อำเภอวัดเพลง
วัดเพลง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดราชบุรี และเป็นอำเภอที่มีพื้นที่และจำนวนประชากรน้อยที่สุดในจังหวัดราชบุรีและในภาคตะวันตกของประเทศไทย มีระยะเวลาการเป็นกิ่งอำเภอยาวนานถึง 48 ปี ตั้งขึ้นเป็นกิ่งอำเภอในปี พ.ศ. 2457[1] ขึ้นตรงต่ออำเภอปากท่อของเมืองราชบุรี และยกฐานะเป็นอำเภอในปี พ.ศ. 2506[2]
อำเภอวัดเพลง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Wat Phleng |
โบสถ์ร้อยปี วัดพระหฤทัย | |
คำขวัญ: ถิ่นเพลงปรบไก่ แควอ้อมใสไหลผ่าน ย่านผลไม้รสดี มากมีขนมโบราณ นมัสการเจ้าพ่อหลักหิน งามศิลป์โบสถ์ร้อยปี | |
แผนที่จังหวัดราชบุรี เน้นอำเภอวัดเพลง | |
พิกัด: 13°27′14″N 99°53′14″E / 13.45389°N 99.88722°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ราชบุรี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 37.892 ตร.กม. (14.630 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 12,129 คน |
• ความหนาแน่น | 320.09 คน/ตร.กม. (829.0 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 70170 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 7009 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอวัดเพลง หมู่ที่ 5 ถนนราชบุรี-วัดเพลง ตำบลวัดเพลง จังหวัดราชบุรี 70170 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอวัดเพลงมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเมืองราชบุรี
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภออัมพวาและอำเภอบางคนที (จังหวัดสมุทรสงคราม)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอปากท่อ
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอปากท่อและอำเภอเมืองราชบุรี
ประวัติ
แก้ตามจดหมายเหตุราชบุรี ท้องที่อำเภอวัดเพลงเดิมเป็น อำเภอท่านัด–วัดประดู่ และเมื่อย้ายมาตั้งที่ริมฝั่งแม่น้ำอ้อม เรียกว่า อำเภอแม่น้ำอ้อม ต่อมาเมื่อ ร.ศ. 128 ทางราชการเห็นว่าอำเภอในจังหวัดราชบุรีมีมากเกินสมควร จึงได้ตัดอำเภอแม่น้ำอ้อมไปขึ้นอยู่กับจังหวัดสมุทรสงคราม[3][4] แต่ในปีเดียวกันนั้นเองราษฎรอำเภอแม่น้ำอ้อมได้ร้องเรียนต่อมณฑลราชบุรีว่าการไปมาติดต่อกับสมุทรสงครามไม่สะดวก เพราะราษฎรไม่สันทัดทางเรือ ทำให้ได้รับอันตราย จึงขอให้โอนกลับมาจังหวัดราชบุรีตามเดิม[5] กระทรวงมหาดไทยจึงให้อำเภอแม่น้ำอ้อมมาตั้งเป็นอำเภอปากท่อ ย้ายที่ว่าการอำเภอแม่น้ำอ้อม จากตำบลวัดเพลง ไปตั้งที่ตำบลปากท่อ และเรียกชื่ออำเภอว่า อำเภอปากท่อ และที่ว่าการอำเภอเดิม ให้ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ เรียกชื่อกิ่งอำเภอว่า "กิ่งอำเภอวัดเพลง"[1] ตั้งเป็นกิ่งอำเภอขึ้นแทนอำเภอแม่น้ำอ้อม และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอปากท่อ เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2457 แต่ยังคงให้สถานีตำรวจภูธรไว้ตามเดิมด้วยเกรงว่าเหตุการณ์โจรผู้ร้ายจะกำเริบขึ้น กิ่งอำเภอวัดเพลงได้ยกฐานะเป็นอำเภอ เมื่อ พ.ศ. 2506[2]
การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอวัดเพลงแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 3 ตำบล 28 หมู่บ้าน
1. | เกาะศาลพระ | (Ko San Phra) | 10 หมู่บ้าน | ||
2. | จอมประทัด | (Chom Prathat) | 8 หมู่บ้าน | ||
3. | วัดเพลง | (Wat Phleng) | 10 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอวัดเพลงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลวัดเพลง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะศาลพระ (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 9–10) และตำบลวัดเพลง (เฉพาะหมู่ที่ 2, 5 และบางส่วนของหมู่ที่ 1, 3–4, 7)
- องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะศาลพระ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะศาลพระ (เฉพาะหมู่ที่ 1–8 และบางส่วนของหมู่ที่ 9–10)
- องค์การบริหารส่วนตำบลจอมประทัด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจอมประทัดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลวัดเพลง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวัดเพลง (เฉพาะหมู่ที่ 6, 8–10 และบางส่วนของหมู่ที่ 1, 3–4, 7)
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ย้ายที่ว่าการอำเภอแลตั้งกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 31 (0 ง): 2220. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-04. สืบค้นเมื่อ 2022-06-25. วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2457
- ↑ 2.0 2.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอบ่อพลอย อำเภอไทรโยค อำเภอหนองปรือ อำเภอหนองสองห้อง อำเภอประทาย อำเภอห้วยแถลง อำเภอละหานทราย อำเภอกุยบุรี อำเภอตาพระยา อำเภอหนองไผ่ อำเภอนาเชือก อำเภอวัดเพลง อำเภอพนัสนิคม อำเภอภูกระดึง อำเภอปรางค์กู่ อำเภอท่าช้าง อำเภอบ้านด่านลานหอย อำเภอบ้านดุง อำเภอสว่างอารมณ์ และอำเภอกุดชุม พ.ศ. ๒๕๐๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (72 ก): 362–366. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-05-21. สืบค้นเมื่อ 2022-06-25. วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2506
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย ประกาศยกเขตอำเภอแม่น้ำอ้อม อำเภอสี่หมื่น จากเมืองราชบุรีไปขึ้นเมืองสมุทรสงคราม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28 (0 ง): 489. วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2454
- ↑ "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยกเลิกอำเภอแม่น้ำอ้อม กับ อำเภอสี่หมื่น เมืองราชบุรีมาเป็นเขตเมือง สมุทรสงคราม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30 (0 ง): 1073. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-07. สืบค้นเมื่อ 2022-06-25. วันที่ วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2456
- ↑ "แจ้งความกระทรวงมุรธาธร เรื่อง เปลี่ยนอักษรเบื้องล่างในดวงตราตำแหน่งอำเภอแม่น้ำอ้อม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 31 (0 ง): 1075–1076. วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2457