อำเภอท่าตะเกียบ
ท่าตะเกียบ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดฉะเชิงเทรา
อำเภอท่าตะเกียบ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Tha Takiap |
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไน เป็นป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ได้แก่ อำเภอท่าตะเกียบ อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา, อำเภอวังน้ำเย็น อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว, อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง, อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี และอำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี | |
คำขวัญ: ตำนานเสาชิงช้า เจ้าพ่อเขากาศักดิ์สิทธิ์ ผลผลิตหลากหลาย อ่างน้ำใหญ่ป่าสมบูรณ์ | |
แผนที่จังหวัดฉะเชิงเทรา เน้นอำเภอท่าตะเกียบ | |
พิกัด: 13°26′41″N 101°36′40″E / 13.44472°N 101.61111°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ฉะเชิงเทรา |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 1,521.54 ตร.กม. (587.47 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 46,891 คน |
• ความหนาแน่น | 30.82 คน/ตร.กม. (79.8 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 24160 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 2410 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอท่าตะเกียบ เลขที่ 179 หมู่ที่ 4 ตำบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา 24160 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอท่าตะเกียบมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเขาฉกรรจ์ อำเภอวังน้ำเย็น อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว
- ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอบ่อทอง อำเภอเกาะจันทร์ อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี และอำเภอแปลงยาว อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา
ประวัติ
แก้ท้องที่อำเภอท่าตะเกียบเดิมเป็นส่วนหนึ่งของตำบลเกาะขนุน อำเภอพนมสารคาม ต่อมาได้แยกออกมาเป็นตำบลท่าตะเกียบ ในปี พ.ศ. 2490[1] และย้ายมาขึ้นการปกครองกับอำเภอสนามชัยเขต ในปี พ.ศ. 2516[2][3] และแยกออกมาเป็นตำบลคลองตะเกรา ในปี พ.ศ. 2526[4] ในปี พ.ศ. 2532 ทางราชการได้เห็นว่าท้องที่อำเภอสนามชัยเขตกว้างขวางถึง 2,720 ตารางกิโลเมตร อีกทั้งตำบลคลองตะเกรา และตำบลท่าตะเกียบเป็นตำบลที่อยู่ไกลท้องที่ทุรกันดาร และห่างไกลจากตัวอำเภอ เจ้าหน้าที่มีโอกาสตรวจเยี่ยมเยือนดูแลทุกข์สุขของราษฎรน้อยมาก เพราะทางคมนาคมไม่สะดวก ซึ่งอาจเป็นการเสียหายในด้านการปกครอง ประกอบกับหมู่บ้านดังกล่าวมีโอกาสที่จะเจริญในอนาคต เพราะราษฎรอาศัยอยู่กันหนาแน่นมาก และมีพื้นที่ทำมาหากินได้ โดยเฉพาะมีทรัพยากรทางธรรมชาติ พอที่จะยกระดับการครองชีพของราษฎรทั้งสองตำบลดังกล่าวนี้ให้ดียิ่งขึ้น จึงแนะนำประชุมชี้แจงร่วมกับทางอำเภอสนามชัยเขตรายงานต่อกระทรวงมหาดไทย ขอจัดตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภอขึ้น
จึงแบ่งพื้นที่การปกครองตำบลคลองตะเกรา และตำบลท่าตะเกียบ ออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอท่าตะเกียบ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2533 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2534[5] และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 ยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอท่าตะเกียบ โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน[6] กลายเป็นอำเภอลำดับที่ 10 ของจังหวัดฉะเชิงเทรา
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอท่าตะเกียบแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 2 ตำบล 47 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | ท่าตะเกียบ | (Tha Takiap) | 22 หมู่บ้าน | ||||
2. | คลองตะเกรา | (Khlong Takrao) | 25 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอท่าตะเกียบประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2 แห่ง ได้แก่
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าตะเกียบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าตะเกียบทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองตะเกรา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองตะเกราทั้งตำบล
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (46 ง): 2507–2533. วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2490
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 83 (6 ง): 254. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-04. สืบค้นเมื่อ 2022-04-04. วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2509
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเขาพนม อำเภอสนามชัยเขต อำเภอแม่อาย อำเภอขามสะแกแสง อำเภอเก้าเลี้ยว อำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอหนองพอก อำเภอละอุ่น อำเภอทุ่งหว้า และอำเภอศรีธาตุ พ.ศ. ๒๕๑๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (75 ก): (ฉบับพิเศษ) 32-36. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2022-04-04. วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2516
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (131 ง): 2693–2695. วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2526
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา ตั้งเป็นกิ่งอำเภอท่าตะเกียบ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (15 ง): 1063. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2022-04-04. วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2534
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเหนือคลอง อำเภอนายายอาม อำเภอท่าตะเกียบ อำเภอขุนตาล อำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ลาว อำเภอรัษฎา อำเภอพุทธมณฑล อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอเจาะไอร้อง อำเภอชำนิ อำเภอโนนดินแดง อำเภอปางมะผ้า อำเภอลำสนธิ อำเภอหนองม่วง อำเภอเบญจลักษ์ อำเภอโพนนาแก้ว อำเภอบุ่งคล้า อำเภอดอนมดแดง และอำเภอลืออำนาจ พ.ศ. ๒๕๓๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (62 ก): 5–8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-05-21. สืบค้นเมื่อ 2011-10-29. วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ อำเภอท่าตะเกียบ