อำเภอวังยาง
วังยาง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครพนม
อำเภอวังยาง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Wang Yang |
คำขวัญ: รังต่อหนองแคน ดินแดนข้าวหอมมะลิ พระราชดำริเขื่อนนาขาม งามพระพุทธโพธิ์ศรี | |
แผนที่จังหวัดนครพนม เน้นอำเภอวังยาง | |
พิกัด: 17°3′22″N 104°27′19″E / 17.05611°N 104.45528°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | นครพนม |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 137.745 ตร.กม. (53.184 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2565) | |
• ทั้งหมด | 15,621 คน |
• ความหนาแน่น | 113.40 คน/ตร.กม. (293.7 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 48130 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 4812 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอวังยาง หมู่ที่ 1 ตำบลวังยาง อำเภอวังยาง จังหวัดนครพนม 48130 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอวังยางตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอปลาปาก
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอนาแก
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอนาแก
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอโคกศรีสุพรรณและอำเภอโพนนาแก้ว (จังหวัดสกลนคร)
ประวัติ
แก้ท้องที่อำเภอวังยางเดิมเป็นส่วนหนึ่งของตำบลพระซอง และตำบลหนองสัง อำเภอนาแก เมื่อท้องที่แถบนี้มีราษฎรเข้ามาจับจองพื้นที่อาศัยและทำกินอยู่มากขึ้น จึงเริ่มแบ่งเขตการปกครองในปี พ.ศ. 2516 ได้แยกพื้นที่ 8 หมู่บ้านของตำบลพระซอง ตั้งเป็น ตำบลโคกสี และแยกพื้นที่ 9 หมู่บ้านของตำบลหนองสัง ตั้งเป็น ตำบลวังยาง[1]
ในปี พ.ศ. 2523 ได้แยกพื้นที่หมู่ 7,10 บ้านยอดชาด รวมกับ 5 หมู่บ้าน ในพื้นที่ใกล้เคียงของตำบลวังยาง ตั้งเป็น ตำบลยอดชาด[2] และในปี พ.ศ. 2539 ก่อนการจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอ 1 ปี ได้แยกพื้นที่ 4 หมู่บ้านของตำบลโคกสี ได้แก่ หมู่ 4 บ้านหนองโพธิ์, หมู่ 5 บ้านวังใน, หมู่ 6 บ้านโพนสว่าง กับหมู่ 9 บ้านหนองแคน ตั้งเป็น ตำบลหนองโพธิ์[3]
การที่ตำบลวังยาง ตำบลโคกสี ตำบลยอดชาด กับตำบลหนองโพธิ์ ที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาใหม่นี้มีพื้นที่รวมกันกว้างขวางและอยู่ห่างไกลจากที่ทำการอำเภอนาแกในขณะนั้น ทำให้ราษฎรไปติดต่อราชการได้รับความลำบากในการเดินทาง วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ทางราชการจึงประกาศแยกท้องที่ 4 ตำบล คือ ตำบลวังยาง ตำบลโคกสี ตำบลยอดชาด และตำบลหนองโพธิ์ จัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอวังยาง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2540 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ปีเดียวกัน[4] และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอวังยาง โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน ปีเดียวกัน[5]
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอวังยางแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 4 ตำบล 27 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[6] |
---|---|---|---|---|
1. | วังยาง | Wang Yang | 9
|
5,021
|
2. | โคกสี | Khok Si | 7
|
3,375
|
3. | ยอดชาด | Yot Chat | 7
|
5,025
|
4. | หนองโพธิ์ | Nong Pho | 4
|
2,200
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอวังยางประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3 แห่ง ได้แก่
- องค์การบริหารส่วนตำบลวังยาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังยางและตำบลหนองโพธิ์ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกสีทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลยอดชาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยอดชาดทั้งตำบล
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (119 ง): 3119–3125. วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2516
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอคำชะอี กิ่งอำเภอดงหลวง อำเภอนาแก และอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 97 (118 ง): 2672–2680. วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2523
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอบ้านแพง อำเภอท่าอุเทน และอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (2 ง): 26–44. วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2539
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ตั้งเป็นกิ่งอำเภอวังยาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (พิเศษ 51 ง): 8. วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2540
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย...และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.