เขตภาษีเจริญ

เขตในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

ภาษีเจริญ เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพโดยทั่วไปมีลักษณะกึ่งชนบทกึ่งชุมชนเมือง แต่ในพื้นที่เนื่องจากมีการขยายตัวของระบบสาธารณูปโภค (โดยเฉพาะด้านการคมนาคม) จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงจากชุมชนเกษตรเป็นชุมชนเมืองมากขึ้น

เขตภาษีเจริญ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันKhet Phasi Charoen
ชุมชนไม้วัดนิมมานรดี (ฝั่งซ้าย) และวัดนิมมานรดี (ฝั่งขวา) ริมคลองภาษีเจริญ
ชุมชนไม้วัดนิมมานรดี (ฝั่งซ้าย) และวัดนิมมานรดี (ฝั่งขวา) ริมคลองภาษีเจริญ
คำขวัญ: 
แห่พระธาตุวัดนางชี บารมีหลวงพ่อ
วัดปากน้ำ ศิลปกรรมอารามมากมี
ศาลขุนด่านเจ้าพ่อเสือเกื้อหนุนความดี
ชมของดีที่... ภาษีเจริญ
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตภาษีเจริญ
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตภาษีเจริญ
พิกัด: 13°42′53″N 100°26′14″E / 13.71472°N 100.43722°E / 13.71472; 100.43722
ประเทศ ไทย
เขตปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร
พื้นที่[2]
 • ทั้งหมด17.834 ตร.กม. (6.886 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด121,833[1] คน
 • ความหนาแน่น6,831.50 คน/ตร.กม. (17,693.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์10160
รหัสภูมิศาสตร์1022
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 46 ซอยเพชรเกษม 54 (ทิพย์นิยม 2) ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 10160
เว็บไซต์www.bangkok.go.th/phasicharoen
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

เขตภาษีเจริญตั้งอยู่บริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งธนบุรี มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองข้างเคียง เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

ที่มาของชื่อเขต

แก้

ชื่อของเขตนั้นนำมาจากชื่อของคลองภาษีเจริญซึ่งขุดขึ้นเชื่อมแม่น้ำท่าจีน (ที่ตำบลดอนไก่ดี อำเภอกระทุ่มแบน แขวงเมืองสมุทรสาคร) กับคลองบางกอกใหญ่ เพื่อเป็นการสัญจรทางน้ำ ซึ่งเน้นการส่งอ้อยและน้ำตาลจากต่างจังหวัดเข้าสู่เมืองหลวง โดยเริ่มขุดตั้งแต่ พ.ศ. 2401 เสร็จสมบูรณ์ใน พ.ศ. 2415 และชื่อคลองตั้งตามชื่อพระภาษีสมบัติบริบูรณ์ (ต่อมาเป็นพระยาพิสณฑ์สมบัติบริบูรณ์ ต้นสกุลพิศลยบุตร และบรรพบุรุษของราชสกุลกิติยากร) ผู้เป็นแม่กองดูแลงานขุดคลองนี้

ประวัติศาสตร์

แก้

หลังการขุดคลองภาษีเจริญ ได้มีผู้คนย้ายมาตั้งถิ่นฐานอยู่ริมคลองมากขึ้นจนเป็นชุมชนใหญ่ ทางราชการจึงได้จัดตั้ง อำเภอภาษีเจริญ ขึ้นใน พ.ศ. 2442 มีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดธนบุรี ใน พ.ศ. 2498 กระทรวงมหาดไทยได้จัดตั้งสุขาภิบาลบางแคขึ้นในพื้นที่บางส่วนของตำบลบางแค บางหว้า และบางด้วนที่ตั้งอยู่ริมคลองสายนี้ และใน พ.ศ. 2513 ได้ขยายเขตออกไปจนครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งอำเภอ (เหลือเพียงตำบลบางไผ่ ตำบลบางแวก ส่วนตำบลคูหาสวรรค์และตำบลปากคลองภาษีเจริญอยู่ในเขตเทศบาลนครธนบุรีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2479)

ภายหลังได้มีการรวมจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดพระนครเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานครใน พ.ศ. 2515 ซึ่งได้ยุบการปกครองท้องถิ่นแบบสุขาภิบาลและเทศบาล รวมทั้งได้เปลี่ยนการเรียกตำบลและอำเภอใหม่ อำเภอภาษีเจริญจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตภาษีเจริญ ตั้งแต่นั้น มีหน่วยการปกครองย่อย 10 แขวง

ต่อมาพื้นที่ทางทิศตะวันตกของเขตภาษีเจริญมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่น กรุงเทพมหานครได้จัดตั้งสำนักงานเขตภาษีเจริญ สาขา 1 ดูแลแขวงบางแค บางแคเหนือ และบางไผ่ และใน พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศแบ่งพื้นที่ปกครองของสำนักงานเขตภาษีเจริญสาขาดังกล่าวออกไปตั้งเป็นเขตบางแค

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

เขตภาษีเจริญแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 7 แขวง คือ

หมาย
เลข
อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2566)
ความหนาแน่น
(คน/ตร.กม.)
แผนที่
1.
บางหว้า Bang Wa
5.105
38,106
7,464.45
 
2.
บางด้วน Bang Duan
2.514
27,047
10,758.55
6.
บางจาก Bang Chak
1.394
7,940
5,695.84
7.
บางแวก Bang Waek
3.022
18,135
6,000.99
8.
คลองขวาง Khlong Khwang
2.992
10,510
3,512.70
9.
ปากคลองภาษีเจริญ Pak Khlong Phasi Charoen
1.898
14,332
7,551.11
10.
คูหาสวรรค์ Khuha Sawan
0.909
5,763
6,339.93
ทั้งหมด
17.834
121,833
6,831.50

หมายเลขที่หายไปปัจจุบันคือแขวงในเขตบางแค

ประชากร

แก้

การคมนาคม

แก้

ถนน

แก้
ถนนสายหลัก
แก้
ถนนสายรอง
แก้

รถไฟฟ้า

แก้
รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลหรือสายสีน้ำเงิน
แก้
 
รถไฟฟ้ามหานคร สถานีบางหว้า
รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (โครงการส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง–บางแค) เป็นโครงการยกระดับตามแนวเกาะกลางถนนเพชรเกษม ต่อเนื่องมาจากเขตบางกอกใหญ่ ผ่านพื้นที่เขตภาษีเจริญ มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตกและเข้าสู่เขตบางแค มีสถานีที่อยู่ในพื้นที่เขตภาษีเจริญทั้งหมด 4 สถานี โดยเป็นสถานียกระดับทั้งหมด ได้แก่ สถานีบางไผ่ สถานีบางหว้า สถานีเพชรเกษม 48 และสถานีภาษีเจริญ ซึ่งในขณะนี้เปิดให้บริการแล้ว
รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม
แก้
รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ที่ตัดผ่านในเขตภาษีเจริญ เป็นโครงการส่วนต่อขยายวงเวียนใหญ่–บางหว้า โดยเริ่มต้นเข้าสู่พื้นที่เขตภาษีเจริญจากเขตธนบุรี เป็นโครงการยกระดับตามแนวถนนราชพฤกษ์ สำหรับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลมนั้น มีสถานีอยู่ในเขตภาษีเจริญ 1 สถานีและเป็นสถานีปลายทาง คือ สถานีบางหว้า

สถานที่สำคัญ

แก้
ภาพทัศนียเขตภาษีเจริญในปี พ.ศ. 2561 จากอาคารสูง
 
วัดปากน้ำภาษีเจริญ ริมคลองภาษีเจริญ
 
พระอุโบสถวัดนิมมานรดี
 
ศาลเจ้าปึงเถ่ากง สมาคมมิตรภาพบางแค
 
ศาลเจ้ารางบัว (關聖廟) เป็นศาลของกลุ่มชาวจีนไหหลำมีประวัติการก่อตั้งศาลเจ้าขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2422

สถานศึกษา

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php. สืบค้น 26 มกราคม 2567.
  2. ศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานคร. สถิติจำนวนประชากรและบ้านในกรุงเทพมหานคร จำแนกตามรายแขวงและเขต ณ เดือน ธันวาคม 2550. สืบค้น 21 กันยายน 2552.
  3. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้