อำเภอป่าแดด
ป่าแดด (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงราย เดิมเป็นตำบลหนึ่งในอำเภอพาน ตั้งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 52 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งสิ้น 333.300 ตารางกิโลเมตร
อำเภอป่าแดด | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Pa Daet |
คำขวัญ: ป่าแดดข้าวหอม ธาตุจอมสูงสง่า ถ้ำผาแหล่งธรรม งามล้ำผ้าไหม | |
แผนที่จังหวัดเชียงราย เน้นอำเภอป่าแดด | |
พิกัด: 19°30′12″N 99°59′36″E / 19.50333°N 99.99333°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | เชียงราย |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 333.3 ตร.กม. (128.7 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 25,709 คน |
• ความหนาแน่น | 77.14 คน/ตร.กม. (199.8 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 57190 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 5706 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอป่าแดด ถนนทาน-ป่าแดด ตำบลป่าแดด อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย 57190 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอพาน อำเภอเมืองเชียงราย และอำเภอเทิง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเทิง และอำเภอจุน (จังหวัดพะเยา)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอจุน อำเภอดอกคำใต้ อำเภอภูกามยาว อำเภอเมืองพะเยา และอำเภอแม่ใจ (จังหวัดพะเยา)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอพาน
ประวัติ
แก้อำเภอป่าแดดเดิมเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอพาน ชื่อว่า ตำบลป่าแดด เป็นท้องที่ทุรกันดารและตั้งอยู่ห่างไกลจากตัวอำเภอพาน การเดินทางไปมาเพื่อติดต่อราชการกับที่ว่าการอำเภอพานแต่ละครั้งต้องเดินเท้า เนื่องจากไม่มียานพาหนะใด ๆ และด้วยระยะทางไกลทำให้ต้องมีการพักค้างแรมระหว่างการเดินทาง ส่วนสัมภาระต่าง ๆ ก็ต้องใช้คนแบกหาม และด้วยราษฎรส่วนใหญ่ไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทาง นายสง่า ไชยพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายในสมัยนั้นได้รายงานต่อกระทรวงมหาดไทย ขอตั้งเป็นกิ่งอำเภอ กระทรวงมหาดไทยจึงมีประกาศเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 ให้ยกฐานะตำบลป่าแดดขึ้นเป็น กิ่งอำเภอป่าแดด และให้ขึ้นอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2512 [1] และในวันที่ 23 มิถุนายน ของปีเดียวกัน ได้มีการประกอบพิธีเปิดที่ว่าการกิ่งอำเภอป่าแดด
ต่อมากิ่งอำเภอป่าแดดเป็นชุมชนที่หนาแน่นขึ้นและมีสภาพเจริญขึ้นกว่าเดิมมาก หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นจึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 192 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 56 วรรค 2 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2515 ตราพระราชกฤษฎีกาตั้งกิ่งอำเภอป่าแดด อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย เป็น อำเภอป่าแดด ขึ้นกับจังหวัดเชียงรายเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2518 ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 92 ตอนที่ 166 ลงวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2518 [2]
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอป่าแดดแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 5 ตำบล 58 หมู่บ้าน ได้แก่
ที่ | ชื่อตำบล | ตัวเมือง | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนครัวเรือน | จำนวนประชากร[3] |
---|---|---|---|---|---|---|
1. | ป่าแดด | Pa Daet | 12 | 2,140 | 6,486 | |
2. | ป่าแงะ | Pa Ngae | 18 | 2,630 | 7,927 | |
3. | สันมะค่า | San Makha | 8 | 1,411 | 5,144 | |
4. | โรงช้าง | Rong Chang | 12 | 1,519 | 4,789 | |
5. | ศรีโพธิ์เงิน | Si Pho Ngoen | 8 | 616 | 2,016 |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอป่าแดดประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลป่าแงะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าแงะทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลป่าแดด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าแดดทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลสันมะค่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสันมะค่าทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลศรีโพธิ์เงิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีโพธิ์เงินทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลโรงช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโรงช้างทั้งตำบล
ภูมิศาสตร์
แก้ภูมิประเทศ
แก้อำเภอป่าแดดมีภูเขาและป่าไม้ล้อมรอบทั้งสี่ด้าน ทางด้านทิศตะวันออกส่วนใหญ่เป็นภูเขาและป่าไม้ ทางราชการได้กำหนดเป็นป่าสงวนแห่งชาติขึ้นเรียกว่า "ป่าแม่พุง" ทางทิศตะวันตกเป็นป่าสงวนแห่งชาติอีกป่าหนึ่ง เรียกว่า "ป่าแม่ปืม" สภาพพื้นที่ทั่วไปของอำเภอป่าแดด เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำพุงไหลผ่านจากทิศตะวันตกจากตำบลป่าแงะ ผ่านบ้านแม่พุง ตำบลป่าแดด ผ่านบ้านวังผา ตำบลสันมะค่า อำเภอป่าแดด และมีภูเขาสำคัญชื่อ "ดอยงาม" ซึ่งเป็นเขตกั้นระหว่างอำเภอพานกับอำเภอป่าแดด
ภูมิอากาศ
แก้เป็นแบบมรสุมเมืองร้อน มี 3 ฤดู คือ
ประชากร
แก้ตามสถิติข้อมูลอำเภอป่าแดด สำรวจเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557 ดังนี้
- ประชากรชาย 13,095 คน
- ประชากรหญิง 13,181 คน
รวมทั้งสิ้น 26,276 คน
- จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 7,544 ครัวเรือน
- จำนวนหลังคาบ้านทั้งหมด 7,544 หลังคาบ้าน
- พื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด 123,571 ไร่
- จำนวนครัวเรือนที่ทำเกษตร 6,737 ครัวเรือน
- จำนวนผู้นำเกษตรกร 58 คน
ทรัพยากรธรรมชาติ
แก้แหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญในอำเภอป่าแดด ประกอบด้วย
ป่าไม้
แก้อำเภอป่าแดดมีพื้นที่ป่าไม้คิดเป็นร้อยละ 5 ของพื้นที่ มีพื้นที่ป่าไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ปืม แม่พุง ทางด้านทิศตะวันตก และป่าแม่ลอยไร่ ป่าสักลอ และป่าแม่พุงทางทิศตะวันออก
แหล่งน้ำ
แก้แหล่งน้ำสำคัญในอำเภอป่าแดด ประกอบด้วย
- แม่น้ำพุง มีต้นกำเนิดในเขตอำเภอพาน ไหลผ่านตำบลป่าแงะ ตำบลป่าแดด ตำบลสันมะค่า และไหลไปบรรจบกับน้ำแม่อิงบริเวณตำบลสันมะค่า ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร
- น้ำแม่อิง มีต้นกำเนิดในเขตอำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ไหลผ่านอำเภอป่าแดดที่บริเวณบ้านสันบัวคำ บ้านวังผา บ้านวังศิลา ตำบลสันมะค่า และเป็นเส้นแบ่งแนวเขตการปกครองระหว่างอำเภอป่าแดดกับอำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา ทางทิศใต้
- โครงการชลประทานขนาดเล็ก เป็นฝายกั้นลำน้ำพุง จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ ฝายร่องเปาและฝายวังเคียน นอกจากนี้ยังมีฝายประชาอาสาและฝายน้ำล้นอื่น ๆ อีกจำนวน 19 แห่ง และอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กจำนวน 2 แห่ง
หน่วยงานราชการ
แก้- สำนักงานสาธารณสุขตำบล มีประจำทุกตำบล จำนวน 6 แห่ง
- โรงพยาบาลขนาด 30 เตียง จำนวน 1 แห่ง
- สถานีตำรวจภูธร จำนวน 1 แห่ง
- หน่วยบริการใช้ไฟฟ้าย่อย จำนวน 1 แห่ง
- ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขอำเภอ จำนวน 1 แห่ง
- ธนาคารพาณิชย์ จำนวน 1 แห่ง
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ สาขาป่าแดด จำนวน 1 แห่ง
- สำนักงานที่ดินจังหวัดเชียงราย สาขาพาน ส่วนแยกป่าแดด 1 แห่ง
สถานศึกษา
แก้สถานศึกษาจำนวน 18 แห่ง
- ระดับประถมศึกษา-มัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 15 แห่ง
- ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น-ตอนปลาย จำนวน 1 แห่ง
- ระดับก่อนประถม (โรงเรียนเอกชน) จำนวน 1 แห่ง
- ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (โรงเรียนพระปริยัติฯ) จำนวน 1 แห่ง
|
|
การประกอบอาชีพและการอุตสาหกรรม
แก้ประชากรส่วนใหญ่ของอำเภอป่าแดดประกอบอาชีพทางการเกษตร อาทิ ทำนา ทำไร่ ทำสวน พืชหลักที่ทำรายได้ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ คือ ข้าว ข้าวโพด ถั่วลิสง ลำไย มะม่วง ถั่วเหลือง ขิง ลิ้นจี่ และผักต่าง ๆ ประชากรส่วนหนึ่งจะประกอบอาชีพทางการค้าขายซึ่งกำลังขยายตัวอยู่ในขณะนี้
โรงงานอุตสาหกรรมขนาดย่อม
แก้- โรงงานผลิตน้ำดื่ม 12 แห่ง
- โรงสีข้าวขนาดใหญ่ 3 แห่ง
- โรงสีข้าวขนาดเล็ก 63 แห่ง
- โรงบ่มใบยาสูบ - แห่ง
- โรงงานผลิตซีเมนต์บล็อก 4 แห่ง
- โรงโม่หิน 1 แห่ง
การคมนาคม
แก้- จากตำบลป่าแงะถึงตัวอำเภอป่าแดด ระยะทาง 6 กิโลเมตร
- จากตำบลสันมะค่าถึงตัวอำเภอป่าแดด ระยะทาง 11 กิโลเมตร
- จากตำบลโรงช้างถึงตัวอำเภอป่าแดด ระยะทาง 3 กิโลเมตร
- จากตำบลศรีโพธิ์เงินถึงตัวอำเภอป่าแดด ระยะทาง 15 กิโลเมตร
- จากตัวอำเภอถึงจังหวัดเชียงราย ระยะทาง 52 กิโลเมตร
ศาสนสถาน
แก้วัดภายในอำเภอป่าแดดที่ได้รับการตั้งวัดหรือได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาแล้วมีจำนวนทั้งหมด 15 แห่ง สำนักสงฆ์และที่พักสงฆ์ที่ยังไม่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาอีก 14 แห่ง โดยกระจายอยู่ตามหมู่บ้านและตำบลต่าง ๆ ดังนี้
|
|
- โบสถ์คริสต์คริสตจักรสันกอง สถานที่ตั้งตำบลโรงช้าง
- โบสถ์คริสต์คริสตจักรสันเจริญ สถานที่ตั้งตำบลป่าแงะ
แหล่งท่องเที่ยว
แก้
|
|
ประเพณีและวันสำคัญ
แก้- ประเพณีการแห่ผ้าห่มขึ้นพระธาตุจอมคีรีและการสงน้ำพระธาตุจอมคีรี (ทอผ้าขึ้นธาตุ ตักบาตรพระอุปครุฑ บูชาพระพุทธบรสวรรค์)
- ประเพณีทานก๋วยสลากภัทของหมู่บ้าน ตำบล และอำเภอ
- ประเพณียี่เป็ง (ลอยกระทงและปล่อยโคมลอย)
- ประเพณีปี๋ใหม่เมือง ขนทรายเข้าวัด แห่ตุงหื้อตาน
- ประเพณีรดน้ำดำหัวคนเฒ่า
- ประเพณีการแข่งเรือของตำบลป่าแงะ
- งานประจำปี [ลิงก์เสีย]
- เทศกาลชิมลำไยหวาน ชมดอกไม้บาน ที่อำเภอป่าแดด
- งานข้าวหอมของดีอำเภอป่าแดด
ภาษา
แก้- ภาษา[4] ในปัจจุบันนอกจากภาษาไทยกลางซึ่งเป็นภาษาทางการแล้ว กำเมือง (คำเมือง) หรือภาษาล้านนา ยังเป็นภาษาถิ่นที่นิยมอยู่อย่างกว้างขวาง โดยพบเห็นได้ในงานประเพณีสำคัญและป้ายสุภาษิตสอนใจที่ติดตามต้นไม้ตามโรงเรียนหรือไม่ก็ที่อื่น ๆ ซึงปัจจุบันทางราชการและหน่วยงานต่าง ๆ ได้ร่วมมือกันเพื่อรณรงค์อนุรักษ์ภาษาคำเมืองให้คงอยู่กับอำเภอป่าแดด โดยสนับสนุนให้ตามโรงเรียนเปิดสอนวิชาเลือกเสรี สอนภาษาเมืองให้แก่นักเรียน เนื่องจากอำเภอป่าแดดเป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชนหลากหลายเผ่าพันพันธ์ไม่ว่าจะเป็นไทยวน (คนเมือง) ไทลื้อ ไทยอง ลาว มอญ ดังนั้นแม้ปัจจุบันชาวอำเภอป่าแดดส่วนมากจะใช้คำเมืองในการสื่อสารพูดคุยกัน แต่เมื่อได้ฟังหรือศึกษากันอย่างลึกซึ้งจะสังเกตได้ว่าสำเนียงที่พูดกันนั้นมีสำเนียงที่แตกต่างกันไป ภาษาของอำเภอป่าแดดอาจแบ่งออกได้ดังนี้
- ภาษาไทยวน (คำเมือง) โดยส่วนมากชาวอำเภอป่าแดดใช้ในการพูดสื่อสารกันมากที่สุด และคนส่วนมากคิดว่าเป็นภาษาที่ชาวอำเภอป่าแดดใช้สื่อสารกันทั้งหมด
- ภาษายอง ตัวอย่างเช่น ตี่บ้านมีโงกี่โต๋ (ที่บ้านมีวัวกี่ตัว) เอาเมื้องเอาเก๋อมาโอม (เอาเมี่ยงเอาเกลือมาอม) จะไปปิ๊กเต่อ (อย่าพึ่งกลับ)เป็นต้นนอกจากนั้นจะเป็นสำเนียงออกเหน่อ ๆ บางครังฟังแล้ดู้คล่ายภาษาลาวบ้าง มีคำพูดที่คนยองมักติดปาเช่น "คนยองก่มีเต้าอี้ขอหมู่อี้ปี้จะไป๋ได่ขัดเคือง" "ขะหนมซิ่นอยู่ตู่กั๊บเค้าสูเขาก่ไปกิ๋นเหอ"
อาจพบได้มากบริเวณบ้านถิ่นเจริญ ตำบลป่าแงะ คนป่าแงะเรียกคนที่นั้นว่า "ยองบ้านถิ่น" หรือ"ลื้อบ้านถิ่น" เพราะคนบริเวณนั้นอพยพมาจากบ้านถิ่น จังหวัดแพร่
- ภาษาลื้อ มีความคล้านคลึงกับภาษายองแต่แข็งกว่าสังเกตได้ว่าเมื่อพูดจบทุกประโยคจะมีคำว่า "เฮ่อ" "ส่า" หรือ "หย่า" ลงท้ายเสมอ เช่น ไปตางไหนมาเฮ่อ (ไปไหนมา) กิ๋นเข้ากับอะหยังส่า (กินข้าวกับอะไร) จะไปนอนแล้วหย่า (จะไปนอนแล้ว)กิ๋นเค้าแล้วส่า(กินข้าวหรือยัง) เป็นต้น
- ภาษาอีสาน เป็นภาษาที่เหมือน ๆ กับภาษาอีสานทั่ว ๆ ไปที่ใช้พูดในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย พบได้มากบริเวณหมู่บ้างวังผา หมู่บ้านวังน้อย หมู่บ้านวังอวน หมู่บ้านวังศิลา ตำบลสันมะค่า ซึ่งเป็นชุมชนชาวอีสาน อพยพมาจากภาคอีสานของไทยมีอยู่ที่อำเภอป่าแดด เกือบ 100 ปี ที่ผ่านมาแต่ยังคงเอกลักษณ์ของตนเองไว้ได้เป็นอย่างดี
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอhttp://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2512/D/049/1863.PDF เก็บถาวร 2012-03-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอแวงน้อย อำเภอป่าแดด อำเภอเรณูนคร อำเภอคูเมือง อำเภอคุระบุรี อำเภอแม่ลาน้อย อำเภอเสริมงาม อำเภอไพรบึง และอำเภอหนองโดน พ.ศ. ๒๕๑๘ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2518/A/166/1.PDF เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ จำนวนประชากรและบ้าน จำแนกเป็นรายอำเภอ และรายตำบล จังหวัดเชียงราย ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553, สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
- ↑ "วัฒนธรรมทางภาษาเขียนของชาวล้านนา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-09. สืบค้นเมื่อ 2007-03-14.
- สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย เก็บถาวร 2008-02-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- สารนุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้