น 120 นิ้ว สูง 229 นิ้ว และแผ่นทองดวงเมืองที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจิมเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2539 และมีการประกอบพิธียกเสาหลักเมืองขึ้นประดิษฐานในศาลเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2539 ศาลหลักเมืองสระแก้วแห่งนี้เกิดจากความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจสร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่ง ความจงรักภักดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 9 และเป็นศูนย์รวมขวัญกำลังใจ ความสามัคคีในหมู่พสกนิกรชาวสระแก้ว
การเดินทางไปศาลหลักเมืองจังหวัดสระแก้ว ตั้งอยู่บนเส้นทางหลวงหมายเลข 33 จากตัวเมืองไปทางอำเภอวัฒนานครประมาณ 4 กิโลเมตร ทางซ้ายมือ ณ ปริมณฑลสวนกาญจนภิเษก ตำบลท่าเกษม
- อุทยานพุทธมณฑลสระแก้ว ฉลองพุทธยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 5 ธันวามหาราช และเป็นศูนย์รวมจิตใจสะท้อนความเป็นจังหวัดสระแก้ว
- ศาลเจ้าพ่อสระแก้ว ข้างสวนสาธารณะสระแก้ว-สระขวัญ
- รูปเหมือนสมเด็จฯพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี (พฺรหฺมรํสี) องค์ใหญ่ที่สุดในโลก วัดรีนิมิตร ต.บ้านแก้ง
- หลวงพ่อพระโลกธาตุหยกขาว เกพลิตาโพธิวิหาร เกพลิตาโพธิวิหาร” เป็นที่ประดิษฐาน “หลวงพ่อพระโลกธาตุหยกขาว” ซึ่งมีชื่อเป็นทางการว่า “พระพุทธรัตนสราบูรพาสิริ” อันมีความหมายว่า “พระพุทธรูปอันเป็นมิ่งมงคลแห่งเบื้องบูรพาของจังหวัดสระแก้ว” นับตั้งแต่วันที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓
- หอสมุดจังหวัดสระแก้ว หอสมุดจังหวัดสระแก้ว สร้างขึ้นตามนโยบายของนางอุไรวรรณ เทียนทอง เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ให้มีการจัดตั้งหอสมุดจังหวัดสระแก้วขึ้นเพื่อแหล่ง ค้นคว้าและเรียนรู้ตามอัธยาศัยของนักเรียนนักศึกษา และประชาชนทั่วไป ตลอดจนการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น จึงได้จัดสร้างหอสมุดจังหวัดสระแก้วขึ้น บนพื้นที่ ๑๐ ไร่ ใช้งบประมาณ ทั้งสิ้น ๓๙,๔๒๐,๐๐๐ บาท ลักษณะอาคารแบบทรงไทยประยุคต์ ๒ ชั้น ๔ หลังเชื่อมติดกัน ตั้งอยู่ติดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33 (ถนนสุวรรณศร) บ้านหนองนกเขา ต.ท่าเกษม
- ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาสระแก้ว ให้บริการความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม แก่กลุ่มเป้าหมาย ทั้งในระบบโรงเรียน นอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัย ใน ๙ จังหวัดภาคตะวันออก โดยมีกิจกรรมที่ให้บริการ ๔ กิจกรรมหลัก ได้แก่ การให้บริการนิทรรศการทางด้านวิทยาศาสตร์, การให้บริการค่ายวิทยาศาสตร์, การให้บริการกิจกรรมการศึกษา เช่น กิจกรรมวันเด็ก กิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์ กิจกรรมการประกวด การแข่งขันสิ่งประดิษฐ์ โครงงานทางวิทยาศาสตร์, การให้บริการวิชาการ เช่น การอบรมครู นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ทั้งยังเป็นแหล่งเรียนรู้แบบเปิดเพื่อให้ประชาชนได้เรียนรู้ตามอัธยาศัย
- เมืองโบราณ มีการขุดพบเมืองโบราณอายุราว 1,000-1,500 ปี หรือยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ที่หมู่ 13 บ้านโคกสัมพันธ์ ต.ท่าเกษม
บุคคลที่มีชื่อเสียง
แก้- ตรี ชัยณรงค์ นักร้องลูกทุ่งหมอลำ
อ้างอิง
แก้- ↑ [1]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลสระแก้ว กิ่งอำเภอสระแก้ว อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี
- ↑ [2] เก็บถาวร 2012-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอกระสัง อำเภอกระนวน อำเภอบางกอกใหญ่ อำเภอขุนหาร อำเภอพนา อำเภอปากช่อง อำเภอวังเหนือ อำเภอวังชิ้น อำเภอแม่ทา อำเภอหนองหมู อำเภอสระแก้ว อำเภออมก๋อย อำเภอบางซ้าย อำเภอทับสะแก อำเภอบุณฑริก อำเภอลานสะกา อำเภอจอมบึง อำเภอท่ายาง อำเภอสามเงา อำเภอฟากท่า อำเภอบ้านเขว้า อำเภอชานุมาน อำเภอแม่พริก อำเภอท่าสองยาง อำเภอสะเมิง อำเภอหนองแขม และอำเภอพระแสง พ.ศ. ๒๕๐๑
- ↑ [3]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบล ในท้องที่อำเภอสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี
- ↑ [4]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี
- ↑ [5] เก็บถาวร 2012-05-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี ตั้งเป็นกิ่งอำเภอวังน้ำเย็น
- ↑ [6]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลวังน้ำเย็น กิ่งอำเภอวังน้ำเย็น อำเภอสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี
- ↑ [7]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี
- ↑ [8] เก็บถาวร 2011-07-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเทพสถิต อำเภอวังน้ำเย็น อำเภอเนินมะปราง อำเภอสวนผึ้ง และอำเภอเสนางคนิคม พ.ศ. ๒๕๒๖
- ↑ [9]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอสระแก้ว อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรี
- ↑ [10]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอวังน้ำเย็น อำเภอสระแก้วและอำเภอตาพระยา จังหวัดปราจีนบุรี
- ↑ [11]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี
- ↑ [12]พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสหกรณ์ ในท้องที่อำเภอสระแก้ว อำเภอวังน้ำเย็น อำเภอวัฒนานคร และกิ่งอำเภอคลองหาด อำเภอวัฒนานคร จังหวัดปราจีนบุรี พ.ศ. ๒๕๒๙
- ↑ [13]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเขาฉกรรจ์ อำเภอสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี
- ↑ [14]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลศาลาลำดวน อำเภอสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี
- ↑ [15]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลท่าเกษม อำเภอสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี
- ↑ [16] เก็บถาวร 2012-06-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดสระแก้ว พ.ศ. ๒๕๓๖
- ↑ [17]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี
- ↑ [18] เก็บถาวร 2012-03-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเขาฉกรรจ์
- ↑ [19]พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว พ.ศ. ๒๕๓๗
- ↑ [20]พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดสระแก้ว พ.ศ. ๒๕๓๗
- ↑ [21] เก็บถาวร 2012-01-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอหนองปรือ อำเภอห้วยกระเจา อำเภอทรายทองวัฒนา อำเภอปางศิลาทอง อำเภอเนินสง่า อำเภอนาทม อำเภอพระพรหม อำเภอแม่วงก์ อำเภอสองแคว อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ อำเภอไทยเจริญ อำเภอกาบัง อำเภอพยุห์ อำเภอเมืองจันทร์ อำเภอภูพาน อำเภอคลองหอยโข่ง อำเภอเขาฉกรรจ์ อำเภอนาวัง อำเภอพิบูลย์รักษ์ และอำเภอทุ่งศรีอุดม พ.ศ. ๒๕๔๐
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.
- งานข้อมูลข่าวสาร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว
- กรมการปกครอง เก็บถาวร 2005-11-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน