อำเภอบางปะกง

อำเภอในจังหวัดฉะเชิงเทรา ประเทศไทย

บางปะกง เป็นอำเภอในจังหวัดฉะเชิงเทรา เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา กับอำเภอพานทอง อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี และอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ รวมตั้งขึ้นเป็นอำเภอในปี พ.ศ. 2450[1]

อำเภอบางปะกง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Bang Pakong
วัดหงษ์ทอง
คำขวัญ: 
กุ้ง ปลา ปูไข่ หอยใหญ่ ไข่เป็ดแดง แหล่งอุตสาหกรรม
แผนที่จังหวัดฉะเชิงเทรา เน้นอำเภอบางปะกง
แผนที่จังหวัดฉะเชิงเทรา เน้นอำเภอบางปะกง
พิกัด: 13°32′34″N 100°59′38″E / 13.54278°N 100.99389°E / 13.54278; 100.99389
ประเทศ ไทย
จังหวัดฉะเชิงเทรา
พื้นที่
 • ทั้งหมด257.893 ตร.กม. (99.573 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด94,844 คน
 • ความหนาแน่น367.77 คน/ตร.กม. (952.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 24130,
24180 (เฉพาะตำบลบางวัว บางสมัคร
บางเกลือ พิมพา และหอมศีล)
รหัสภูมิศาสตร์2404
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอบางปะกง หมู่ที่ 6 ตำบลท่าสะอ้าน อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา 24130
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

คำว่า "บางปะกง" เพี้ยนมาจากคำว่า "บางมังกง" ซึ่งได้ชื่อมาจากปลามังกงหรือปลาอีกงที่พบชุกชุมในถิ่นนี้

พื้นที่เทศบาลตำบลบางวัว

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอบางปะกงมีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ

แก้

มณฑลปราจีนบุรีเห็นว่าพื้นที่ระหว่างคลองท่าสะอ้านฝั่งใต้ตลอดจนอ่าวไทยมีพื้นที่กว้างขวาง กระทรวงนครบาลจึงรวมตำบลหนองจอก จากอำเภอสนามจันทร์ จังหวัดฉะเชิงเทรา และตำบลบางปะกง ตำบลท่าหงอนไก่ จากอำเภอบางปลาสร้อย จังหวัดชลบุรี ที่มีพื้นที่ห่างไกลแต่มีอาณาเขตติดต่อกัน อีกทั้งยังมีบ้านคลองขุนเนิน อำเภอบางเหี้ย จังหวัดสมุทรปราการ ของมณฑลกรุงเทพโอนมาสมทบ ให้รวมตั้งเป็น "อำเภอบางปะกง" ในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2450[1] กำหนดขึ้นตรงกับจังหวัดฉะเชิงเทรา และตั้งที่ว่าการอำเภอที่บ้านบางปะกง รวมทั้งได้รับโอนตำบลบางพึ่ง (ตำบลบางผึ้ง) จากอำเภอท่าตะกูด จังหวัดชลบุรี[2] มาสบทบกับพื้นที่อำเภอ

แต่ก่อนคำว่าบางปะกงนี้มีชื่อเรียกกันว่า "บางปลากง" แต่ชื่อที่ปรากฏในนิราศว่า "บางมังกร" คงเป็นเพราะคำพูดที่ชาวจีนพูดไทยไม่ชัด อย่างไรก็ตามถ้าพิจารณาคำอธิบายของท่านอาจารย์ธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากรในหนังสือ "ชีวิตและผลงานของสุนทรภู่" ได้อธิบายความตอนหนึ่งไว้ว่า "บ้านมังกร" ปัจจุบันเรียกกันว่า บางปะกง สันนิษฐานชื่อเดิมคงจะเรียกกันว่า บางมังกร เช่น สุนทรภู่ เรียกคำว่า "มังกร" เป็นชื่อปลาอย่างหนึ่งแต่คำว่า "ปะกง" นั้นแปลไม่ได้ใจความ คำอธิบายเกี่ยวกับชื่อของบางที่ได้ใช้ชื่อปลามาตั้ง เป็นบางปลาและแม่น้ำเหมือนจังหวัดชลบุรี มีปลาสร้อยมาก จึงเรียกกันว่า "บางปลาสร้อย" ที่จังหวัดสมุทรปราการมีปลากดมากก็เรียกกันว่า "บางปลากด" คำอธิบายของท่านอาจารย์ธนิต อยู่โพธิ์ จึงเป็นประโยชน์ในการที่จะสืบราวเรื่องไปถึง บางปลากง หรือ "บางปะกง"

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้
 
วัดหงษ์ทอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

อำเภอบางปะกงแบ่งออกเป็น 12 ตำบล 108 หมู่บ้าน ได้แก่

1. บางปะกง (Bang Pakong) 19 หมู่บ้าน 7. สองคลอง (Song Khlong) 10 หมู่บ้าน
2. ท่าสะอ้าน (Tha Sa-an) 8 หมู่บ้าน 8. หนองจอก (Nong Chok) 9 หมู่บ้าน
3. บางวัว (Bang Wua) 14 หมู่บ้าน 9. พิมพา (Phimpha) 4 หมู่บ้าน
4. บางสมัคร (Bang Samak) 9 หมู่บ้าน 10. ท่าข้าม (Tha Kham) 8 หมู่บ้าน
5. บางผึ้ง (Bang Phueng) 7 หมู่บ้าน 11. หอมศีล (Hom Sin) 6 หมู่บ้าน
6. บางเกลือ (Bang Kluea) 7 หมู่บ้าน 12. เขาดิน (Khao Din) 7 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอบางปะกงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 16 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลบางปะกง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางปะกง (เฉพาะหมู่ที่ 2–10 และบางส่วนของหมู่ที่ 1, 11, 18–19)
  • เทศบาลตำบลท่าสะอ้าน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าสะอ้าน (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 6–8)
  • เทศบาลตำบลบางวัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางวัว (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1, 7, 12, 14); ตำบลบางสมัคร (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 2–3) และตำบลบางเกลือ (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1)
  • เทศบาลตำบลหอมศีล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหอมศีล (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1–3)
  • เทศบาลตำบลท่าข้าม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าข้ามทั้งตำบล (เขตสุขาภิบาลท่าข้ามเดิม)[3][4][5]
  • เทศบาลตำบลพิมพา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพิมพาทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลบางวัวคณารักษ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางวัว (เฉพาะหมู่ที่ 2–6, 8–11, 13 และบางส่วนของหมู่ที่ 1, 7, 12, 14)
  • เทศบาลตำบลบางผึ้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางผึ้งทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลบางปะกงพรหมเทพรังสรรค์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางปะกง (เฉพาะหมู่ที่ 12–17 และบางส่วนของหมู่ที่ 1, 11, 18–19)
  • เทศบาลตำบลบางสมัคร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางสมัคร (เฉพาะหมู่ที่ 1, 4–9 และบางส่วนของหมู่ที่ 2–3)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าสะอ้าน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าสะอ้าน (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลท่าสะอ้าน)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางเกลือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางเกลือ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบางวัว)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสองคลอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสองคลองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองจอก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองจอกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหอมศีล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหอมศีล (เฉพาะหมู่ที่ 4–6 และบางส่วนของหมู่ที่ 1–3)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาดินทั้งตำบล

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 24 (31): 745–746. วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2450
  2. "ประกาศบอกล่วงหน้าจะแจกตราจองชั่วคราว ในตำบลบ้านบางพึ่ง อำเภอท่าตะกูด แขวงเมืองชลบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 22 (8): 149. วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2448
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :2
  4. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :3
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :4