อำเภอพังโคน

อำเภอในจังหวัดสกลนคร ประเทศไทย

พังโคน เป็นอำเภอที่ตั้งอยู่เกือบกึ่งกลางจังหวัดสกลนคร และเป็นอำเภอที่มีความเจริญมากอีกอำเภอหนึ่ง เป็นรองแค่เพียงอำเภอเมืองสกลนคร และอำเภอสว่างแดนดิน ถือเป็นศูนย์กลางทางด้านการค้าและการคมนาคมขนส่งทางตอนกลางของจังหวัด

อำเภอพังโคน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Phang Khon
ตัวเมืองอำเภอพังโคน
ตัวเมืองอำเภอพังโคน
คำขวัญ: 
เจดีย์หลวงปู่คำ วัฒนธรรมเซิ้งผีโขน พังโคนเมืองไก่ย่าง
เขื่อนกว้างลำน้ำอูน ถิ่นสมบูรณ์จำปาชนบท ดั่งปรากฎช้างงามนามพังโคน
แผนที่จังหวัดสกลนคร เน้นอำเภอพังโคน
แผนที่จังหวัดสกลนคร เน้นอำเภอพังโคน
พิกัด: 17°23′33″N 103°42′34″E / 17.39250°N 103.70944°E / 17.39250; 103.70944
ประเทศ ไทย
จังหวัดสกลนคร
พื้นที่
 • ทั้งหมด383.8 ตร.กม. (148.2 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด52,422 คน
 • ความหนาแน่น136.59 คน/ตร.กม. (353.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 47160
รหัสภูมิศาสตร์4705
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอพังโคน ตำบลพังโคน อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร 47160
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอพังโคนตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางทิศตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ

แก้

อำเภอพังโคน เดิมคือ เมือง”จัมปาชนบท” โดยตามประวัติกล่าวว่า ชาวภูไทอพยพมาจากเมืองวังฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง พากันมาตั้งบ้านเรือน ใช้ชื่อว่า “บ้านจัมปา” อันเป็นนามของดอกไม้ (บ้านจัมปา ซึ่งปัจจุบันคือ บ้านนาเหมือง หมู 2 ตำบลพังโคน) โดยมีท้าวแก้ว เป็นหัวหน้า

ต่อมาปี พ.ศ. 2420 เป็นปีที่ 10 ในรัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ยกบ้านจัมปาขึ้นเป็น เมืองจัมปาชนบท ขึ้นตรงกับเมืองสกลนครและโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้ ท้าวแก้ว วงศ์ประทุม เป็นพระบำรุงนิคมเขต เจ้าเมืองจัมปาชนบท

พระบำรุงนิคมเขต เจ้าเมืองจัมปาชนบท เป็นผู้มองกาลไกล จึงได้ชักชวนชาวบ้านกรมการที่อยู่ในเขตแดนเมืองจัมปาชนบท ให้ทำนาเป็นอาชีพ ตัวท่านและครอบครัว ก็ทำนาเป็นตัวอย่างแก่ราษฎรทั้งหลาย ที่นาของท่านอยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศเหนือ “หนองสิม” เรียกว่า “ทุ่งนาเหมือง” มาจนถึงปัจจุบัน

เมื่อครั้น พระบำรุงนิคมเขต(แก้ว) เป็นเจ้าเมืองอยู่นั้น มีกรมการเมือง ประกอบด้วย อุปราช(อุปฮาด) ราชวงศ์ ราชบุตร นอกจากนั้นยังมีตำแหน่งเมืองซ้าย เมืองขวา เมืองฮาม เมืองแสน เมืองจันทน์ ต่อมา มีการยุบเมืองให้เป็นเป็นอำเภอ เจ้าเมืองเปลี่ยนเป็น นายอำเภอ อุปราชหรืออุปฮาด เป็นปลัดอำเภอ ราชวงศ์ เป็นสมุห์บัญชี-อำเภอ และราชบุตร เป็นเสมียนอำเภอ

พระบำรุงนิคมเขต(แก้ว) เป็นต้นตระกูล “วงศ์ประทุม” เมื่อถึงแก่กรรม ท้าวคำไข ตำแหน่งอุปราช(อุปฮาด) บรรดาศักดิ์ที่พระประทุมเทวาพิทักษ์ ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เป็นเจ้าเมืองจัมปาชนบท ในบรรดาศักดิ์ที่ พระบำรุงนิคมเขต (คำไข) สืบต่อมา

ครั้นเมื่อ พ.ศ. 2445 มหาอำมาตย์โท พระยามหาอำมาตย์ธิบดี ปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย ได้มาตรวจราชการ จึงได้สั่งเปลี่ยนแปลงาเขตการปกครองหัวเมืองเสียใหม่คือ บรรดาหัวเมืองต่าง ๆ ที่มีอาณาเขตใกล้ชิดกัน ให้ยุบลงเป็นอำเภอหรือยุบไปขึ้นกับอำเภอที่มีอาณาเขตใกล้ชิดกัน เมืองจัมปาชนบท อยู่ใกล้กับอำเภอพรรณนานิคมก็ให้ยุบโอนขึ้นกับอำเภอพรรณนานิคม

ต่อมาทางราชการได้สร้างทางหลวงแผ่นดินสายอุดรธานี – สกลนคร – นครพนม เส้นทางนี้ได้ตัดผ่านศูนย์กลางบ้านดอนพังโคน (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 22 กิโลเมตรที่ 107) ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองจัมปาชนบทไปทางทิศเหนือ ประมาณ 1 กิโลเมตร จึงได้มีบรรดาชาวเมืองจัมปาชนบท พากันอพยพบ้างเมืองมาอยู่ตามแนวสองข้างทางเรียกว่า “บ้านพังโคน” หรือบ้านดอนพังโคน” ปัจจุบันมีสี่แยกทางสาย 22 ตัดกับสาย 222 และ227 ชาวบ้านเรียกสี่แยก 2 วา เนื่องจากแยกไปทางทิศเหนือ คือ อำเภอวานรนิวาส และทิศใต้ คือ อำเภอวาริชภูมิ อำเภอพังโคน

เมื่อปี พ.ศ. 2511 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศจัดตั้งกิ่งอำเภอพังโคน โดยแบ่งท้องที่ตำบลม่วงไข่ ตำบลแร่ และตำบลไฮหย่อง แยกจากอำเภอพรรณนานิคม ทั้งนี้มีพ่อค้าประชาชนชาวอำเภอพัง-โคนได้ร่วมบริจาคเงินซื้อที่ดินจำนวน 35 ไร่ ให้เป็นสถานที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ และศูนย์ราชการกิ่งอำเภออยู่ห่างจากสี่แยก 2 วา ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 1 กิโลเมตร เมื่อท้องที่กิ่งอำเภอพังโคนเจริญขึ้น ทางราชการจึงมีพระราชกฤษฎีกา ยกฐานะกิ่งอำเภอพังโคน เป็น “อำเภอพังโคน” โดยแบ่งเขตการปกครอง ออกเป็น 5 ตำบล

ชื่อ

แก้

บ้านพังโคน มีประวัติเล่ามาว่า เมื่อวันเดือนปีใดไม่ปรากฏ นครเวียงจันทน์เกิดกบฏ พวกกบฏได้ปล่อยช้างมงคลหรือพลายคำมิ่ง ตัวผู้มีงากับช้างดอ ชื่อ มิ่งมงคล ไม่มีงา และช้างพัง ชื่อโคน รวม 3 เชื่อก ของเจ้านครเวียงจันทน์ ข้ามโขงมาฝั่งของไทย เมืองเจ้านครเวียงจันทน์ไปปราบกบฏเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงสั่งให้บรรดาควาญช้างต้น ข้ามโขงมาตามเอาช้างมิ่งมงคลที่ปล่อยมานั้นคืน ได้ติดตามมาพบช้างที่ริมหนองอีนาง เขตท้องที่อำเภอพรรณานิคม จึงพากันจับช้างดอชื่อมิ่งมงคลที่หนองอีนางนั่นเอง

ส่วนอีก 2 เชือก คือพลายคำมิ่งกับพังโคนไปตามไปพบที่ดอนตูม ซึ่งอยู่กลางทุ่งนามีต้นตูมขึ้นอยู่มากใกล้กับหมู่บ้านจัมปา จึงจับพลายคำมิ่งได้ ส่วนช้างพับที่ชื่อโคนจับไม่ได้ จึงลงความเห็นว่าต้องใช้ปืนยิงที่เท้าให้เจ็บเสียก่อนจึงจะจับได้ เมื่อถูกยิงแทนที่จะจับได้กลับอาละวาดเป็นการใหญ่ บรรดาคราญช้างจึงลงความเห็นควรจะจับตาย จึงใช้ปืนยิงให้ตายแล้วจึงนำซากช้างพังที่ชื่อโคนมาฝังไว้ บริเวณดอนตูมแห่งนี้แล้วจึงพากันนำช้าง 2 เชือก กลับนครเวียงจันทน์

ต่อมาชาวบ้านจึงพากันเรียกดอนตูมแห่งนี้ว่า "ดอนพังโคน" ตามนามของช้างที่ชื่อ " พังโคน" และบริเวณดอนอีนางก็เรียกว่า " บ้านช้างมิ่ง" ตามนามช้าง ตลอดจนทุกวันนี้

(บ้านช้างมิ่งปัจจุบันคือตำบลช้างมิ่ง อำเภอพรรณานิคม เป็นชุมชนชาวคริสต์อีกชุมชนหนึ่งในสกลนคร)หมายเหตุการหนี้มาของพระวอ พระตา พระโสมพะมิต พระนาม เกิดขึ้นสมัยพระเจ้าตาก ได้มาตั้งที่อยู่ที่ผ้าขาวม่วงไข่ก่อน(จากใบลานเมืองอุบล) ผู้ไทและลาวชาวคริสต์นั้นช่วง กวดต้อนผู้คนหลังจากลูกพระตา (คำผง)ไปช่วยตีเวียงจันทน์(ตีกันเอง)

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

อำเภอพังโคนแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 5 ตำบล 70 หมู่บ้าน

1. พังโคน (Phang Khon) 13 หมู่บ้าน
2. ม่วงไข่ (Muang Khai) 11 หมู่บ้าน
3. แร่ (Rae) 14 หมู่บ้าน
4. ไฮหย่อง (Hai Yong) 18 หมู่บ้าน
5. ต้นผึ้ง (Ton Phueng) 13 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอพังโคนประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลพังโคน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลพังโคน
  • เทศบาลตำบลไฮหย่อง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไฮหย่องทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลพังโคนศรีจำปา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพังโคน (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลพังโคน)
  • เทศบาลตำบลแร่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแร่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงไข่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลม่วงไข่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลต้นผึ้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลต้นผึ้งทั้งตำบล

สถานศึกษา

แก้

ระดับอุดมศึกษา

ระดับมัธยมศึกษา

ระดับประถมศึกษา

อ้างอิง

แก้