จังหวัดมุกดาหาร
มุกดาหาร เป็นจังหวัดชายแดน อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทยตั้งอยู่ในแอ่งสกลนคร และอยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 หรือกลุ่มจังหวัด "สนุก" ซึ่งห่างจาก จังหวัดนครพนม ประมาณ 108 กิโลเมตร และ ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 650 กิโลเมตร โดยแยกออกจากจังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2525 นับเป็นจังหวัดที่ 73 ของประเทศไทย จังหวัดมุกดาหารเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคอิสาน โดยมีภูมิประเทศติดกับแม่น้ำโขง เป็นพรมแดนกั้นระหว่าง แขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว
จังหวัดมุกดาหาร | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Changwat Mukdahan |
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง:
| |
คำขวัญ: องค์พระใหญ่สวยเด่นเป็นสง่า สูงเสียดฟ้าหอแก้วมุกดาหาร พญานาคสามพิภพระบือนาม ทั่วเขตคามสะพานเชื่อมอินโดจีน | |
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดมุกดาหารเน้นสีแดง | |
ประเทศ | ไทย |
การปกครอง | |
• ผู้ว่าราชการ | วรญาณ บุญณราช (ตั้งแต่ พ.ศ. 2565) |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 4,339.830 ตร.กม. (1,675.618 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 51 |
ประชากร (พ.ศ. 2566)[2] | |
• ทั้งหมด | 351,595 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 65 |
• ความหนาแน่น | 81.01 คน/ตร.กม. (209.8 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | อันดับที่ 60 |
รหัส ISO 3166 | TH-49 |
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด | |
• ต้นไม้ | ตานเหลือง (ช้างน้าว) |
• ดอกไม้ | ตานเหลือง (ช้างน้าว) |
• สัตว์น้ำ | ปลากดคัง (ปลากดแก้ว) |
ศาลากลางจังหวัด | |
• ที่ตั้ง | ถนนวิวิธสุรการ ตำบลมุกดาหาร อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร 49000 |
• โทรศัพท์ | 0 4261 1330 |
• โทรสาร | 0 4261 1330 |
เว็บไซต์ | http://www.mukdahan.go.th/ |
ประวัติศาสตร์
แก้ส่วนนี้ต้องเรียบเรียงภาษาใหม่ หรือต้องพิสูจน์อักษร |
กรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้างเวียงจันทน์ ภายหลังจากที่พระยาสุริยวงศาสิ้นพระชนม์ กรุงเวียงจันทน์เกิดการระส่ำระสายแย่งชิงอำนาจราชสมบัติกัน ฝ่ายยึดอำนาจได้ก็ปราบปรามฝ่ายตรงข้ามให้หมดสิ้นไป กลุ่มพระยาแสน (พญาเมืองจันทน์) ยึดครองเวียงจันทน์ได้ เจ้าศรีวิชัย กษัตริย์อาณาจักร์ล้านช้าง พระองค์ที่ 30 (พ.ศ. 2176-2179 รวมระยะเวลาครองราชย์ได้ 3 ปี) พระราชนัดดาในพระเจ้าวรวงศาธรรมิกราช กษัตริย์ล้านช้าง พระองค์ที่ 26 ไม่สามารถครองราชย์ต่อได้ เนื่องจากเกิดการยึดอำนาจ พระองค์จึงพร้อมด้วยเชื้อพระวงศ์หลบหนีภัยไปพึ่งบารมีอยู่กับ "เจ้าราชครูโพนสะเม็ก" หรือ "ญาคูขี้หอม" ซึ่งเป็นพระเถระผู้ใหญ่ของกรุงเวียงจันทน์ ในสมัยนั้นเทียบเท่ากับสมเด็จพระสังฆราช มีคนเคารพนับถือสักการะมากที่สุด อยู่ที่วัด "โพนสะเม็ก" ใกล้กรุงเวียงจันทน์ ในการหลบหนีครั้งนี้ เจ้าศรีวิชัยได้นำบุตรไปด้วย 2 คน คือ
๑. เจ้าแก้วมงคล ได้บวชเรียนเป็นพระภิกษุ เรียนพระอรรถธรรมกัมมัฎฐานจนแตกฉานแล้วสึกออกมา จนคนเรียกว่า "อาจารย์แก้ว" หรือ "แก้วบูโฮม"
๒. เจ้าจันทร์สุริยวงศ์
ภายหลังจากการอพยพมาพึ่งเจ้าราชครูหลวง เหล่าเชื้อพระวงศ์ที่หนีราชภัย จึงมีการเปลี่ยนพระนามเพื่อหลีกเลี่ยงการตกเป็นเป้าหมายถูกลอบสังหารจากฝ่ายยึดอำนาจ
พระยาแสนเจ้าผู้ครองนครเวียงจันทน์ ได้คิดที่จะกำจัดเชื้อพระวงศ์ของพระสุริยวงศาที่หนีกันมาพึ่งบารมีของเจ้าราชครูโพนสะเม็กอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งเจ้าราชครูฯ ซึ่งมีผู้ให้ความเคารพนับถือมากด้วย และเนื่องจากโพนสะเม็กและกรุงเวียงจันทน์อยู่ใกล้กันมาก เจ้าราชครูโพนสะเม็กเกรงว่าเชื้อพระวงศ์ที่อพยพมาพึ่งบารมีจะได้รับอันตราย จึงวางแผนการอพยพออกจากรุงเวียงจันทน์ไปทางใต้เพื่อหาที่อยู่ใหม่
พ.ศ. 2232 เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก ได้ขออนุญาตพระยาเมืองแสนเดินทางไปบูรณปฏิสังขรณ์ "พระธาตุพนม" ซึ่งชำรุดมาก ในการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งนี้จะได้นำชาวเวียงจันทน์และช่าง จำนวน 3,000 คน ร่วมเดินทางไปด้วย เมื่อได้รับอนุญาตก็พากันอพยพเดินทางล่องน้ำโขงมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ดอนโขง ในการอพยพคราวนี้เชื้อพระวงศ์ก็ได้หลบหนีออกมาด้วย ครั้นเดินทางมาถึงพระธาตุพนมก็เริ่มลงมือบูรณะพระธาตุพนมในปี พ.ศ. 2233
ในการบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุพนมคราวนี้นั้น เจ้าราชครูโพนสะเม็กได้บูรณะตั้งแต่ขั้นที่ 2 ขึ้นไปจนสุดยอดพระธาตุ เล่ากันว่า เจ้าราชครูโพนสะเม็กได้ไปขุดเอาโลหะชนิดหนึ่งคล้ายตะกั่วหรือเงิน ซึ่งไทยล้านช้างเรียกเหล็กเปียก ไทยใต้เรียกเหล็กไหล มาเป็นโลหะหล่อเป็นโบกสวมลงในปูนที่ยอดพระธาตุ สถานที่ขุดนั้นอยู่ที่ภูเหล็กใกล้บ้านดอนข้าวหลาม ตำบลน้ำก่ำ อำเภอธาตุพนม อยู่ทางใต้ของพระธาตุพนม ประมาณ 8 กม. ปัจจุบันยังมีหลุมและรอยขุดอยู่ ภูนั้นเป็นภูเขาศิลาแลงเตี้ยเป็นเนินสูงจากทุ่งนา
พ.ศ. 2336 หลังจากที่ เจ้าราชครูโพนสะเม็ก บูรณะพระธาตุพนมเสร็จแล้วก็ได้แบ่งครอบครัวจำนวนหนึ่งให้อยู่อุปัฎฐากพระธาตุ นอกนั้นก็อพยพไปทางใต้ตามลำน้ำโขงเพื่อตั้งบ้านเรือนต่อไป กล่าวถึง นางเภา และ นางแพง(แม่ญิง) ผู้ครองเมืองกาลจำบากนาคบุรีศรี ได้ทราบข่าวว่าเจ้าราชครูโพนสะเม็กพำนักอยู่ที่เกาะแดง ท่านเป็นพระเถระที่มีคนเคารพสักการะมาก ไปที่ใดก็สร้างพระพุทธรูปวิหหาร เกิดความศรัทธาเลื่อมใส จึงพร้อมด้วยท้าวพญาแสน ไปนิมนต์อาราธนาท่านขอให้พำนักอยู่ที่เมืองเพื่อทำนุบำรุงศาสนาให้ถาวรรุ่งเรืองต่อไป ท่านราชครูโพนสะเม็กก็ไม่ขัดศรัทธา ครั้นอยู่ต่อมานางแพงพร้อมด้วยมุขมนตรีประชาราษฎรทั้งปวงมีความเลื่อมใสศรัทธาและเคารพนับถือเจ้าราชครูฯมากยิ่งขึ้น จึงพร้อมกันถวายทั้งพุทธจักรและอาณาจักรให้ราชครูฯ ปกครองทั้งสิ้น นครจำบากนาคบุรีศรีเป็นพระปกครอง
พ.ศ. 2256 ท่านราชครูฯ ได้ใช้วิธีปกครองโดยทางธรรมแต่ไม่สำเร็จเรียบร้อย การชำระความตามอาญาแผ่นดินก็จะผิดวินัยพระ เมื่อพิจารณาแล้วจึงเห็นว่า เจ้าหน่อกษัตริย์ ซึ่งเป็นอนุชาของพระเจ้าองค์หล่อ หรือ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2 (อพยพหลบหนีเมื่อคราวมาบูรณะพระธาตุพนม) เป็นเชื้อกษัตริย์กรุงเวียงจันทน์โดยแท้จริง จึงได้เชิญมาเป็นประมุขฝ่ายอาณาจักร ถวายนามว่า "เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร" และเปลี่ยนชื่อเมืองใหม่จาก กาลจำบากนาคบุรี เป็น "นครจำปาศักดิ์" แยกออกจากอาณาเขตของกรุงเวียงจันทน์
เมื่อ "เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร"ได้ปกครองนครจำปาศักดิ์แล้ว ก็มอบอำนาจให้เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กมีอำนาจฝ่ายพุทธจักรปกครองสงฆ์ที่นครจำปาศักดิ์ จนท่านราชครูหลวงฯ อายุได้ 90 ปี ก็มรณภาพโดยโรคชรา (พ.ศ. 2263)
ต่อมา พระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร ได้แต่งตั้งให้ เจ้าแก้วมงคลอพยพไพร่พลลงไปสร้างเมืองท่งศรีภูมิ ต่อมาคือเมืองสุวรรณภูมิราชบุรียประเทษราช (อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ดในปัจจุบัน) ซึ่งต่อมาลูกหลานของท่านได้แยกออกไปปกครองหัวเมืองอีสานหลายหัวเมืองทั่วภาคอีสาน เช่น เมืองร้อยเอ็ด มหาสารคาม ศรีสะเกษ ชนบท ขอนแก่น เป็นต้น ส่วนเจ้าจันทรสุริยวงศ์ให้อพยพไพร่พลไปสร้างเมืองหลวงโพนสิมร้างที่เมืองสุวรรณเขต อยู่แถวบริเวณพระธาตุอิงฮัง (แขวงสุวรรณเขตในปัจจุบัน) ซึ่งตรงกับปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา [3][4]
ภายหลังจากเจ้าจารย์จันทสุริยวงศ์พิราลัยแล้ว พระโอรสทั้ง 2 พระองค์ได้แยกย้ายกันออกไปปกครองบ้านเมืองแถบริมฝั่งแม่น้ำโขงและแผ่นดินภาคอีสาน ได้แก่ เจ้าราชาบุตรโคตร (ท้าวราชบุตรโคตร) ได้อพยพไพร่พลจากเวียงดงเขนยและเมืองแก้งกอก ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง มาตั้งเมืองที่บ้านดอนตาล เรียกว่า เมืองดอนตาล) และ ฝ่ายพระอนุชาคือ เจ้าจันทกินนรี (ท้าวกินรี) ได้ครองเมืองโพนสิมต่อจากพระบิดา จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2310 ได้มีนายพรานในหมู่บ้านข้ามลำน้ำโขงมาทางฝั่งขวาของปากห้วยบังมุก และได้พบเมืองร้าง วัดร้าง และต้นตาลจำนวน 7 ยอดอยู่ริมฝั่งโขง เห็นว่าเป็นทำเลที่อุดมสมบูรณ์กว่าบริเวณฝั่งซ้ายที่พวกตนอาศัยอยู่มาก เนื่องจากอุดมไปด้วยปลา ที่ดิน และทรัพยากรต่าง ๆ จึงกลับไปรายงานให้เจ้าจันทกินรีทราบ เจ้าจันทกินรีจึงพาพรรคพวกข้ามน้ำโขงมาและพิเคราะห์ดูว่าที่ตั้งบริเวณนี้คงเป็นเมืองโบราณมาก่อน และประทับใจในความอุดมสมบูรณ์เหมาะที่จะตั้งถิ่นฐาน จึงได้พากันอพยพจากบ้านหลวงโพนสินมาตั้งบ้านเรือนอยู่ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงบริเวณปากห้วยบังมุกที่นายพรานเป็นผู้พบ[5][6]
ในขณะที่กำลังจัดเตรียมพื้นที่เพื่อตั้งเมืองใหม่ ได้พบพระพุทธรูป 2 องค์อยู่ใต้ต้นโพธิ์ริมฝั่งโขง พระพุทธรูปองค์ใหญ่เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน ส่วนพระพุทธรูปองค์เล็กเป็นพระพุทธรูปโลหะหล่อด้วยเหล็กเนื้อดี จึงได้พร้อมกันสร้างวัดขึ้นใหม่ในบริเวณวัดร้างริมฝั่งโขง และขนานนามว่า วัดศรีมุงคุณ (ศรีมงคล) รวมทั้งก่อสร้างกุฏิวิหารขึ้น พร้อมอัญเชิญพระพุทธรูปทั้งสององค์ขึ้นไปประดิษฐานบนพระวิหาร แต่ปรากฏว่าพระพุทธรูปองค์เล็ก เกิดปาฎิหาริย์กลับลงไปประดิษฐานอยู่ใต้ต้นโพธิ์ที่ตั้งเดิมหลายครั้ง และค่อย ๆ จมหายลงไปใต้ดิน คงเห็นแต่ยอดพระเกศโผล่ขึ้นมาให้เห็น จึงมีการสร้างแท่นสักการะบูชาครอบไว้ในบริเวณนั้น และขนานนามพระพุทธรูปองค์นั้นว่า พระหลุบเหล็ก ปัจจุบันบริเวณที่พระหลุบเหล็กจมดินได้ถูกกระแสน้ำเซาะตลิ่งโขงพังลงไปหมดแล้ว (คงเหลือแต่แท่นสักการะบูชาที่ยกเข้ามาเก็บรักษาไว้หน้าพระวิหารของวัดศรีมงคลใต้ในปัจจุบัน)
ส่วนพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่ก่ออิฐถือปูน ชาวเมืองได้ขนานนามว่า "พระเจ้าองค์หลวง" เป็นพระประธานของวัดศรีมุงคุณ ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็น วัดศรีมงคลใต้ ถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดมุกดาหารนับแต่นั้นมา
ในเวลาต่อมา มักมีผู้พบเห็นแก้วดวงหนึ่งมีสีสดใสเป็นประกายลอยออกจากต้นตาลริมฝั่งโขง และลอยไปตามลำน้ำโขงทุกคืน จนถึงช่วงใกล้สว่างจึงลอยกลับมาที่ต้นตาลเช่นเดิม เจ้าจันทกินรีจึงได้ขนานนามแก้วดวงนี้ว่า แก้วมุกดาหาร เนื่องจากได้ตั้งเมืองขึ้นริมฝั่งโขงตรงปากห้วยบังมุกอีกทั้งได้มีผู้พบเห็นไข่มุกในแม่น้ำโขงอีกด้วย และให้ขนานนามเมืองที่ตั้งขึ้นใหม่นี้ว่า เมืองมุกดาหาร ตั้งแต่เดือน 4 ปีกุน จุลศักราช 1132 (พ.ศ. 2313) มีอาณาเขตครอบคลุมทั้งสองฝั่งของแม่น้ำโขงรวมถึงแขวงสุวรรณเขตของประเทศลาว
ครั้นถึงสมัยอาณาจักรธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้แผ่แสนยานุภาพขึ้นมาถึงแถบลุ่มแม่น้ำโขง กระทั่ง พ.ศ. 2321 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และเจ้าพระยาจักรียกกองทัพขึ้นมาปราบปรามและรวบรวมหัวเมืองใหญ่น้อยในสองฝั่งแม่น้ำโขง และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ เจ้าจันทกินรี เป็น พระยาจันทรศรีสุราชอุปราชามันธาตุราช ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองมุกดาหารคนแรก
เดิมทีเมืองมุกดาหารเคยเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลอุดร[7] ก่อนจะกลายเป็นอำเภอหนึ่งในเมืองนครพนมใน พ.ศ. 2450[8] (ต่อมาได้เปลี่ยนคำว่าเมืองเป็นจังหวัดใน พ.ศ. 2459) และได้แยกออกเป็น จังหวัดมุกดาหาร อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2525
ใน พ.ศ. 2549 สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 2 ซึ่งเป็นสะพานข้ามแม่น้ำโขง เชื่อมต่อจังหวัดมุกดาหารของไทยและแขวงสุวรรณเขตของประเทศลาวได้เปิดดำเนินการ
อาณาเขตติดต่อ
แก้- ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดสกลนครและจังหวัดนครพนม
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงสะหวันนะเขด ประเทศลาว โดยมีแม่น้ำโขงไหลกั้นพรมแดน
- ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดยโสธร และจังหวัดร้อยเอ็ด
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดกาฬสินธุ์
สภาพทางภูมิศาสตร์
แก้ด้านตะวันออกเป็นที่ราบสลับป่าไม้ ด้านตะวันตกเป็นผืนป่าบนทิวเขาภูพาน ด้านตะวันออกมีแม่น้ำโขงทอดยาวกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับลาว
หน่วยการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้การปกครองแบ่งออกเป็น 7 อำเภอ 53 ตำบล 526 หมู่บ้าน
เลข | ชื่ออำเภอ | จำนวนตำบล | พื้นที่ (ตร.กม.) |
---|---|---|---|
1 | อำเภอเมืองมุกดาหาร | 13 | 1,235.066 |
2 | อำเภอนิคมคำสร้อย | 7 | 377.158 |
3 | อำเภอดอนตาล | 7 | 510.923 |
4 | อำเภอดงหลวง | 6 | 1,076.158 |
5 | อำเภอคำชะอี | 9 | 645.694 |
6 | อำเภอหว้านใหญ่ | 5 | 84.483 |
7 | อำเภอหนองสูง | 6 | 410.384 |
รวม | 53 | 4,339.830 |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้แบ่งออกเป็น 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 30 องค์การบริหารส่วนตำบล 1 เทศบาลเมือง 24 เทศบาลตำบล
อำเภอเมืองมุกดาหาร |
อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอดอนตาล อำเภอดงหลวง |
อำเภอคำชะอี อำเภอหว้านใหญ่ อำเภอหนองสูง
|
รายนามเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัด
แก้ลำดับ | ชื่อ | ดำรงตำแหน่ง | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
หัวเมืองของอาณาจักรล้านช้างจำปาสักดิ์ | |||
เจ้าเมืองหลวงโพนสิม | |||
- | เจ้าจันทร์สุริยวงษ์ | 2256 - ? | |
- | เจ้ากินรี | ? - 2310 | |
เจ้าเมืองมุกดาหาร | |||
1 | เจ้ากินรี | 2310 - 2312 | |
หัวเมืองขึ้นของสยาม (ชั้นสัญญาบัตร) | |||
1 | พระยาจันทรศรีสุราชอุปราชามันธาตุราช (เจ้าจันทกินรี) | 2313 - 2347 | |
2 | พระยาจันทร์สุริยวงษ์ (กิ่ง) | 2348 - 2383 | |
3 | พระจันทร์สุริยวงษ์ (พรหม) | 2383 - 2405 | |
- | ว่าง | 2405 - 2406 | |
หัวเมืองประเทศราชของสยาม (ชั้นหิรัญบัฏ) | |||
4 | เจ้าจันทรเทพสุริยวงษ์ดำรงรัฐสีมามุกดาธิบดี
(เจ้าหนู) |
2406 - 2412 | |
หัวเมืองขึ้นของสยาม (ชั้นสัญญาบัตร) | |||
5 | พระพฤติมนตรี (คำ) | 2413 - 2420 | |
6 | พระจันทร์สุริยวงษ์ (บุญเฮา) | 2421 - 2430 | |
- | ท้าวสุวรรณสาร(เมฆ) รักษาการ | 2430 - 2431 | |
7 | พระยาศศิวงศ์ประวัติ (เมฆ) | 2431 - 2434 | |
ก่อตั้งมณฑลลาวพวน | |||
7 | พระยาศศิวงศ์ประวัติ (เมฆ) | 2434 - 2440 | |
เปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลฝ่ายเหนือ | |||
ผู้ว่าราชการเมืองมุกดาหาร | |||
8 | พระจันทรเทพสุริยวงษา (แสง) | 2441 - 2443 | |
เปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลอุดร | |||
8 | พระจันทรเทพสุริยวงษา (แสง) | 2444 - 2449 | |
ยุบเป็นอำเภอมุกดาหาร | |||
นายอำเภอมุกดาหาร | |||
ลำดับ | ชื่อ | ดำรงตำแหน่ง | |
1 | หลวงทรงสราวุธ (เจิม วิเศษรัตน์) | 1 ตุลาคม 2450 - ? |
ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร
แก้ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร | ||||
---|---|---|---|---|
ลำดับ | ชื่อ | ดำรงตำแหน่ง | ||
1 | นายจำลอง ราษฎร์ประเสริฐ | 27 กันยายน 2525 - 30 กันยายน 2528 | ||
2 | นายถนอม ชาญนุวงศ์ | 1 ตุลาคม 2528 - 30 กันยายน 2531 | ||
3 | ร.ต.ไมตรี ไนยะกูล | 1 ตุลาคม 2531 - 30 กันยายน 2534 | ||
4 | นายอนันต์ แจ้งกลีบ | 1 ตุลาคม 2534 - 30 กันยายน 2535 | ||
5 | ร.ท.วินัย บุณยรัตผลิน | 1 ตุลาคม 2535 - 30 กันยายน 2537 | ||
6 | นายสาโรช คัชมาตย์ | 1 ตุลาคม 2537 - 19 ตุลาคม 2540 | ||
7 | นายทรงวุฒิ งามมีศรี | 21 ตุลาคม 2540 - 11 มกราคม 2541 | ||
8 | นายสมบูรณ์ สุขสำราญ | 12 มกราคม 2541 - 30 กันยายน 2542 | ||
9 | นายประเสริฐ โยธีพิทักษ์ | 1 ตุลาคม 2542 - 30 กันยายน 2544 | ||
10 | นายนิรันดร์ จงวุฒิเวศย์ | 1 ตุลาคม 2544 - 30 กันยายน 2547 | ||
11 | นายไพรัตน์ สกลพันธุ์ | 1 ตุลาคม 2547 - 30 กันยายน 2548 | ||
12 | นายบุญสม พิรินทร์ยวง | 1 ตุลาคม 2548 - 30 กันยายน 2550 | ||
13 | นายปราณีต บุญมี | 1 ตุลาคม 2550 - 30 กันยายน 2552 | ||
14 | นายบุญส่ง เตชะมณีสถิตย์ | 1 ตุลาคม 2552 - 26 พฤษภาคม 2553 | ||
15 | นายชาญวิทย์ วสยางกูร | 27 พฤษภาคม 2553 - 30 กันยายน 2555 | ||
16 | นายสกลสฤษฏ์ บุญประดิษฐ์ | 19 พฤศจิกายน 2555 - 30 กันยายน 2558 | ||
17 | นายสรสิทธิ์ ฤทธิ์สรไกร | 1 ตุลาคม 2558 - 30 กันยายน 2560 | ||
18 | นายไพฑูรย์ รักษ์ประเทศ | 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561 | ||
19 | นายชยันต์ ศิริมาศ | 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2563 | ||
20 | นายวีระชัย นาคมาศ | 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564 | ||
21 | นายเฉลิมพล มั่งคั่ง | 1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565 | ||
22 | นายวรญาณ บุญณราช | 2 ธันวาคม 2565 - ปัจจุบัน |
การศึกษา
แก้ระดับอาชีวศึกษา
แก้อาชีวศึกษารัฐ
แก้- วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีมุกดาหาร
- วิทยาลัยการอาชีพนิคมคำสร้อย
- วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการดอนตาล
- วิทยาลัยการอาชีพคำชะอี
อาชีวศึกษาเอกชน
แก้- วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการดงหลวง
- วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจรักไทย มุกดาหาร เก็บถาวร 2019-08-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- วิทยาลัยเทคโนโลยีมุกดาหาร
ระดับอุดมศึกษา
แก้สถาบันอุดมศึกษารัฐ
แก้- วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร
- มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วิทยาเขตมุกดาหาร (ปัจจุบันไม่มีการเรียนการสอนแล้ว)
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (สำนักงานบริหารวิทยาการ สถานีสร้างงานสร้างอาชีพ มุกดาหาร)
สถาบันอุดมศึกษาในกำกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
แก้สถานที่สำคัญ
แก้- หอแก้วมุกดาหาร
- ศาลเจ้าพ่อเจ้าฟ้ามุงเมือง
- ศาลเจ้าแม่สองนางพี่น้อง
- วัดศรีมงคลใต้
- วัดศรีบุญเรือง
- สะพานมิตรภาพ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต)
- หอยสมัยหิน
- กลองมโหระทึก
- ฐานปฏิบัติการวรพัฒน์
- วัดภูด่านแต้
- วัดภูพระบาทแก่นจันทน์
- อ่างเก็บน้ำชลประทานห้วยขี้เหล็ก
- วัดบรรพตคิรี
- น้ำตกตาดโดน
- หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
- แก่งกะเบา (พญาศรีภุชงค์มุกดานาคราช)
- วัดมโนภิรมย์
- วัดพระศรีมหาโพธิ์
- วัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมย์ (พญาศรีมุกดามหามุนีนีลปาลนาคราช)
- น้ำตกถ้ำไทร,น้ำตกผาเจิ่น,จุดชมวิวผากิ่ว อำเภอนิคมคำสร้อย (ภายในวนอุทยานดงบังอี)
- ตลาดอินโดจีน (ถนนคนเดินตลาดอินโดจีน)
- ตลาดราตรี
- ถนนคนเดินลานสนุกมุกดาหาร
- พญาอนันตนาคราช
- ไร่ภาสทอง
- สวนน้ำมุกดาหาร & สวนยิ้มแย้ม
- สักการสถานพระมารดาแห่งมรณสักขี
- วัดดานพระอินทร์ (รวมพญานาค)
- วัดป่าวิเวกวัฒนาราม (วัดหลวงปู่จาม)
- ทุ่งกังหันลมร่มเกล้าวินด์ มุกดาหาร
สถานที่สำคัญทางธรรมชาติ
แก้- อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ ที่ทำการอุทยานฯตั้งอยู่ที่บ้านคอนสาย ตำบลนาสีนวน อำเภอเมืองมุกดาหาร
- อุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว ที่ทำการอุทยานฯตั้งอยู่ที่บ้านหนองเม็ก ตำบลป่าไร่ อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร(มุกดาหาร,ยโสธร,อำนาจเจริญ)
- อุทยานแห่งชาติภูผายล ที่ทำการอุทยานฯตั้งอยู่ที่บ้านห้วยหวด ตำบลจันทร์เพ็ญ อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร(สกลนคร,นครพนม,มุกดาหาร)
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูสีฐาน ที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯตั้งอยูที่อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร(มุกดาหาร,กาฬสินธุ์)
- วนอุทยานดงบังอี ที่ทำการวนอุทยานฯตั้งอยู่ที่ตำบลนากอก อำเภอนิคมคำสร้อย
- เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาน้ำทิพย์ ที่ทำการเขตห้ามล่าสัตว์ป่าฯตั้งอยู่ที่ตำบลบึงงาม อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด(ร้อยเอ็ด,กาฬสินธุ์,มุกดาหาร)
เทศกาล
แก้สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
แก้- ตราประจำจังหวัด: รูปปราสาทสองนางสถิตย์ ประดิษฐานแก้วมณีมุกดาหาร
- ต้นไม้ประจำจังหวัด: ต้นตานเหลืองหรือช้างน้าว (Ochna integerrima)
- ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกตานเหลืองหรือช้างน้าว (Ochna integerrima)
- สัตว์บกประจำจังหวัด: แมวดาว (Leopard cat)
- สัตว์น้ำประจำจังหวัด: ปลากดคัง หรือปลากดแก้ว (Hemibagrus wyckioides)
- คำขวัญประจำจังหวัดเดิม: หอแก้วสูงเสียดฟ้า ภูผาเทิบแก่งกะเบา แปดเผ่าชนพื้นเมือง ลือเลื่องมะขามหวาน กลองโบราณล้ำเลิศ ถิ่นกำเนิดลำผญา ตระการตาชายโขง เชื่อมโยงอินโดจีน
- คำขวัญประจำจังหวัดใหม่: องค์พระใหญ่ สวยเด่น เป็นสง่า สูงเสียดฟ้า หอแก้วมุกดาหาร พญานาค 3 พิภพ ระบือนาม ทั่วเขตคาม สะพานเชื่อม อินโดจีน
การคมนาคม
แก้รถยนต์
แก้มุกดาหารอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 650 กิโลเมตร ใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-สระบุรี-นครราชสีมา-อำเภอบ้านไผ่-มหาสารคาม-อำเภอยางตลาด-กาฬสินธุ์-อำเภอคำชะอี-มุกดาหาร หรือเส้นทางกรุงเทพฯ-สระบุรี-นครราชสีมา (ทางหลวงหมายเลข 2) เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 207 ที่บ้านวัด-เลี้ยวขวาผ่านอำเภอประทาย-อำเภอพุทไธสง-อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย–อำเภอเกษตรวิสัย-อำเภอสุวรรณภูมิ แล้วแยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2169 ผ่านอำเภอทรายมูล-อำเภอกุดชุม-อำเภอเลิงนกทา แยกซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 ผ่านอำเภอนิคมคำสร้อย สู่จังหวัดมุกดาหาร
รถโดยสารประจำทาง
แก้มีรถโดยสารประจำทางทั้งรถโดยสารธรรมดาและรถปรับอากาศ โดยรถร่วมบริการของผู้ประกอบการเอกชน
- กรุงเทพฯ - มุกดาหาร
- กรุงเทพฯ - มุกดาหาร
- นครราชสีมา - มุกดาหาร
- ขอนแก่น - มุกดาหาร
- มุกดาหาร - ระยอง
- มุกดาหาร - พัทยา - ระยอง
- มุกดาหาร - หัวหิน
- มุกดาหาร - แม่สอด
ทางอากาศ
แก้ในปัจจุบันจังหวัดมุกดาหารยังไม่มีท่าอากาศยาน จึงต้องใช้บริการท่าอากาศยานของจังหวัดข้างเคียง ได้แก่
- ท่าอากาศยานนครพนม เดินทาง 1 ชม. 50 นาที (120 กม.)
- ท่าอากาศยานสกลนคร เดินทาง 1 ชม. 55 นาที (124 กม.)
- ท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี เดินทาง 2 ชม. 29 นาที (169.7 กม.)
โดยปกติชาวจังหวัดมุกดาหาร จะให้ท่าอากาศยานนครพนมเป็นหลักในการเดินทาง เพราะความสะดวกในการเดินทางและระบบขนส่งสาธารณะ
- รถตู้ ท่าอากาศยานนครพนม - บขส.จังหวัดมุกดาหาร
- บขส.จังหวัดนครพนม - บขส.จังหวัดมุกดาหาร (ไปกลับ)
- ในปี 2561 กรมท่าอากาศยาน ในสังกัดกระทรวงคมนาคม ได้ใช้งบประมาณ 6 ล้านบาทในการสำรวจพื้นที่เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างท่าอากาศยานในจังหวัดมุกดาหาร หากสร้างสำเร็จจะกลายเป็นท่าอากาศยานนานาชาติแห่งที่ 30 ของประเทศไทย การสำรวจดังกล่าวแล้วเสร็จในเดือนมีนาคม 2562 และอยู่ในระหว่างดำเนินการขั้นตอนต่อไป คาดว่าจะใช้งบประมาณกว่า 5 พันล้านบาทในการก่อสร้าง[9]
รถไฟ
แก้ในปัจจุบันจังหวัดมุกดาหารยังไม่มีระบบขนส่งทางราง โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างสำหรับ โครงการก่อสร้างทางรถไฟ ทางคู่ บ้านไผ่ มุกดาหาร นครพนม มีกำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2570
รถโดยสารระหว่างประเทศ
แก้- มุกดาหาร - สะหวันนะเขต บริการโดย บริษัท ขนส่ง จำกัด
การคมนาคมภายในตัวจังหวัดมุกดาหาร
แก้- รถสองแถว มีหลายสาย คิดค่าโดยสารตามระยะทาง
- รถสามล้อเครื่อง คิดค่าโดยสารตามระยะทาง (เป็นรถเหมา)
- แท็กซี่ คิดค่าโดยสารตามระยะทางบนมิเตอร์
ระยะห่างจากตัวจังหวัดไปอำเภอต่าง ๆ
แก้- อำเภอนิคมคำสร้อย 29 กิโลเมตร
- อำเภอหว้านใหญ่ 32 กิโลเมตร
- อำเภอดอนตาล 34 กิโลเมตร
- อำเภอคำชะอี 38 กิโลเมตร
- อำเภอหนองสูง 53 กิโลเมตร
- อำเภอดงหลวง 55 กิโลเมตร
จุดผ่านแดนที่ติดต่อกับประเทศลาว
แก้- จุดผ่านแดนถาวร ด่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว 2 ระหว่างอำเภอเมืองมุกดาหารและนครไกสอน พมวิหาน แขวงสุวรรณเขต
- จุดผ่านแดนถาวร ท่าเรือเทศบาลเมืองมุกดาหาร ระหว่างอำเภอเมืองมุกดาหารและนครไกสอน พมวิหาน แขวงสุวรรณเขต
บุคคลสำคัญ
แก้- จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 11
- หนูฮัก พูมสะหวัน อดีตประธานประเทศลาว
นักแสดง
แก้นักร้อง
แก้- มนต์สิทธิ์ คำสร้อย
- นิว มุกดา อดีตนักร้องเพลงลูกทุ่ง
- นุชรียา มุกดา (เปียโน) นักร้องเพลงลูกทุ่ง
อ้างอิง
แก้- ↑ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_57.pdf 2564. สืบค้น 16 เมษายน 2564.
- ↑ "Mukdahan - Smart Travel". Mukdahan - Smart Travel. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-01. สืบค้นเมื่อ 2021-12-01.
- ↑ https://kk.mcu.ac.th/Art-Culture/phalub.php
- ↑ "เกี่ยวกับจังหวัด | สำนักงานธนารักษ์พื้นที่มุกดาหาร". ระบบจัดการเว็บไซต์ย่อยภาครัฐ.
- ↑ http://dontan.mukdahancity.com/country/dontan_01.php[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-27. สืบค้นเมื่อ 2021-12-01.
- ↑ "Welcome to www.amphoe.com". web.archive.org. 2009-07-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-12. สืบค้นเมื่อ 2021-12-01.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ Limited, Bangkok Post Public Company. "Mukdahan airport to be regional hub". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2021-12-01.
ดูเพิ่ม
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของจังหวัด เก็บถาวร 2020-08-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- สัญญา ชีวะประเสริฐ. (2555). ความทรงจำของเมืองสองฝั่งแม่น้ำโขง: มุกดาหาร และสะหวันนะเขด. วารสารประวัติศาสตร์ (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ). หน้า 49-60.
- จังหวัดมุกดาหาร - อีสานร้อยแปด
16°32′N 104°43′E / 16.54°N 104.72°E
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ จังหวัดมุกดาหาร
- แผนที่ จาก มัลติแมป โกลบอลไกด์ หรือ กูเกิลแผนที่
- ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
- ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย