อำเภอทุ่งหัวช้าง
ทุ่งหัวช้าง (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดลำพูน และเป็นแหล่งกำเนิดต้นแม่น้ำลี้ แม่น้ำสายสำคัญของจังหวัด
อำเภอทุ่งหัวช้าง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Thung Hua Chang |
คำขวัญ: แหล่งกำเนิดต้นน้ำลี้ ฝีมือเลิศยกดอกไหม ศูนย์รวมใจพระธาตุดอยกวางคำ งามเลิศล้ำอ่างเก็บน้ำแม่ปันเด็ง ผู้คนครัดเคร่งคุณธรรมน้ำใจงาม นามระบือคือทุ่งหัวช้าง | |
แผนที่จังหวัดลำพูน เน้นอำเภอทุ่งหัวช้าง | |
พิกัด: 18°0′11″N 99°1′40″E / 18.00306°N 99.02778°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ลำพูน |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 486.129 ตร.กม. (187.695 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 20,180 คน |
• ความหนาแน่น | 41.51 คน/ตร.กม. (107.5 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 51160 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 5105 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอทุ่งหัวช้าง เลขที่ 190 หมู่ที่ 3 ตำบลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน 51160 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ประวัติ
แก้อำเภอทุ่งหัวช้าง ได้จัดตั้งขึ้นโดยประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2520 โดยแยกตำบลตะเคียนปม ตำบลทุ่งหัวช้าง และตำบลบ้านปวง ออกจากเขตการปกครองของอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน มาจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอทุ่งหัวช้าง [1] ด้วยเหตุผลที่ว่าทั้งสามตำบลอยู่ห่างไกลจากตัวอำเภอลี้ การคมนาคมไม่สะดวก ประกอบกับมีการแทรกซึมของพรรคคอมมิวนิสแห่งประเทศไทย จึงจำเป็นต้องแยกแล้วจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอ ในระยะเริ่มแรกทางราชการได้ใช้สถานีอนามัยตำบลทุ่งหัวช้างเป็นที่ว่าการชั่วคราว ต่อมาเมื่อเห็นว่าคับแคบจึงได้ย้ายมาอาศัยอาคารเรียนในบริเวณโรงเรียนชุมชนทุ่งหัวช้าง(ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลทุ่งหัวช้าง) เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2521 และได้ย้ายมาอยู่ยังที่ว่าการอำเภอทุ่งหัวช้างปัจจุบันนี้ มีเนื้อที่ประมาณ 29 ไร่ ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 เป็นต้นมา จนถึงวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 ได้รับการประกาศยกฐานะขึ้นเป็น "อำเภอทุ่งหัวช้าง" ตามราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 110 ตอนที่ 179 ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536[2]
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอทุ่งหัวช้างตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบ้านโฮ่งและอำเภอแม่ทา
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเสริมงาม (จังหวัดลำปาง)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเถิน (จังหวัดลำปาง) และอำเภอลี้
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอลี้
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอทุ่งหัวช้างแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 3 ตำบล 35 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับที่ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | ประชากรทั้งหมด (พ.ศ. 2559)[3] |
ประชากรแยกตามส่วนท้องถิ่น (พ.ศ. 2559)[3] | |
---|---|---|---|---|---|---|
1. | ทุ่งหัวช้าง | Thung Hua Chang | 12 | 8,988 | 2,560 6,428 |
(ทต.ทุ่งหัวช้าง) (อบต.ทุ่งหัวช้าง) |
2. | บ้านปวง | Ban Puang | 11 | 4,148 | 4,148 | (อบต.บ้านปวง) |
3. | ตะเคียนปม | Takhian Pom | 12 | 7,005 | 7,005 | (อบต.ตะเคียนปม) |
รวม | 35 | 20,141 | 2,560 (เทศบาล) 17,581 (อบต.) |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอทุ่งหัวช้างประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลทุ่งหัวช้าง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลทุ่งหัวช้าง
- องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหัวช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งหัวช้าง (นอกเขตเทศบาลตำบลทุ่งหัวช้าง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านปวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านปวงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตะเคียนปม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะเคียนปมทั้งตำบล
ศาสนวัตถุ หรือ ปูชนียสถาน
แก้พระธาตุดอยกวางคำ ที่ตั้งบ้านโป่งแดง ม.7 ต.ทุ่งหัวช้าง
วัดทุ่งหัวช้าง ที่ตั้งบ้านทุ่งหัวช้าง ม.3 ต.ทุ่งหัวช้าง
พระพุทธบาทสี่รอย ที่ตั้งหนองป่าตึง ม.2 ต.ทุ่งหัวช้าง
วัดห้วยไร่ ที่ตั้งบ้านห้วยไร่ ม.8 ต.ตะเคียนปม
วัดดอนแก้ว ที่ตั้งบ้านปวง ม.7 ต.บ้านปวง
วัดพระธาตุแอ้ว ที่ตั้งบ้านปวง ม.7 ต.บ้านปวง
อนุสาวรีย์ครูบาขาวปี ที่ตั้งบ้านแม่บอนเหนือ ม.1 ต.บ้าวปวง
สถานที่ท่องเที่ยว
แก้อ่างเก็บน้ำแม่ลี้ ที่ตั้ง ม.9 ต.ตะเคียนปม
อ่างเก็บน้ำแม่แพม ที่ตั้ง ม.2 ต.บ้านปวง
อ่างเก็บน้ำแม่ปันเด็ง ที่ตั้ง ม.6 ต.ทุ่งหัวช้าง
หน่วยพิทักษ์ป่าดอยอีฮุ้ย ที่ตั้งบ้านทุ่งข้าวหาง ม.1 ต.ตะเคียนปม
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ตั้งเป็นกิ่งอำเภอทุ่งหัวช้าง
- ↑ พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอลำทับ อำเภอร่องคำ อำเภอเวียงแหง อำเภอนาโยง อำเภอแก้งสนามนาง อำเภอโนนแดง อำเภอบ้านหลวง อำเภอกะพ้อ อำเภอศรีบรรพต อำเภอแก่งกระจาน อำเภอหนองสูง อำเภอสบเมย อำเภอเมยวดี อำเภอโคกเจริญ อำเภอทุ่งหัวช้าง อำเภอผาขาว อำเภอวังหิน อำเภอดอนพุด อำเภอบึงโขงหลง และอำเภอห้วยคต พ.ศ. ๒๕๓๖
- ↑ 3.0 3.1 รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน พ.ศ. 2559 จังหวัดลำพูน กรมการปกครอง
บุคคลที่มีชื่อเสียงของอำเภอทุ่งหัวช้าง
แก้- หัตฐพร สุวรรณ นักฟุตบอล
- นพพร อินสีลอย (กิ่งซาง) นักมวย ครู