อำเภอบรรพตพิสัย
บรรพตพิสัย เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครสวรรค์
อำเภอบรรพตพิสัย | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Banphot Phisai |
คำขวัญ: กรุงเก่าแม่ศรีเมือง ลือเลืองฝูงค้างคาว เขาหน่อแพรวพราว สายน้ำยาวนามแม่ปิง | |
แผนที่จังหวัดนครสวรรค์ เน้นอำเภอบรรพตพิสัย | |
พิกัด: 15°56′9″N 99°58′56″E / 15.93583°N 99.98222°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | นครสวรรค์ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 909.9 ตร.กม. (351.3 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 84,817 คน |
• ความหนาแน่น | 93.22 คน/ตร.กม. (241.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 60180 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 6005 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอบรรพตพิสัย หมู่ที่ 2 ตำบลท่างิ้ว อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ 60180 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ประวัติ
แก้อำเภอบรรพตพิสัย ในสมัยโบราณมีฐานะเป็นเมืองจัตวา มีชื่อว่า “เมืองบรรพตพิสัย”มีผู้ว่าราชการปกครองที่ว่าการเมืองเดิมตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง คือบ้านคลองมะเดื่อ หมู่ที่ 5 ตำบลตาสังในปัจจุบัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2453 ได้ยกฐานะเป็นอำเภอและได้ย้ายที่ว่าการอำเภอบรรพตพิสัยมาอยู่ที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง ที่บ้านส้มเสี้ยว หมู่ที่ 2 ตำบลท่างิ้ว จนทุกวันนี้ เหตุที่เรียกว่า “บรรพตพิสัย” เพราะในท้องที่นี้มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อ เขาหน่อ และภูเขาอีกหลายลูกบริเวณใกล้เคียงกัน ตั้งอยู่ที่บ้านเขาหน่อ หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านแดน มองในระยะไกลๆ จะเห็นเป็นรูปคล้ายพระปรางค์ ตั้งเรียงรายกันเป็นระเบียบดูสวยงามจึงได้ชื่อว่า “บรรพตพิสัย”[1]
- วันที่ 17 มกราคม 2468 แยกพื้นที่ตำบลลาดยาว ตำบลหนองยาว ตำบลวังม้า อำเภอโกรกพระ ตำบลเนินขี้เหล็ก ตำบลบ้านไร่ อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ และตำบลมาบแก ตำบลวังเมือง อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี มาตั้งเป็น อำเภอลาดยาว ขึ้นกับจังหวัดนครสวรรค์[2]
- วันที่ 19 กันยายน 2481 โอนพื้นที่หมู่ 16 (ในขณะนั้น) ของตำบลหนองกระโดน อำเภอเมืองนครสวรรค์ ไปขึ้นกับตำบลหูกวาง อำเภอบรรพตพิสัย[3] และตั้งตำบลตาสังเหนือ แยกออกจากตำบลตาสัง และตั้งตำบลตาสังใต้ แยกออกจากตำบลตาสัง กับโอนพื้นที่หมู่ 1 (ในขณะนั้น) ของตำบลหูกวาง ไปขึ้นกับตำบลท่างิ้ว[4]
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลหนองเต่า แยกออกจากตำบลเก้าเลี้ยว ตั้งตำบลอ่างทอง แยกออกจากตำบลท่างิ้ว ตั้งตำบลตาขีด แยกออกจากตำบลบ้านแดน และตำบลบางแก้ว[5]
- วันที่ 2 กันยายน 2490 เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ (1,2,3,4,5,6)[6]
- (1) โอนพื้นที่หมู่ 6,7,8,9 (ในขณะนั้น) ของตำบลเก้าเลี้ยว ไปตั้งเป็นหมู่ 1,2,3,4 ของตำบลหนองเต่า ตามลำดับ
- (2) โอนพื้นที่หมู่ 7 (ในขณะนั้น) ของตำบลบ้านแดน ไปตั้งเป็นหมู่ 1,2 ของตำบลตาขีด ตามลำดับ
- (3) โอนพื้นที่หมู่ 3 (ในขณะนั้น) ของตำบลตาสัง ไปตั้งเป็นหมู่ 3 ของตำบลตาขีด
- (4) โอนพื้นที่หมู่ 4,3 (ในขณะนั้น) ของตำบลบางแก้ว ไปตั้งเป็นหมู่ที่ 4,5 ของตำบลตาขีด
- (5) โอนพื้นที่หมู่ 9,10 (ในขณะนั้น) ของตำบลบ้านแดน ไปตั้งเป็นหมู่ 3,8 ของตำบลตาสัง
- (6) โอนพื้นที่หมู่ 8 (ในขณะนั้น) ของตำบลหัวดง ไปตั้งเป็นหมู่ 6 ของตำบลท่างิ้ว
- วันที่ 3 สิงหาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลท่างิ้ว ในท้องที่บางส่วนของตำบลท่างิ้ว[7]
- วันที่ 17 ธันวาคม 2500 ตั้งตำบลหนองตางู แยกออกจากตำบลตาสัง และตำบลหนองกรด[8]
- วันที่ 1 มีนาคม 2501 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลเก้าเลี้ยว อำเภอบรรพตพิสัย[9]
- วันที่ 23 ธันวาคม 2501 ตั้งตำบลมหาโพธิ แยกออกจากตำบลเก้าเลี้ยว และตั้งตำบลหูกวาง แยกออกจากตำบลท่างิ้ว[10]
- วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2503 โอนพื้นที่หมู่ 4 (ในขณะนั้น) ของตำบลหูกวาง ไปตั้งเป็นหมู่ 3 ของตำบลอ่างทอง และโอนพื้นที่หมู่ 4 (ในขณะนั้น) ของตำบลอ่างทอง ไปตั้งเป็นหมู่ 4 ของตำบลหูกวาง[11]
- วันที่ 20 กรกฎาคม 2508 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลท่างิ้ว ให้เพิ่มพื้นที่หมู่ 1 บ้านเจริญผล ตำบลบางตาหงาย (ฝั่งเหนือแม่น้ำปิง) และเปลี่ยนแปลงชื่อสุขาภิบาลท่างิ้ว อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ เป็นสุขาภิบาลบรรพตพิสัย[12]
- วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2511 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลเก้าเลี้ยว อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ และจัดตั้งสุขาภิบาลเก้าเลี้ยว ในท้องที่ทั้งหมดของตำบลเก้าเลี้ยว[13]
- วันที่ 7 ตุลาคม 2512 แยกพื้นที่ตำบลเก้าเลี้ยว ตำบลหัวดง ตำบลเขาดิน ตำบลมหาโพธิ และตำบลหนองเต่า อำเภอบรรพตพิสัย มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอเก้าเลี้ยว ขึ้นกับอำเภอบรรพตพิสัย[14]
- วันที่ 6 ตุลาคม 2513 ตั้งตำบลด่านช้าง แยกออกจากตำบลบางตาหงาย ตำบลตาสัง ตำบลหนองตางู และตำบลหนองกรด[15]
- วันที่ 28 มิถุนายน 2516 ยกฐานะกิ่งอำเภอเก้าเลี้ยว อำเภอบรรพตพิสัย เป็น อำเภอเก้าเลี้ยว[16]
- วันที่ 3 มิถุนายน 2523 โอนพื้นที่หมู่ 7 บ้านบ่อเพลา (ในขณะนั้น) ของตำบลตาขีด ไปตั้งเป็นหมู่ 7 ของตำบลตาสัง[17]
- วันที่ 9 สิงหาคม 2526 ตั้งตำบลบึงปลาทู แยกออกจากตำบลหนองตางู[18]
- วันที่ 16 ตุลาคม 2527 ตั้งตำบลเจริญผล แยกออกจากตำบลบางตาหงาย[19]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะสุขาภิบาลบรรพตพิสัย เป็นเทศบาลตำบลบรรพตพิสัย[20]
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอบรรพตพิสัยตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบึงสามัคคี (จังหวัดกำแพงเพชร) และอำเภอบึงนาราง (จังหวัดพิจิตร)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอโพทะเล (จังหวัดพิจิตร)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเก้าเลี้ยว อำเภอเมืองนครสวรรค์ และอำเภอลาดยาว
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอขาณุวรลักษบุรี (จังหวัดกำแพงเพชร)
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอบรรพตพิสัยแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 13 ตำบล 118 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | ท่างิ้ว | (Tha Ngio) | 8 หมู่บ้าน | 8. | ตาสัง | (Ta Sang) | 11 หมู่บ้าน | |||||||||||||
2. | บางตาหงาย | (Bang Ta Ngai) | 7 หมู่บ้าน | 9. | ด่านช้าง | (Dan Chang) | 13 หมู่บ้าน | |||||||||||||
3. | หูกวาง | (Hukwang) | 4 หมู่บ้าน | 10. | หนองกรด | (Nong Krot) | 15 หมู่บ้าน | |||||||||||||
4. | อ่างทอง | (Ang Thong) | 6 หมู่บ้าน | 11. | หนองตางู | (Nong Ta Ngu) | 13 หมู่บ้าน | |||||||||||||
5. | บ้านแดน | (Ban Daen) | 10 หมู่บ้าน | 12. | บึงปลาทู | (Bueng Pla Thu) | 9 หมู่บ้าน | |||||||||||||
6. | บางแก้ว | (Bang Kaeo) | 8 หมู่บ้าน | 13. | เจริญผล | (Charoen Phon) | 6 หมู่บ้าน | |||||||||||||
7. | ตาขีด | (Ta Khit) | 8 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอบรรพตพิสัยประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 14 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลบรรพตพิสัย ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลท่างิ้วและตำบลเจริญผล
- เทศบาลตำบลบ้านแดน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านแดนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่างิ้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่างิ้ว (นอกเขตเทศบาลตำบลบรรพตพิสัย)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางตาหงาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางตาหงายทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหูกวาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหูกวางทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลอ่างทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอ่างทองทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางแก้วทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลตาขีด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตาขีดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลตาสัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตาสังทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลด่านช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลด่านช้างทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกรด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองกรดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองตางู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองตางูทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบึงปลาทู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงปลาทูทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเจริญผล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเจริญผล (นอกเขตเทศบาลตำบลบรรพตพิสัย)
อ้างอิง
แก้- ↑ [1] เก็บถาวร 2020-02-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประวัติอำเภอบรรพตพิสัย
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบแยกและตั้งอำเภอในมณฑลนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 42 (0 ก): 260–262. 17 มกราคม 2468. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-24. สืบค้นเมื่อ 2020-04-07.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลและอำเภอในจังหวัดนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 2091–2092. 19 กันยายน 2481.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบล อำเภอบรรพตพิไสย จังหวัดนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 270. 19 กุมภาพันธ์ 2481.
- ↑ [2] เก็บถาวร 2011-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (41 ง): 2250–2252. 2 กันยายน 2490.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลท่างิ้ว อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (60 ง): (ฉบับพิเศษ) 82-83. 3 สิงหาคม 2499.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์, อำเภอเมืองขอนแก่น และกิ่งอำเภอกระนวน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น, อำเภอเมืองชัยภูมิ และอำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ, อำเภอเชียงคำ จังหวัดเชียงราย, อำเภอตลิ่งชัน จังหวัดธนบุรี, อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม, อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์, อำเภอลำปลายมาศ และกิ่งอำเภอกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์, อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก, อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์,อำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอพนมไพร และอำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอสังขะ และอำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์, อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี, อำเภอพิบูลมังสาหาร และอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (107 ง): 2901–2928. 17 ธันวาคม 2500.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล [จำนวน ๕๙ แห่ง]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (18 ง): (ฉบับพิเศษ) 2-6. 1 มีนาคม 2501.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอยางตลาด และอำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ อำเภอขาณุวรลักษณ์บุรี จังหวัดกำแพงเพชร อำเภอน้ำพอง อำเภอเมืองขอนแก่น อำเภอพล อำเภอบ้านไผ่ และอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น อำเภอบัวใหญ่ อำเภอพิมาย และอำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ อำเภอศรีมหาโพธิ์ และอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี กับอำเภอตะพานหิน และอำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (109 ง): 3084–3117. 23 ธันวาคม 2501.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 77 (13 ง): 373–374. 16 กุมภาพันธ์ 2503.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลและเปลี่ยนชื่อสุขาภิบาลท่างิ้ว อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ เป็นสุขาภิบาลบรรบตพิสัย อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 82 (57 ง): 1867–1868. 20 กรกฎาคม 2508.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเก้าเลี้ยว อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (17 ง): 512–513. 20 กุมภาพันธ์ 2511.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 86 (87 ง): 3020. 7 ตุลาคม 2512. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ 2020-04-07.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 87 (92 ง): 2897–2904. 6 ตุลาคม 2513.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเขาพนม อำเภอสนามชัยเขต อำเภอแม่อาย อำเภอขามสะแกแสง อำเภอเก้าเลี้ยว อำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอหนองพอก อำเภอละอุ่น อำเภอทุ่งหว้า และอำเภอศรีธาตุ พ.ศ. ๒๕๑๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (75 ก): (ฉบับพิเศษ) 32-36. 28 มิถุนายน 2516. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2020-04-07.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 97 (87 ง): 1693–1694. 3 มิถุนายน 2523.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (131 ง): 2715–2718. 9 สิงหาคม 2526.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 101 (146 ง): 3801–3804. 16 ตุลาคม 2527.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-06-06.