อำเภอเชียงกลาง
เชียงกลาง (ไทยถิ่นเหนือ: ) ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดน่าน เป็นอำเภอที่รองรับการขยายตัวเศรษฐกิจแห่งที่ 2 ของจังหวัดน่านตอนเหนือ
อำเภอเชียงกลาง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Chiang Klang |
ภายในพระอุโบสถวัดหนองแดง | |
คำขวัญ: เชียงกลางเมืองน่าอยู่ เคียงคู่วิหารไทยลื้อ เลื่องลือบ่อน้ำทิพย์พญาไมย น้ำตกสวยใสตาดม่าน ล่องแพน้ำน่านห้วยพ่านแก่งสะม้า ล้ำค่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ชวนพิศเมืองฟ้าใสคนใจงาม | |
แผนที่จังหวัดน่าน เน้นอำเภอเชียงกลาง | |
พิกัด: 19°17′30″N 100°51′42″E / 19.29167°N 100.86167°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | น่าน |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 277.115 ตร.กม. (106.995 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 27,097 คน |
• ความหนาแน่น | 97.78 คน/ตร.กม. (253.2 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 55160 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 5509 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอเชียงกลาง เลขที่ 86 หมู่ที่ 11 ถนนอดุลย์เดชจรัส ตำบลเชียงกลาง อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน 55160 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
สาระสังเขป
แก้อำเภอเชียงกลาง เป็นอำเภอที่เล็กที่สุดของจังหวัดน่าน แต่เต็มไปด้วยความสวยงามธรรมชาติอันบริสุทธิ์ผุดผ่องของภูเขา ลำธาร อาทิ น้ำตกตาดม่าน แก่งสะม้าเก้าบั้ง
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอเชียงกลางตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอทุ่งช้าง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอทุ่งช้างและอำเภอปัว
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอปัวและอำเภอท่าวังผา
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอท่าวังผาและอำเภอสองแคว
ประวัติ
แก้อำเภอเชียงกลาง (คำเมืองออกเสียงว่า เจียงก๋าง) ตามคำบอกเล่าสรุปความว่า เดิมทีเดียวจังหวัดน่านมีที่ตั้งอยู่ที่อำเภอปัวเรียกว่า "วรนคร" และมีเมืองน้อยใหญ่เป็นเมืองบริวาร ทางเหนือของเมืองปัวมีเมืองเปือ เมืองงอบ และเมืองปอน ซึ่งสมัยนั้นข้าศึกที่มักยกกำลังมาย่ำยีคือ เงี้ยวหรือไทยใหญ่ หัวเมืองทางเหนือของเมืองปัวก็ได้แตกร่นถอยลงมาอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำกอนที่มาบรรจบกับแม่น้ำน่านเรียกว่า "สบกอน" ในบริเวณที่ตั้งของเมืองที่แตกทัพร่นมาตั้งมั่นอยู่ตรงระหว่างเมืองเชียงกลางในปัจจุบัน
เดิมพื้นที่ของอำเภอเชียงกลางอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอทุ่งช้าง โดยเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2511 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยให้แยกตำบลเปือ ตำบลเชียงกลาง ตำบลเชียงคาน และตำบลนาไร่หลวง ออกจากการปกครองของอำเภอทุ่งช้าง รวมจัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอเชียงกลาง[1] และได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอเชียงกลางเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514[2]
ต่อมาอำเภอเชียงกลางได้จัดตั้งตำบลใหม่ดังนี้
- ตำบลนาไร่หลวง 8 หมู่บ้าน ได้แยกจัดตั้งเป็นตำบลชนแดนเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ.2521
- ตำบลเปืออีก 7 หมู่บ้านได้แยกจัดตั้งเป็นตำบลพระธาตุในวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2521
- ตำบลเชียงกลาง 6 หมู่บ้านได้แยกจัดตั้งเป็นตำบลพญาแก้วเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2523 และแยกอีก 10 หมู่บ้านขึ้นเป็นตำบลพระพุทธบาท เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ.2526
ต่อมาได้มีการจัดตั้ง กิ่งอำเภอสองแคว โดยแยกตำบลนาไร่หลวง ตำบลชนแดน และตำบลยอด เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ.2535 และได้จัดตั้งเป็นอำเภอสองแควเมื่อ ปี พ.ศ.2540
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอเชียงกลางแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 6 ตำบล 60 หมู่บ้าน ได้แก่
ที่ | ชื่อตำบล | ตัวเมือง | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[3] |
---|---|---|---|---|---|
1. | เชียงกลาง | Chiang Klang | 13 | 7,095 | |
2. | เปือ | Puea | 15 | 6,579 | |
3. | เชียงคาน | Chiang Khan | 5 | 1,641 | |
4. | พระธาตุ | Phra That | 10 | 3,639 | |
5. | พญาแก้ว | Phaya Kaeo | 7 | 3,196 | |
6. | พระพุทธบาท | Phra Phutthabat | 10 | 4,837 |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอเชียงกลางประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลเชียงกลาง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเชียงกลาง ตำบลเปือ และตำบลพญาแก้ว
- เทศบาลตำบลพระพุทธบาทเชียงคาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเชียงคานและตำบลพระพุทธบาททั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเชียงกลางพญาแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเชียงกลางและตำบลพญาแก้ว (นอกเขตเทศบาลตำบลเชียงกลาง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลเปือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเปือ (นอกเขตเทศบาลตำบลเชียงกลาง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพระธาตุทั้งตำบล
สถานที่สำคัญและแหล่งท่องเที่ยว
แก้สถานที่และแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของอำเภอเชียงกลาง ได้แก่
- วัดหนองแดง (สถาปัตยกรรมไทลื้อ)
ตั้งอยู่บ้านหนองแดง หมู่ที่ 1 ตำบลเปือ ห่างจากที่ว่าการอำเภอ 2 กิโลเมตร เป็นโบราณสถานเก่าแก่ของล้านนาไทย ก่อสร้างโดยช่างชาวไทยลื้อ (แคว้นสิบสองปันนา) มีอายุประมาณ 200 ปีเศษ
- น้ำตกตาดม่าน ตั้งอยู่บนสันเขาเวียง(ม่อนเวียง) อยู่ในเขตแนวเทือกเขาผีปันน้ำ ทางตอนตะวันออกของภาคเหนือตอนบน ตั้งอยู่ในเขตบ้านวังทอง หมู่ที่ 3 ตำบลพระพุทธบาท อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 11 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่มีจุดกำเนิดต้นลำน้ำหุย ซึ่งต้นน้ำหุยตั้งอยู่ระหว่างแนวเชื่อมระหว่างอำเภอเชียงกลาง และอำเภอสองแคว ซึ่งลำน้ำหุยมีน้ำไหลตลอดปี เพราะอยู่ในผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์
- รอยพระพุทธบาท (พระบาทตากผ้า)
ตั้งอยู่บ้านเหล่า หมู่ที่ 8 ตำบลพระพุทธบาท ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 7 กิโลเมตร เป็นโบราณสถานเก่าแก่เป็นที่เคารพบูชาองประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะราษฎรตำบลเชียงคานและตำบลพระพุทธบาท มีอายุประมาณ 100 ปีเศษ
- แก่งสะม้าเก้าบั้ง
ตั้งอยู่บ้านตึ๊ด หมู่ที่ 10 ตำบลพระพุทธบาท ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 11 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นโขดหินและลานหินขวางกั้นลำน้ำน่าน ลดหลั่นกันไปถึงขั้นมีระยะทางยาวถึง 3 กิโลเมตร สองฟากฝั่งลำน้ำน่านมีลักษณะเป็นภูเขาและป่าไม้อุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การพักผ่อนและตั้งแคมป์ค้างแรม
- พระธาตุดอนแก้ว
ตั้งอยู่บริเวณบ้านดอนแก้ว หมู่ที่ 1 ตำบลพระธาตุ ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 7 กิโลเมตร
- อ่างเก็บน้ำเลียบ
ตั้งอยู่บ้านดอนแท่น หมู่ที่ 3 ตำบลเชียงคาน ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 8 กิโลเมตร เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ รอบบริเวณอ่างร่มรื่นไปด้วยป่าไม้ธรรมชาติ เหมาะแก่การพักผ่อนและตกปลา
- เมืองพระพุทธศาสนา
ตั้งอยู่บ้านน้ำคา หมู่ที่ 1 ตำบลพญาแก้ว ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 4 กิโลเมตร เป็นสถานที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานและฝึกอบรมปฏิบัติธรรม
- ไร่จุฑามาศ รีสอร์ท
ตั้งอยู่บ้านน้ำอ้อ หมู่ที่ 3 ตำบลเปือ ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 8 กิโลเมตร
- น้ำตกผานางอิง (ฝายข้อมือเหล็ก)
ตั้งอยู่บ้านพญาแก้ว หมู่ที่ 4 ตำบลพญาแก้ว ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 6 กิโลเมตร
- น้ำตกนาอู่
ตั้งอยู่บ้านหนองปลา หมู่ที่ 10 ตำบลพระธาตุ ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 15 กิโลเมตร
- น้ำตกห้วยตะวัน
ตั้งอยู่บ้านเกวต หมู่ที่ 6 ตำบลพญาแก้ว ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 37 กิโลเมตร
- พระธาตุศรีบัวแบ่งเทพมงคล(ธาตุวัดคาว)
ตั้งอยู่บ้านเจดีย์ หมู่ 3 ตำบลเชียงกลาง ห่างจากที่ว่าการอำเภอ ประมาณ 3 กิโลเมตร
- พระธาตุจอมกิตติ
ตั้งอยู่บ้านป่าเลา หมู่ที่ 6 ตำบลพระพุทธบาท ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 5 กิโลเมตร
- อ่างเก็บน้ำน้ำส้อ
ตั้งอยู่บ้านส้อ หมู่ 9 ตำบลเปือ ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 8 กิโลเมตร
- วัดศรีบุญเรือง (สถาปัตยกรรมร่วมสมัย)
ตั้งอยู่บ้านสบกอน หมู่ที่ 5 ตำบลเชียงกลาง เดิมชื่อวัดสบกอน เป็นวัดเก่าและสร้างคู่มากับหมู่บ้านสบกอน
- วัดเจดีย์ (พระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์)
ตั้งอยู่ที่บ้านเจดีย์ หมู่ที่ 3 ตำบลเชียงกลาง เดิมชื่อวัดคาว เป็นวัดเก่าแก่ของอำเภอเชียงกลาง
- พระธาตุศรีบัวแบ่งเทพมงคล (ธาตุวัดคาว)
เป็นพระธาตุเก่าแก่คู่ตำบลเชียงกลาง มีรูปทรงลังกาฐานกว้าง 12 เมตร สูง 16 เมตร
- รอยพระพุทธบาท (ผาม่าน)
ตั้งอยู่บ้านตึ๊ด หมู่ที่ 10 ตำบลพระพุทธบาท ลักษณะเป็นภูเขาศิลา (หินผา) บริเวณนี้เดิมเป็นสถานที่สู้รบกันระหว่างพวกม่านกับพวกเงี้ยวได้สู้รบกันจนมีรอยเลือดแดงฉานกระเด็นติดตามหน้าผา จึงเรียกว่าผาแดงหรือผาม่าน
- รอยพระพุทธบาท (บ้านดอนสบเปือ)
ตั้งอยู่บ้านดอนสบเปือ หมู่ที่ 7 ตำบลเปือ ค้นพบครั้งแรกอยู่บนแท่นผาบริเวณวังพระพุทธบาท ปัจจุบันรอยพระพุทธบาทแห่งนี้เป็นที่เคารพนับถือของชาวอำเภอเชียงกลางและศิษยานุศิษย์ของพระครูชัยวัฒน์อธิโต
- ศาลเจ้าพ่อพญาไมย
ตั้งอยู่บ้านสบกอน หมู่ที่ 5 ตำบลเชียงกลาง เจ้าพ่อพญาไมยเป็นเทพยดาที่ชาวอำเภอเชียงกลางและอำเภอใกล้เคียงเคารพนับถือและเลื่องลือในความศักดิ์สิทธิ์
- อุทยานมัจฉา (บ้านตึ๊ด)
ตั้งอยู่บ้านตึ๊ด หมู่ที่ 10 ตำบลพระพุทธบาท เป็นเขตอนุรักษ์พันธุ์ปลาบริเวณท่าน้ำหลังวัดชัยมงคลถึงสะพานข้ามแม่น้ำน่าน
- แหล่งอนุรักษ์พันธุ์ปลาบ้านหนองผุก (วังปลา )
ตั้งอยู่บ้านหนองผุก หมู่ที่ 10 ตำบลเปือ มีลักษณะเป็นวังน้ำวนขนาดเล็กมี 2 หาด เหมาะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจนักท่องเที่ยว
การเดินทาง
แก้จากตัวเมืองไปตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1080 ระยะทางประมาณ 70 กิโลเมตร
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (54 ง): 1755. 18 มิถุนายน 2511. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ 2011-06-21.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอปลาปาก อำเภอเชียงกลาง อำเภอปากชม อำเภอบ้านม่วง อำเภอพังโคน อำเภอดอนสัก อำเภอพนม อำเภอเวียงสระ อำเภอสังคม และอำเภอหัวตะพาน พ.ศ. ๒๕๑๔" (PDF). Royal ราชกิจจานุเบกษา. 88 (123 ก): 745–748. 16 พฤศจิกายน 2514. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2011-06-21.
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.