อำเภอศรีสงคราม
ศรีสงคราม เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครพนม เป็นศูนย์กลางของจังหวัดนครพนมตอนบน โดยเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศรีสงคราม มหาวิทยาลัยนครพนม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 สำนักงานประปาศรีสงคราม สถานีไฟฟ้าศรีสงคราม และยังเป็นตลาดส่งออกปลาแม่น้ำสงครามที่สำคัญอีกแห่ง
อำเภอศรีสงคราม | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Si Songkhram |
คำขวัญ: หลวงปู่ตื้อลือนาม น้ำสงคราม แหล่งปลา ศิลปาชีพล้ำค่า ลิงป่ามากมี ถิ่นนี้ศรีสงคราม | |
แผนที่จังหวัดนครพนม เน้นอำเภอศรีสงคราม | |
พิกัด: 17°37′38″N 104°15′2″E / 17.62722°N 104.25056°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | นครพนม |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 671.185 ตร.กม. (259.146 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 69,515 คน |
• ความหนาแน่น | 103.57 คน/ตร.กม. (268.2 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 48150 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 4808 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอศรีสงคราม หมู่ที่ 7 ถนนศรีสงคราม-ท่าดอกแก้ว ตำบลศรีสงคราม อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม 48150 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอศรีสงครามมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอนาทม อำเภอบ้านแพง และอำเภอท่าอุเทน
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอท่าอุเทน
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอโพนสวรรค์และอำเภอนาหว้า
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอนาหว้า และอำเภออากาศอำนวย (จังหวัดสกลนคร)
ประวัติ
แก้ความเป็นมาของอำเภอศรีสงคราม เดิมชื่อเมืองอากาศอำนวย (เริ่มปรากฏหลักฐานในสมัยรัชกาลที่ 4) พ.ศ. 2396 สารตราเจ้าพระยาจักรี มาถึงอุปฮาด ราชวงศ์ ราชบุตร ท้าวเพี้ย เมืองนครพนม พระแก้วโกมลเรณูนคร พระอุทัยพระเทศเจ้าเมืองรามราช หลวงเอกอาษาเจ้าเมืองอาทมาต ความว่า เนื่องจากพระยาสุนทรราชวงศาเจ้าเมืองยศสุนทร เมืองนครพนม ได้พาท้าวศรีสุราช ท้าวจันทนาม ท้าวนามโคตร ครอบครัวท้าวติวซอยบ้านหอมท้าวลงไปกรุงเทพฯรับน้ำพิพัฒน์สัจจาและ เนื่องจากท้าวศรีสุราช ท้าวติวซอย ตั้งอยู่แขวงเมืองสกลนครไม่สมัครอยู่กับพระยาประเทศธานีเมืองสกลนคร ขอสมัครขึ้นต่อเมืองนครพนม พระสุนทรราชวงศา จึงให้ครอบครัวไปตั้งบ้านเรือนอยู่บ้านม่วงลำน้ำยามซึ่งตั้งอยู่ระหว่างเขตแดนเมืองไชยบุรี สกลนคร นครพนม มีจำนวนพระสงฆ์ สามเณร คนชรา 109 คน ท้าวเพี้ย 109 คน ฉกรรจ์ 246 คน รวม 464 คน รวมชายหญิงใหญ่น้อย เป็นคน 2,339 คน พระสุนทรราชวงศา จึงขอยกบ้านม่วงเป็นเมืองอากาศอำนวย ขอท้าวศรีสุราชเป็นเจ้าเมือง ท้าวชาบัณฑิตเป็นอัครฮาด ท้าวจันทนามเป็นอัครวงศ์ ท้าวนามโคตรเป็นวรบุตร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านม่วงเป็นเมืองอากาศอำนวย และพระราชทานให้ท้าวศรีสุราชเป็นหลวงพลานุกูล ท้าวจันทนามเป็นราชวงศ์ ท้าวนามโคตรเป็นวรบุตร พร้อมทั้งเครื่องยศตามตำแหน่ง โปรดเกล้าฯให้มีสารถึงเมืองหนองหาร เมืองสกลนคร เมืองไชยบุรี ให้แบ่งเขตแดนให้เมืองอากาศอำนวย แล้วให้มีใบบอกรายงานไปยังกรุงเทพฯ
พ.ศ. 2400 พวกไทยโย้ย กรมการเมืองสกลนคร ได้แตกแยกออกเป็นสองพวก พวกหนึ่งไปร้องสมัครขอเป็นเมืองขึ้นเมืองยโสธร มีนายจารคำเป็นหัวหน้า อีกพวกหนึ่งขอเป็นเมืองขึ้นกับเมืองนครพนมมีเพี้ยติ้วซอยเป็นหัวหน้า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายจารคำเป็นหลวงประชาราษฎร์รักษา เพี้ยติ้วซอยเป็นหลวงพลานุกูล ยกบ้านม่วงน้ำยามเป็นเมืองอากาศอำนวย ขึ้นกับเมืองนครพนม หลวงพลานุกูลเป็นเจ้าเมือง และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 4) โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งท้าวศรีสุราชเป็นเจ้าเมืองอากาศอำนวย
พ.ศ. 2404 ทางเมืองนครพนม ได้มีใบบอกไปยังกรุงเทพฯว่า หลวงพลานุกูลเจ้าเมืองอากาศอำนวย ได้ถึงแก่กรรม ณ วันเดือน 6 แรม 13 ค่ำ ปีระกา ตรีศก (7 พฤษภาคม 2404) ได้ให้อัครฮาด ท้าวเพี้ย เมืองอากาศอำนวย เอาศพหลวงพลานุกูล ใส่หีบแล้วทำบุญให้ทานเป็นการกุศลทุกเพลา จนถึงวันเผาศพ ณ วันเดือน 7 ขึ้น 10 ค่ำ ปีระกา ตรีศก พ.ศ. 2406 โปรดเกล้าฯแต่งตั้งอัครฮาดเป็นหลวงพลานุกูล เจ้าเมืองอากาศอำนวย ท้าวศรีสุราชเป็นอัครฮาดเมืองอากาศอำนวยแทนตำแหน่งที่ว่าง
- วันที่ 12 เมษายน 2457 ได้มีหนังสือประกาศจากราชกิจจานุเบกษา ในหนังสือมีใจความตอนหนึ่งว่า " ๒ อำเภอเมืองกุสุมาลย์มณฑล ๑ อำเภอเมืองอากาศอำนวย ๑ เป็น อำเภอที่เล็กและอยู่ใกล้ชิดอำเภอเมืองนครพนมและอำเภอเมืองท่าอุเทน การงานมีน้อยไม่พอที่จะตั้งเป็นอำเภอได้ จึง ทรงพระกรุณาไปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ยุบอำเภอเมืองกุสุมาสย์มณฑลไปรวมกับอำเภอเมืองนครพนม แลยุบอำเภอเมืองอากาศอำนวยไปรวมเข้ากับอำเภอเมืองท่าอุเทน "[1]
- วันที่ 24 มกราคม 2468 แยกพื้นที่ตำบลนาหว้า ตำบลบ้านข่า ตำบลบ้านเสียว ตำบลสามผง ตำบลหนองแวง ตำบลนาทม และตำบลบ้านแพง อำเภอท่าอุเทน มาตั้งเป็น กิ่งอำเภออากาศอำนวย ขึ้นกับอำเภอท่าอุเทน[2]
- วันที่ 13 มิถุนายน 2469 ยุบตำบลนางัว อำเภอท่าอุเทน ไปรวมกับตำบลนาหว้า กิ่งอำเภออากาศอำนวย และยุบตำบลคำแม่นาง อำเภอท่าอุเทน ไปขึ้นกับตำบลหนองแวง กิ่งอำเภออากาศอำนวย[3]
- วันที่ 29 พฤศจิกายน 2479 โอนพื้นที่ตำบลนาเดื่อ และตำบลบ้านเอื้อง อำเภอท่าอุเทน มาขึ้นกับกิ่งอำเภออากาศอำนวย อำเภอท่าอุเทน[4]
- วันที่ 17 เมษายน 2482 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลบ้านข่า กิ่งอำเภออากาศอำนวย เป็น ตำบลบ่อศรีสงคราม และเปลี่ยนแปลงชื่อกิ่งอำเภออากาศอำนวย อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม เป็น กิ่งอำเภอบ่อศรีสงคราม[5]
- วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2487 ย้ายที่ว่าการกิ่งอำเภอบ่อศรีสงคราม จากตำบลบ่อศรีสงคราม ไปตั้งที่บ้านปากอูน ตำบลบ้านเอื้อง[6]
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลสามผง แยกออกจากตำบลท่าบ่อสงคราม และตำบลหนองแวง ตั้งตำบลบ้านเสียว แยกออกจากตำบลนาหว้า และตำบลท่าบ่อสงคราม[7]
- วันที่ 9 ธันวาคม 2490 แยกพื้นที่ตำบลตำบลบ้านแพง ตำบลนาทม อำเภอท่าอุเทน และตำบลหนองแวง กิ่งอำเภอบ่อศรีสงคราม มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอบ้านแพง และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอท่าอุเทน[8]
- วันที่ 10 สิงหาคม 2491 โอนพื้นที่หมู่ 6,7,11 (ในขณะนั้น) ของตำบลบ้านเอื้อง ไปขึ้นกับตำบลนาหว้า[9]
- วันที่ 31 สิงหาคม 2491 โอนพื้นที่หมู่ 7 บ้านนาเพียง (ในขณะนั้น) ของตำบลสามผง ไปตั้งเป็นหมู่ 9 ของตำบลท่าบ่อสงคราม[10]
- วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2492 โอนพื้นที่หมู่ 9 บ้านปากเมา และพื้นที่หมู่ที่ 10 บ้านหาดแพง (ในขณะนั้น) ของตำบลหนองแวง กิ่งอำเภอบ้านแพง ไปตั้งเป็นหมู่ 17 และ 18 ตามลำดับ ของตำบลนาเดื่อ กิ่งอำเภอบ่อศรีสงคราม[11]
- วันที่ 10 มีนาคม 2496 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอบ่อศรีสงคราม อำเภอท่าอุเทน เป็น อำเภอศรีสงคราม[12]
- วันที่ 15 ตุลาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลศรีสงคราม ในท้องที่บางส่วนของตำบลนาเดื่อ[13]
- วันที่ 17 ธันวาคม 2500 ตั้งตำบลศรีสงคราม แยกออกจากตำบลนาเดื่อ[14]
- วันที่ 24 ธันวาคม 2506 จัดตั้งสุขาภิบาลนาหว้า ในท้องที่บางส่วนของตำบลนาหว้า[15]
- วันที่ 20 กันยายน 2509 ตั้งตำบลนางัว แยกออกจากตำบลนาหว้า[16]
- วันที่ 17 สิงหาคม 2514 แยกพื้นที่ตำบลนาหว้า ตำบลนางัว และตำบลบ้านเสียว จากอำเภอศรีสงคราม มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอนาหว้า และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอศรีสงคราม[17]
- วันที่ 28 กันยายน 2514 ตั้งตำบลนาเดื่อ แยกออกจากตำบลศรีสงคราม และตั้งตำบลโพนสว่าง แยกออกจากตำบลบ้านเอื้อง[18]
- วันที่ 5 กรกฎาคม 2517 ตั้งตำบลบ้านข่า แยกออกจากตำบลท่าบ่อสงคราม[19]
- วันที่ 13 มิถุนายน 2521 ตั้งตำบลนาคูณใหญ่ แยกออกจากตำบลนาหว้า[20]
- วันที่ 31 ตุลาคม 2521 ตั้งตำบลหาดแพง แยกออกจากตำบลศรีสงคราม และตำบลนาคำ[21]
- วันที่ 25 มีนาคม 2522 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอนาหว้า อำเภอศรีสงคราม เป็น อำเภอนาหว้า[22]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลศรีสงคราม เป็นเทศบาลตำบลศรีสงคราม[23] ด้วยผลของกฎหมาย
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอศรีสงครามแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 9 ตำบล 109 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[24] |
---|---|---|---|---|
1. | ศรีสงคราม | Si Songkhram | 10
|
8,768
|
2. | นาเดื่อ | Na Duea | 12
|
7,475
|
3. | บ้านเอื้อง | Ban Ueang | 16
|
11,414
|
4. | สามผง | Sam Phong | 16
|
8,633
|
5. | ท่าบ่อสงคราม | Tha Bo Songkhram | 7
|
5,009
|
6. | บ้านข่า | Ban Kha | 13
|
7,003
|
7. | นาคำ | Na Kham | 16
|
10,145
|
8. | โพนสว่าง | Phon Sawang | 10
|
5,944
|
9. | หาดแพง | Hat Phaeng | 9
|
5,190
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอศรีสงครามประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลศรีสงคราม ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลศรีสงคราม
- เทศบาลตำบลบ้านข่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านข่าทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลสามผง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสามผงทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลนาคำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาคำทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลหาดแพง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหาดแพงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลศรีสงคราม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีสงคราม (นอกเขตเทศบาลตำบลศรีสงคราม)
- องค์การบริหารส่วนตำบลนาเดื่อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาเดื่อทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเอื้อง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านเอื้องทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าบ่อสงคราม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าบ่อสงครามทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโพนสว่าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพนสว่างทั้งตำบล
อ้างอิง
แก้- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ ยุบอำเภอและรวมเขตอำเภอ สำหรับการปกครองในมณฑลอุดร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 31 (0 ก): 48–50. April 12, 1914.
- ↑ "ประกาศ เรื่อง ตั้งกิ่งอำเภอในมณฑลอุดร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 42 (0 ก): 268–269. January 24, 1925. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-27. สืบค้นเมื่อ 2020-01-19.
- ↑ "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ สำหรับตำบลในท้องที่อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น กิ่งอากาศอำนวย อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม และอำเภอมีชัย จังหวัดหนองคาย ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 43 (0 ก): 223–224. June 13, 1926.
- ↑ [1]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตกิ่งอำเภอและอำเภอในจังหวัดนครพนม
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอ และตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ก): 354–363. April 17, 1939. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-19. สืบค้นเมื่อ 2011-04-22.
- ↑ [2]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ย้ายที่ว่าการกิ่งอำเภอบ่อศรีสงคราม อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
- ↑ [3] เก็บถาวร 2011-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ
- ↑ [4] เก็บถาวร 2011-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยกฐานะตำบลขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ
- ↑ [5]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอบ่อศรีสงคราม อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
- ↑ [6]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบล ในท้องที่กิ่งอำเภอบ่อศรีสงคราม อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
- ↑ [7]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอบ้านแพงและกิ่งอำเภอบ่อศรีสงคราม อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอจักราช อำเภอสัตตหีบ อำเภอศรีสงคราม อำเภอชะอวด อำเภอหนองแซง อำเภอภาชี อำเภอเขาไชยสน อำเภอชุมพลบุรี อำเภอวาริชภูมิ อำเภอสบปราบ และอำเภอสุไหงโกลก พ.ศ. ๒๔๙๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 70 (17 ก): 368–371. March 10, 1953. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2020-01-19.
- ↑ [8]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลศรีสงคราม อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์, อำเภอเมืองขอนแก่น และกิ่งอำเภอกระนวน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น, อำเภอเมืองชัยภูมิ และอำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ, อำเภอเชียงคำ จังหวัดเชียงราย, อำเภอตลิ่งชัน จังหวัดธนบุรี, อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม, อำเภอกบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์, อำเภอลำปลายมาศ และกิ่งอำเภอกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์, อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก, อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์,อำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอพนมไพร และอำเภอาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอสังขะ และอำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์, อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี, อำเภอพิบูลย์มังสาหาร และอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (107 ง): 2901–2928. December 17, 1957.
- ↑ [9] เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลนาหว้า อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม
- ↑ [10]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองนครพนม อำเภอมุกดาหาร อำเภอท่าอุเทน อำเภอศรีสงคราม กิ่งอำเภอดอนตาล กิ่งอำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม
- ↑ [11] เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ตั้งเป็นกิ่งอำเภอนาหว้า
- ↑ [12]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอศรีสงคราม อำเภอท่าอุเทน และอำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม
- ↑ [13]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอปลาปาก และอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม
- ↑ [14] เก็บถาวร 2012-05-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบ้านแพง กิ่งอำเภอนาหว้า อำเภอศรีสงคราม และอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม
- ↑ [15]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอศรีสงคราม อำเภอปลาปาก อำเภอมุกดาหาร กิ่งอำเภอนิคมคำสร้อย และอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
- ↑ [16] เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอหนองกุงศรี อำเภอไทรงาม อำเภอบ้านฝาง อำเภออุบลรัตน์ อำเภอเวียงชัย อำเภอดอยเต่า อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอนาหว้า อำเภอเสิงสาง อำเภอศรีสาคร อำเภอบึงสามพัน อำเภอนาดูน อำเภอค้อวัง อำเภอโพธิ์ชัย อำเภอเมืองสรวง อำเภอปลวกแดง อำเภอยางชุมน้อย อำเภอกาบเชิง อำเภอสุวรรณคูหา และอำเภอกุดข้าวปุ้น พ.ศ. ๒๕๒๒
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-12-25.
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.