จังหวัดจันทบุรี
จันทบุรี เป็นจังหวัดทางชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทยซึ่งจันทบุรีเป็นจังหวัดชายทะเลที่มีเขาสูงสุดในภาคตะวันออก คือ เขาสอยดาว มีความสูง 1,675 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีเนื้อที่ 6,388 ตารางกิโลเมตร สภาพภูมิประเทศประกอบไปด้วยป่าไม้ ภูเขา ที่ราบสูง ที่ราบลุ่มน้ำ และที่ราบชายฝั่งทะเล ในส่วนของพื้นที่ป่าไม้มีประมาณ 3 ใน 10 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด[3] จังหวัดจันทบุรีมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทราและสระแก้วทางทิศเหนือ ทิศตะวันออกติดกับจังหวัดตราดและประเทศกัมพูชา ทิศใต้ติดกับอ่าวไทย และทิศตะวันตกติดกับจังหวัดระยองและชลบุรี อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 250 กิโลเมตร ประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัดจันทบุรีอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัด[4] โดยอาชีพที่ประชากรในจังหวัดนิยมประกอบอาชีพมากที่สุดคือเกษตรกรรมและประมง[5] และศาสนาที่มีการนับถือมากที่สุดในจังหวัดคือศาสนาพุทธ
จังหวัดจันทบุรี | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Changwat Chanthaburi |
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง : เขาคิชฌกูฏ, อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล, ชุมชนริมแม่น้ำจันทบูร, อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว, คุกขี้ไก่ | |
คำขวัญ: น้ำตกลือเลื่อง เมืองผลไม้ พริกไทยพันธุ์ดี อัญมณีมากเหลือ เสื่อจันทบูร สมบูรณ์ธรรมชาติ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รวมญาติกู้ชาติที่จันทบุรี | |
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดจันทบุรีเน้นสีแดง | |
ประเทศ | ไทย |
การปกครอง | |
• ผู้ว่าราชการ | มนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ (ตั้งแต่ พ.ศ. 2565) |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 6,338.0 ตร.กม. (2,447.1 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 33 |
ประชากร (พ.ศ. 2566)[2] | |
• ทั้งหมด | 536,436 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 47 |
• ความหนาแน่น | 84.64 คน/ตร.กม. (219.2 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | อันดับที่ 57 |
รหัส ISO 3166 | TH-22 |
ชื่อไทยอื่น ๆ | เมืองจันท์, จันทบูร, ควนคราบุรี |
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด | |
• ต้นไม้ | สำรอง, จัน |
• ดอกไม้ | เหลืองจันทบูร |
• สัตว์น้ำ | ปลาบู่มหิดล |
ศาลากลางจังหวัด | |
• ที่ตั้ง | ถนนเลียบเนิน ตำบลวัดใหม่ อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี 22000 |
• โทรศัพท์ | 0 3931 2277 |
• โทรสาร | 0 3931 2539 |
เว็บไซต์ | http://www.chanthaburi.go.th |
ประวัติศาสตร์
แก้จันทบุรีเป็นเมืองที่มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ก่อตั้งโดยชนชาติชอง จังหวัดจันทบุรีเป็นเมืองที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ไทยอยู่ 3 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชใช้จังหวัดจันทบุรีในการรวบรวมไพร่พลและเสบียงอาหาร ครั้งที่ 2 เกิดสงครามอานัมสยามยุทธในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวและครั้งที่ 3 ฝรั่งเศสยึดเมืองจันทบุรีเป็นเมืองประกันหลังจากเกิดวิกฤตการณ์ปากน้ำในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยความที่จังหวัดจันทบุรีมีความสำคัญต่อเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์หลายเหตุการณ์และมีความหลากหลายทางภูมิประเทศ ส่งผลให้จังหวัดจันทบุรีเป็นจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวทั้งทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรมคือ พระเจ้าพรหมทัต (พ.ศ. 1349–1399) ครั้นถึงปี พ.ศ. 1800 ได้มีการย้ายถิ่นฐานมาสร้างเมืองใหม่ที่บ้านหัววัง ตำบลพุงทลาย ซึ่งอยู่ใกล้กับแม่น้ำจันทบุรีในปัจจุบัน
ต่อมาปี พ.ศ. 2200 ได้ย้ายมาสร้างเมืองใหม่ที่บ้านลุ่ม อยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจันทบุรี ในปี พ.ศ. 2310 หลังจากกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้เข้ายึดเมืองจันทบุรีเพื่อใช้เป็นแหล่งสะสมเสบียงอาหารและรวบรวมกำลังพลในการกอบกู้กรุงศรีอยุธยาคืนจากพม่า ในคราวนั้นเจ้าเมืองจันทบุรีนามว่าเจ้าขรัวหลาน (ยศเจ้าเมืองจันทบุรีเดิม) ชึ่งราษฎรเลือกขึ้นเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยา โดยหวังว่าพระยาจันทบูร จะช่วยปกป้องรักษาเมืองจันทบุรีให้อยู่รอดสืบต่อไปแต่ได้ต่อต้านกองทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยได้พยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้เมืองจันทบุรีอยู่รอดเป็นอิสระ รักษาแผ่นดินไว้ให้ชนชาติบูรพา แต่สุดท้ายก็ต้องปราชัยพ่ายแพ้แก่กองทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยพระองค์ทรงใช้พญาช้างศึกบุกชนกำแพงเมืองจนสามารถเข้าตีเมืองเอาไว้ได้สำเร็จ เจ้าเมืองจันทบุรีได้หลบภัยไปอาณาจักรกัมพูชาจนถึงแก่อสัญกรรม เมืองจันทบุรีจึงตกเป็นของสยามนับแต่นั้นเป็นต้นมา
ต่อมาในปี พ.ศ. 2436 ฝรั่งเศสได้เข้ายึดเมืองจันทบุรีไว้นานถึง 11 ปี[6] เนื่องจากสยามมีข้อพิพาทเรื่องดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขง โดยฝรั่งเศสกล่าวว่าสยามล่วงล้ำดินแดนอาณานิคมของฝรั่งเศส ส่วนสยามได้อ้างว่าดินแดนดังกล่าวเป็นของสยาม ฝ่ายสยามเห็นว่าจะต่อสู้ทางทหารฝรั่งเศสไม่ได้จึงขอเปิดการเจรจา ทางฝรั่งเศสยื่นคำขาด โดยฝ่ายสยามต้องยอมยกดินแดนที่เป็นข้อพิพาทรวมทั้งเกาะทั้งหมดในแม่น้ำโขง พร้อมเงินอีกหนึ่งล้านฟรังก์และสามล้านบาท โดยจนกว่าจะดำเนินการเสร็จฝรั่งเศสจะยึดเมืองจันทบุรีไว้ก่อนตามสนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 112 แต่เมื่อทางสยามดำเนินการเสร็จ ฝรั่งเศสไม่ได้ถอนกำลังออก ฝ่ายสยามจึงต้องยอมยกเมืองตราดและเมืองประจันตคีรีเขตร์ (เกาะกง) เพื่อแลกกับเมืองจันทบุรี ตามสนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 122 ต่อมาสยามได้ทำสนธิสัญญายกเมืองพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ เพื่อแลกเมืองจันทุบรีและตราดคืนมา แต่ฝรั่งเศสไม่ได้คืนเมืองประจันตคีรีเขตร์แต่อย่างใด ปัจจุบันเมืองประจันตคีรีเขตร์จึงอยู่ในอาณาเขตประเทศกัมพูชา
ภายหลังได้มีการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล จัดตั้งมณฑลจันทบุรี โดยมีเมืองจันทบุรี ระยอง และตราดอยู่ในเขตการปกครองจนถึง พ.ศ. 2476 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย จึงยกเลิกมณฑลเทศาภิบาลและได้จัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินใหม่ โดยแบ่งออกเป็นจังหวัดและอำเภอ ดังนั้นเมืองจันทบุรีจึงมีฐานะเป็นจังหวัดจนถึงปัจจุบันนี้
ภูมิศาสตร์
แก้จังหวัดจันทบุรีตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครเมืองหลวงของประเทศไปทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 245 กิโลเมตร[7] จังหวัดจันทบุรีมีพื้นที่ทั้งหมด 6,338 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 16.6 ของพื้นที่ภาคตะวันออก และเท่ากับร้อยละ 1.8 ของพื้นที่ทั้งประเทศ โดยพื้นที่ของจังหวัดเป็นที่ราบชายฝั่งทะเล ที่ราบสูงและภูเขา ภูมิอากาศของจังหวัดมีลักษณะแบบมรสุมเขตร้อน[8] จุดสูงสุดของจังหวัดอยู่ที่ยอดเขาสอยดาวใต้ ซึ่งเป็นยอดเขาที่มีความสูงที่สุดในภาคตะวันออก โดยมีความสูง 1,675 เมตร[9]
ลักษณะภูมิประเทศ
แก้จังหวัดจันทบุรีมีลักษณะภูมิประเทศอยู่ 3 ลักษณะ คือ ภูเขาและเนินสูง ที่ราบสูงและที่ราบเชิงเขา และที่ราบลุ่มแม่น้ำและชายฝั่งทะเล โดยในบริเวณทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทิศเหนือและทิศตะวันออกของจังหวัดจะเป็นเขตภูเขาสูง เช่น ทิวเขาบรรทัด ทิวเขาจันทบุรี เป็นต้น บริเวณนี้เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำลำธารหลายสาย รวมถึงเป็นแนวที่กั้นเขตแดนระหว่างจังหวัดจันทบุรีกับจังหวัดระยอง จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดสระแก้ว[9][10] ในส่วนของที่ราบสูงและที่ราบเชิงเขานั้นจะตั้งอยู่ในเขตอำเภอสอยดาว อำเภอโป่งน้ำร้อน พื้นที่ตอนกลางของอำเภอขลุง รวมไปถึงทางตะวันออกของอำเภอมะขาม อำเภอแก่งหางแมว อำเภอเขาคิชฌกูฏ และทางตอนเหนือของอำเภอท่าใหม่[10] โดยบริเวณนี้ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นที่ราบลูกคลื่น[11] ในส่วนพื้นที่สุดท้ายของจังหวัดมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำและชายฝั่งทะเล โดยพื้นที่เหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่มีแม่น้ำไหลผ่าน เช่น ที่ราบลุ่มแม่น้ำคลองโตนด ที่ราบลุ่มแม่น้ำพังราด ที่ราบลุ่มแม่น้ำจันทบุรีและที่ราบลุ่มแม่น้ำเวฬุ เป็นต้น โดยส่วนใหญ่แล้วพื้นที่เหล่านี้จะอยู่ในเขตอำเภอนายายอาม อำเภอเมืองจันทบุรีและอำเภอขลุง รวมถึงพื้นที่บางส่วนของอำเภอแก่งหางแมว อำเภอเขาคิชฌกูฏและอำเภอท่าใหม่[10] สำหรับพื้นที่ชายฝั่งทะเลมักมีลักษณะเป็นที่ราบชายฝั่งทะเลแคบ ๆ มีการทับถมของตะกอนทราย ที่ราบชายฝั่งทะเลบางแห่งอยู่ใกล้ปากแม่น้ำส่งผลให้บริเวณนั้นมีดินโคลนผสมด้วย บริเวณที่พบที่ราบชายฝั่งทะเลได้แก่ พื้นที่ทางตอนใต้ของอำเภอนายายอาม อำเภอท่าใหม่ อำเภอแหลมสิงห์ และอำเภอขลุง[11]
ลักษณะภูมิอากาศ
แก้สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปจังหวัดจันทบุรีตั้งอยู่ในเขตมรสุมเขตร้อน[8] โดยได้รับฝนจากอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้[12] มีฝนตกชุกติดต่อกันประมาณ 6 เดือนต่อปี โดยเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคมเป็นเดือนที่มีปริมาณน้ำฝนสูงที่สุด ซึ่งอาจมีปริมาณน้ำฝนสูงถึง 500 มิลลิเมตรต่อเดือน[13] จังหวัดจันทบุรีมี 3 ฤดูกาลคือฤดูฝน (มิถุนายน–ตุลาคม) ฤดูหนาว (พฤศจิกายน–กุมภาพันธ์) และฤดูร้อน (มีนาคม–พฤษภาคม)[14] โดยที่ฤดูหนาวจะมีอากาศหนาวเย็นช้ากว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือของประเทศ[15]
จังหวัดจันทบุรีมีอุณหภูมิเฉลี่ย 23–31 องศาเซลเซียสในแต่ละปี โดยที่อุณหภูมิในแต่ละฤดูของจังหวัดจะไม่มีความแตกต่างกันมากนัก อันเนื่องมาจากการตั้งอยู่ใกล้กับทะเล สำหรับอุณหภูมิในแต่ละฤดูนั้น ฤดูฝนมีอุณหภูมิระหว่าง 24–30 องศาเซลเซียส ฤดูหนาวมีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 22–31 องศาเซลเซียส ส่วนในฤดูร้อนมีอุณหภูมิระหว่าง 23–33 องศาเซลเซียส[13]
ข้อมูลภูมิอากาศของจันทบุรี | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 31.9 (89.4) |
32.2 (90) |
32.6 (90.7) |
33.3 (91.9) |
32.2 (90) |
30.9 (87.6) |
30.6 (87.1) |
30.4 (86.7) |
30.7 (87.3) |
31.5 (88.7) |
31.4 (88.5) |
31.2 (88.2) |
31.58 (88.84) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 20.3 (68.5) |
22.0 (71.6) |
23.2 (73.8) |
24.1 (75.4) |
24.6 (76.3) |
24.7 (76.5) |
24.5 (76.1) |
24.4 (75.9) |
24.0 (75.2) |
23.4 (74.1) |
22.4 (72.3) |
20.6 (69.1) |
23.18 (73.73) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 13.3 (0.524) |
45.0 (1.772) |
55.1 (2.169) |
111.1 (4.374) |
355.5 (13.996) |
513.0 (20.197) |
439.6 (17.307) |
513.7 (20.224) |
475.5 (18.72) |
279.6 (11.008) |
61.2 (2.409) |
12.4 (0.488) |
2,875 (113.189) |
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย | 2 | 4 | 6 | 10 | 22 | 25 | 24 | 26 | 25 | 19 | 6 | 2 | 171 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 282.1 | 243.6 | 248.0 | 240.0 | 182.9 | 132.0 | 139.5 | 127.1 | 129.0 | 189.1 | 243.0 | 282.1 | 2,438.4 |
แหล่งที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา |
ทรัพยากรดินและน้ำ
แก้ทรัพยากรดินในจังหวัดจันทบุรีมีความอุดมสมบูรณ์สูงมาก ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นดินที่เกิดจากการสลายตัวของหินปูน ทำให้ดินมีความเป็นด่างเหมาะแก่การปลูกผลไม้อันเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจของจังหวัดจันทบุรี[16] ดินมีลักษณะเป็นดินตื้นถึงลึกอันเนื่องมาจากสภาพภูมิประเทศ โดยดินส่วนมากของจังหวัดจันทบุรีเป็นดินที่สามารถระบายน้ำออกได้ดีถึงดีมาก[17] อย่างไรก็ตามจังหวัดจันทบุรีมีพื้นที่ดินที่ไม่เหมาะสมกับการทำเกษตรประมาณ 3,000 ตารางกิโลเมตร โดยปัญหาทรัพยากรดินที่พบมากที่สุดคือดินเค็มในบริเวณชายฝั่งทะเล ดินตื้นและดินในพื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน[18]
ในส่วนของทรัพยากรน้ำในจังหวัดจันทบุรีนั้น แม้ว่าจังหวัดจันทบุรีจะอยู่ในพื้นที่ทึ่มีฝนตกชุก แต่จันทบุรียังคงประสบกับปัญหาภาวะความแห้งแล้งในพื้นที่ของจังหวัดเนื่องจากแม่น้ำทั้งหมดในจังหวัดเป็นเพียงแม่น้ำสายสั้น ๆ และมีขนาดเล็ก ยกตัวอย่างเช่น แม่น้ำพังราด (30 กิโลเมตร) แม่น้ำวังโตนด (6 กิโลเมตร) แม่น้ำเวฬุ (88 กิโลเมตร)และแม่น้ำจันทบุรี (123 กิโลเมตร)[11] เป็นต้น ส่งผลให้น้ำในแม่น้ำไหลลงสู่อ่าวไทยอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้หากมีปริมาณฝนในจังหวัดจันทบุรีมากเกินไป ปริมาณน้ำอาจจะเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ต่าง ๆ ได้อีกด้วย จึงมีการสร้างอ่างเก็บน้ำและเขื่อนเป็นจำนวนมากเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเขื่อนและอ่างเก็บน้ำที่สำคัญคือ เขื่อนคิรีธาร อ่างเก็บน้ำคลองศาลทราย เขื่อนบ้านพลวงและเขื่อนทุ่งเพล[19]
สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
แก้จังหวัดจันทบุรีมีพื้นที่ป่าไม้มากที่สุดในภาคตะวันออก โดยคิดเป็น 1 ใน 4 ของจำนวนพื้นที่ป่าไม้ทั้งภาค[20] อย่างไรก็ตามหากเปรียบเทียบในอดีตจะพบว่าจังหวัดจันทบุรีสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ไปเป็นจำนวนมาก เพราะเดิมทีจังหวัดจันทบุรีมีเนื้อที่ป่าไม้มากกว่าร้อยละ 50 ของจังหวัด[21] โดยสาเหตุของการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ส่วนใหญ่เกิดจากการลักลอบตัดไม้ การบุกรุกของราษฎรและการขาดการเข้มงวดกวดขันของเจ้าหน้าที่[22] ในปัจจุบันมีการประกาศให้พื้นที่ป่าไม้ของจังหวัดจันทบุรีขึ้นเป็นอุทยานแห่งชาติ 3 แห่งคือ อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ อุทยานแห่งชาติเขาสิบห้าชั้น และอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว[23] วนอุทยานแห่งชาติ 1 แห่งคือ วนอุทยานแห่งชาติแหลมสิงห์[24] และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 3 แห่งคือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองเครือหวาย[25]
สำหรับพืชที่ค้นพบในจังหวัดจันทบุรีมีอยู่หลายประเภท ที่สำคัญคือสำรองและจัน ซึ่งถือเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดของจันทบุรี ในส่วนของพืชชนิดอื่น ๆ ที่สำคัญของจังหวัด ได้แก่ สอยดาว ชะมวง กฤษณา กระวานและเหลืองจันทบูรอันเป็นดอกไม้ประจำจังหวัด[3][26] นอกจากนี้แล้วในจังหวัดจันทบุรียังค้นพบพืชเฉพาะถิ่นอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น เนตรม่วง (Microchirita purpurea) ซึ่งพบได้เฉพาะในเขตอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรีเพียงแห่งเดียวเท่านั้น[27] เป็นต้น
สำหรับในส่วนของสัตว์ป่าในจังหวัดจันทบุรีนั้นพบว่ามีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 122 ชนิด นก 276 ชนิด สัตว์เลื้อยคลานไม่น้อยกว่า 88 ชนิด สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ 29 ชนิดและปลาน้ำจืดอีกกว่า 47 ชนิด[28] จึงนับได้ว่าจังหวัดจันทบุรีเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตค่อนข้างมาก ในจำนวนสัตว์เหล่านี้มีสัตว์ที่สำคัญ ยกตัวอย่างเช่น กบอกหนาม นกกระทาดงจันทบุรี นกแต้วแล้วใหญ่หัวสีน้ำเงินและนกสาลิกาเขียวหางสั้น เป็นต้น ซึ่งสัตว์เหล่านี้เป็นสัตว์ที่สามารถพบได้ในบริเวณจังหวัดจันทบุรีเพียงแห่งเดียวเท่านั้น[28][29] นอกจากนี้ยังมีสัตว์ที่สำคัญอีกชนิด คือ ปลาบู่มหิดล ที่มีการค้นพบในจังหวัดจันทบุรี แต่มีกระจายตัวอยู่ในจังหวัดระนองและจังหวัดภูเก็ตด้วย[30]
การเมืองการปกครอง
แก้จังหวัดจันทบุรีมีรูปแบบการปกครองทั้งในรูปแบบการแบ่งอำนาจและการกระจายอำนาจ โดยในปัจจุบันจังหวัดจันทบุรีมีการแบ่งอำนาจออกเป็น 10 อำเภอและมีจำนวนเทศบาลตามหลักการกระจายอำนาจ 5 เทศบาลเมือง 35 เทศบาลตำบล 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัดและ 34 องค์การบริหารส่วนตำบล ในส่วนของการเมืองระดับชาตินั้น จังหวัดจันทบุรีมีเขตการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3 เขตและเขตการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา 1 เขต
การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้จังหวัดจันทบุรีแบ่งการปกครองออกเป็น 10 อำเภอ 76 ตำบล 731 หมู่บ้าน[31] ดังนี้[32]
1. อำเภอเมืองจันทบุรี | 2. อำเภอขลุง | 3. อำเภอท่าใหม่ | 4. อำเภอโป่งน้ำร้อน | 5. อำเภอมะขาม |
---|---|---|---|---|
1. ตำบลตลาด |
1. ตำบลขลุง |
1. ตำบลท่าใหม่ |
1. ตำบลโป่งน้ำร้อน |
1. ตำบลมะขาม |
6. อำเภอแหลมสิงห์ | 7. อำเภอสอยดาว | 8. อำเภอแก่งหางแมว | 9. อำเภอนายายอาม | 10. อำเภอเขาคิชฌกูฏ |
|
|
|
|
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้จังหวัดจันทบุรีมีหน่วยการปกครองในรูปแบบกระจายอำนาจทั้งสิ้น 80 แห่ง แบ่งออกเป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลเมือง 5 แห่ง เทศบาลตำบล 40 แห่งและองค์การบริหารส่วนตำบล 34 แห่ง[33][34] ในส่วนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรีได้รับการจัดตั้งตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 โดยมีขอบเขตครอบคลุมพื้นที่ทั้งจังหวัดจันทบุรี[35] โดยมีหน้าที่หลักในการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนในพื้นที่ รวมถึงประสานและร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการวางแผนพัฒนาจังหวัด[36] ปัจจุบันมีนายธนภณ กิจกาญจน์ เป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรีคนปัจจุบัน[37] สำหรับหน่วยการปกครองท้องถิ่นในระดับเทศบาลนั้นเริ่มขึ้นครั้งแรกในเขตอำเภอเมืองจันทบุรี โดยมีการจัดตั้งสุขาภิบาลจันทบุรีขึ้นในปี พ.ศ. 2451[38] ซึ่งต่อมาได้มีการยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองจันทบุรีในปี พ.ศ. 2478[39]
การเมืองระดับชาติ
แก้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเมืองระดับชาติของจังหวัดจันทบุรีนั้น คณะกรรมการการเลือกตั้งได้กำหนดให้จังหวัดจันทบุรีมีเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3 เขตเลือกตั้ง[40] โดยเขตเลือกตั้งที่ 1 ประกอบไปด้วยอำเภอเมืองจันทบุรีและอำเภอแหลมสิงห์ เขตเลือกตั้งที่ 2 ประกอบไปด้วยอำเภอท่าใหม่ อำเภอนายายอาม อำเภอแก่งหางแมวและอำเภอเขาคิชฌกูฏและเขตเลือกตั้งที่ 3 ประกอบไปด้วยอำเภอขลุง อำเภอมะขาม อำเภอโป่งน้ำร้อนและอำเภอสอยดาว[41] สำหรับจำนวนสมาชิกวุฒิสภาของจังหวัดจันทบุรีในอดีตมี 2 คน อย่างไรก็ตามตั้งแต่ พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา จังหวัดจันทบุรีสามารถมีสมาชิกวุฒิสภาได้ 1 คนเท่านั้น[42]
สำหรับปัจจุบัน ปีพ.ศ. 2566 ยังคงมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3 คนเช่นเดิม แต่มีการปรับพื้นที่เขตเลือกตั้งในเขตที่ 1 ได้นำพื้นที่อำเภอมะขามบางส่วนเข้ามาอยู่ในเขตนี้ และเขตที่ 3 โดยที่อำเภอมะขามได้แบ่ง 2 ตำบลออกไปอยู่กับเขตที่ 3 ส่วนเขตที่ 2 ยังคงเช่นเดิม
รายพระนามและชื่อผู้ว่าราชการจังหวัด
แก้
|
เศรษฐกิจ
แก้จังหวัดจันทบุรีเป็นจังหวัดที่มีเกษตรกรรมเป็นพื้นฐานของเศรษฐกิจ โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในจังหวัดจันทบุรีเกินครึ่งหนึ่งมาจากภาคเกษตรกรรม รองลงมาเป็นอุตสาหกรรม การก่อสร้าง การศึกษาและภาคส่วนอื่น ๆ ตามลำดับ ในปี พ.ศ. 2555 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในจังหวัดจันทบุรีรวมมูลค่าทั้งสิ้น 100,901 ล้านบาท คิดเป็นอันดับที่ 22 ของประเทศและมีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในจังหวัดต่อหัว 200,876 บาทต่อปี[46] ในส่วนของรายได้ที่แท้จริงของประชากรในจังหวัดจันทบุรีนั้น ประชากรในจังหวัดมีรายได้เฉลี่ย 7,784 บาทต่อเดือนและมีรายจ่ายเฉลี่ย 6,655 บาทต่อเดือน สัดส่วนของคนจนในจังหวัดจันทบุรีเมื่อพิจารณามิติของรายได้พบว่ามีประชากรร้อยละ 8.8 อยู่ในสภาวะยากจน[47][48]
เกษตรกรรม
แก้ภาคส่วนเกษตรกรรมเป็นภาคส่วนที่มีสัดส่วนของผลิตภัณฑ์มวลรวมสูงที่สุดในจังหวัดจันทบุรี โดยในปี พ.ศ. 2555 ภาคส่วนเกษตรกรรมมีผลิตภัณฑ์มวลรวมเท่ากับ 56,262 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 55.76 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมทั้งหมด เมื่อเปรียบเทียบย้อนหลังระหว่างปี พ.ศ. 2538 - 2555 จะพบว่าภาคส่วนทางด้านเกษตรกรรมในภาพรวมมีผลิตภัณฑ์มวลรวมสูงขึ้นต่อเนื่องทุกปี[46] สำหรับภาคส่วนเกษตรกรรมที่มีความสำคัญของจังหวัดจันทบุรีส่วนใหญ่เป็นการเพาะปลูก โดยพืชที่นิยมปลูกมากในจังหวัดจันทบุรีคือพืชไม้ผล พริกไทย และยางพารา
ไม้ผลที่เกษตรกรในจังหวัดจันทบุรีนิยมปลูกมากคือมังคุด ทุเรียน สละและเงาะ[49] เนื่องจากจันทบุรีมีสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศเหมาะสมสำหรับปลูกผลไม้เหล่านี้ทำให้จังหวัดจันทบุรีมีผลไม้เหล่านี้เป็นจำนวนมากและมีคุณภาพดี[50] โดยเฉพาะอย่างยิ่งทุเรียนซึ่งจังหวัดจันทบุรีเป็นจังหวัดที่มีการผลิตมากที่สุดในประเทศไทย[51] ผลไม้อีกชนิดหนึ่งซึ่งมีชื่อเสียงมากของจังหวัดจันทบุรีคือสละเนินวง โดยปลูกมากในบริเวณค่ายเนินวง ตำบลบางกะจะ[52] ผลไม้ของจังหวัดจะออกสู่ตลาดในช่วงระหว่างเดือนเมษายนถึงมิถุนายนของทุกปี[53] อย่างไรก็ตามปริมาณผลไม้ของจังหวัดในแต่ละปีจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ หากเกิดภาวะภัยแล้งขึ้นในจังหวัด ปริมาณผลไม้ที่จะออกสู่ตลาดในปีนั้นจะมีปริมาณลดลง[54]
จังหวัดจันทบุรีเป็นแหล่งปลูกพริกไทยที่สำคัญมากของประเทศไทย โดยพื้นที่ปลูกพริกไทยร้อยละ 95 อยู่ในจังหวัดจันทบุรี[55] โดยพริกไทยสามารถสร้างรายได้เข้าจังหวัดจันทบุรีปีละประมาณ 30 - 60 ล้านบาท อย่างไรก็ตามในช่วงหลายปีที่ผ่านมาพื้นที่การปลูกพริกไทยลดลงเป็นอย่างมาก จากการที่เกษตรกรเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น ปัญหาความเสื่อมโทรมของดินและปัญหาด้านต้นทุนการผลิต โดยเกษตรกรเหล่านี้จะเปลี่ยนจากการปลูกพริกไทยเป็นแก้วมังกรและยางพารา[56]
ในส่วนของยางพารานั้น หลวงราชไมตรี (ปูม ปุณศรี) เป็นบุคคลแรกที่นำยางพาราเข้ามาปลูกในจังหวัดจันทบุรีเป็นพื้นที่แรกของภาคตะวันออก[57] ในปี พ.ศ. 2551 เกษตรกรชาวจันทบุรีปลูกยางพาราในพื้นที่ 463,799 ไร่ โดยปลูกมากที่สุดในอำเภอแก่งหางแมว คิดเป็นร้อยละ 41.60 ของพื้นที่ปลูกยางพาราของจังหวัด[58] แม้ว่ายางพาราจะเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรชาวจันทบุรีเป็นจำนวนมาก แต่ในหลาย ๆ ปีมักประสบปัญหาราคายางพาราตกต่ำ[59] [60]
ประมง
แก้การประมงของจังหวัดจันทบุรี แม้จะมีส่วนแบ่งในผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในจังหวัดค่อนข้างน้อย (2,683 ล้านบาท) แต่เป็นภาคส่วนที่มีความสำคัญของจังหวัดจันทบุรี[46] เนื่องจากจังหวัดจันทบุรีมีชายฝั่งทะเลยาว 108 กิโลเมตรและมีแม่น้ำหลายสาย[61] ชาวประมงในจันทบุรีมีทั้งที่จับปลาในแหล่งน้ำและเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ โดยสัตว์น้ำที่นิยมเพาะพันธุ์มากที่สุดคือกุ้ง ซึ่งมีผลผลิตรวมกันทั้งจังหวัดในปี พ.ศ. 2552 เท่ากับ 64,262 ตัน[62]
อัญมณี
แก้จังหวัดจันทบุรีได้รับฉายาว่าเป็นเมืองหลวงทางด้านอัญมณีแห่งหนึ่งของโลก[63] โดยกิจการเหมืองอัญมณีของจังหวัดจันทบุรีเริ่มเมื่อใดไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด แต่พบหลักฐานในจดหมายเหตุคราวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2419 ความว่า "ได้มีราษฎรนำเอาผลไม้และพลอย หลากสีมาถวาย"[64] อัญมณีที่มีชื่อเสียงมากของจังหวัดจันทบุรีมีหลายชนิด เช่น ไพลิน สตาร์ บุษราคัม แต่ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ ทับทิมสยาม ซึ่งมีชื่อเสียงมากในระดับโลก[65] อัญมณีดังกล่าวเหล่านี้มักขุดหาจากเหมืองในบริเวณเขารอบ ๆ ตัวเมืองจันทบุรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณเขาพลอยแหวนและเขตตำบลบางกะจะ ซึ่งค้นพบอัญมณีเป็นจำนวนมาก[66][64] อย่างไรก็ตามในปัจจุบันปริมาณอัญมณีที่ค้นพบในเขตจังหวัดจันทบุรีลดลงไปมาก ส่งผลให้ต้องนำเข้าอัญมณีจากต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากประเทศมาดากัสการ์ในทวีปแอฟริกา เพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบให้ช่างเจียระไนพลอยในจังหวัดจันทบุรีเป็นผู้เจียระไน การซื้อขายอัญมณีในจังหวัดจันทบุรีจะทำการซื้อขายในตลาดพลอย ซึ่งตั้งอยู่ในเขตเมืองเก่าจันทบุรี โดยมีผู้ซื้อทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ[63] มีการคาดการณ์กันว่าใน 1 สัปดาห์มีเงินสะพัดอยู่ในตลาดพลอยประมาณ 200 - 500 ล้านบาท[67]
การท่องเที่ยว
แก้จังหวัดจันทบุรีมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้การท่องเที่ยวของจังหวัดจันทบุรีสร้างรายได้ให้กับจังหวัดเป็นจำนวนมาก จากสถิติในแต่ละปีจะพบว่ามีปริมาณนักท่องเที่ยวและรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น โดยในปี พ.ศ. 2555 มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในจังหวัดจันทบุรีรวมทั้งสิ้น 1,072,348 โดยเกือบทั้งหมดเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย ในส่วนของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดจันทบุรีมีเพียง 53,443 คนเท่านั้น นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะเข้ามาพักผ่อนในจังหวัดจันทบุรีโดยเฉลี่ย 2.31 วัน นักท่องเที่ยวเหล่านี้สร้างรายได้ให้กับจังหวัดจันทบุรีกว่า 4,214 ล้านบาท โดยมีค่าเฉลี่ยการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่อวันอยูที่ 1,503.07 ต่อคน โดยนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจะใช้จ่ายต่อวันอยู่ที่ 2,501.61 ต่อคน[68]
โครงสร้างพื้นฐาน
แก้การศึกษา
แก้สถาบันการศึกษาในจังหวัดจันทบุรีมีทั้งที่ดำเนินการโดยหน่วยงานทางภาครัฐบาลและภาคเอกชน โดยในส่วนภาคเอกชนมีองค์กรทางศาสนาเป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมจัดการศึกษาด้วย ภาษาที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เป็นหลัก และมีการสอดแทรกภาษาจีนและภาษาในทวีปยุโรปอื่น ๆ เข้ามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนอีกด้วย โรงเรียนประจำจังหวัดของจันทบุรีมีทั้งสิ้น 2 แห่งคือโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี (โรงเรียนประจำจังหวัดชาย) และโรงเรียนศรียานุสรณ์ (โรงเรียนประจำจังหวัดหญิง)[69][70]
ในส่วนของสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดจันทบุรีที่เปิดสอนระดับปริญญาบัณฑิตมีอยู่หลายแห่ง เช่น มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (วิทยาลัยนาฏศิลป์จันทบุรี) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (ศูนย์วิทยพัฒนาจันทบุรี) เป็นต้น
สาธารณสุข
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การคมนาคมและการสื่อสาร
แก้การเดินทางสู่จังหวัดจันทบุรีมีเส้นทางดังนี้
- เส้นทางสายกรุงเทพฯ–ชลบุรี–พัทยา–บ้านฉาง–ระยอง–จันทบุรี โดยใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท) ระยะทางประมาณ 315 กิโลเมตร
- เส้นทางสายกรุงเทพฯ–ชลบุรี–ศรีราชา–บ้านฉาง–ระยอง–จันทบุรี โดยใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36 (ถนนเมืองพัทยา-ระยอง) ระยะทางประมาณ 289 กิโลเมตร
- เส้นทางสายกรุงเทพฯ–ชลบุรี–แกลง–จันทบุรี โดยใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 344 (ถนนชลบุรี-แกลง) ระยะทางประมาณ 249 กิโลเมตร
- เส้นทางยุทธศาสตร์เชื่อมระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือผ่านปราจีนบุรี ผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33 (ถนนสุวรรณศร) เข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 317 (ถนนจันทบุรี-สระแก้ว) ผ่านอำเภอสอยดาว อำเภอโป่งน้ำร้อน และอำเภอมะขาม เข้าสู่จังหวัดจันทบุรี
- เส้นทางจันทบุรี–ตราด ระยะทาง 69.94 กิโลเมตร
- เส้นทางจันทบุรี–ระยอง ระยะทาง 111.67 กิโลเมตร
- เส้นทางจันทบุรี–สระแก้ว ระยะทาง 156.4 กิโลเมตร
- เส้นทางจันทบุรี–ชลบุรี ระยะทาง 167.03 กิโลเมตร
- เส้นทางจันทบุรี–ฉะเชิงเทรา ระยะทาง 191.09 กิโลเมตร
- เส้นทางจันทบุรี–สระบุรี ระยะทาง 327.77 กิโลเมตร
- เส้นทางจันทบุรี–นครราชสีมา ระยะทาง 338.05 กิโลเมตร
- เส้นทางจันทบุรี–บุรีรัมย์ ระยะทาง 344.32 กิโลเมตร
- เส้นทางจันทบุรี–แม่สอด ระยะทาง 697.83 กิโลเมตร
- รถไฟ
- จังหวัดจันทบุรี ไม่มีทางรถไฟ ท่านสามารถลงจากสถานีรถไฟบ้านพลูตาหลวง จ.ชลบุรี และต่อเข้ารถโดยสารประจำทาง สู่จังหวัดจันทบุรี โทร 0-3824-5959
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ประชากร
แก้จากประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยปี พ.ศ. 2566 รายงานว่า จังหวัดจันทบุรีมีประชากร 536,436 คน คิดเป็นอันดับที่ 47 ของประเทศ[ต้องการอ้างอิง] มีความหนาแน่นของประชากร 84.64 คนต่อตารางกิโลเมตร โดยบริเวณที่มีความหนาแน่นของประชากรมากที่สุดในจังหวัดอยู่ที่เขตเทศบาลเมืองขลุง ซึ่งมีความหนาแน่นของประชากร 3,231.76 คนต่อตารางกิโลเมตร[33] ประชากรของจังหวัดจันทบุรีส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมืองจันทบุรี โดยมีประชากรอาศัยอยู่ร้อยละ 24.29 ส่วนอำเภอที่มีประชากรอาศัยอยู่น้อยที่สุดคืออำเภอเขาคิชฌกูฏ โดยมีประชากรอาศัยอยู่เพียงร้อยละ 5.46 ของประชากรทั้งจังหวัด[71] ประชากรจังหวัดจันทบุรีบางส่วนเดินทางย้ายถิ่นฐานไปยังจังหวัดอื่น โดยส่วนใหญ่แล้วเพื่อหางานทำในจังหวัดนั้น ๆ[72] ประชากรชาวจันทบุรีส่วนมากมีสัญชาติไทยคิดเป็นร้อยละ 94.82 รองลงมามีสัญชาติกัมพูชาร้อยละ 2.90 สัญชาติลาวร้อยละ 1.20 ที่เหลือเป็นประชากรสัญชาติอื่น ๆ ในจำนวนนี้มีชาวยุโรป 397 คนและชาวแอฟริกัน 561 คนรวมอยู่ด้วย[73]
จำนวนประชากร
แก้
ภาษา
แก้ชาวจันทบุรีใช้ภาษาไทยแบบภาคกลางเป็นภาษาทางราชการและใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตามภาษาไทยที่ชาวจันทบุรีใช้พูดนั้นจะมีสำเนียงและหางเสียงที่แปลกจากภาษาไทยภาคกลาง[75] มีคำบางคำที่เป็นภาษาถิ่นเฉพาะ เช่น การใช้คำว่า ฮิ เป็นคำสร้อย การเรียกยายว่า แมะ เป็นต้น[76] นอกจากนี้แล้วในจังหวัดจันทบุรียังพบภาษาท้องถิ่นในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติกที่สำคัญอีก 1 ภาษา คือ ภาษาชอง ซึ่งเป็นภาษาที่พูดโดยชาวชอง ส่วนใหญ่แล้วชาวชองมักตั้งถิ่นฐานในอำเภอมะขาม อำเภอโป่งน้ำร้อนและอำเภอเขาคิชฌกูฎ[77] [78] ในปัจจุบันภาษาชองกำลังตกอยู่ในภาวะสูญหาย เนื่องจากพลเมืองชาวชองประมาณ 6,000 คน มีผู้ที่สามารถพูดภาษาชองได้เพียงแค่ 500 คนเท่านั้น[79] ในส่วนของภาษาอื่น ๆ ที่มีประชากรในจังหวัดใช้สื่อสารในครัวเรือนเกิน 1,000 คนขึ้นไป ได้แก่ ภาษาเขมร ภาษาลาว ภาษาพม่าและภาษาอังกฤษ[80]
ศาสนา
แก้จากการสำมะโนประชากรของจังหวัดจันทบุรีในปี พ.ศ. 2553 พบว่า ประชากรส่วนมากในจังหวัดจันทบุรีนับถือศาสนาพุทธคิดเป็นร้อยละ 97.95 รองลงมานับถือศาสนาคริสต์คิดเป็นร้อยละ 1.22 ศาสนาอิสลามคิดเป็นร้อยละ 0.40 ศาสนาฮินดูคิดเป็นร้อยละ 0.03 ศาสนาอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 0.23 และมีผู้ไม่นับถือศาสนาใด ๆ คิดเป็นร้อยละ 0.17[81] ในกลุ่มศาสนิกชนที่นับถือศาสนาอื่นนอกเหนือจากศาสนาพุทธส่วนใหญ่มักอาศัยอยู่ในเขตเทศบาล[81] ในส่วนของคริสต์ศาสนิกชนในจังหวัดจันทบุรีพบมากที่สุดในเขตเทศบาลเมืองจันทนิมิตโดยมีผู้นับถือศาสนาคริสต์ถึงร้อยละ 50 จากประชากรทั้งหมดในเขตเทศบาล[82]
ประเพณีและวัฒนธรรม
แก้ด้วยความที่จังหวัดจันทบุรีมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ทำให้มีประเพณีและวัฒธรรมที่หลากหลาย โดยประเพณีและวัฒนธรรมเหล่านี้ล้วนแล้วแต่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษทั้งสิ้น โดยมากแล้ววัฒนธรรมและประเพณีส่วนใหญ่ของจังหวัดนี้จะเกิดจากวิถีชีวิตและความเชื่อของคนในจังหวัด
เทศกาลและประเพณี
แก้- ประเพณีการนมัสการรอยพระบาทเขาคิชฌกูฏ จันทบุรี
- ประเพณีชักเย่อเกวียนพระบาท
อาหาร
แก้จังหวัดจันทบุรีเป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีพืชพันธุ์หลากหลายชนิด ส่งผลให้มีการนำพืชพันธุ์เหล่านั้นเข้ามาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการประกอบอาหาร สำหรับอาหารที่ขึ้นชื่อมากที่สุดของจังหวัดจันทบุรี คือ แกงหมูชะมวง ซึ่งใช้ใบชะมวงเป็นวัตถุดิบหลักในการปรุงขึ้น มีรสชาติทั้งสิ้น 3 รส คือ เค็ม เปรี้ยวและหวาน อาหารอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมและสร้างชื่อเสียงให้แก่จังหวัดจันทบุรีเป็นอย่างมาก คือ ก๋วยเตี๋ยวเนื้อเลียงหรือหมูเลียง โดยนำก๋วยเตี๋ยวเส้นจันท์ ซึ่งเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยวที่มีลักษณะเหนียวนุ่ม ไม่เปื่อยง่าย เข้ามาผสมผสานกับน้ำก๋วยเตี๋ยวที่ปรุงจากเครื่องเทศและวัตถุดิบอื่น ๆ ในส่วนอาหารอื่น ๆ ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดจันทบุรีได้แก่ น้ำพริกปูไข่ แกงเนื้อ แกงหมู ก๋วยเตี๋ยวผัดปู น้ำพริกเกลือ น้ำพริกระกำและอาหารทะเลจานต่าง ๆ เป็นต้น[83]
ในส่วนของอาหารว่างและเครื่องดื่มของจังหวัดจันทบุรีนั้นมีหลายอย่างที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ในส่วนของอาหารว่างที่สำคัญคือ ข้าวเกรียบอ่อนน้ำจิ้ม ซึ่งมีลักษณะใหญ่กว่าข้าวเกรียบปากหม้อโดยทั่วไป ทองม้วนอ่อน ซึ่งจะมีรสชาติแตกต่างไปตามวัตถุดิบที่เข้ามาเป็นส่วนผสมและ ปาท่องโก๋ ซึ่งมีความแตกต่างจากปาท่องโก๋ในจังหวัดอื่นที่น้ำจิ้ม โดยน้ำจิ้มปาท่องโก๋ของจังหวัดจันทบุรีจะเป็นน้ำจิ้มที่มีรสหวานออกเปรี้ยว[83] ในส่วนของเครื่องดื่มนั้นที่สำคัญได้แก่ น้ำสำรอง ซึ่งเป็นน้ำพืชสมุนไพรที่มีคุณค่าทางอาหารและสรรพคุณทางยา[84]
การแสดงพื้นบ้าน
แก้จังหวัดจันทบุรีเป็นจังหวัดที่มีการแสดงพื้นบ้านอย่างหลากหลาย โดยมักเป็นการแสดงที่บ่งบอกถึงวิถีชีวิตของผู้คนในท้องถิ่น ชาติพันธุ์ การประกอบอาชีพ รวมไปถึงสภาพทางภูมิศาสตร์ของท้องถิ่น การแสดงพื้นบ้านของจังหวัดจันทบุรีมีทั้งที่เกิดจากการถ่ายทอดของบรรพชนภายในท้องถิ่นหรือการแสดงพื้นบ้านบางอย่างอาจเกิดขึ้นจากการประดิษฐ์คิดค้นของผู้คนในปัจจุบัน โดยการแสดงพื้นบ้านของจังหวัดจันทบุรีที่สำคัญมีดังนี้[85]
ชื่อการแสดงพื้นบ้าน | ลักษณะสำคัญ |
---|---|
ยันแย่ | ยันแย่เป็นการแสดงของชาวชอง ในอดีตใช้เป็นเพลงกล่อมเด็ก แต่ในปัจจุบันนำทำนองเพลงยันแย่มาแต่งบทร้อง เพื่อใช้เป็นบทเกี้ยวพาราสี[86] |
อาไย | ทิดฮัมและทิดบูนเป็นผู้นำมาเผยแพร่จากประเทศกัมพูชา เป็นการแสดงที่ใช้ภาษาเขมรในการร้องพร้อมกับการรำ ใช้ซออู้ ซอด้วง กลอง ฉิ่ง ขิมและโมงเซเป็นเครื่องดนตรีประกอบการแสดง ปัจจุบันเป็นการละเล่นของชาวบ้านตามูลล่าง อำเภอโป่งน้าร้อน[87] |
ละครเท่งตุ๊ก | ละครเท่งตุ๊กได้รับอิทธิพลจากละครชาตรีและละครโนรา โดยชื่อของการแสดงมาจากเสียงของโทนและกลองตุ๊ก การแสดงจะใช้ทั้งมือและเท้า พร้อมทั้งการใช้เอวและไหล่ให้ตรงตามจังหวะกลอง[88] |
ระบำเก็บพริกไทย | คณาจารณ์วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรีเป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ โดยนำลักษณะของการการเก็บพริกไทยมาใช้ประดิษฐ์ท่า โดยดัดแปลงเครื่องแต่งกายของผู้แสดงเพื่อให้เกิดความสวยงาม ใช้วงปี่พาทย์ไม้นวมในการบรรเลง[85] |
ระบำทอเสื่อ | คณาจารย์วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรีเป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ โดยนำวิธีการทำเสื่อจันทบูรมาใช้ประดิษฐ์ท่า ผู้แสดงเป็นผู้หญิงทั้งหมด[85] |
ระบำเริงนทีบูรพา | ระบำเริงนทีบูรพาเป็นการแสดงที่นำวิถีชีวิตของชาวประมงและพฤติกรรมของสัตว์มาใช้เป็นจินตนาการในการสร้างการแสดง โดยใช้วงปี่พาทย์ไม้นวมในการบรรเลง[85] |
ระบำควนคราบุรี | วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรีประดิษฐ์การแสดงชุดนี้ขึ้น เพื่อจำลองให้เห็นสภาพวิถีชีวิตของชาวจันทบุรีในสมัยโบราณ การแต่งกายใช้รูปแบบตามศิลปะลพบุรี ส่วนการบรรเลงใช้วงปี่พาทย์ไม้แข็ง[85] |
ระบำชอง | ระบำชองเป็นระบำพื้นบ้านของชาวชอง จุดมุ่งหมายของระบำนี้คือความร่าเริงและสนุกสนาน[85] |
กีฬา
แก้จังหวัดจันทบุรีมีสโมสรฟุตบอลอาชีพ 2 แห่ง ได้แก่ สโมสรฟุตบอลจันทบุรี (ปัจจุบันแข่งขันในไทยลีก 2) และสโมสรฟุตบอลอัศวิน เกาะขวาง ยูไนเต็ด (ปัจจุบันแข่งขันในไทยลีก 3)[89]
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
แก้- เสื่อจันทบูร หัตถกรรมพื้นบ้านอีกชนิดที่มีชื่อเสียงของจังหวัด ผลิตจากกก ได้มีการนำเอากกมาดัดแปลงเป็นเครื่องใช้ต่าง ๆ มากมาย
- ก๋วยเตี๋ยวเส้นจันท์ นับเป็นสินค้าพื้นเมืองที่เป็นเอกลักษณ์อีกสิ่งหนึ่งของจังหวัด เหมาะที่จะซื้อเป็นของที่ระลึกเมื่อมาเที่ยวจังหวัดจันทบุรี
สถานที่ท่องเที่ยว
แก้- หาดเจ้าหลาว
- หาดแหลมสิงห์
- หาดคุ้งวิมาน
- น้ำตกพลิ้ว
- น้ำตกคลองนารายณ์
- น้ำตกตรอกนอง
- น้ำตกสอยดาว
- ลานหินสีชมพู
- สะพานแหลมสิงห์
- จุดชมวิวปากน้ำแขมหนู
- จุดชมวิวเนินนางพญา
- จุดชมวิวเจดีย์กลางน้ำบ้านหัวแหลม
- ศูนย์ศึกษาการพัฒนาธรรมชาติป่าชายเลนอ่าวคุ้งกระเบน
- สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำเฉลิมพระเกียรติ
- สวนสาธารณะสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
- ชุมชนริมน้ำจันทบูร
- อาสนวิหารพระแม่มารีอาปฏิสนธินิรมล
- ชุมชนขนมแปลกริมคลองหนองบัว
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพาณิชย์นาวี
- ค่ายเนินวง
- อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ
- อุทยานแห่งชาติเขาสิบห้าชั้น
- ตลาดบ้านแหลมไทย-กัมพูชา
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว
- หมู่บ้านไร้แผ่นดินบางชัน
- อ่างเก็บน้ำห้วยตาโป
บุคคลที่มีชื่อเสียง
แก้- พระครูสุทธิธรรมรังษี (เจี๊ยะ จุนฺโท) - พระกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต
- พระวิสุทธิญาณเถร (สมชาย ฐิตวิริโย) พระกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ผู้ก่อตั้งและประธานสงฆ์วัดเขาสุกิม จ.จันทบุรี
- พระภาวนาวิสุทธิญาณเถร (แบน ธนากโร) - เจ้าอาวาสวัดดอยธรรมเจดีย์
- พระครูญาณวิสิทธิ์ (เฟื่อง โชติโก) - พระสงฆ์ไทย
- พระครูธรรมสรคุณ (เขียน ขนฺธสโร) - พระเกจิอาจารย์
- พระธรรมวงศ์มุนี (วิชัย เมตติโก) - อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดจันทบุรี และอดีตเจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม (พระอารามหลวง)
- พระครูสันติวีรญาณ (ฟัก สนฺติธมฺโม) - พระสงฆ์ไทย
- พระบำราศนราดูร (หลง เวชชาชีวะ) - แพทย์ชาวไทย อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข
- คมคาย พลบุตร - นักการเมือง
- จตุรวิทย์ คชน่วม - นักแสดง, ตำรวจ
- ชอุ่ม ประเสริฐสกุล - นักถ่ายภาพที่มีชื่อเสียงของไทย
- ชินวัฒน์ หาบุญพาด - นักการเมือง
- โชติ สุวัตถิ - นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญในด้านสัตว์น้ำและพรรณพืชคนหนึ่งของประเทศไทย
- ณรงค์ศักดิ์ คงแก้ว - อดีตนักฟุตซอลทีมชาติไทย
- ธวัชชัย อนามพงษ์ - นักการเมือง
- ประวัฒน์ อุตโมท - นักการเมือง
- หลวงมัศยจิตรการ (ประสพ ตีระนันทน์) - อดีตนักวิชาการประมง
- ปรีดา จุลละมณฑล
- พงศพัศ พงษ์เจริญ - อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.)
- พงศ์เวช เวชชาชีวะ - นักการเมือง
- พล พลาพร - นักแสดง
- ภานุวัฒน์ จันทา - นักกีฬากองหลังฟุตซอลชาวไทย
- มัลลิกา หลีกภัย - พิธีกร
- แรคำ ประโดยคำ - นักเขียน
- ลัคนา หวงมณีรุ่งโรจน์ - นักแสดง นักร้อง พิธีกร ดีเจ
- วโรทัย ภิญญสาสน์ - อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2 สมัย และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดจันทบุรี 4 สมัย
- วิโรจน์ เลาหะพันธุ์ - อดีตอธิบดีกรมสรรพากร อดีตอธิบดีกรมศุลกากร
- วิทยา นีติธรรม - ผู้อำนวยการกองกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.)
- ศศิมาภรณ์ ไชยโกมล - นักแสดง
- สด กูรมะโรหิต - นักเขียนนวนิยายไทยที่มีชื่อเสียง
- สตางค์ มงคลสุข - นักวิทยาศาสตร์ชาวไทย
- สนอง นิสาลักษณ์ - อดีตนายทหารเรือ นักการทูต และนักการเมืองไทย
- สวิช เพชรวิเศษศิริ - นักแสดง
- สุคนธ์ทิพย์ เสนะวงศ์ - นักแสดง
- สุชาดา เช็คลีย์ นักแสดงที่รับบท มณีจันทร์ (วัยเด็ก) ภาพยนตร์ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 1 องค์ประกันหงสา
- โสภา สถาพร - อดีตนางเอกภาพยนตร์
- อภัย จันทวิมล - นักการเมือง
- อัศวิน รัตนประชา - นักแสดง
- อุษณีย์ วัฒฐานะ - นักแสดง นางแบบ
- ศรัณย์ ศิริลักษณ์ - นักแสดง นายแบบ
- พรรษา เหมวิบูลย์ - นักฟุตบอลทีมชาติไทย
- ไพรัช วราสินธุ์ - นักวิ่งเทรล
- โกศล จันทรชาติ - อดีตนักบอลทีมชาติ
- อรภัสญาน์ สุกใส - นักร้องเพลงลูกทุ่งหญิง
- เฉลิมพล ศักดิ์คำ - นักการเมือง
- ไพรวัลย์ วรรณบุตร - นักเขียน
เมืองพี่น้อง
แก้- อู๋โจว ประเทศจีน (พ.ศ. 2547)[90]
- เกียนซาง ประเทศเวียดนาม (พ.ศ. 2548)[90]
- ไพลิน ประเทศกัมพูชา (พ.ศ. 2553)[91]
- พระตะบอง ประเทศกัมพูชา (พ.ศ. 2553)[91]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_64.pdf 2564. สืบค้น 20 มกราคม 2565.
- ↑ 3.0 3.1 "จังหวัดจันทบุรี 3". สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-04. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.
- ↑ "จำนวนประชากรและบ้าน จำแนกเป็นรายอำเภอ และรายตำบล จังหวัดจันทบุรี ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553". สำนักสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.
- ↑ "จังหวัดจันทบุรี 1". สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-04. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.
- ↑ ""เหตุสงครามระหว่างสยามกับฝรั่งเศสและจดหมายเหตุฝรั่งเศสยึดเมืองจันทบุรี (พ.ศ. 2436-2447)." พระนคร: กรมศิลปากร, 2483". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-04. สืบค้นเมื่อ 2008-03-01.
- ↑ "ข้อมูลการเดินทางในจันทบุรี". การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-30. สืบค้นเมื่อ 16 April 2014.
- ↑ 8.0 8.1 "ความแห้งแล้งในประเทศไทย". กรมพัฒนาที่ดิน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 16 April 2014.
- ↑ 9.0 9.1 "ข้อมูลประจำจังหวัดจันทบุรี". สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-02. สืบค้นเมื่อ 16 April 2014.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 "ลักษณะภูมิประเทศ". สำนักงานสรรพากรจังหวัดจันทบุรี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 19 April 2014.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 "จังหวัดจันทบุรี". สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-04. สืบค้นเมื่อ 18 April 2014.
- ↑ "มรสุมตะวันตกเฉียงใต้" (PDF). สำนักภูมิสารสนเทศอุตุนิยมวิทยา. สืบค้นเมื่อ 19 April 2014.
- ↑ 13.0 13.1 "จันทบุรี - ค่าเฉลี่ย 30 ปี (2504-2533)". กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-06. สืบค้นเมื่อ 19 April 2014.
- ↑ "ข้อมูลประจำจังหวัดจันทบุรี". สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-02. สืบค้นเมื่อ 19 April 2014.
- ↑ "ความรู้อุตุนิยมวิทยา". กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-25. สืบค้นเมื่อ 19 April 2014.
- ↑ "ทรัพยากรดิน". โรงเรียนวชิรธรรมสาธิต. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-05. สืบค้นเมื่อ 18 April 2014.
- ↑ "ข้อมูลสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดจันทบุรี". สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดจันทบุรี. สืบค้นเมื่อ 18 April 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ปัญหาทรัพยากรดินและการปรับปรุงแก้ไข". สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดจันทบุรี. สืบค้นเมื่อ 18 April 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "เขื่อนและอ่างเก็บน้ำ". chanthaboon. สืบค้นเมื่อ 18 April 2014.
- ↑ "เนื้อที่ป่าไม้แยกรายจังหวัด". สำนักความหลากหลายทางชีวภาพ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-04. สืบค้นเมื่อ 16 April 2014.
- ↑ "สถานการณ์ป่าไม้ประเทศไทย ในวาระ 21 ปี สืบ นาคะเสถียร". มูลนิธิสืบนาคะเสถียร. สืบค้นเมื่อ 16 April 2014.
- ↑ "สภาพปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง". สถาบันสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร. สืบค้นเมื่อ 16 April 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "อุทยานแห่งชาติ". กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช. สืบค้นเมื่อ 16 April 2014.
- ↑ "วนอุทยานแห่งชาติ". กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช. สืบค้นเมื่อ 16 April 2014.
- ↑ "รายชื่อเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า". สำนักความหลากหลายทางชีวภาพ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-05. สืบค้นเมื่อ 16 April 2014.
- ↑ "ต้นไม้ประจำจังหวัด". สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 17 April 2014.
- ↑ "อย่างไรเรียกว่า...สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่?". ASTVผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 17 April 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ 28.0 28.1 "ธรรมชาติวิทยา สัตว์ท้องถิ่นของจันทบุรี". สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-18. สืบค้นเมื่อ 17 April 2014.
- ↑ "การจัดสถานภาพการถูกคุกคามของนกที่พบในประเทศไทย" (PDF). คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-06-14. สืบค้นเมื่อ 17 April 2014.
- ↑ "ปลาบู่มหิดล : ปลาเกียรติยศของพระประทีปแห่งการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำของไทย". กรมประมง. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-04. สืบค้นเมื่อ 17 April 2014.
- ↑ "อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน และ อปท". สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดจันทบุรี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-29. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.
- ↑ "รายการข้อมูลอำเภอในจังหวัดจันทบุรี". thaitambon. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-16. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.
- ↑ 33.0 33.1 "รายชื่อเทศบาลเมือง จำนวน 171 แห่ง". สำนักพัฒนาระบบ รูปแบบและโครงสร้าง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.
- ↑ "รายชื่อองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 5,492 แห่ง". สำนักพัฒนาระบบ รูปแบบและโครงสร้าง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.
- ↑ "ประวัติความเป็นมา". องค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-08. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.
- ↑ "อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี". องค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-08. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.
- ↑ "โครงสร้างองค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี". องค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-08. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.
- ↑ ""ชุมชนเก่าท่าหลวง (ถนนสุขาภิบาล)" ชุมชนเก่าแก่ริมแม่น้ำจันทบุรี". travel.thaiza. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี พุทธศักราช ๒๔๗๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.
- ↑ "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด สำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปครั้งแรกภายหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑) พุทธศักราช ๒๕๕๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.
- ↑ "จำนวนหน่วยเลือกตั้งแยกรายอำเภอ จังหวัดจันทบุรี ในการเตรียมการเลือกตัง ส.ส. จันทบุรี". คณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดจันทบุรี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-29. สืบค้นเมื่อ 11 June 2014.
- ↑ "ทำเนียบสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดจันทบุรีจากอดีตจนถึงปัจจุบัน". คณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดจันทบุรี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-29. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.
- ↑ "ทำเนียบรายพระนามและรายนามผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี". สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-04. สืบค้นเมื่อ 23 April 2016.
- ↑ "ทำเนียบผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี". กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดจันทบุรี ศาลากลางจังหวัดจันทบุรี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-28. สืบค้นเมื่อ 23 April 2016.
- ↑ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 12/2559 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอน 73 ง พิเศษ หน้า 13 29 มีนาคม พ.ศ. 2559
- ↑ 46.0 46.1 46.2 "GROSS PROVINCIAL PRODUCT AT CURRENT MARKET PRICES". สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-04. สืบค้นเมื่อ 20 April 2014.
- ↑ "จังหวัด จันทบุรี : ตาราง 4 ตัวชี้วัดในแผนที่ความยากจน ในภาพรวม พ.ศ. 2552 : มิติค่าใช้จ่าย" (PDF). สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 20 April 2014.
- ↑ "จังหวัด จันทบุรี : ตาราง 4 ตัวชี้วัดในแผนที่ความยากจน ในภาพรวม พ.ศ. 2552 : มิติรายได้" (PDF). สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 20 April 2014.
- ↑ "พืชพรรณไม้ประจำถิ่น". สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 21 April 2014.
- ↑ "แวะชิม แวะเที่ยว สวนผลไม้จันทบุรี". Kapook. สืบค้นเมื่อ 21 April 2014.
- ↑ "เปิดสวนจังหวัดจันทบุรี". chanforchan. สืบค้นเมื่อ 21 April 2014.
- ↑ "สละเนินวง". chanthaboon. สืบค้นเมื่อ 21 April 2014.
- ↑ "ผลไม้เลื่องชื่อ". chanthaboon. สืบค้นเมื่อ 21 April 2014.
- ↑ "ภัยแล้งจันทบุรี ทำพื้นที่การเกษตรเสียหายกว่า 5 หมื่นไร่". ASTVผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 21 April 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "พริกไทยพันธุ์ดี". chanthaboon. สืบค้นเมื่อ 21 April 2014.
- ↑ "พริกไทยจันทบุรี : พืชเศรษฐกิจที่ชาวสวนต้องรักษาไว้". สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. สืบค้นเมื่อ 21 April 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ประวัติยางพารา". องค์การสวนยาง. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-14. สืบค้นเมื่อ 21 April 2014.
- ↑ "โครงการจัดทำฐานขอมูลเชิงพื้นที่ของยางพาราป 2550 โดยการสำรวจขอมูลระยะไกลและเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ" (PDF). กรมวิชาการเกษตร. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-07-08. สืบค้นเมื่อ 21 April 2014.
- ↑ "จันทบุรี-ราคายางตกต่ำในรอบ 3 ปี". ครอบครัวข่าว 3. สืบค้นเมื่อ 21 April 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ชาวสวนยางตรัง-จันทบุรี ชุมนุมร้องรัฐแก้ปัญหาราคาตกต่ำ". ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 21 April 2014.
- ↑ "ข้อมูลลักษณะภูมิประเทศ : จังหวัดจันทบุรี". ศูนย์วิจัยและพัฒนาโครงสร้างมูลฐานอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 21 April 2014.
- ↑ "ข้อมูลประมงของจังหวัดจันทบุรี พ.ศ. 2549 - 2552". ประมงจังหวัดจันทบุรี. สืบค้นเมื่อ 21 April 2014.
- ↑ 63.0 63.1 "Thailand's gem capital". Asia Times Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-25. สืบค้นเมื่อ 22 April 2014.
- ↑ 64.0 64.1 "พลอยเมืองจันท์". chanthaboon. สืบค้นเมื่อ 22 April 2014.
- ↑ "ความรู้เรื่องพลอย". ร้านเพชรไอยราเจมส์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-21. สืบค้นเมื่อ 22 April 2014.
- ↑ "Gem Market". lonely planet. สืบค้นเมื่อ 22 April 2014.
- ↑ "เจาะธุรกิจพลอยเมืองจันท์ "เยือนตลาดค้าพลอยร้อยล้าน"". ประชาชาติธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 22 April 2014.
- ↑ "สถิตินักท่องเที่ยวในประเทศ (รายจังหวัด)". สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มฐานข้อมูลการตลาด. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-06. สืบค้นเมื่อ 25 April 2014.
- ↑ "ประวัติโรงเรียน และที่ตั้ง". โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี. 22 December 2014.
- ↑ "ประวัติโรงเรียน". โรงเรียนศรียานุสรณ์. 22 December 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-14. สืบค้นเมื่อ 2014-12-22.
- ↑ "ตารางที่ 1 ประชากร จำแนกตามเพศ ครัวเรือน จำแนกตามประเภทของครัวเรือน อำเภอ และเขตการปกครอง". สำนักงานสถิติจังหวัดจันทบุรี. สืบค้นเมื่อ 16 April 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ตารางที่ 20 ประชากรที่ย้ายถิ่นภายใน 5 ปี จำแนกตามเหตุผลของการย้ายถิ่น เพศ และเขตการปกครอง". สำนักงานสถิติจังหวัดจันทบุรี. สืบค้นเมื่อ 16 April 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ตารางที่ 5 ประชากร จำแนกตามสัญชาติ เพศ และเขตการปกครอง". สำนักงานสถิติจังหวัดจันทบุรี. สืบค้นเมื่อ 16 April 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สถิติจำนวนประชากรและบ้าน". สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2024.
- ↑ "จังหวัดจันทบุรี 8". สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-04. สืบค้นเมื่อ 16 April 2014.
- ↑ "ภาษาถิ่นตะวันออก". สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสุพรรณบุรี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-03. สืบค้นเมื่อ 16 April 2014.
- ↑ "ภาษาชอง". มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-28. สืบค้นเมื่อ 16 April 2014.
- ↑ "ภาษาชอง". โครงการแผนที่วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ชายแดนไทย-กัมพูชา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 16 April 2014.
- ↑ "ต่อลมหายใจ "มรดกภาษา" ฟื้นชาติพันธุ์ "ชอง" ผ่านห้องเรียน". ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 16 April 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ตารางที่ 6 ประชากร จำแนกตามภาษาที่ใช้พูดในครัวเรือน เพศ และเขตการปกครอง". สำนักงานสถิติจังหวัดจันทบุรี. สืบค้นเมื่อ 16 April 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ 81.0 81.1 "ตารางที่ 4 ประชากร จำแนกตามศาสนา เพศ และเขตการปกครอง". สำนักงานสถิติจังหวัดจันทบุรี. สืบค้นเมื่อ 16 April 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ประวัติชุมชน". เทศบาลเมืองจันทนิมิต. สืบค้นเมื่อ 16 April 2014.
- ↑ 83.0 83.1 "อาหารประจำท้องถิ่น". สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-01. สืบค้นเมื่อ 11 June 2014.
- ↑ "จังหวัด จันทบุรี : ผลิตภัณฑ์น้ำสำรอง". ไทยตำบล. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-04. สืบค้นเมื่อ 11 June 2014.
- ↑ 85.0 85.1 85.2 85.3 85.4 85.5 "การละเล่นและการแสดงพื้นบ้านของชาวจันท์". สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-03. สืบค้นเมื่อ 4 July 2014.
- ↑ "ยันแย่". โครงการแผนที่วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ชายแดนไทย-กัมพูชา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 4 July 2014.
- ↑ "อาไย/อายัย จ.จันทบุรี". โครงการแผนที่วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ชายแดนไทย-กัมพูชา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 4 July 2014.
- ↑ "ละครเท่งตุ๊ก ศิลปะการแสดงพื้นบ้านชาวจันทบูร". chanthaboon.net. สืบค้นเมื่อ 4 July 2014.
- ↑ "โค้ชเจี๊ยบ ชม ประหยัด แจ่ม เชื่อดาร์บี้แมตช์เมืองจันท์ยกนี้หวดไฟแลบ". supersubthailand.com. 25 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ 90.0 90.1 "ความสัมพันธเมืองพี่น้องที่ลงนามความตกลงแลว" (PDF). กองการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-13. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.
- ↑ 91.0 91.1 "บันทึกความเข้าใจฯ กับราชอาณาจักรกัมพูชา". mahachonnews. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.[ลิงก์เสีย]
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้หนังสือและบทความ
แก้เว็บไซต์
แก้- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของจังหวัด เก็บถาวร 2020-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
12°37′N 102°07′E / 12.61°N 102.11°E
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ จังหวัดจันทบุรี
- แผนที่ จาก มัลติแมป โกลบอลไกด์ หรือ กูเกิลแผนที่
- ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
- ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย