จังหวัดปัตตานี
ปัตตานี (มลายูปัตตานี: ڤطاني / 'ตานิง) เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย ติดต่อกับจังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดสงขลา
จังหวัดปัตตานี | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Changwat Pattani |
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง : วัดช้างให้ราษฎร์บูรณาราม มัสยิดกรือเซะ ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี | |
คำขวัญ: เมืองงามสามวัฒนธรรม ศูนย์ฮาลาลเลิศล้ำ ชนน้อมนำศรัทธา ถิ่นธรรมชาติงามตา ปัตตานีสันติสุขแดนใต้ | |
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดปัตตานีเน้นสีแดง | |
ประเทศ | ไทย |
การปกครอง | |
• ผู้ว่าราชการ | พาตีเมาะ สะดียามู (ตั้งแต่ พ.ศ. 2565) |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 1,940.356 ตร.กม. (749.176 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 68 |
ประชากร (พ.ศ. 2564)[2] | |
• ทั้งหมด | 737,077 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 33 |
• ความหนาแน่น | 379.87 คน/ตร.กม. (983.9 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | อันดับที่ 9 |
รหัส ISO 3166 | TH-94 |
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด | |
• ต้นไม้ | ตะเคียนทอง |
• ดอกไม้ | ชบา |
• สัตว์น้ำ | ปลาสลิด |
ศาลากลางจังหวัด | |
• ที่ตั้ง | ถนนเดชา ตำบลสะบารัง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี 94000 |
• โทรศัพท์ | 0 7334 9002, 0 7333 1154 |
• โทรสาร | 0 7334 9002 |
เว็บไซต์ | http://www.pattani.go.th |
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
แก้- ตราประจำจังหวัด: ปืนใหญ่นางพญาตานี
- ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกชบา (Hibiscus sp.)
- ต้นไม้ประจำจังหวัด: ตะเคียนทอง (Hopes odorata)
- คำขวัญประจำจังหวัด: เมืองงามสามวัฒนธรรม ศูนย์ฮาลาลเลิศล้ำ ชนน้อมนำศรัทธา ถิ่นธรรมชาติงามตา ปัตตานีสันติสุขแดนใต้
- คำขวัญประจำจังหวัดเดิม: บูดูสะอาด หาดทรายสวย รวยน้ำตก นกเขาดี ลูกหยีอร่อย หอยแครงสด
ที่มาของชื่อ
แก้คำว่า ปัตตานี มาจากคำภาษามลายูปัตตานี ڤطاني ซึ่งมาจากคำว่า Pata Ini ("ชายหาดแห่งนี้") อีกทีหนึ่ง[ต้องการอ้างอิง]
ประวัติศาสตร์
แก้จากหลักฐานทางโบราณคดีเบื้องต้น ได้พบร่องรอยของชุมชนโบราณในปัตตานีที่อำเภอยะรัง คือเมืองโบราณยะรัง เป็นเมืองพุทธศาสนถานมหายานเป็นเมืองที่มีความเจริญ ในช่วง พ.ศ. 700-1400 เป็นเมืองโบราณซ้อนทับกัน 3 เมือง ตั้งแต่บ้านวัดที่เก่าแก่ที่สุด บ้านจาเละ และบ้านประแว ในนี้มีโบราณสถานกว่า 40 แห่ง[3] ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 มีความเจริญรุ่งเรือง มีศูนย์กลางการปกครองที่โกตามะลิฆา (Kota Malikha) ใน ตำนานมะโรงมหาวงศ์ มีชื่อ "ลังกาสุกะ" ซึ่งเจริญขึ้นมาร่วมสมัยกับยุคสหพันธรัฐเมืองท่าศรีวิชัย โดยมีพื้นฐานบ้านเมืองแรกเริ่มเก่าไปถึงพุทธศตวรรษที่ 12 ที่บริเวณเมืองโบราณบ้านวัด[4]
ต่อมาพุทธศตวรรษที่ 18–20 เปลี่ยนไปรับอิทธิพลของอิสลาม[5] และย้ายเมืองไปที่บ้านกรือเซะหรือหมู่บ้านปะตะนี เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้ชายทะเลและปากแม่น้ำปัตตานีมากกว่าเมืองโกตามะลิฆา เมืองท่านี้มึความโดดเด่นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 23 เมืองมีความเข้มแข็งพอที่จะต้านการรุกรานของรัฐที่ใหญ่โตกว่าอย่างกรุงศรีอยุธยา เมืองในยุคนี้มีประชากรต่างชาติต่างภาษาอพยพเข้ามาเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะจีน ที่กลายมาเป็นชุมชนใหญ่ชุมชนหนึ่งในปัตตานี[6] มีเหตุการณ์สำคัญอย่างกลุ่มโจรสลัดจากฝูเจียน นําโดยหลิน เต้า-เฉียน ได้อพยพหนีการปราบปรามของราชวงศ์หมิง ไปยึดเมืองปัตตานีไว้ได้เป็นระยะเวลาหนึ่ง ประมาณ พ.ศ. 2116–2163 ชาวปัตตานีรู้จักในฐานะตํานานเรื่อง เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว และการสร้างปืนใหญ่นางพญาตานี[7]
อาณาจักรปัตตานีอยู่ในฐานะประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา ลักษณะความสัมพันธ์ขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของไทย คราวใดไทยอ่อนแอหรือเกิดความวุ่นวายในราชธานี ปัตตานีก็จะถือเป็นอิสระ เมื่อเริ่มสมัยรัตนโกสินทร์ฝ่ายไทยก็ยกทัพไปปราบ จึงได้ปัตตานีมาเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทยอีกครั้ง จากนั้นมาไทยเริ่มปรับปรุงระบบควบคุมปัตตานีให้รัดกุมขึ้นเป็นลำดับ จนในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการตั้งมณฑลปัตตานี[8]
พ.ศ. 2475 มณฑลปัตตานีถูกยุบรวมกับมณฑลนครศรีธรรมราช กระทั่ง พ.ศ. 2476 ได้รับการยกฐานะเป็นจังหวัดปัตตานี[9]
ภูมิศาสตร์
แก้ที่ตั้ง
แก้ปัตตานีเป็นหนึ่งในห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลตะวันออกของภาคใต้สุด ติดกับทะเลจีนใต้ อยู่ห่างจากกรุงเทพโดยทางรถยนต์ประมาณ 1,055 กิโลเมตร หรือ 1,025 กิโลเมตรโดยทางรถไฟที่ (สถานีรถไฟโคกโพธิ์)
ภูเขาที่สำคัญ
แก้ได้แก่ ภูเขาทรายขาว ซึ่งอยู่ในทิวเขาสันกาลาคีรี มีแม่น้ำที่สำคัญ 2 สาย คือ แม่น้ำปัตตานีและแม่น้ำสายบุรี ภูมิอากาศอบอุ่นตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ย 27.5 องศาเซลเซียส ฝนตกชุกในระหว่างเดือนธันวาคม-มกราคม ฝนตกเฉลี่ย 1,750.9 มิลลิเมตร/ปี (เฉลี่ยในรอบ 30 ปี)
ประชากร
แก้ศาสนา
แก้ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม รองลงมาคือศาสนาพุทธและอื่น ๆ จากการสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2555 พบว่า ประชากรนับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 87.25 นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 12.72 และศาสนาอื่น ๆ ร้อยละ 0.03 แต่การสำรวจใน พ.ศ. 2556-2558 พบว่าประชากรนับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 86.25 นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 13.70 และศาสนาอื่น ๆ ร้อยละ 0.05[11] ใน พ.ศ. 2555 หลังการก่อวินาศกรรมด้วยการวางระเบิดถนนสายหลักในปัตตานี ส่งผลให้ชาวไทยเชื้อสายจีนและชาวไทยพุทธจำนวนมากอพยพออกจากปัตตานี ประชากรที่นับถือศาสนาพุทธจึงหดตัวอย่างเฉียบพลัน[12] จากการสำรวจของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานีเมื่อ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2562 พบว่า ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 87.57, ศาสนาพุทธ ร้อยละ 12.41 และศาสนาอื่น ๆ ร้อยละ 0.03[10]
ศาสนา | 2503[13] | 2554[14] | 2555[15][16] | 2556[15][16] | 2557[17] | 2558[17] | 2559[17] | 2562[10] |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อิสลาม | 78.20% | 90.44% | 87.25% | 86.25% | 87.49% | 86.67% | 86.58% | 87.57% |
พุทธ | 20.00% | 9.56% | 12.72% | 13.70% | 12.74% | 13.32% | 13.40% | 12.41% |
คริสต์ | – | 0.01% | – | – | – | – | – | – |
อื่น ๆ | 1.80% | – | 0.03% | 0.05% | 0.02% | 0.02% | 0.02% | 0.03% |
ชาวปัตตานีมีอาชีพหลักคือการทำนา สวนยาง นอกจากนี้ประชาชนที่อาศัยอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัด เช่น อำเภอเมืองปัตตานี อำเภอปะนาเระ และอำเภอสายบุรี ยังประกอบอาชีพประมง ซึ่งส่งผลให้เกิดผลผลิตในภาคอุตสาหกรรมต่อเนื่องอย่างมาก
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ปี | ประชากร | ±% |
---|---|---|
2553 | 655,259 | — |
2554 | 663,485 | +1.3% |
2555 | 671,615 | +1.2% |
2556 | 678,838 | +1.1% |
2557 | 686,186 | +1.1% |
2558 | 694,023 | +1.1% |
2559 | 700,961 | +1.0% |
2560 | 709,796 | +1.3% |
อ้างอิง:กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย |
การเมืองการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้การปกครองแบ่งออกเป็น 12 อำเภอ 115 ตำบล 642 หมู่บ้าน
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้จังหวัดปัตตานี มีการแบ่งการปกครองส่วนท้องถิ่นดังนี้
- เทศบาลเมือง
มีเทศบาลเมือง 2 แห่ง
อุทยาน
แก้สถานที่ท่องเที่ยว
แก้- มัสยิดกรือเซะ เป็นมัสยิดที่สร้างโดยสุลต่านมุสัฟฟาร์ ชาร์ พระองค์ได้สร้างมัสยิดแห่งนี้พร้อมกับมัสยิดบ้านดาโตะ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
มัสยิดกรือเซะเป็นมัสยิดที่สุลต่านใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติศาสนกิจและะพบปะพูดคุยกับประชาชน มัสยิดกรือเซะเป็นมัสยิดแห่งแรกในคาบสมุทรมลายู[ต้องการอ้างอิง]
- หาดตะโล๊ะกาโปร์
- หาดแฆแฆ
- เมืองโบราณยะรัง
- ศาลหลักเมืองปัตตานี
- ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวหรือศาลเจ้าเล่งจูเกียง
- สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ปัตตานี
- หอนาฬิกาสามวัฒนธรรม
- มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี
- มัสยิดรายอ ปัตตานี
- มัสยิดกรือเซะ ปัตตานี
- วังยะหริ่ง ปัตตานี
- วังสายบุรี ปัตตานี
- วังพิพิธภักดี ปัตตานี
- วังจะบังตีกอ ปัตตานี
- ย่านเมืองเก่าปัตตานี (กือดาจีนอ)
- วัดช้างให้ราษฎร์บูรณาราม
- หาดตะโละสะมิแล
- สะพานไม้บานา
- ปัตตานีบาซาร์
- หอดูนก
- blue lake ปัตตานี
การขนส่ง
แก้ระยะทางจากตัวจังหวัดไปอำเภอต่าง ๆ
แก้- อำเภอหนองจิก 8 กิโลเมตร
- อำเภอยะหริ่ง 15 กิโลเมตร
- อำเภอยะรัง 16 กิโลเมตร
- อำเภอโคกโพธิ์ 26 กิโลเมตร
- อำเภอแม่ลาน 27 กิโลเมตร
- อำเภอมายอ 30 กิโลเมตร
- อำเภอปะนาเระ 42 กิโลเมตร
- อำเภอทุ่งยางแดง 44 กิโลเมตร
- อำเภอสายบุรี 50 กิโลเมตร
- อำเภอกะพ้อ 65 กิโลเมตร
- อำเภอไม้แก่น 68 กิโลเมตร
การศึกษา
แก้ระดับอุดมศึกษา
แก้- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
- มหาวิทยาลัยฟาฏอนี วิทยาเขตปัตตานี
- วิทยาลัยชุมชนปัตตานี
- มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ปัตตานี
โรงเรียน
แก้ชาวจังหวัดปัตตานีที่มีชื่อเสียง
แก้- สวัสดิ์ วัฒนายากร อดีตองคมนตรีในรัชกาลที่ 9 อดีตตุลาการศาลปกครองสูงสุด อดีตอธิบดีกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- พนมเทียน ศิลปินแห่งชาติ
- กังสดาล พิพิธภักดี อดีตพระชายาในสมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมมัดที่ 5 ประเทศมาเลเซีย
เทศกาล
แก้- งานสมโภชเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว
- งานประเพณีชักพระ
- งานแข่งขันกีฬาตกปลาสายบุรี
- อีดิลฟิฏร์
- อีดิลอัฎฮา
อ้างอิง
แก้- ↑ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_64.pdf 2564. สืบค้น 23 มีนาคม 2565.
- ↑ "เมืองโบราณยะรัง (Mueang Boran Yarang)". ฐานข้อมูลท้องถิ่นภาคใต้-มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
- ↑ วลัยลักษณ์ ทรงศิริ. ""ปาตานี" นครแห่งความทรงจำ". มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์.
- ↑ ชุลีพร พงษ์สุพัฒน์. (2542). ปัตตานี : รอยต่อทางวัฒนธรรมและมิติทางความคิด (เอกสาร. ประกอบการบรรยายโครงการปริทัศน์ประเทศเพื่อนบ้านผ่านมิติภายใน), หน้า 4.
- ↑ ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ. "รัฐปัตตานี กับกรุงศรีอยุธยา และกรุงเทพฯ". มติชนสุดสัปดาห์.
- ↑ ปิยชาติ สึงตี. "ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของกลุ่มชาวจีนฮกจิวในภาคใต้ของประเทศไทย : กรณีศึกษาชุมชนชาวจีนฮกจิว อําเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช" (PDF). p. 29.
- ↑ สมโชติ อ๋องสกุล. "การปฏิรูปการปกครองมณฑลปัตตานี (พ.ศ. 2449-2474)" (PDF). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. p. 2.
- ↑ "แนะนำจังหวัดปัตตานี". สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดปัตตานี.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 แผนพัฒนาจังหวัดปัตตานี พ.ศ. 2561-2565 (ฉบับทบทวน พ.ศ. 2564) (PDF). คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการจังหวัดปัตตานี. 2562. p. 12.
- ↑ "สภาพทั่วไป จังหวัดปัตตานี" (PDF). จังหวัดปัตตานี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-03-04. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ไทยพุทธที่ชายแดนภาคใต้ (ตอน 1) : การตื่นตัวที่สายเกิน?". ประชาไท. 4 เมษายน 2557. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ สำนักงานสถิติกลาง สภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ. รายงานสำมะโนครัวประชากรแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2503 จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา และจังหวัดสตูล. พระนคร : ไทยแบบเรียน, 2504, หน้า 19
- ↑ พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ (พฤษภาคม–สิงหาคม 2560). "เรื่องในบ้าน : คาทอลิกกับชีวิตแห่งการต่อรองในสังคมมลายูมุสลิมและความรุนแรงถึงตาย". วารสารรูสมิแล (38:2), หน้า 12
- ↑ 15.0 15.1 รายงานผลการดำเนินผลภารกิจงานที่ได้รับมอบหมายจากสำนักเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2556 (PDF). สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี. 2556. p. 8-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-29. สืบค้นเมื่อ 2020-03-19.
- ↑ 16.0 16.1 คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการจังหวัดปัตตานี (2560). แผนพัฒนาจังหวัดปัตตานี พ.ศ. 2557-2560 ฉบับทบทวนใหม่ (รอบปี พ.ศ. 2560) (PDF). สำนักงานจังหวัดปัตตานี. p. 7-9. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-29. สืบค้นเมื่อ 2020-03-19.
- ↑ 17.0 17.1 17.2 บรรยายสรุปจังหวัดปัตตานี (PDF). สงขลา: ไอคิวมีเดีย. 2561. p. 16.
ดูเพิ่ม
แก้- พระราชวังไพลิน
- สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ปัตตานี
- สวนสมเด็จเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงสงขลานครินทร์ (สวนแม่-สวนลูก) ปัตตานี
- สโมสรฟุตบอลปัตตานี
- ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย
- ศาลหลักเมืองปัตตานี
- รายชื่อวัดในจังหวัดปัตตานี
- รายชื่อมัสยิดในจังหวัดปัตตานี
- รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดปัตตานี
- สภาเด็กและเยาวชนจังหวัดปัตตานี
- รายชื่อสาขาของธนาคารในจังหวัดปัตตานี
- รายชื่อห้างสรรพสินค้าในจังหวัดปัตตานี
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้เว็บไซต์
แก้แผนที่และภาพถ่าย
แก้- แผนที่ท่องเที่ยวจังหวัดปัตตานี เก็บถาวร 2016-03-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
6°52′N 101°14′E / 6.87°N 101.24°E
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ จังหวัดปัตตานี
- แผนที่ จาก มัลติแมป โกลบอลไกด์ หรือ กูเกิลแผนที่
- ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
- ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย
หนังสือและบทความ
แก้- ชุลีพร วิรุณหะ. (2551). บุหงารายา: ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่าของชาวมลายู. กรุงเทพฯ: ศักดิโสภาการพิมพ์.
- ชุลีพร วิรุณหะ. (2556, ม.ค.-มิ.ย.). สยามกับปัตตานีในสมัยรัชกาลที่ 1-2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์: การทำความเข้าใจเกี่ยวกับสงครามและการแบ่งแยกปัตตานีออกเป็นเจ็ดหัวเมือง. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 35(1), 11-53.
- ชุลีพร วิรุณหะ. (2558). สยาม-ปาตานีใน ‘พื้นที่สีเทา’: บทวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ก่อน ค.ศ. 1909 (ฉบับร่าง). กรุงเทพฯ: ศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
- ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ. (2549). ความเป็นมาของทฤษฎีแบ่งแยกดินแดนในภาคใต้ไทย. กรุงเทพฯ: โครงการเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
- ยงยุทธ ชูแว่น. (2549). รัฐปัตตานีในประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมัยจารีต คริสต์ศตวรรษที่ 16-18. นครปฐม: โครงการศึกษาประวัติศาสตร์ภาคใต้ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
- อรอนงค์ ทิพย์พิมล. (2564). ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับปัต (ปา) ตานีก่อนรัฐสมัยใหม่จนถึงสนธิสัญญาแองโกลสยาม พ.ศ. 2452 (ค.ศ. 1909): มุมมองที่แตกต่างหลากหลาย. ใน ความมั่นคงบนรอยร้าว: ประวัติศาสตร์ กฎหมาย และผู้คนในพลวัตความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนใต้. บรรณาธิการโดย อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์. หน้า 3-39. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).