อำเภอภูหลวง
อำเภอในจังหวัดเลย ประเทศไทย
ภูหลวง เป็นอำเภอเล็ก ๆ แห่งหนึ่งในจังหวัดเลย ประชากรมีอาชีพทำนา ทำสวนผลไม้ และพืชไร่ และมีแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอ
อำเภอภูหลวง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Phu Luang |
คำขวัญ: ภูหลวง มรกตแห่งอีสาน ต้นลำธารแม่น้ำเลย วังหัวเมยน่าทัศนา ภูหอสูงเสียดฟ้า ดอกไม้ป่านานาพันธุ์ | |
แผนที่จังหวัดเลย เน้นอำเภอภูหลวง | |
พิกัด: 17°8′24″N 101°39′54″E / 17.14000°N 101.66500°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | เลย |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 595.0 ตร.กม. (229.7 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 25,046 คน |
• ความหนาแน่น | 42.09 คน/ตร.กม. (109.0 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 42230 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 4211 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอภูหลวง หมู่ที่ 3 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2473 ตำบลหนองคัน อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย 42230 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอภูหลวงตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอวังสะพุง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอหนองหิน
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอภูกระดึงและอำเภอน้ำหนาว (จังหวัดเพชรบูรณ์)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอหล่มเก่า (จังหวัดเพชรบูรณ์) และอำเภอด่านซ้าย
ประวัติ
แก้แต่เดิมท้องที่อำเภอภูหลวงนั้นเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอวังสะพุง ต่อมาเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 จึงได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยให้แยก 2 ตำบลออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอภูหลวง[1] ซึ่งในภายหลังกิ่งอำเภอภูหลวงก็ได้ยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอภูหลวง ตามพระราชกฤษฎีกาลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2535 โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 9 พฤษภาคม ปีเดียวกัน[2]
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอภูหลวงแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 ตำบล 43 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | ภูหอ | (Phu Ho) | 13 หมู่บ้าน | ||||
2. | หนองคัน | (Nong Khan) | 9 หมู่บ้าน | ||||
3. | ห้วยสีเสียด | (Huai Sisiat) | 8 หมู่บ้าน | ||||
4. | เลยวังไสย์ | (Loei Wang Sai) | 8 หมู่บ้าน | ||||
5. | แก่งศรีภูมิ | (Kaeng Si Phum) | 8 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอภูหลวงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่
- องค์การบริหารส่วนตำบลภูหอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลภูหอทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองคัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองคันทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยสีเสียด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยสีเสียดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเลยวังไสย์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเลยวังไสย์ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแก่งศรีภูมิทั้งตำบล
สถานศึกษา
แก้โรงเรียนรัฐบาลในสังกัดมัธยมศึกษา
แก้- โรงเรียนภูหลวงวิทยา ประจำอำเภอ
โรงเรียนรัฐบาลในสังกัดประถมศึกษา
แก้- โรงเรียนชุมชนบ้านหนองคัน
- โรงเรียนบ้านหนองบัว
- โรงเรียนบ้านแก่งศรีภูมิ
- โรงเรียนเลยตาดโนนพัฒนา
- โรงเรียนบ้านโคกศรีเจริญ
- โรงเรียนบ้านสวนปอ
- โรงเรียนบ้านเลยวังไสย์
- โรงเรียนบ้านนามูลตุ่น
- โรงเรียนบ้านอุ่ม
- โรงเรียนบ้านไร่สุขสันต์
- โรงเรียนบ้านหนองอีเก้ง
- โรงเรียนบ้านนาดินดำ
- โรงเรียนบ้านห้วยสีเสียด
- โรงเรียนบ้านหนองเขียด
- โรงเรียนบ้านทรัพย์เจริญ
- โรงเรียนวังนํ้าพุ
- โรงเรียนบ้านนาฝายนาโพธิ์
หมายเหตุ : เรียงตามจำนวนนักเรียน มีนาคม 2024
โรงเรียนเอกชน
แก้- โรงเรียนอนุบาลณัฐพันธุ์ภูหลวง
การคมนาคม
แก้การขนส่งที่อำเภอภูหลวงมีดังนี้
ทางบก
แก้- ทางหลวงแผ่นดิน:
- ทางหลวงชนบท: ลย.4038 ลย.4034
สถานที่ท่องเที่ยว
แก้- วนอุทยานน้ำตกห้วยเลา อยู่ในเขตวนอุทยานน้ำตกห้วยเลา บ้านน้ำอุ่น หมู่ที่ 6 ตำบลแก่งศรีภูมิ เป็นน้ำตกหินปูนที่มีความสวย แบ่งออกเป็น 9 ชั้น บนชั้นที่ 9 จะมีถ้ำที่เป็นแหล่งที่มาของน้ำที่ตกลงมาตลอดปี มีที่พักสำหรับนักท่องเที่ยว
- ถ้ำดินลาย อยู่ในเขตวนอุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยเลา บ้านน้ำอุ่น หมู่ที่ 6 ตำบลแก่งศรีภูมิ
- น้ำตกเลยตาด อยู่ในเขตบ้านเลยตาด ตำบลเลยวังไสย์
- น้ำตกเลยหง่า อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตย์ป่าภูหลวง บ้านเลยวังไสย์ ตำบลเลยวังไสย์
- ภูหอ หมู่ที่ 1 ตำบลภูหอ
- น้ำตกชื่นชีวิน ตั้งอยู่ที่ตำบลเลยวังใสย์ การเดินทางวิ่งไปตามถนนหมายเลข 2016
- น้ำตกตาดกกทับ ตั้งอยู่ที่ตำบลเลยวังใสย์ การเดินทางวิ่งไปตามถนนหมายเลข 2016
- จุดชมวิวภูหลวง ตั้งอยู่ที่ตำบลเลยวังใสย์
- อ่างเก็บนํ้าเลย ตั้งอยู่ที่ตำบลแก่งศรีภูมิ บ้านสวนปอ หมู่ที่ 8
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ตั้งเป็นกิ่งอำเภอภูหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 97 (178 ง ฉบับพิเศษ): 19. 20 พฤศจิกายน 2523. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-14. สืบค้นเมื่อ 2007-10-15.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอสอยดาว อำเภอโพนสวรรค์ อำเภอบางขัน อำเภอหว้านใหญ่ อำเภอเมืองปาน อำเภอภูหลวง อำเภอโคกศรีสุพรรณ และอำเภอสำโรง พ.ศ. ๒๕๓๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (45 ก): 27–29. 9 เมษายน 2535. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-14. สืบค้นเมื่อ 2007-10-15.