อำเภอเมืองปาน
เมืองปาน (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอำเภอหนึ่งทางตอนเหนือของจังหวัดลำปาง มีสภาพภูมิศาสตร์เป็นภูเขาและป่าไม้อุดมสมบูรณ์ และเป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน[1]
อำเภอเมืองปาน | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Mueang Pan |
คำขวัญ: แหล่งต้นน้ำลำธาร อุทยานแจ้ซ้อน บ่อน้ำร้อนลือนาม สามต้นสักใหญ่ ไหว้พระธาตุดอยซาง | |
แผนที่จังหวัดลำปาง เน้นอำเภอเมืองปาน | |
พิกัด: 18°46′14″N 99°29′54″E / 18.77056°N 99.49833°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ลำปาง |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 865.103 ตร.กม. (334.018 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 32,676 คน |
• ความหนาแน่น | 37.77 คน/ตร.กม. (97.8 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 52240 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 5213 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอเมืองปาน หมู่ที่ 4 ตำบลเมืองปาน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง 52240 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอเมืองปานตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอดอยสะเก็ด (จังหวัดเชียงใหม่) อำเภอเวียงป่าเป้า (จังหวัดเชียงราย) และอำเภอวังเหนือ
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอแจ้ห่ม
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองลำปาง
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอแม่ออนและอำเภอดอยสะเก็ด (จังหวัดเชียงใหม่)
ประวัติ
แก้เมืองปานเป็นชุมชนทางทิศเหนือของเขลางค์นคร เป็นเมืองที่มีความอุดมสมบูรณ์พืชพันธุ์ธัญญาหาร ที่ทุ่งนาเรียกว่า "ทุ่งสามหมวก" หรือ "ทุ่งสามโค้ง" ปัจจุบันโค้งที่หนึ่งตั้งอยู่บริเวณบ้านน้ำจำ หมู่ที่ 3 ตำบลเมืองปาน โค้งที่สองอยู่บริเวณภูเขาดวงตา บ้านแพะ หมู่ที่ 4 ตำบลเมืองปาน และโค้งที่สามอยู่บริเวณพระเจดีย์ม่อนเวียง บ้านทุ่งโป่ง หมู่ที่ 1 ตำบลเมืองปาน ความสมบูรณ์ของทุ่งสามโค้งสามารถใช้เลี้ยงราษฎรได้อย่างเพียงพอ ด้วยเหตุนี้เมืองปานจึงเป็นที่หมายของเมืองอื่น ๆ เช่น พม่าและเงี้ยวที่ต้องการยึดครองเพื่อเป็นแหล่งสะสมเสบียงอาหาร
เมืองปานมีนายบ้านคนหนึ่งไม่ปรากฏชื่อ(แก้ไข)ขุนปานเป็นลูกของพระยาอำพอง น้องชาย(อนุชา)ต่างแม่ของพระยาคำลือ มีศักดิ์เป็นหลานของพระยาคำลือ (จากประวัติราชวงค์วิเชตนคร)เป็นผู้มีความกล้าหาญ เข้มแข็ง อดทน เด็ดเดี่ยว และเสียสละ ได้รวบรวมสมัครพรรคพวกต่อต้านพวกข้าศึกที่บุกรุกเข้ามา ได้รับชัยชนะหลายครั้งจนข้าศึกศัตรูไม่กล้ามารบกวนอีกต่อไป นายบ้านผู้นี้ได้สร้างเครื่องส่งสัญญาณในการแจ้งเหตุแก่หมู่บ้านและเป็นสัญญานัดหมายเพื่อร่วมมือกันต่อสู้ข้าศึกศัตรูโดยกันใช้ทองคำมาหลอมทำเป็น "ปาน" (ลักษณะคล้ายฆ้องใหญ่แต่โหนกที่ตีเล็กกว่า) ชาวบ้านเรียกว่า "ปานคำ" (= ปานทอง) นายบ้านผู้นี้(ขุนปาน)เป็นผู้ทำปานเป็นสัญญาณแจ้งเหตุต่าง ๆ แก่ชาวบ้าน จนได้รับการขนานนามจากชาวเมืองปานว่า (แก้ไข)เจ้าขุนปานจเร "เจ้าพ่อขุนจเรปาน" และเมืองแห่งนี้ได้ชื่อว่า เมืองจเรปาน ต่อมาเรียกเพี้ยนไปเหลือเพียง เมืองปาน
อำเภอเมืองปานแต่เดิมรวมอยู่ในท้องที่อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ต่อมาทางกระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาเห็นว่าท้องที่อำเภอแจ้ห่มมีอาณาเขตกว้างขวาง มีพลเมืองมาก ท้องที่บางตำบลอยู่ห่างไกลจากอำเภอ เจ้าหน้าที่ออกตรวจตราดูแลทุกข์สุขของราษฎรไม่ทั่วถึง เพื่อประโยชน์ในด้านการปกครองและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในท้องที่ จึงได้ประกาศแบ่งท้องที่อำเภอแจ้ห่มตั้งเป็น กิ่งอำเภอเมืองปาน ขึ้นเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2524[2] และยกฐานะเป็น อำเภอเมืองปาน ตามพระราชกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2535[3]
สัญลักษณ์
แก้-
สัญลักษณ์อำเภอเมืองปาน
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอเมืองปานแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 5 ตำบล 56 หมู่บ้าน ได้แก่
ที่ | ชื่อตำบล | ตัวเมือง | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนครัวเรือน | จำนวนประชากร[4] |
---|---|---|---|---|---|---|
1. | เมืองปาน | Mueang Pan | 9 | 1,730 | 5,534 | |
2. | บ้านขอ | Ban Kho | 13 | 2,363 | 8,100 | |
3. | ทุ่งกว๋าว | Thung Kwao | 14 | 2,675 | 9,050 | |
4. | แจ้ซ้อน | Chae Son | 12 | 2,434 | 7,288 | |
5. | หัวเมือง | Hua Mueang | 8 | 1,179 | 4,072 |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอเมืองปานประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลเมืองปาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองปานทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านขอทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งกว๋าว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งกว๋าวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแจ้ซ้อน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแจ้ซ้อนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหัวเมือง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวเมืองทั้งตำบล
อ้างอิง
แก้- ↑ "อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-01. สืบค้นเมื่อ 2014-05-16.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเมืองปาน" (PDF). Royal Gazette. 98 (148 ง): 3040. September 8, 1981. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-27. สืบค้นเมื่อ 2013-07-18.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอสอยดาว อำเภอโพนสวรรค์ อำเภอบางขัน อำเภอหว้านใหญ่ อำเภอเมืองปาน อำเภอภูหลวง อำเภอโคกศรีสุพรรณ และอำเภอสำโรง พ.ศ. ๒๕๓๕" (PDF). Royal Gazette. 109 (45 ก): 27–29. April 9, 1992. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-14. สืบค้นเมื่อ 2013-07-18.
- ↑ จำนวนประชากรและบ้าน จำแนกเป็นรายอำเภอ และรายตำบล จังหวัดลำปาง ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553, สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย