อำเภอสะบ้าย้อย
สะบ้าย้อย เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสงขลา และเป็น 1 ใน 4 อำเภอในจังหวัดสงขลาที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มพื้นที่ที่ยังมีเหตุการณ์ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย
อำเภอสะบ้าย้อย | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Saba Yoi |
คำขวัญ: ยางพันธุ์ดี มีร้อยภู ดูร้อยถ้ำ ฉ่ำน้ำไหล ลิกไนต์ดี สามัคคีเป็นเลิศ | |
แผนที่จังหวัดสงขลา เน้นอำเภอสะบ้าย้อย | |
พิกัด: 6°37′6″N 100°57′6″E / 6.61833°N 100.95167°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สงขลา |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 852.81 ตร.กม. (329.27 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 80,365 คน |
• ความหนาแน่น | 94.24 คน/ตร.กม. (244.1 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 90210 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 9006 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอสะบ้าย้อย หมู่ที่ 1 ถนนสะบ้าย้อย-ลำไพล ตำบลสะบ้าย้อย อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา 90210 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ประวัติ
แก้ได้ปรากฏหลักฐานเอกสารราชการครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2440 (ร.ศ.116) เป็นเขตการปกครองของอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ท้องที่นี้เคยมีฐานะเป็น "กิ่งอำเภอบาโหย" พบหลักฐานการเป็นกิ่งในปี พ.ศ. 2460[1] แต่ได้ยุบรวมเข้ากับอำเภอเทพา เพราะผู้คนพลเมืองน้อย การงานก็เบาบางลง ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2466 กระทรวงมหาดไทยได้จัดตั้งกิ่งอำเภอขึ้นที่บ้านสะบ้าย้อย เรียกว่า "กิ่งอำเภอสะบ้าย้อย"[2] ขึ้นกับอำเภอเทพา โดยมีเขตการปกครอง 5 ตำบล คือ ตำบลบาโหย ตำบลจะแหน ตำบลเปียน ตำบลเขาแดง และตำบลโมง (ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นตำบลสะบ้าย้อย) เมื่อปี พ.ศ. 2481 มีเขตการปกครองจำนวน 8 ตำบล
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2499 ได้รับการยกฐานะเป็น "อำเภอสะบ้าย้อย"[3] และปี พ.ศ. 2531 ได้เพิ่มเขตการปกครองอีก 1 ตำบลคือ ตำบลธารคีรี[4](แยกจากตำบลบ้านโหนด และตำบลจะแหน) คำว่า "สะบ้าย้อย" เข้าใจว่า เป็นชื่อเถาว์วัลย์ชนิดหนึ่งที่มีผลเป็นฝักคล้ายสะตอ เมื่อผลสุกเมล็ดข้างในที่หุ้มเปลือกหนาจะมีเนื้อแข็งมาก ชาวบ้านนำมาใช้ในการละเล่นชนิดหนึ่ง เรียกว่า "การเล่นสะบ้า" ซึ่งมีมากในบึงแม่สะบ้าย้อย จึงได้นำมาตั้งเป็นชื่อตำบลและอำเภอจนถึงทุกวันนี้
- วันที่ 16 กันยายน 2466 ตั้งกิ่งอำเภอขึ้นที่บ้านสะบ้าย้อย เรียกว่า กิ่งอำเภอสะบ้าย้อย ขึ้นกับอำเภอเทพา[2]
- วันที่ 12 ธันวาคม 2481 โอนพื้นที่หมู่ 4 (ในขณะนั้น) ของตำบลลำไพล มาขึ้นกับตำบลสะบ้าย้อย และตั้งตำบลทุ่งพอ แยกออกจากตำบลสะบ้าย้อย ตั้งตำบลบ้านโหนด แยกออกจากตำบลเปียน และตั้งตำบลคูหา แยกออกจากตำบลเขาแดง[5]
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลเขาแดง แยกออกจากตำบลคูหา และตั้งตำบลบาโหย แยกออกจากตำบลจะแหน[6]
- วันที่ 5 มิถุนายน 2499 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอสะบ้าย้อย อำเภอเทพา เป็น อำเภอสะบ้าย้อย[3]
- วันที่ 29 พฤศจิกายน 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลสะบ้าย้อย ในท้องที่บางส่วนของตำบลสะบ้าย้อย[7]
- วันที่ 21 ตุลาคม 2531 ตั้งตำบลธารคีรี แยกออกจากตำบลจะแหน และตำบลบ้านโหนด[4]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลสะบ้าย้อย เป็นเทศบาลตำบลสะบ้าย้อย[8] ด้วยผลของกฎหมาย
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอสะบ้าย้อยตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเทพา
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอโคกโพธิ์ (จังหวัดปัตตานี) อำเภอเมืองยะลา และอำเภอยะหา (จังหวัดยะลา)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอกาบัง (จังหวัดยะลา) และรัฐเกอดะฮ์ (ประเทศมาเลเซีย)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอนาทวี
เหตุการณ์สำคัญ
แก้28 เมษายน พ.ศ. 2547 เกิดเหตุคนร้ายบุกทำร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ หน่วยบริการประชาชน บริเวณห้าแยกทางเข้าตลาดสะบ้าย้อย อำเภอสะบ้าย้อย ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสังหารคนร้ายทั้งหมด 19 ราย โดย 15 ราย เสียชีวิตที่ ร้านอาหารสวยน๊ะ
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอสะบ้าย้อยแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 9 ตำบล 62 หมู่บ้าน
|
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอสะบ้าย้อยประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลสะบ้าย้อย ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลสะบ้าย้อย
- เทศบาลตำบลท่าพระยา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสะบ้าย้อย (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลสะบ้าย้อย)
- องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งพอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งพอทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเปียน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเปียนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโหนด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านโหนดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลจะแหน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจะแหนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคูหา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคูหาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเขาแดง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาแดงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบาโหย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบาโหยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลธารคีรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลธารคีรีทั้งตำบล
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ เก็บถาวร 2011-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 34 หน้า 65 วันที่ 29 เมษายน 2460
- ↑ 2.0 2.1 "ประกาศ เรื่อง จัดเปลี่ยนแปลงท้องที่ในเขตมณฑลนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 40 (0 ก): 110–111. September 16, 1923.
- ↑ 3.0 3.1 "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอนาทวี อำเภอสะบ้าย้อย อำเภอคำชะอี อำเภอย่านตาขาว อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอหนองบัว อำเภอวัฒนานคร อำเภอแสวงหา อำเภอท่าชนะ อำเภอพระพุทธบาท อำเภอโนนสัง อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอคอนสวรรค์ อำเภอบ้านโฮ่ง อำเภอคีรีมาศ อำเภอชนแดน อำเภอแม่แจ่ม อำเภอไทรน้อย และอำเภอบ้านแพง พ.ศ. ๒๔๙๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (46 ก): 657–661. June 5, 1956. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-11. สืบค้นเมื่อ 2021-02-02.
- ↑ 4.0 4.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอสะเดา และอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 105 (171 ง): (ฉบับพิเศษ) 36-45. October 21, 1988.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดสงขลา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 3039–3040. December 12, 1938.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. June 10, 1947. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2021-02-02.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลสะบ้าย้อย อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (99 ง): (ฉบับพิเศษ) 77-78. November 29, 1956.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-02-02.