อำเภอฟากท่า
ฟากท่า เป็น 1 ใน 9 อำเภอของจังหวัดอุตรดิตถ์
อำเภอฟากท่า | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Fak Tha |
คำขวัญ: ห้วยเทิบสวยงาม มะขามหวานฉ่ำ ลือนามปู่ตา ทอผ้าลือไกล | |
แผนที่จังหวัดอุตรดิตถ์ เน้นอำเภอฟากท่า | |
พิกัด: 17°59′32″N 100°52′43″E / 17.99222°N 100.87861°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | อุตรดิตถ์ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 632.689 ตร.กม. (244.283 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 14,048 คน |
• ความหนาแน่น | 22.20 คน/ตร.กม. (57.5 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 53160 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 5305 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอฟากท่า ถนนชิดวารี ตำบลฟากท่า อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์ 53160 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ประวัติ
แก้อำเภอฟากท่า ตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2480 โดยมีฐานะเป็น กิ่งอำเภอฟากท่า[1] ขึ้นกับอำเภอน้ำปาด ที่ตั้งกิ่งอำเภออยู่ที่หมู่ที่ 2 บ้านนาหน่ำ ตำบลฟากท่า ประชากรส่วนใหญ่อพยพมาจากหลวงพระบาง ภายใต้การนำของพญาปาด ได้มาตั้งถิ่นฐานทำมาหากินอยู่ที่บ้านสองคอน ริมแม่น้ำปาด ต่อมาเมื่อมีผู้คนมากขึ้นก็อพยพต่อลงมาทางใต้ สร้างเมืองใหม่ขึ้นที่ตำบลบ้านฝาย อำเภอน้ำปาด ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำเช่นกัน แม่น้ำนี้จึงได้ชื่อว่า "น้ำปาด" ตามชื่อของพญาปาด ส่วนประชากรที่บ้านสองคอน เมื่อมีจำนวนเพิ่มขึ้นก็ขยายข้ามแม่น้ำไปฝั่งตรงข้าม เรียกว่า "ฟากท่า" ซึ่งหมายความว่า คนละฝั่ง
ในปี พ.ศ. 2485 ได้ย้ายที่ตั้งกิ่งอำเภอมาอยู่ที่บ้านวังขวัญ และได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็น อำเภอฟากท่า[2] ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 22 กรกฎาคม ปีเดียวกัน ต่อมาในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 ที่ว่าการอำเภอฟากท่าหลังเดิม ได้ถูกเพลิงไหม้ จึงได้สร้างที่ว่าการอำเภอฟากท่าหลังใหม่ขึ้นมา เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2530 และใช้ปฏิบัติราชการมาจนถึงปัจจุบัน
- วันที่ 29 พฤศจิกายน 2480 แยกพื้นที่ตำบลม่วงเจ็ดต้น ตำบลบ้านโคก ตำบลฟากท่า ตำบลสองคอน และตำบลบ้านเสี้ยว อำเภอน้ำปาด มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอฟากท่า[1] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอน้ำปาด
- วันที่ 30 กันยายน 2490 ตั้งตำบลสองคอน แยกออกจากตำบลฟากท่า[3]
- วันที่ 15 ตุลาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลฟากท่า ในท้องที่บางส่วนของตำบลสองคอน และบางส่วนของตำบลฟากท่า[4]
- วันที่ 22 กรกฎาคม 2501 ยกฐานะกิ่งอำเภอฟากท่า อำเภอน้ำปาด เป็น อำเภอฟากท่า[2]
- วันที่ 28 ธันวาคม 2513 จัดตั้งนิคมสหกรณ์ ในท้องที่อำเภอฟากท่า[5]
- วันที่ 7 ธันวาคม 2519 ตั้งที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขฟากท่า[6] จังหวัดอุตรดิตถ์
- วันที่ 5 กรกฎาคม 2520 แยกพื้นที่ตำบลม่วงเจ็ดต้น และตำบลบ้านโคก อำเภอฟากท่า ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอบ้านโคก[7] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอฟากท่า
- วันที่ 12 ธันวาคม 2529 ตั้งตำบลนาขุม แยกออกจากตำบลบ้านโคก และตั้งตำบลบ่อเบี้ย แยกออกจากตำบลม่วงเจ็ดต้น[8]
- วันที่ 12 สิงหาคม 2530 ยกฐานะกิ่งอำเภอบ้านโคก อำเภอฟากท่า เป็น อำเภอบ้านโคก[9]
- วันที่ 15 กันยายน 2532 ตั้งตำบลสองห้อง แยกออกจากตำบลบ้านเสี้ยว[10]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะสุขาภิบาลฟากท่า เป็นเทศบาลตำบลฟากท่า[11] ด้วยผลของกฎหมาย
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอฟากท่าตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 113 กิโลเมตร
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอนาหมื่น (จังหวัดน่าน) และอำเภอบ้านโคก
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบ้านโคก
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอน้ำปาด
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอน้ำปาด และอำเภอนาหมื่น (จังหวัดน่าน)
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอฟากท่าแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 ตำบล 31 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[12] |
---|---|---|---|---|
1. | ฟากท่า | Fak Tha | 11
|
4,684
|
2. | สองคอน | Song Khon | 9
|
3,212
|
3. | บ้านเสี้ยว | Ban Siao | 6
|
3,152
|
4. | สองห้อง | Song Hong | 5
|
2,907
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอฟากท่าประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลฟากท่า ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลฟากท่าและตำบลสองคอน
- องค์การบริหารส่วนตำบลฟากท่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลฟากท่า (นอกเขตเทศบาลตำบลฟากท่า)
- องค์การบริหารส่วนตำบลสองคอน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสองคอน (นอกเขตเทศบาลตำบลฟากท่า)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเสี้ยว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านเสี้ยวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสองห้อง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสองห้องทั้งตำบล
ลักษณะภูมิประเทศ
แก้สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นภูเขาสูง สลับกับที่ราบเชิงเขาและที่ราบ โดยมีแนวภูเขาวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ ในบริเวณตอนกลางของพื้นที่ มีแหล่งน้ำตามธรรมชาติที่สำคัญหลายแห่ง เช่น แม่น้ำปาด อันเป็นแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่านพื้นที่บริเวณตอนกลางในแนวเหนือ-ใต้
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งกิ่งอำเภอฟากท่า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54 (0 ง): 2099–2100. 29 พฤศจิกายน 2480.
- ↑ 2.0 2.1 "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอกระสัง อำเภอกระนวน อำเภอบางกอกใหญ่ อำเภอขุนหาร อำเภอพนา อำเภอปากช่อง อำเภอวังเหนือ อำเภอวังชิ้น อำเภอแม่ทา อำเภอหนองหมู อำเภอสระแก้ว อำเภออมก๋อย อำเภอบางซ้าย อำเภอทับสะแก อำเภอบุณฑริก อำเภอลานสะกา อำเภอจอมบึง อำเภอท่ายาง อำเภอสามเงา อำเภอฟากท่า อำเภอบ้านเขว้า อำเภอชานุมาน อำเภอแม่พริก อำเภอท่าสองยาง อำเภอสะเมิง อำเภอหนองแขม และอำเภอพระแสง พ.ศ. ๒๕๐๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (55 ก): 321–327. 22 กรกฎาคม 2501. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2020-07-26.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (46 ง): 2507–2533. 30 กันยายน 2490.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลฟากท่า กิ่งอำเภอฟากท่า อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (83 ง): (ฉบับพิเศษ) 95-96. 15 ตุลาคม 2499.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสหกรณ์ ในท้องที่อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์ พ.ศ. ๒๕๑๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 87 (119 ก): (ฉบับพิเศษ) 13-14. 28 ธันวาคม 2513.
- ↑ "ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง ตั้งที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขหนองโดน, สามโก้, บางบาล, บ้านแพรก, ปลวกแดง, วังน้ำเย็น, สนามชัยเขต, ขามทะเลสอ, จอหอ, ไพรบึง, หนองบัวแดง, น้ำยืน, ดอนตาล, ปทุมรัตต์, ศรีธาตุ, ห้วยเม็ก, แวงน้อย, สะเมิง, แม่วัง, ป่าแดด, ฟากท่า, ท่าปลา, ชาติตะการ, บ่อพลอย, ท่าฉลอม, เขาพระ, เหนือคลอง, ทุ่งใหญ่, บ้านตาขุน, บ้านนาเดิม, เก้าเส้ง, ควนกาหลง, หนองจิกและยะรัง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (150 ง): 3685–3686. 7 ธันวาคม 2519.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอบ้านโคก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (60 ง): 2724. 5 กรกฎาคม 2520. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-27. สืบค้นเมื่อ 2020-07-26.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอบ้านโคก และอำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (209 ง): (ฉบับพิเศษ) 21-30. 12 ธันวาคม 2529. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-04. สืบค้นเมื่อ 2020-07-26.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอพญาเม็งราย อำเภอพบพระ อำเภอทับคล้อ อำเภอบ้านโคก และอำเภอโพธิ์ไทร พ.ศ. ๒๕๓๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (156 ง): (ฉบับพิเศษ) 26-28. 12 สิงหาคม 2530. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2020-07-26.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบล ในท้องที่อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (154 ง): (ฉบับพิเศษ) 149-152. 15 กันยายน 2532.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-07-26.
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.