อำเภอกบินทร์บุรี
กบินทร์บุรี เดิมสะกดว่า กระบินทร์บุรี[1] เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดปราจีนบุรี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของตัวจังหวัด ปัจจุบันเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของภาคตะวันออก
อำเภอกบินทร์บุรี | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Kabin Buri |
สนามกีฬาน้อมเกล้ามหาราช | |
คำขวัญ: เมืองด่านหนุมาน ประตูสู่อีสานด้านบูรพา ต้นธาราบางประกง ดงกระเฉดชะลูดน้ำ เหมืองแร่ทองคำบ่อทอง หนองปลาแขยงแหล่งน้ำ เขตอุตสาหกรรมที่ดี วัดมากมีคู่เมือง | |
แผนที่จังหวัดปราจีนบุรี เน้นอำเภอกบินทร์บุรี | |
พิกัด: 13°56′48″N 101°42′48″E / 13.94667°N 101.71333°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ปราจีนบุรี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 1,309.3 ตร.กม. (505.5 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 148,907 คน |
• ความหนาแน่น | 113.73 คน/ตร.กม. (294.6 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 25110, 25240 (เฉพาะตำบลเมืองเก่า) |
รหัสภูมิศาสตร์ | 2502 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอกบินทร์บุรี เลขที่ 999 หมู่ที่ 2 ตำบลกบินทร์ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี 25110 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอกบินทร์บุรีตั้งอยู่ทางตะวันออกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอนาดี
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเมืองสระแก้ว (จังหวัดสระแก้ว)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเขาฉกรรจ์ (จังหวัดสระแก้ว) และอำเภอสนามชัยเขต (จังหวัดฉะเชิงเทรา)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอศรีมหาโพธิและอำเภอประจันตคาม
ประวัติ
แก้อำเภอกบินทร์บุรีมีสถานะเป็นเมืองมาตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยมีที่ว่าการเมืองตั้งอยู่ที่บ้านหนุมาน ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2444 ได้ย้ายที่ว่าการเมืองไปอยู่ที่บ้านปากน้ำ ซึ่งเป็นจุดที่แม่น้ำหนุมานและแม่น้ำพระปรงรวมกันเป็นแม่น้ำปราจีนบุรี และเมื่อมีการปฏิรูประบบการปกครองก็มีสถานะเป็นจังหวัดกระบินทร์บุรีเรื่อยมา
ต่อมาทางราชการเห็นว่าการคมนาคมระหว่างจังหวัดกระบินทร์บุรีและจังหวัดปราจิณบุรีมีความสะดวกมากขึ้นแล้ว จึงมีประกาศเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2469 ให้ยุบจังหวัดกระบินทร์บุรีรวมเข้ากับจังหวัดปราจิณบุรีจนถึงปัจจุบัน[2]
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอกบินทร์บุรีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 14 ตำบล 193 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[3] |
---|---|---|---|---|
1. | กบินทร์ | Kabin | 12
|
15,306
|
2. | เมืองเก่า | Mueang Kao | 22
|
18,101
|
3. | วังดาล | Wang Dan | 16
|
7,779
|
4. | นนทรี | Nonsi | 16
|
9,619
|
5. | ย่านรี | Yan Ri | 12
|
8,464
|
6. | วังตะเคียน | Wang Takhian | 17
|
10,889
|
7. | หาดนางแก้ว | Hat Nang Kaeo | 7
|
4,374
|
8. | ลาดตะเคียน | Lat Takhian | 13
|
11,622
|
9. | บ้านนา | Ban Na | 11
|
9,001
|
10. | บ่อทอง | Bo Thong | 10
|
6,496
|
11. | หนองกี่ | Nong Ki | 12
|
15,835
|
12. | นาแขม | Na Khaem | 11
|
5,117
|
13. | เขาไม้แก้ว | Khao Mai Kaeo | 11
|
9,283
|
14. | วังท่าช้าง | Wang Tha Chang | 23
|
16,466
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอกบินทร์บุรีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 17 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองหนองกี่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองกี่ทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลกบินทร์ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลกบินทร์
- เทศบาลตำบลเมืองเก่า ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเมืองเก่าและตำบลกบินทร์
- เทศบาลตำบลสระบัว ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลลาดตะเคียน
- องค์การบริหารส่วนตำบลกบินทร์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกบินทร์ (นอกเขตเทศบาลตำบลกบินทร์และเทศบาลตำบลเมืองเก่า)
- องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเก่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองเก่า (นอกเขตเทศบาลตำบลเมืองเก่า)
- องค์การบริหารส่วนตำบลวังดาล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังดาลทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนนทรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนนทรีทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลย่านรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลย่านรีทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลวังตะเคียน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังตะเคียนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหาดนางแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหาดนางแก้วทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลลาดตะเคียน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลาดตะเคียน (นอกเขตเทศบาลตำบลสระบัว)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านนาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อทองทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนาแขม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาแขมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเขาไม้แก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาไม้แก้วทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลวังท่าช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังท่าช้างทั้งตำบล
สถานที่ท่องเที่ยว
แก้- นกเป็ดน้ำหนองปลาแขยง
อยู่ริมถนนสุวรรณศร (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33) ระหว่างช่วงอำเภอประจันตคาม-กบินทร์บุรี บริเวณกิโลเมตรที่ 206-207 ทางซ้ายมือจะมีหนองน้ำขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 400 ไร่ ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคมของทุกปีจะมีนกเป็ดน้ำมาอาศัยเป็นจำนวนมากนับพันตัว
เขตอุตสาหกรรม
แก้- เขตอุตสาหกรรมกบินทร์บุรี
- นิคมอุตสาหกรรมไฮเทคกบินทร์
- สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ กบินทร์บุรี
- เขตอุตสาหกรรมบ่อทอง (อยู่ระหว่างการพัฒนา)
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ. เก็บถาวร 2011-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 34 ตอนที่ ๐ก วันที่ 29 เมษายน 2460
- ↑ "ประกาศ เรื่อง ยุบจังหวัดกบินทร์บุรีลงเป็นอำเภอขึ้นจังหวัดปราจีน" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-04. สืบค้นเมื่อ 2012-04-29.
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ อำเภอกบินทร์บุรี