เขตพระโขนง
พระโขนง เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร
เขตพระโขนง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Khet Phra Khanong |
โรงกลั่นน้ำมันบางจาก ขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ติดแม่น้ำเจ้าพระยา มุมมองจากวัดบางน้ำผึ้งนอก | |
คำขวัญ: พระโขนงเมืองพระ ธรรมะเจดีย์ สามัคคีพัฒนา ประชาสุขใจ | |
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตพระโขนง | |
พิกัด: 13°42′8″N 100°36′6″E / 13.70222°N 100.60167°E | |
ประเทศ | ไทย |
เขตปกครองพิเศษ | กรุงเทพมหานคร |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 13.986 ตร.กม. (5.400 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 85,696[1] คน |
• ความหนาแน่น | 6,127.27 คน/ตร.กม. (15,869.6 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10260 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1009 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 1792 ซอยสุขุมวิท 54 (รัตนพราหมณ์) ถนนสุขุมวิท แขวงพระโขนงใต้ เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร 10260 |
เว็บไซต์ | www |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้เขตพระโขนงตั้งอยู่ทางใต้ของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตคลองเตย เขตวัฒนา และเขตสวนหลวง มีแนวเส้นตรงจากจุดกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาไปบรรจบซอยสุขุมวิท 52 (ศิริพร), ซอยสุขุมวิท 52, ซอยสุขุมวิท 81 (ศิริพจน์), คลองบางนางจีน, คลองขวางบน, คลองสวนอ้อย, ลำราง, คลองบ้านหลาย, ซอยวชิรธรรมสาธิต 57 แยก 41 (พัฒนพล), ซอยวชิรธรรมสาธิต 57 (สามพี่น้อง) และซอยวชิรธรรมสาธิต 57 แยก 36 (ยาจิตร์) เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตสวนหลวงและเขตประเวศ มีคลองเคล็ดเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตบางนา มีถนนอุดมสุข ซอยอุดมสุข 29 (พุทธวิถี 1), ซอยวชิรธรรมสาธิต 32 (จุฬา 4), ซอยสุขุมวิท 101/1 (วชิรธรรมสาธิต) และคลองบางอ้อเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอพระประแดง (จังหวัดสมุทรปราการ) มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติ
แก้เขตพระโขนงเดิมมีฐานะเป็น อำเภอพระโขนง เป็นเขตการปกครองของเมืองนครเขื่อนขันธ์ ปรากฏชื่อเท่าที่สืบค้นได้ตั้งแต่ พ.ศ. 2445[2] (เมืองนครเขื่อนขันธ์เปลี่ยนชื่อเป็นเมืองพระประแดงใน พ.ศ. 2457 และเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นจังหวัดพระประแดงใน พ.ศ. 2459)[2] ในสมัยแรกตั้งที่ว่าการอำเภออยู่ที่สามแยกวัดมหาบุศย์ (บริเวณที่คลองตันบรรจบคลองพระโขนง) แบ่งท้องที่การปกครองออกเป็น 12 ตำบล ได้แก่ ตำบลคลองเตย ตำบลคลองตัน ตำบลพระโขนง ตำบลสวนหลวง ตำบลศีรษะป่า (หัวป่า) ตำบลคลองประเวศ ตำบลทุ่งดอกไม้ ตำบลหนองบอน ตำบลบางจาก ตำบลบางนา ตำบลสำโรง และตำบลบางแก้ว[3] จากนั้นจึงย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งที่วัดสะพาน ริมทางรถไฟสายปากน้ำ เมื่อ พ.ศ. 2459[3]
จนกระทั่งใน พ.ศ. 2470 ทางราชการได้โอนอำเภอพระโขนงมาขึ้นกับจังหวัดพระนครเพื่อความสะดวกในการปกครอง[4] ก่อนที่จังหวัดพระประแดงจะถูกยุบและแยกพื้นที่ไปรวมกับจังหวัดธนบุรีและจังหวัดสมุทรปราการ 5 ปี[5] และเนื่องจากท้องที่อำเภอพระโขนงเริ่มมีสภาพเป็นชุมชน ย่านการค้า อุตสาหกรรม และที่พักอาศัยหนาแน่น ใน พ.ศ. 2479 ทางราชการจึงได้ตั้งเทศบาลนครกรุงเทพโดยโอนพื้นที่บางส่วนของตำบลคลองเตยเข้าไปในท้องที่[6] และได้ขยายเขตเทศบาลออกไปครอบคลุมตำบลอื่น ๆ เกือบทั้งหมดในอำเภอภายใน พ.ศ. 2507[7] ในช่วงนี้ที่ว่าการอำเภอพระโขนงได้ย้ายจากวัดสะพานมาตั้งอยู่ริมถนนสุขุมวิท (ที่ตั้งสำนักงานเขตปัจจุบัน) แล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2495[3]
ใน พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครถูกรวมเข้ากับจังหวัดธนบุรี เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี[8] และใน พ.ศ. 2515 จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร[9] ซึ่งได้ยกเลิกการปกครองท้องถิ่นแบบเทศบาลและสุขาภิบาล รวมทั้งเปลี่ยนการเรียกหน่วยการปกครองใหม่จากอำเภอและตำบลเป็นเขตและแขวงด้วย อำเภอพระโขนงจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตพระโขนง แบ่งออกเป็น 9 แขวงตามจำนวนตำบลที่มีอยู่เดิมก่อนการปรับปรุงรูปแบบการบริหารเมืองหลวง
ภายหลังเขตพระโขนงมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้น ใน พ.ศ. 2532 กรุงเทพมหานครได้จัดตั้งสำนักงานเขตสาขาของเขตพระโขนงขึ้น 3 แห่งขึ้นดูแลท้องที่ต่าง ๆ[10][11][12] เพื่อให้การปกครองและการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และในปีเดียวกัน กระทรวงมหาดไทยก็ได้ยกฐานะท้องที่ของสำนักงานเขตพระโขนง สาขา 1 และสำนักงานเขตพระโขนง สาขา 2 เป็นเขตคลองเตยและเขตประเวศตามลำดับ[13] (ส่วนท้องที่ของสำนักงานเขตพระโขนง สาขา 3 โอนไปเป็นของเขตประเวศจนกระทั่งใน พ.ศ. 2537 จึงแยกออกไปเป็นเขตสวนหลวง)[14]
เมื่อ พ.ศ. 2541 มีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตพระโขนงอีกครั้ง โดยแขวงบางนาและบางส่วนของแขวงบางจากได้รับการยกฐานะเป็นเขตบางนา[15] ท้องที่เขตพระโขนงจึงเหลือแขวงบางจากอยู่เพียงแขวงเดียวจนกระทั่ง พ.ศ. 2560 จึงมีการแบ่งแขวงการปกครองในเขตพระโขนงออกเป็นสองแขวง
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 กรุงเทพมหานครได้ประกาศจัดตั้งแขวงพระโขนงใต้แยกจากพื้นที่แขวงบางจากโดยใช้ถนนสุขุมวิทเป็นเส้นแบ่งเขตและให้มีผลบังคับใช้ในวันเดียวกัน ส่งผลให้เขตพระโขนงในปัจจุบันแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง[16] ได้แก่
หมาย เลข |
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2566) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2566) |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|
5. |
บางจาก | Bang Chak | 8.815 |
64,629 |
7,331.71 |
|
10. |
พระโขนงใต้ | Phra Khanong Tai | 5.171 |
21,067 |
4,074.07
| |
ทั้งหมด | 13.986 |
85,696 |
6,127.27
|
หมายเลขที่หายไปปัจจุบันคือแขวงในเขตคลองเตย เขตบางนา เขตสวนหลวง และเขตประเวศ
ประชากร
แก้สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตพระโขนง[17] | ||
---|---|---|
ปี (พ.ศ.) | ประชากร | การเพิ่มและการลด |
2535 | 197,907 | ไม่ทราบ |
2536 | 201,541 | +3,634 |
2537 | 201,376 | -165 |
2538 | 200,447 | +71 |
2539 | 200,384 | -63 |
2540 | 200,693 | +309 |
2541 | 101,757 | แบ่งเขต |
2542 | 100,071 | -1,686 |
2543 | 100,481 | +410 |
2544 | 100,497 | +16 |
2545 | 100,878 | +381 |
2546 | 101,370 | +492 |
2547 | 98,923 | -2,447 |
2548 | 98,564 | -359 |
2549 | 98,096 | -468 |
2550 | 98,496 | +400 |
2551 | 97,794 | -702 |
2552 | 96,880 | -914 |
2553 | 95,661 | -1,219 |
2554 | 94,482 | -1,179 |
2555 | 93,461 | -1,021 |
2556 | 92,774 | -687 |
2557 | 92,448 | -326 |
2558 | 92,197 | -251 |
2559 | 91,305 | -892 |
2560 | 90,534 | -771 |
2561 | 89,237 | -1,297 |
2562 | 88,998 | -239 |
2563 | 87,856 | -1,142 |
2564 | 87,018 | -838 |
2565 | 86,290 | -728 |
2566 | 85,696 | -594 |
การคมนาคม
แก้ทางสายหลักในพื้นที่เขตพระโขนง ได้แก่
- ถนนสุขุมวิท
- ถนนทางรถไฟสายเก่าปากน้ำ
- ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ทางต่างระดับอาจณรงค์ถึงคลองบางอ้อ
- ทางพิเศษสาย S1 ทางต่างระดับอาจณรงค์ถึงคลองบางอ้อ
ส่วนทางสายรองและทางลัด ได้แก่
|
|
ระบบขนส่งมวลชน
สถานที่สำคัญ
แก้- วัดธรรมมงคลเถาบุญญนนทวิหาร
- วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร (วัดทุ่ง)
- สวนนกโรงกลั่นบางจาก
- โครงการอนุรักษ์ขนมไทย
อ้างอิง
แก้- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php เก็บถาวร 2020-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้น 25 มกราคม 2567.
- ↑ 2.0 2.1 สำนักงานเขตพระโขนง. "ประวัติสำนักงานเขตพระโขนง." [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก: http://203.155.220.239/subsite/index.php?strOrgID=001018&strSection=aboutus&intContentID=184[ลิงก์เสีย] [ม.ป.ป.]. สืบค้น 30 มีนาคม 2555.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 สำนักงานเขตพระโขนง. "ประวัติความเป็นมาของเขตพระโขนง (ฉบับร่าง)." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://203.155.220.217/phrakhanong/เกี่ยวกับสำนักงาน/ประวัติเขตพระโขนง.doc[ลิงก์เสีย] [ม.ป.ป.]. สืบค้น 30 มีนาคม 2555.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง แก้ไขเขตต์จังหวัดพระนคร ธนบุรี พระประแดง สมุทรปราการ และมีนบุรีในมณฑลกรุงเทพฯ กับธัญญะบุรีในมณฑลอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 44: 153–158. 21 สิงหาคม 2470.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ ยุบรวมท้องที่บางมณฑลและบางจังหวัด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 48: 576–578. 21 กุมภาพันธ์ 2474. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2012-03-31.
- ↑ "พระราชบัญญัติจัดตั้งเทศบาลนครกรุงเทพฯ พุทธศักราช ๒๔๗๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 53: 704–709. 29 พฤศจิกายน 2479.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลนครกรุงเทพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๐๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 81 (พิเศษ 124 ก): 28–32. 31 ธันวาคม 2507.
- ↑ "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (พิเศษ 144 ก): 816–824. 21 ธันวาคม 2514. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-04-25. สืบค้นเมื่อ 2012-03-31.
- ↑ "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๓๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (พิเศษ 190 ก): 187–201. 13 ธันวาคม 2515.
- ↑ สำนักงานเขตคลองเตย. "ประวัติความเป็นมา." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://203.155.220.239/subsite/index.php?strOrgID=001001&strSection=aboutus&intContentID=77[ลิงก์เสีย] [ม.ป.ป.]. สืบค้น 30 มีนาคม 2555.
- ↑ สำนักงานเขตประเวศ. "ประวัติความเป็นมา." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://203.155.220.239/subsite/index.php?strOrgID=001027&strSection=aboutus&intContentID=207[ลิงก์เสีย] [ม.ป.ป.]. สืบค้น 30 มีนาคม 2555.
- ↑ สำนักงานเขตสวนหลวง. "ประวัติความเป็นมา." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://203.155.220.239/subsite/index.php?strOrgID=001006&strSection=aboutus&intContentID=102[ลิงก์เสีย] [ม.ป.ป.]. สืบค้น 30 มีนาคม 2555.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตพระโขนงและตั้งเขตคลองเตยและเขตประเวศ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (พิเศษ 208 ง): 13. 24 พฤศจิกายน 2532.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตคลองเตย เขตประเวศ และตั้งเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (พิเศษ 184 ง): 7–10. 10 พฤศจิกายน 2536.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตพระโขนง และตั้งเขตบางนา กรุงเทพมหานคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (พิเศษ 108 ง): 35–39. 18 พฤศจิกายน 2540.
- ↑ "ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงบางจาก และตั้งแขวงพระโขนงใต้ เขตพระโขนง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 134 (พิเศษ 215 ง): 41–43.
- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์สำนักงานเขตพระโขนง
- เว็บไซต์กรุงเทพมหานคร: แหล่งท่องเที่ยวในเขตพระโขนง เก็บถาวร 2005-09-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ เขตพระโขนง
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์