อำเภอเทิง

อำเภอในจังหวัดเชียงราย ประเทศไทย

เทิง (ไทยถิ่นเหนือ: )[1] เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงราย เดิมเป็นเขตท้องที่ของอำเภอเชียงคำทั้งหมด ก่อนที่จะขอจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอโดยการปกครองบางส่วนออกจากอำเภอเชียงคำในวันที่ 14 ตุลาคม 2449[2] และยกฐานะเป็นอำเภอในวันที่ 8 ธันวาคม 2455[3]

อำเภอเทิง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Thoeng
ภูชี้ฟ้า
คำขวัญ: 
พระธาตุจอมจ้อคู่บ้าน น้ำลาวหงาวอิงคู่เมือง
ภูชี้ฟ้าลือเลื่อง งามประเทืองดอกเสี้ยวบาน
แผนที่จังหวัดเชียงราย เน้นอำเภอเทิง
แผนที่จังหวัดเชียงราย เน้นอำเภอเทิง
พิกัด: 19°41′6″N 100°11′36″E / 19.68500°N 100.19333°E / 19.68500; 100.19333
ประเทศ ไทย
จังหวัดเชียงราย
พื้นที่
 • ทั้งหมด821.0 ตร.กม. (317.0 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด83,746 คน
 • ความหนาแน่น102.01 คน/ตร.กม. (264.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 57160,
57230 (เฉพาะตำบลเชียงเคี่ยน ปล้อง แม่ลอยศรีดอนไชย หนองแรด และหมู่ที่ 5, 7, 12-13, 17, 19, 23 ตำบลงิ้ว)
รหัสภูมิศาสตร์5704
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเทิง เลขที่ 25
หมู่ที่ 15 ตำบลเวียง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย 57160
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
ดอยเอียน (Ian Mountain) เป็นภูเขาในอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาผีปันน้ำ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้สุดของจังหวัดเชียงราย บรรจบกับเหนือสุดของ จังหวัดพะเยา ห่าจากชายแดนไทย - ลาว ประมาณ 9 กิโลเมตร
อุทยานแห่งชาติภูชี้ฟ้า ตั้งอยู่ที่ตำบลตับเต่า อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในจังหวัดเชียงราย อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่อิงฝั่งขวาและป่าแม่งาว-ฟ้าทอง

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอเทิงมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

 
วิทยาลัยการอาชีพเทิง ตั้งอยู่เลขที่ 191 หมู่ 15 ถนนพิศาล ตำบลเวียง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย (สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2536
 
เขตภูเขาในอุทยานแห่งชาติภูชี้ฟ้า

ประวัติ

แก้

เมืองเทิงหรือเวียงเทิงเป็นเมืองขนาดใหญ่ มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เริ่มมีการกล่าวถึงตั้งแต่สมัยขุนเจื๋อง ราชโอรสขุนจอมธรรม ผู้ปกครองเมืองภูกามยาว (จังหวัดพะเยา) ประมาณ พ.ศ. 1663 เป็นหัวเมืองที่สำคัญของเมืองภูกามยาว โดยเมืองเทิงอยู่ในความปกครองของราชวงศ์มังราย ราวพุทธศตวรรษที่ 20 - 21 ต่อมาการปกครองได้แตกสาขาแยกเมืองออกปกครองมากขึ้น เมืองเทิงจัดอยู่ในเขตปกครองของบริเวณนครน่าน เรียกว่า กิ่งแขวงเมืองเทิง[2] แยกออกจากแขวงเมืองเชียงคำในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2449 เป็นหัวเมืองของบริเวณน่านเหนือ ได้จัดแบ่งหมู่บ้านต่างๆ เป็น 14 แคว้น เช่น แคว้นเวียงเทิง มีเจ้าหลวงเทิง (ไชยสาร) เป็นบุตรของเจ้าพรหมสุรธาดาแห่งนันทบุรีศรีนครน่านเป็นเจ้าหลวงเมืองเทิงองค์สุดท้าย แคว้นบ้านหงาว แคว้นตับเต่า แคว้นน้ำแพร่ แคว้นบ้านเอียน และแคว้นบ้านงิ้ว

ต่อมาใน พ.ศ. 2449 กระทรวงมหาดไทยจึงให้พระยามหาอำมาตยาธิบดี (เส็ง วิรยศิริ) เมื่อครั้งเป็นพระยาศรีสหเทพราชปลัดทูลฉลอง ขึ้นมาจัดวางระเบียบการปกครองในมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ เนื่องแต่ได้ใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ. 116 แล้วนั้น และเพื่อที่กระทรวงมหาดไทยจะได้ตราข้อบังคับสำหรับปกครองมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือขึ้นใช้ในปีต่อไป ปีนี้พระยามหาอำมาตยาธิบดีได้มาที่จังหวัดน่าน พร้อมด้วยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช (ครั้งนั้นยังเป็นเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช) เจ้าผู้ครองนครพระยาสุนทรนุรักษ์ (เลื่อง ภูมิรัตน์) ข้าหลวงประจำเมืองและเจ้านายท้าวพญาทั้งปวงประชุมปรึกษาตกลงวางระเบียบราชการขึ้นใหม่ การปกครองท้องที่ใหม่ได้แบ่งเขตแขวงเมืองน่านออกเป็น 8 แขวง แขวงเชียงคำคือหนึ่งในแขวงทั้ง 8 คือรวม เมืองเทิง เมืองเชียงคำ เมืองเชียงแรง เมืองหงาว เมืองเชียงของ เมืองเชียงเคี่ยน เมืองลอ เมืองมิน ให้มีที่ว่าการแขวงตั้งที่เมืองเชียงคำ และในปี พ.ศ. 2453 ได้ให้แยกการปกครองจากจังหวัดน่านมาขึ้นตรงต่อจังหวัดเชียงราย[4] และตั้งเป็นอำเภอเมืองเทิง ในปี พ.ศ. 2455[3]

  • วันที่ 14 ตุลาคม 2449 ยกเลิกพื้นที่แขวงน่านเหนือ และย้ายที่ว่าการแขวงมาตั้งที่เมืองเชียงคำ และเรียกว่า แขวงเชียงคำ กับตัดพื้นที่เมืองเชียงของ จากแขวงเชียงคำ ไปขึ้นการปกครองกับบริเวณพายัพเหนือ และแยกพื้นที่บางส่วนของแขวงเชียงคำ ไปจัดตั้งเป็น กิ่งแขวงเมืองปง (กิ่งอำเภอเมืองปง) และกิ่งแขวงเมืองเทิง (กิ่งอำเภอเมืองเทิง)[5] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับแขวงเชียงคำ
  • วันที่ 12 มิถุนายน 2453 รวมเมืองเชียงแสน เมืองเชียงราย เมืองฝาง เวียงป่าเป้า เมืองพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่สรวย เมืองเชียงคำ และเมืองเชียงของ จังหวัดพายัพเหนือ ขึ้นเป็นเมืองจัตวา เรียกว่า จังหวัดเชียงราย กำหนดให้มีการปกครองทั้งหมด 10 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองเชียงแสน อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอเมืองฝาง อำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอเมืองพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่สรวย อำเภอเมืองเชียงคำ (รวมกิ่งอำเภอเมืองเทิงและกิ่งอำเภอเมืองปง) และอำเภอเมืองเชียงของ[4]
  • วันที่ 8 ธันวาคม 2455 ยกฐานะกิ่งอำเภอเมืองเทิง แขวงเมืองเชียงคำ ขึ้นเป็น อำเภอเมืองเทิง[6]
  • วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอเมืองเทิง จังหวัดเชียงราย เป็น อำเภอเทิง[7]
  • วันที่ 23 สิงหาคม 2474 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลบ้านต้า อำเภอเทิง เป็น ตำบลแม่ต๊าก[8]
  • วันที่ 23 มกราคม 2481 รวมพื้นที่ตำบลในเวียง ตำบลบ้านสัก ตำบลป่างิ้ว ให้จัดตั้งขึ้นเป็น ตำบลเวียงเทิง และรวมพื้นที่ตำบลบ้านเอียน ตำบลตับเต่า ตำบลหงาว ให้จัดตั้งขึ้นเป็น ตำบลหงาว กับรวมพื้นที่ตำบลดอนไชย ตำบลบ้านเกี๋ยง ตำบลบ้านปล้อง ตำบลเชียงเคี่ยน ให้จัดตั้งขึ้นเป็น ตำบลเชียงเคี่ยน และรวมพื้นที่ตำบลบ้านต้า ตำบลป่าตาล ตำบลน้ำแพร่ ตำบลแม่ต๊าก ให้จัดตั้งขึ้นเป็น ตำบลยางฮอม[9] และกำหนดให้ยุบพื้นที่การปกครองของตำบลบ้านเกี๋ยง ตำบลตับเต่า ตำบลแม่ต๊าก ตำบลบ้านปล้อง ตำบลบ้านสัก ตำบลป่าตาล ตำบลน้ำแพร่ ตำบลดอนไชย ตำบลป่างิ้ว ตำบลบ้านเอียน ตำบลในเวียง และตำบลบ้านต้า เพราะไม่มีหมู่บ้านเหลืออยู่ จึงหมดความจำเป็นที่จะให้ตั้งเป็นตำบลอยู่ต่อไป
  • วันที่ 12 พฤศจิกายน 2483 แยกหมู่บ้านที่ 6-17 (ในขณะนั้น) ตำบลเวียงเทิง ตั้งขึ้นเป็น ตำบลงิ้ว กับแยกหมู่บ้านที่ 16-23 (ในขณะนั้น) ตำบลหงาว ตั้งขึ้นเป็น ตำบลตับเต่า กับแยกหมู่บ้านที่ 6-15 (ในขณะนั้น) ตำบลเชียงเคี่ยน ตั้งขึ้นเป็น ตำบลปล้อง กับแยกหมู่บ้านที่ 16-24 (ในขณะนั้น) ตำบลเชียงเคี่ยน ตั้งขึ้นเป็น ตำบลแม่ลอย กับแยกหมู่บ้านที่ 10-12, 31-34 (ในขณะนั้น) ตำบลยางฮอม ตั้งขึ้นเป็น ตำบลแม่ต๊าก กับแยกหมู่บ้านที่ 13-30 (ในขณะนั้น) ตำบลยางฮอม ตั้งขึ้นเป็น ตำบลบ้านต้า[10]
  • วันที่ 7 มกราคม 2500 จัดตั้งสุขาภิบาลเวียงเทิง ในท้องที่บางส่วนของตำบลเวียง[11]
  • วันที่ 16 มีนาคม 2508 ตั้งตำบลแม่เปา แยกออกจากตำบลต้า และตำบลป่าตาล[12]
  • วันที่ 17 มกราคม 2510 จัดตั้งสุขาภิบาลบ้านต้า ในท้องที่บางส่วนของตำบลต้า[13]
  • วันที่ 8 สิงหาคม 2510 จัดตั้งสุขาภิบาลบ้านปล้อง ในท้องที่หมู่ 3-4,7 ตำบลปล้อง[14]
  • วันที่ 5 กรกฎาคม 2520 ตั้งตำบลแม่ต๋ำ แยกออกจากตำบลยางฮอม ตั้งตำบลไม้ยา แยกออกจากตำบลงิ้ว[15]
  • วันที่ 5 สิงหาคม 2523 ตั้งตำบลสันทรายงาม แยกออกจากตำบลเวียง[16]
  • วันที่ 5 พฤษภาคม 2524 แยกพื้นที่ตำบลแม่เปา ตำบลแม่ต๋ำ และตำบลไม้ยา จากอำเภอเทิง ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอพญาเม็งราย[17] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอเทิง
  • วันที่ 29 มิถุนายน 2525 ตั้งตำบลศรีดอนไชย แยกออกจากตำบลแม่ลอย[18]
  • วันที่ 12 สิงหาคม 2530 ยกฐานะกิ่งอำเภอพญาเม็งราย อำเภอเทิง เป็น อำเภอพญาเม็งราย[19]
  • วันที่ 21 ตุลาคม 2531 ตั้งตำบลหนองแรด แยกออกจากตำบลปล้อง[20]
  • วันที่ 22 เมษายน 2535 แยกพื้นที่ตำบลต้า ตำบลป่าตาล และตำบลยางฮอม จากอำเภอเทิง ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอขุนตาล[21] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอเทิง
  • วันที่ 26 ธันวาคม 2536 จัดตั้งศาลจังหวัดเทิง[22] ในท้องที่อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย มีเขตตลอดท้องที่อำเภอเทิง อำเภอเชียงของ อำเภอป่าแดด อำเภอพญาเม็งราย กิ่งอำเภอขุนตาล และกิ่งอำเภอเวียงแก่น
  • วันที่ 20 พฤศจิกายน 2539 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอขุนตาล อำเภอเทิง เป็น อำเภอขุนตาล[23]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะสุขาภิบาลเวียงเทิง และสุขาภิบาลบ้านปล้อง เป็นเทศบาลตำบลเวียงเทิง และเทศบาลตำบลบ้านปล้อง ตามลำดับ[24] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 28 เมษายน 2548 เปลี่ยนแปลงชื่อหมู่ 3 บ้านบุญนาค ตำบลหงาว อำเภอเทิง เป็น หมู่ 3 บ้านหงาว ตำบลหงาว อำเภอเทิง[25]
  • วันที่ 20 กรกฎาคม 2549 เปลี่ยนแปลงชื่อหมู่ 7 บ้านป่าแฮะ ตำบลศรีดอนไชย อำเภอเทิง เป็น หมู่ 7 บ้านใหม่แม่ลอย ตำบลศรีดอนไชย อำเภอเทิง[26]
  • วันที่ 26 ตุลาคม 2552 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลงิ้ว เป็น เทศบาลตำบลงิ้ว[27] และจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลสันทรายงาม เป็น เทศบาลตำบลสันทรายงาม[28]
  • วันที่ 27 ตุลาคม 2552 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลหงาว เป็น เทศบาลตำบลหงาว[29]
  • วันที่ 17 ธันวาคม 2553 ได้รับรวมพื้นที่ทั้งหมดของหมู่ที่ 2, 14, 20 ตำบลเวียง และพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 1, 15 ตำบลเวียง ของเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเวียง มารวมกับท้องที่เทศบาลตำบลเวียงเทิง[30] และเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลเวียงเทิง
  • วันที่ 13 ธันวาคม 2556 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงเคี่ยน เป็น เทศบาลตำบลเชียงเคี่ยน[31]
  • วันที่ 30 กันยายน 2564 เปลี่ยนแปลงชื่อหมู่ 10 บ้านเชียงทองไทย ตำบลเชียงเคี่ยน อำเภอเทิง เป็น หมู่ 10 บ้านเชียงเคี่ยนเหนือ ตำบลเชียงเคี่ยน อำเภอเทิง[32]

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

อำเภอเทิงแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 10 ตำบล 156 หมู่บ้าน คือ

ที่ ชื่อตำบล ตัวเมือง อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนหลังคาเรือน จำนวนประชากร[33]
1. เวียง   Wiang 25 6,351 16,710
2. งิ้ว   Ngio 25 4,512 12,135
3. ปล้อง   Plong 12 3,067 8,525
4. แม่ลอย   Mae Loi 13 2,309 6,817
5. เชียงเคี่ยน   Chiang Khian 12 1,706 4,463
6. ตับเต่า   Tap Tao 25 3,554 12,701
7. หงาว   Ngao 20 3,541 9,620
8. สันทรายงาม   San Sai Ngam 7 1,348 4,244
9. ศรีดอนไชย   Si Don Chai 10 1,574 4,662
10. หนองแรด   Nong Raet 7 1,313 4,141

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอเทิงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 12 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลเวียงเทิง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเวียง
  • เทศบาลตำบลบ้านปล้อง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลปล้อง
  • เทศบาลตำบลงิ้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลงิ้วทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลสันทรายงาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสันทรายงามทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลหงาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหงาวทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลเชียงเคี่ยน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเชียงเคี่ยนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเวียง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเวียง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลเวียงเทิง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปล้อง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปล้อง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบ้านปล้อง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลอย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ลอยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตับเต่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตับเต่าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลศรีดอนไชย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีดอนไชยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแรด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองแรดทั้งตำบล

อ้างอิง

แก้
  1. ชื่อตามที่ปรากฏใน ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับวัดพระงาม จ.ศ. 1216 เป็น "เธริง" กรณีนี้เขียนตามเสียง
  2. 2.0 2.1 "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 23 (29): 751. วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2449
  3. 3.0 3.1 "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและรวมกิ่งอำเภอขึ้นเป็นอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 29 (0 ง): 2041. December 8, 1912.
  4. 4.0 4.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย ประกาศยกเมืองเชียงรายเป็นเมืองจัตวามณฑลพายัพ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 (0 ง): 426–427. วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2453
  5. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 23 (29): 751. วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2449
  6. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและรวมกิ่งอำเภอขึ้นเป็นอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 29 (0 ง): 2041. December 8, 1912.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 40–68. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-07. สืบค้นเมื่อ 2022-03-17. วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2460
  8. "ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ สำหรับตำบลแม่ต้าก อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 48 (0 ก): 293. วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2474
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 3449–3457. วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2483
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 57 (0 ง): 2773–2778. วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเวียงเทิง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (4 ง): (ฉบับพิเศษ) 23-24. วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2500
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองเชียงรายและอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 82 (23 ง): 855–859. วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2508
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบ้านต้า อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 84 (5 ง): 130–132. วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2510
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบ้านปล้อง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 84 (73 ง): 2132–2133. วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (60 ง): 2709–2712. วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2520
  16. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 97 (118 ง): 2704–2708. วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2523
  17. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ตั้งเป็นกิ่งอำเภอพญาเม็งราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 98 (68 ง): 1283. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2022-03-17. วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2524
  18. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 99 (89 ง): 2499–2503. วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2525
  19. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอพญาเม็งราย อำเภอพบพระ อำเภอทับคล้อ อำเภอบ้านโคก และอำเภอโพธิ์ไทร พ.ศ. ๒๕๓๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (156 ง): (ฉบับพิเศษ) 26-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2022-03-17. วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2530
  20. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอพญาเม็งราย อำเภอเทิง และกิ่งอำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 105 (171 ง): (ฉบับพิเศษ) 179-193. วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2531
  21. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ตั้งเป็นกิ่งอำเภอขุนตาล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (53 ง): (ฉบับพิเศษ) 6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2022-03-17. วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2535
  22. "พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย พ.ศ. ๒๕๓๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (61 ก): 3–4. วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2536
  23. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเหนือคลอง อำเภอนายายอาม อำเภอท่าตะเกียบ อำเภอขุนตาล อำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ลาว อำเภอรัษฎา อำเภอพุทธมณฑล อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอเจาะไอร้อง อำเภอชำนิ อำเภอโนนดินแดง อำเภอปางมะผ้า อำเภอลำสนธิ อำเภอหนองม่วง อำเภอเบญจลักษ์ อำเภอโพนนาแก้ว อำเภอบุ่งคล้า อำเภอดอนมดแดง และอำเภอลืออำนาจ พ.ศ. ๒๕๓๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (62 ก): 5–8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-05-21. สืบค้นเมื่อ 2022-03-17. วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
  24. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2022-03-17 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
  25. "ประกาศจังหวัดเชียงราย เรื่อง เปลี่ยนแปลงชื่อหมู่บ้านในท้องที่อำเภอเทิง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 122 (34 ง): 203. วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2549
  26. "ประกาศจังหวัดเชียงราย เรื่อง เปลี่ยนแปลงชื่อหมู่บ้าน ในท้องที่อำเภอเทิง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 123 (68 ง): 153. วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2549
  27. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล งิ้ว เป็น เทศบาลตำบลงิ้ว". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2552
  28. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล สันทรายงาม เป็น เทศบาลตำบลสันทรายงาม". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2552
  29. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล หงาว เป็น เทศบาลตำบลหงาว". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552
  30. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลเวียงเทิง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 127 (ตอนพิเศษ 145 ง): 50. วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553
  31. "จัดตั้งเทศบาลจาก องค์การบริหารส่วนตำบลเชียงเคี่ยน เป็น เทศบาลตำบลเชียงเคี่ยน". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556
  32. "ประกาศจังหวัดเชียงราย เรื่อง เปลี่ยนแปลงชื่อหมู่บ้าน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 138 (72 ง): 324. วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564
  33. จำนวนประชากรและบ้าน จำแนกเป็นรายอำเภอ และรายตำบล จังหวัดเชียงราย ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553, สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย