อำเภอท่าใหม่

อำเภอในจังหวัดจันทบุรี ประเทศไทย

ท่าใหม่ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดจันทบุรี เป็นที่ตั้งของสนามบินจันทบุรี และยังมีโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขถึง 3 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลท่าใหม่ โรงพยาบาลเขาสุกิม และโรงพยาบาลสองพี่น้อง

อำเภอท่าใหม่
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Tha Mai
คำขวัญ: 
วัดเขาสุกิมลือนาม ทะเลงามเล่าขาน ตำนานเขาพลอยแหวน ดินแดนผลไม้ มากมายปะการัง สะพานดังแขมหนู ฝูงพยูนอ่าวคุ้งกระเบน
แผนที่จังหวัดจันทบุรี เน้นอำเภอท่าใหม่
แผนที่จังหวัดจันทบุรี เน้นอำเภอท่าใหม่
พิกัด: 12°37′15″N 102°0′36″E / 12.62083°N 102.01000°E / 12.62083; 102.01000
ประเทศ ไทย
จังหวัดจันทบุรี
พื้นที่
 • ทั้งหมด612.8 ตร.กม. (236.6 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด70,573 คน
 • ความหนาแน่น115.17 คน/ตร.กม. (298.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 22120
รหัสภูมิศาสตร์2203
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอท่าใหม่ เลขที่ 88 ถนนราชกิจ ตำบลท่าใหม่ อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี 22120
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
บรรยากาศภายในตัวตลาดท่าใหม่
ป่าชายเลนในตำบลคลองขุด

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอท่าใหม่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

มีทางใต้ติดกับทะเลอ่าวไทย

 
เจดีย์กังวาน (เจดีย์วัดเขาพลอยแหวน) ตำบลพลอยแหวน
 
ป่าชายเลนในตำบลคลองขุด

ประวัติ

แก้

อำเภอท่าใหม่ ปรากฏว่าได้เริ่มก่อตั้งเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ เมื่อประมาณเกือบร้อยปี ชาวบ้านที่อยู่ในท้องถิ่นนี้ นอกจากเป็นคนในท้องถิ่นก็ยังมีผู้อพยพมาจากตำบลใกล้เคียง และท้องถิ่นอื่น ๆ อาชีพหลักเป็นการค้าของป่าและทำประมงเท่านั้น ซึ่งขณะนั้นชุมชนหนาแน่นและมีความเจริญเกี่ยวกับการค้าขาย โดยเฉพาะทางเรืออยู่ที่ตำบลบางกะจะ อำเภอเมืองจันทบุรี ซึ่งอยู่ห่างจากตำบลท่าใหม่ประมาณ 12 กิโลเมตร ระยะต่อมาได้มีชาวจีนเข้ามาแสวงโชคลาภในแผ่นดินไทยมากขึ้น ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานทำการค้าขายทางเรือรับ - ส่งสินค้าโดยตรงจากกรุงเทพ ฯ และหัวเมืองชายทะเลอื่น ๆ โดยไม่ต้องอาศัยบางกะจะเป็นทางผ่านสินค้าเหมือนเช่นเคย เพราะตำบลท่าใหม่มี่ท่าเรือแห่งใหม่ก็ได้ชื่อว่า "ท่าใหม่" มาจนปัจจุบันนี้

อำเภอท่าใหม่ได้เริ่มจัดระเบียบการปกครองเป็นอำเภอตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2440 (ร.ศ.116) มาตั้งแต่ พ.ศ. 2443 เดิมเรียกว่า "อำเภอโขมง" ต่อมาประมาณ พ.ศ. 2446 ย้ายไปอยู่บริเวณวัดเขาพลอยแหวน เรียกว่า "อำเภอพลอยแหวน"[1] พ.ศ. 2460 ย้ายมาตั้งที่ตำบลท่าใหม่ จึงเปลี่ยนชื่อให้สอดคล้องกับชื่อตำบลว่า "อำเภอท่าใหม่"[2]

  • วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2446 ท้องที่นี้มีชื่อว่า "อำเภอพลอยแหวน" อยู่ในแขวงเมืองจันทบุรี[1]
  • วันที่ 21 กรกฎาคม 2450 โอนพื้นที่ตำบลบางกะไชย อำเภอพลอยแหวน ไปขึ้นกับอำเภอพลิ้ว (อำเภอแหลมสิงห์)[3]
  • วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2457 โอนพื้นที่ตำบลแก่งหางแมว อำเภอท่าหลวง (อำเภอมะขาม) มาขึ้นกับอำเภอพลอยแหวน[4]
  • วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอพลอยแหวน จังหวัดจันทบุรี เป็น อำเภอท่าใหม่[2]
  • วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2468 ยุบตำบลหนองบัว และแยกเอาหมู่บ้านจากตำบลหนองบัวที่ได้ยุบ ได้แก่ หมู่ 6 ไปรวมขึ้นกับตำบลท่าใหม่ หมู่ 4, 10 ไปรวมขึ้นกับตำบลเขาบายศรี และหมู่ 1, 2, 3, 5, 7, 8, 9, 11 ไปรวมขึ้นกับตำบลสองพี่น้อง[5]
  • วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2469 โอนพื้นที่ตำบลบางกะจะ อำเภอท่าใหม่ ไปขึ้นกับอำเภอเมืองจันทบุรี[6]
  • วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2481 โอนพื้นที่หมู่ 9 (ในตอนนั้น) จากตำบลเขาบายศรี ไปขึ้นกับตำบลท่าใหม่ และรวมพื้นที่ตำบลยายร้า เข้ากับตำบลท่าใหม่ แล้วจัดตั้งเป็นตำบลใหม่ ขนานนามว่า ตำบลท่าใหม่[7]
  • วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2483 ยกฐานะท้องที่ตำบลท่าใหม่ ขึ้นเป็นเทศบาลตำบลท่าใหม่[8]
  • วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490 ตั้งตำบลบ่อพุ แยกออกจากตำบลสีพยา ตั้งตำบลเขาวัว แยกออกจากตำบลเขาบายศรี ตั้งตำบลโขมง แยกออกจากตำบลรำพัน ตั้งตำบลสนามไชย แยกออกจากตำบลคลองขุด และตำบลกระแจะ[9]
  • วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2491 แยกการปกครองหมู่ที่ 6, 11, 14, 15, 16, 17, 18 (ในขณะนั้น) ของตำบลท่าใหม่ ตั้งขึ้นเป็นตำบลยายร้า[10]
  • วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508 จัดตั้งสุขาภิบาลหนองคล้า ในท้องที่บางส่วนของตำบลทุ่งเบญจา[11]
  • วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2521 ตั้งตำบลสามพี่น้อง แยกออกจากตำบลแก่งหางแมว[12]
  • วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2526 ตั้งตำบลเขาวงกต แยกออกจากตำบลนายายอาม[13]
  • วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 จัดตั้งสุขาภิบาลนายายอาม ในท้องที่บางส่วนของตำบลนายายอาม[14]
  • วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2532 ตั้งตำบลขุนซ่อง แยกออกจากตำบลแก่งหางแมว และตั้งตำบลพวา แยกออกจากตำบลสามพี่น้อง[15]
  • วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 แยกพื้นที่ตำบลแก่งหางแมว ตำบลขุนซ่อง ตำบลสามพี่น้อง ตำบลพวา และตำบลเขาวงกต อำเภอท่าใหม่ ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอแก่งหางแมว[16] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอท่าใหม่
  • วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2533 ตั้งตำบลเขาแก้ว แยกออกจากตำบลทุ่งเบญจา[17]
  • วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2535 แยกพื้นที่ตำบลนายายอาม ตำบลช้างข้าม ตำบลกระแจะ ตำบลวังโตนด และตำบลสนามไชย อำเภอท่าใหม่ ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอนายายอาม[18] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอท่าใหม่
  • วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2536 จัดตั้งสุขาภิบาลเนินสูง ในท้องที่หมู่ 1, 2, 3, 4, 8, 9 ตำบลเขาวัว และหมู่ 1, 2, 6, 7, 8 ตำบลเขาบายศรี[19]
  • วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2538 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอแก่งหางแมว อำเภอท่าใหม่ เป็น อำเภอแก่งหางแมว[20]
  • วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2539 ตั้งตำบลวังใหม่ แยกออกจากตำบลวังโตนด[21]
  • วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอนายายอาม อำเภอท่าใหม่ เป็น อำเภอนายายอาม[22]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลหนองคล้า และสุขาภิบาลเนินสูง เป็นเทศบาลตำบลหนองคล้า และเทศบาลตำบลเนินสูง ตามลำดับ[23] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อพุ รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลสีพยา และยุบองค์การบริหารส่วนตำบลพลอยแหวน รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลเขาวัว[24]
  • วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2548 เปลี่ยนแปลงเขตตำบลเขาบายศรีและตำบลทุ่งเบญจา อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี (แก้ไขจากประกาศเดิมกระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ลงวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2540 นั้น) ให้มีความถูกต้องแม่นยำ[25] โดยกำหนดให้ตำบลเขาบายศรีมีเขตการปกครองทั้งหมด 12 หมู่บ้าน และกำหนดให้ตำบลทุ่งเบญจามีเขตการปกครองทั้งหมด 13 หมู่บ้าน
  • วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2548 เปลี่ยนแปลงชื่อองค์การบริหารส่วนตำบลเขาวัว อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเขาวัว - พลอยแหวน และเปลี่ยนแปลงชื่อองค์การบริหารส่วนตำบลสีพยา อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลสีพยา - บ่อพุ[26]
  • วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลเขาบายศรี ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลเขาบายศรี[27]
  • วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลเขาวัว-พลอยแหวน ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลเขาวัว - พลอยแหวน[28]
  • วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555 เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลท่าใหม่ เป็นเทศบาลเมืองท่าใหม่[29]
  • วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลสองพี่น้อง ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลสองพี่น้อง[30]

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

อำเภอท่าใหม่แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 14 ตำบล 124 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[31]
1. ท่าใหม่ Tha Mai
8,101
2. ยายร้า Yai Ra
1,948
3. สีพยา Si Phaya
11
1,546
4. บ่อพุ Bo Phu
8
1,234
5. พลอยแหวน Phloi Waen
7
1,771
6. เขาวัว Khao Wua
9
3,432
7. เขาบายศรี Khao Baisi
12
7,838
8. สองพี่น้อง Song Phi Nong
17
7,647
9. ทุ่งเบญจา Thung Bencha
14
11,554
10. รำพัน Ramphan
10
3,592
11. โขมง Khamong
6
2,583
12. ตะกาดเง้า Takat Ngao
10
7,535
13. คลองขุด Khlong Khut
10
5,057
14. เขาแก้ว Khao Kaeo
10
6,867

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอท่าใหม่ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 13 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองท่าใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าใหม่และตำบลยายร้าทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลหนองคล้า ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลทุ่งเบญจา
  • เทศบาลตำบลเนินสูง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเขาวัวและตำบลเขาบายศรี
  • เทศบาลตำบลเขาบายศรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาบายศรี (นอกเขตเทศบาลตำบลเนินสูง)
  • เทศบาลตำบลเขาวัว-พลอยแหวน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพลอยแหวนทั้งตำบล และตำบลเขาวัว (นอกเขตเทศบาลตำบลเนินสูง)
  • เทศบาลตำบลสองพี่น้อง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสองพี่น้องทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสีพยา-บ่อพุ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสีพยาและตำบลบ่อพุทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเบญจา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งเบญจา (นอกเขตเทศบาลตำบลหนองคล้า)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลรำพัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลรำพันทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโขมง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโขมงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตะกาดเง้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะกาดเง้าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองขุด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองขุดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเขาแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาแก้วทั้งตำบล

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย ประกาศให้เก็บเงินค่าใบอนุญาตร่อนหาแร่พลอย อำเภอพลอยแหวน แขวงเมืองจันทบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 20 (39): 666–667. December 27, 1903.
  2. 2.0 2.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 40–68. April 29, 1917. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-07. สืบค้นเมื่อ 2021-03-30.
  3. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง โอนตำบลพลับพลา ๑ โป่งแรด ๑ คลองนารายณ์ ๑ สระบาป ๑ เกราะขวาง ๑ จากอำเภอพลิ้ว ขึ้นอำเภอจันทบุรี โอนตำบลกระไชย จากอำเภอพลอยแหวนขึ้นอำเภอพลิ้ว" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 24 (16): 401. July 21, 1907.
  4. "ประกาศงดการเก็บอากรสมพักศรในตำบลตะเคียนทอง ตำบลแก่งหางแมว ท้องที่ อำเภอท่าหลวง แขวงเมืองจันทบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 31 (0 ก): 276. July 26, 1914.
  5. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ ในตำบลหนองบัว อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ซึ่งโอนไปขึ้นตำบลท่าใหม่ ตำบลเขาบายศรี และตำบลสองพี่น้อง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 42 (0 ก): 33–34. May 24, 1925.
  6. "ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ สำหรับตำบลบางกะจะ อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ซึ่งโอนไปขึ้นท้องที่อำเภอเมืองจันทบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 43 (0 ก): 594. December 26, 1926.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดจันทบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 3398–3399. January 16, 1938.
  8. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี พุทธศักราช ๒๔๘๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 47 (0 ก): 130–134. June 24, 1940.
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. June 10, 1947. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2021-03-30.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในเขตเทศบาล จังหวัดจันทบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 65 (72 ง): 4037–4039. December 14, 1948.
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลหนองคล้า อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 82 (103 ง): 2948–2949. November 30, 1965.
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 95 (98 ง): 3108–3111. September 19, 1978.
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (141 ง): 3068–3070. August 30, 1983.
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลนายายอาม อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (193 ง): 5155–5156. November 6, 1986.
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบล ในท้องที่อำเภอท่าใหม่ และอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (178 ง): (ฉบับพิเศษ) 73-87. October 18, 1989.
  16. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ตั้งเป็นกิ่งอำเภอแก่งหางแมว" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (25 ง): 1348. February 13, 1990. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-01-26. สืบค้นเมื่อ 2021-03-30.
  17. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (149 ง): (ฉบับพิเศษ) 84-91. August 17, 1990.
  18. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ตั้งเป็นกิ่งอำเภอนายายอาม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (53 ง): (ฉบับพิเศษ) 4. April 22, 1992. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 2021-03-30.
  19. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเนินสูง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (225 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-2. December 28, 1993.
  20. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอด่านมะขามเตี้ย อำเภอแก่งหางแมว อำเภอภักดีชุมพล อำเภอเวียงแก่น อำเภอแม่วาง อำเภอถ้ำพรรณรา อำเภอบ่อเกลือ อำเภอโนนสุวรรณ อำเภอห้วยราช อำเภอแม่ลาน อำเภอบางแก้ว อำเภอป่าพะยอม อำเภอหนองม่วงไข่ อำเภอยางสีสุราช อำเภอจังหาร อำเภอบ้านธิ อำเภอภูสิงห์ อำเภอบางกล่ำ อำเภอวังม่วง และอำเภอนายูง พ.ศ. ๒๕๓๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (32 ก): 1–3. August 8, 1995. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-01-26. สืบค้นเมื่อ 2021-03-30.
  21. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (3 ง): 20–24. January 9, 1996.
  22. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเหนือคลอง อำเภอนายายอาม อำเภอท่าตะเกียบ อำเภอขุนตาล อำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ลาว อำเภอรัษฎา อำเภอพุทธมณฑล อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอเจาะไอร้อง อำเภอชำนิ อำเภอโนนดินแดง อำเภอปางมะผ้า อำเภอลำสนธิ อำเภอหนองม่วง อำเภอเบญจลักษ์ อำเภอโพนนาแก้ว อำเภอบุ่งคล้า อำเภอดอนมดแดง และอำเภอลืออำนาจ พ.ศ. ๒๕๓๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (62 ก): 5–8. November 20, 1996. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-05-21. สืบค้นเมื่อ 2021-03-30.
  23. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-03-30.
  24. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง รวมองค์การบริหารส่วนตำบลกับองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). July 1, 2004: 10–11. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  25. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 122 (24 ง): 46–54. March 24, 2005.
  26. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่อองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 122 (117 ง): 6. December 15, 2005.
  27. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล เขาบายศรี เป็น เทศบาลตำบล". July 25, 2008. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  28. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล เขาวัว-พลอยแหวน เป็น เทศบาลตำบลเขาวัว - พลอยแหวน". October 27, 2009. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  29. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลท่าใหม่ อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เป็นเทศบาลเมืองท่าใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 129 (ตอนพิเศษ 64 ง): 13. April 5, 2012.
  30. "เปลี่ยนฐานะจาก องค์การบริหารส่วนตำบลสองพี่น้อง เป็น เทศบาลตำบลสองพี่น้อง". August 31, 2012. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  31. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.