เขตหนองจอก

เขตในกรุงเทพมหานครของประเทศไทย

หนองจอก เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นเขตที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่ที่สุด สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นท้องทุ่งและเกษตรกรรม มีลำคลองไหลผ่านหลายสาย ปัจจุบันเป็นที่อยู่อาศัยของชาวไทยมุสลิมบางส่วนและมีมัสยิดอยู่เป็นจำนวนมาก

เขตหนองจอก
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันKhet Nong Chok
สวนสาธารณะหนองจอก
สวนสาธารณะหนองจอก
คำขวัญ: 
หนองจอกกว้างใหญ่ ก้าวไกลเกษตรกรรม ธรรมชาติน้อมนำ พหุวัฒนธรรมสามัคคี
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตหนองจอก
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตหนองจอก
พิกัด: 13°51′20″N 100°51′45″E / 13.85556°N 100.86250°E / 13.85556; 100.86250
ประเทศ ไทย
เขตปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร
พื้นที่[2]
 • ทั้งหมด236.261 ตร.กม. (91.221 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด184,138[1] คน
 • ความหนาแน่น779.38 คน/ตร.กม. (2,018.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์10530
รหัสภูมิศาสตร์1003
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 16 ถนนเชื่อมสัมพันธ์ แขวงกระทุ่มราย เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
เว็บไซต์www.bangkok.go.th/nongchok
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

เขตหนองจอกตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกสุดของกรุงเทพมหานคร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

ประวัติศาสตร์

แก้

เดิมเขตหนองจอกมีฐานะเป็น อำเภอหนองจอก ได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2440[3] ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กลุ่มผู้ที่มาตั้งถิ่นฐานพวกแรก ๆ เป็นชาวไทยมุสลิมที่อพยพมาจากหัวเมืองภาคใต้ โดยตั้งชุมชนตามแนวคลองแสนแสบซึ่งได้มีการขุดลอกขยายคลองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว[3] รวมทั้งชาวมอญ จีน ลาว เขมร และอีก 5 ปีต่อมา (พ.ศ. 2445) อำเภอหนองจอกก็ได้มาขึ้นอยู่กับเมืองมีนบุรีซึ่งเป็นหัวเมืองที่ตั้งขึ้นใหม่ในมณฑลกรุงเทพ[4]

ต่อมา เกิดสภาวะวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณของทางราชการ ใน พ.ศ. 2474 จังหวัดมีนบุรีจึงถูกยุบรวมเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดพระนคร ส่วนอำเภอหนองจอกถูกโอนไปขึ้นกับจังหวัดฉะเชิงเทรา[5] แต่เนื่องจากความไม่สะดวกในการเดินทางและการติดต่อระหว่างกัน ในปีถัดมา (พ.ศ. 2475) ทางราชการจึงได้ย้ายอำเภอหนองจอกมาเป็นเขตการปกครองในจังหวัดพระนคร[6]

จนกระทั่งใน พ.ศ. 2514 มีประกาศคณะปฏิวัติให้รวมจังหวัดพระนครกับจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี[7] และในปีถัดมา (พ.ศ. 2515) ก็มีประกาศคณะปฏิวัติเปลี่ยนรูปแบบการบริหารเมืองหลวงใหม่อีกครั้งจากนครหลวงกรุงเทพธนบุรีเป็นกรุงเทพมหานคร แบ่งพื้นที่ออกเป็นเขตและแขวงแทนอำเภอและตำบล[7] อำเภอหนองจอกจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตหนองจอก นับแต่นั้น

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

เขตหนองจอกแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 8 แขวง ได้แก่

หมาย
เลข
อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2566)
ความหนาแน่นประชากร
(ธันวาคม 2566)
แผนที่
1.
กระทุ่มราย Krathum Rai
38.132
41,193
1,080.27
 
2.
หนองจอก Nong Chok
29.992
24,218
807.48
3.
คลองสิบ Khlong Sip
30.849
9,611
311.55
4.
คลองสิบสอง Khlong Sip Song
38.867
12,175
313.25
5.
โคกแฝด Khok Faet
22.524
35,046
1,555.94
6.
คู้ฝั่งเหนือ Khu Fang Nuea
17.750
18,222
1,026.59
7.
ลำผักชี Lam Phak Chi
33.358
33,816
1,013.73
8.
ลำต้อยติ่ง Lam Toiting
24.789
9,857
397.52
ทั้งหมด
236.261
184,138
779.38

ประชากร

แก้

การคมนาคม

แก้

เส้นทางถนนสายหลักในพื้นที่เขตหนองจอก ได้แก่

ส่วนทางสายรองและทางลัด ได้แก่

นอกจากนั้นยังมีลำคลองสายต่างๆ เป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำที่สำคัญมาแต่โบราณอีกด้วย เนื่องจากลักษณะทางภูมิศาสตร์แต่เดิมมาของพื้นที่ ตั้งแต่ก่อนที่จะมีการจัดรูปการบริหารเป็นเขตหนองจอก มีลำคลองขุดเช่น คลองเก้า คลองสิบ จนถึงคลองสิบสี่ขุดผ่าน และมีคลองลัดตัดเชื่อมระหว่างลำคลองสายหลักในลักษณะก้างปลาอย่างทั่วถึง

สถานที่สำคัญ

แก้
  1. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
  2. บางกอกอารีนา
  3. ศูนย์บริหารกิจการศาสนาอิสลามแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ คลองเก้า ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ทำการของทั้งสำนักจุฬาราชมนตรี สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการอิสลามกรุงเทพมหานคร
  4. สถานที่ท่องเที่ยว อาทิ ตลาดเก่าร้อยปี วัดสีชมพู แหล่งเที่ยวชมค้างคาวแม่ไก่

อ้างอิง

แก้
  1. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php เก็บถาวร 2020-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้น 25 มกราคม 2567.
  2. ศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานคร. สถิติจำนวนประชากรและบ้านในกรุงเทพมหานคร จำแนกตามรายแขวงและเขต ณ เดือน ธันวาคม 2550. เก็บถาวร 2009-02-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้น 21 กันยายน 2552.
  3. 3.0 3.1 สำนักงานเขตหนองจอก. "ประวัติความเป็นมา". [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://203.155.220.239/subsite/index.php?strOrgID=001037&strSection=aboutus&intContentID=313[ลิงก์เสีย] [ม.ป.ป.]. สืบค้น 22 กันยายน 2552.
  4. "แจ้งความกระทรวงนครบาล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 19 (23): 464. 7 กันยายน 2445.
  5. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ยุบรวมท้องที่บางมณฑลและบางจังหวัด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 48: 576–578. 21 กุมภาพันธ์ 2474. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2009-09-28.
  6. "พระราชบัญญัติโอนการปกครองอำเภอหนองจอกมาขึ้นจังหวัดพระนคร พุทธศักราช ๒๔๗๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 49: 763–764. 26 มีนาคม 2475.
  7. 7.0 7.1 ศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานคร. "วิวัฒนาการของกรุงเทพมหานคร". [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://203.155.220.230/passbkk/frame.asp เก็บถาวร 2009-02-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 22 กันยายน 2552.
  8. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้