เขตวังทองหลาง
วังทองหลาง เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพโดยทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางและหนาแน่นน้อย โดยมีย่านการค้าหนาแน่นทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของพื้นที่
เขตวังทองหลาง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Khet Wang Thonglang |
ทางเข้าศูนย์การค้าโชคชัย 4 | |
คำขวัญ: วังทองหลางคล้องใจ ห่วงใยปวงประชา | |
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตวังทองหลาง | |
พิกัด: 13°45′51.2″N 100°36′20.2″E / 13.764222°N 100.605611°E | |
ประเทศ | ไทย |
เขตปกครองพิเศษ | กรุงเทพมหานคร |
พื้นที่[2] | |
• ทั้งหมด | 19.265 ตร.กม. (7.438 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 103,456[1] คน |
• ความหนาแน่น | 5,370.15 คน/ตร.กม. (13,908.6 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10310 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1045 |
ที่อยู่ สำนักงาน | อาคารกาญจนนิมิต เลขที่ 999 ซอยรามคำแหง 39 (เทพลีลา) ถนนรามคำแหง แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร 10310 |
เว็บไซต์ | www |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้เขตวังทองหลางตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งพระนคร) มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตลาดพร้าวและเขตบางกะปิ มีคลองทรงกระเทียม ถนนโชคชัย 4 ถนนสังคมสงเคราะห์ ถนนประดิษฐ์มนูธรรม และคลองทรงกระเทียมเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตบางกะปิ มีคลองจั่น คลองลำพังพวย ถนนลาดพร้าว 101 ถนนลาดพร้าว และคลองจั่นเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตบางกะปิ มีคลองแสนแสบเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตห้วยขวาง มีคลองลาดพร้าวเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อเขต
แก้พื้นที่เขตวังทองหลางในอดีตเป็นส่วนหนึ่งของทุ่งบางกะปิ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวพระนคร ห่างออกไปประมาณ 16 กิโลเมตร ถือเป็นเขตชานเมืองซึ่งส่วนใหญ่เป็นทุ่งนาเวิ้งว้างแต่มีความอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะที่ตั้งชุมชนบริเวณคลองแสนแสบซึ่งมีลักษณะคดโค้งเป็นห้วงน้ำลึกหรือ "วัง" ขนาดใหญ่ ตลอดริมฝั่งคลองในช่วงนี้รวมไปถึงคลองเจ้าคุณสิงห์จะมีต้นทองหลางน้ำ (Erythrina fusca) ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก[3] นอกจากนี้ ที่ดินส่วนใหญ่ยังเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ผู้คนจึงเรียกพื้นที่แถบนี้ว่า "วังทองหลาง"[4][5] อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันได้มีการแบ่งและจัดตั้งพื้นที่การปกครองในระดับแขวงขึ้นใหม่ ส่งผลให้ชื่อและท้องที่แขวงวังทองหลางทุกวันนี้ไม่มีความเกี่ยวข้องกับย่านวังทองหลางดั้งเดิมอีกต่อไป
ประวัติ
แก้ตำบลวังทองหลาง ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นท้องที่การปกครองท้องที่หนึ่งของอำเภอบางกะปิ โดยกระทรวงมหาดไทยได้ขยายเขตสุขาภิบาลบางกะปิให้ครอบคลุมถึงตำบลนี้ด้วยใน พ.ศ. 2506[6] ใน พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครถูกยุบรวมกับจังหวัดธนบุรี เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี[7] และใน พ.ศ. 2515 จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร[8] ซึ่งได้เปลี่ยนคำเรียกเขตการปกครองใหม่ด้วย ตำบลวังทองหลางได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงวังทองหลาง อยู่ในการปกครองของเขตบางกะปิ
จนกระทั่งในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตการปกครองใหม่ โดยรวมพื้นที่แขวงวังทองหลาง พื้นที่บางส่วนของแขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ และพื้นที่บางส่วนของแขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว[2] จัดตั้งเป็น เขตวังทองหลาง เพื่อประโยชน์แก่การปกครอง การให้บริการของรัฐ และความสะดวกของประชาชน และในวันที่ 7 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน ทางกรุงเทพมหานครก็ได้ประกาศตั้งแขวงวังทองหลางเต็มพื้นที่เขตวังทองหลางอย่างเป็นทางการ เพื่อความชัดเจนในการปกครอง โดยประกาศทั้ง 2 ฉบับมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน[9][10] ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่สำนักงานเขตวังทองหลางได้เปิดให้บริการเป็นครั้งแรกพร้อมกับสำนักงานเขตแยกใหม่ทางฝั่งพระนครอีก 5 แห่ง ได้แก่ เขตสายไหม[11] เขตคันนายาว[11] เขตสะพานสูง[11] เขตหลักสี่[12] และเขตคลองสามวา[13]
ต่อมาในวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2545 กระทรวงมหาดไทยประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตลาดพร้าวและเขตวังทองหลาง โดยแบ่งพื้นที่เขตวังทองหลางเฉพาะทางฟากเหนือของถนนสังคมสงเคราะห์ไปรวมกับแขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าวแทน มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม ปีเดียวกัน[14] ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวที่จะไปติดต่อราชการ
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้ในวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้ลงนามในประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงวังทองหลาง และตั้งแขวงสะพานสอง แขวงคลองเจ้าคุณสิงห์ และแขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง โดยใช้ถนนลาดพร้าวและถนนประดิษฐ์มนูธรรมเป็นเส้นแบ่งเขตและให้มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 21 กันยายน ปีเดียวกัน[15] ส่งผลให้ในปัจจุบัน เขตวังทองหลางแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 4 แขวง ได้แก่
หมาย เลข |
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2566) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2566) |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|
1. |
วังทองหลาง | Wang Thonglang | 5.558 |
23,613 |
4,248.47 |
|
2. |
สะพานสอง | Saphan Song | 1.934 |
11,022 |
5,699.07
| |
3. |
คลองเจ้าคุณสิงห์ | Khlong Chaokhun Sing | 4.065 |
26,775 |
6,586.72
| |
4. |
พลับพลา | Phlapphla | 7.708 |
42,046 |
5,454.85
| |
ทั้งหมด | 19.265 |
103,456 |
5,370.15
|
ชุมชนในพื้นที่
แก้- ชุมชนที่ได้รับการจดแจ้ง
1.ชุมชนหมู่บ้านพลับพลา
2.ชุมชนเทพลีลา
3.ชุมชนรุ่งมณีพัฒนา
4.ชุมชนเก้าพัฒนา
5.ชุมชนทรัพย์สินเก่า
6.ชุมชนทรัพย์สินใหม่
7.ชุมชนน้อมเกล้า
8.ชุมชนร่วมสามัคคี
9.ชุมชนริมคลองพลับพลา
10.ชุมชนลาดพร้าว 91
11.ชุมชนซอยรามคำแหง 53
12.ชุมชนไดรฟ์อิน
13.ชุมชนสันประเสริฐ
14.ชุมชนสุเหร่าดอนสะแก
15.ชุมชนจันทราสุข
16.ชุมชนลาดพร้าว 64
17.ชุมชนลาดพร้าว 80 แยก 11
18.ชุมชนหมู่บ้านอยู่เจริญ
19.ชุมชนริมคลองลาดพร้าว
- ชุมชนที่ไม่ได้รับการจดแจ้ง
1.ชุมชนวัดตึก
ประชากร
แก้สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตวังทองหลาง[16] | ||
---|---|---|
ปี (พ.ศ.) | ประชากร | การเพิ่มและการลด |
2540 | 102,218 | แบ่งเขต |
2541 | 104,800 | +2,582 |
2542 | 106,563 | +1,763 |
2543 | 107,903 | +1,340 |
2544 | 109,844 | +1,941 |
2545 | 109,942 | โอนพื้นที่บางส่วนไปขึ้นกับเขตลาดพร้าวและได้รับพื้นที่บางส่วนจากเขตบางกะปิ |
2546 | 111,978 | +2,036 |
2547 | 113,146 | +1,168 |
2548 | 114,132 | +986 |
2549 | 114,950 | +818 |
2550 | 114,984 | +34 |
2551 | 115,685 | +701 |
2552 | 115,713 | +28 |
2553 | 115,697 | -16 |
2554 | 115,083 | -614 |
2555 | 114,748 | -335 |
2556 | 114,805 | +57 |
2557 | 114,295 | -510 |
2558 | 113,521 | -774 |
2559 | 112,849 | -672 |
2560 | 112,116 | -733 |
2561 | 111,293 | -823 |
2562 | 109,653 | -1,640 |
2563 | 107,458 | -2,195 |
2564 | 105,901 | -1,557 |
2565 | 104,478 | -1,423 |
2566 | 103,456 | -1,022 |
การคมนาคม
แก้- รถไฟฟ้า
- ทางสายหลัก
- ทางสายรองและทางลัด
|
|
สถานที่สำคัญ
แก้- โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
- โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา
- พิพิธภัณฑ์เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
- โรงเรียนถนอมพิศวิทยา
- โรงเรียนอุดมศึกษา
- สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
- โรงเรียนพระยาประเสริฐสุนทราศรัย (กระจ่าง สิงหเสนี)
- โรงเรียนอิสลามสันติชน
- โรงเรียนบางกอกศึกษา
- โกลเด้นเพลซ สาขาพระราม 9
- สวนสาธารณะวังทอง
- สยามแม็คโคร สาขา โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) , สาขาทาวน์อินทาวน์
- บิ๊กซี สาขาลาดพร้าว
- สำนักงานเขตวังทองหลาง
- คลินิกศูนย์แพทย์พัฒนา
อ้างอิง
แก้- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php เก็บถาวร 2020-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้น 14 กุมภาพันธ์ 2567.
- ↑ 2.0 2.1 สำนักงานเขตวังทองหลาง. ประวัติความเป็นมาของเขตวังทองหลาง. เก็บถาวร 2009-05-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้น 25 ตุลาคม 2551.
- ↑ "พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตวังทองหลาง". พิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2021.
- ↑ "ข้อมูลทั่วไป แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร". ThaiTambon.com. 2000. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 กันยายน 2012. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2008.
- ↑ สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร. "พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตวังทองหลาง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://203.155.220.217/localmuseum/watthonglang.htm เก็บถาวร 2014-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 30 มีนาคม 2555.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลบางกะปิ อำเภอบางกะปิ จังหวัดพระนคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (114 ง): 2628–2629. 26 พฤศจิกายน 2506.
- ↑ "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (พิเศษ 144 ก): 816–824. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-04-25. สืบค้นเมื่อ 2008-11-21. 21 ธันวาคม 2514.
- ↑ "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๓๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (พิเศษ 190 ก): 187–201. 13 ธันวาคม 2515.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางกะปิ และตั้งเขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (พิเศษ 108 ง): 20–24. 18 พฤศจิกายน 2540.
- ↑ "ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (พิเศษ 121 ง): 23–25. 24 ธันวาคม 2540.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางเขน เขตลาดพร้าว เขตบึงกุ่ม เขตประเวศ และตั้งเขตสายไหม เขตคันนายาว เขตสะพานสูง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (พิเศษ 108 ง): 6–19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-07. สืบค้นเมื่อ 2008-11-21. 18 พฤศจิกายน 2540.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตดอนเมืองและตั้งเขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (พิเศษ 108 ง): 2–5. 18 พฤศจิกายน 2540.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตมีนบุรี และตั้งเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (พิเศษ 108 ง): 25–30. 18 พฤศจิกายน 2540.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตลาดพร้าวและเขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 119 (พิเศษ 22 ง): 10–14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2008-11-21. 11 มีนาคม 2545.
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2552/E/137/55.PDF
- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.