การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549 เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 22 ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549[1] โดยมีสาเหตุเนื่องมาจากทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 อย่างไรก็ตาม หลังการเลือกตั้งเสร็จสิ้น ศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ ทำให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง ในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2549
| |||||||||||||||||||||||||||||||
ทั้งหมด 500 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรไทย ต้องการ 251 ที่นั่งจึงเป็นฝ่ายข้างมาก | |||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ลงทะเบียน | 44,778,628 | ||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้ใช้สิทธิ | 64.77% ( 7.79 จุด) | ||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||
|
ก่อนการเลือกตั้ง
แก้สัตยาบันเพื่อปฏิรูปการเมือง
แก้ภายหลังการการยุบสภาผู้แทนราษฎร พรรคร่วมฝ่ายค้านเดิมซึ่งประกอบด้วย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย และพรรคมหาชน ได้ทำหนังสือถึงพรรคไทยรักไทย เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 เพื่อขอให้ลงนามในสัตยาบันร่วมกันว่า หลังการเลือกตั้งจะจัดให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 313 โดยกำหนดให้มีคณะบุคคลที่เป็นกลางเป็นผู้ดำเนินการในการยกร่างรัฐธรรมนูญ [2]
พรรคไทยรักไทยแสดงจุดยืนว่า ไม่ต้องการลงสัตยาบันแก้ไขรัฐธรรมนูญร่วมกับพรรคร่วมฝ่ายค้าน [3] และดำเนินการเชิญหัวหน้าพรรคการเมืองทุกพรรคมาหารือร่วมกัน ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ที่อาคารวุฒิสภา และเสนอให้ทุกพรรคทำสัญญาประชาคมแก้ไขรัฐธรรมนูญในระหว่างการเลือกตั้ง จากนั้นค่อยมาตั้งคณะกรรมการที่เป็นกลางชุดหนึ่งขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ [4] พรรคฝ่ายค้านทั้ง 3 พรรคเห็นว่าท่าทีของพรรคไทยรักไทย มีเจตนาที่จะถ่วงเวลา จึงประกาศคว่ำบาตรการเลือกตั้ง โดยไม่ส่งผู้สมัคร [5]
นายแพทย์เปรมศักดิ์ เพียยุระ
แก้เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2549 นายแพทย์เปรมศักดิ์ เพียยุระ ผู้สมัครในบัญชีรายชื่อลำดับที่ 93 ของพรรคไทยรักไทยได้ยื่นใบลาออกจากสมาชิกพรรคพรรคไทยรักไทย อย่างกะทันหัน และเข้าพิธีอุปสมบทที่วัดพิกุลทอง จากนั้นได้เดินทางไปจำวัดที่วัดสวนแก้ว จังหวัดนนทบุรี ซึ่งมีพระพยอม กัลยาโณ เป็นเจ้าอาวาส
การลาออกของนายแพทย์เปรมศักดิ์ ส่งผลให้พรรคไทยรักไทยมี ส.ส.บัญชีรายชื่อ เหลือเพียง 99 คน (คาดการณ์ว่า จะไม่มีพรรคใดได้คะแนนปาร์ตี้ลิสต์ถึง 5% ทำให้ ส.ส.บัญชีรายชื่อทั้ง 100 คน จะมาจากพรรคไทยรักไทยทั้งหมด) เมื่อรวมกับ ส.ส.ระบบเขตอีก 400 คน เป็น 499 คน ไม่ครบตามที่ระบุไว้ในมาตรา 98 ของรัฐธรรมนูญว่า สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวนห้าร้อยคนโดยเป็นสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อตามมาตรา 99 จำนวนหนึ่งร้อยคน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งตามมาตรา 102 จำนวนสี่ร้อยคน และส่งผลให้จำนวน ส.ส.ไม่ครบที่จะเป็นองค์ประกอบของสภาผู้แทนราษฎร ไม่สามารถประกอบรัฐพิธีเปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร [6] และไม่สามารถประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อคัดเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร และนายกรัฐมนตรีได้
การเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549
แก้เหตุการณ์ในช่วงการเลือกตั้ง
แก้- 3 พรรคฝ่ายค้าน ประชาธิปัตย์,ชาติไทย,มหาชน คว่ำบาตรการเลือกตั้ง โดยไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งลงแข่งขัน
- รศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร หัวหน้าภาควิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฉีกบัตรเลือกตั้งต่อหน้าสื่อมวลชน แสดงแนวทางการดื้อแพ่ง
- อาจารย์ ยศศักดิ์ โกศัยกานนท์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ใช้ไม้จิ้มฟันแทงที่นิ้วหลายครั้งและนำเลือดมาใช้ในการ กาบัตรเลือกตั้งและยืนยันว่าเป็นการผิดกฎหมาย ในเขตลาดพร้าว เพื่อเป็นการแสดงแนวทางอารยะขัดขืน แบบหนึ่ง
ปัญหาในการเลือกตั้ง
แก้- ผู้สมัครจำนวนหลายสิบเขต ได้คะแนนน้อยกว่าคะแนนไม่เลือกใคร แต่ได้รับเลือกด้วยเกณฑ์ร้อยละยี่สิบ และเกณฑ์กรณีมีผู้สมัครมากกว่าหนึ่งคน
- คูหาเลือกตั้งหันหลังออก ทำให้เกรงว่าอาจจะทำให้สามารถมองเห็นการลงคะแนนได้โดยง่าย
- มีการร้องเรียนว่า ที่หน่วยเลือกตั้งไม่มีปากกาเพียงพอ และบางหน่วยเตรียมไว้ให้เพียงตรายางสำหรับประทับ
- เดิม กกต. ให้ใช้เฉพาะตรายาง ต่อมาได้มีการร้องเรียนไปยังศาลปกครองเป็นกรณีเร่งด่วน และศาลมีคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวให้สามารถใช้ได้ทั้งปากกา และตรายางประทับ คำสั่งศาลปกครอง เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- มีการนำรายชื่อผู้สมัครไปติดไว้ในคูหาเลือกตั้ง
- มีบัตรเสียจำนวนเพิ่มขึ้นจากการเลือกตั้งครั้งที่แล้วอย่างผิดปกติ โดยเฉพาะบัตรเสียในบัตรเลือกตั้งแบบแบ่งเขต
ข้อวิจารณ์การทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
แก้- การประชุมกำหนดการเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 น่าจะไม่ชอบ เกี่ยวกับองค์ประชุม ที่กำหนดในพรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการเลือกตั้ง 2540 มาตรา 8 ระบุเรื่องการประชุมให้มีไม่น้อยกว่า 4 ใน 5 ของเท่าที่มีอยู่ แต่ในวันที่ประกาศ พรฎ นั้น กรรมการ กกต. มีจำนวนเพียง 3 คน จากที่มีอยู่ 4 คน (กกต. จะต้องมี 5 คนตามรัฐธรรมนูญ แต่ มีกรรมการ 1 คนเสียชีวิตเมื่อ พย.2548 ยังไม่มีการสรรหาเพิ่ม, และขณะนั้น 1 คนเดินทางไปต่างประเทศ)
- กำหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่ใน 40 เขตในวันที่ 23 เมษายน 2549 โดยเปิดรับผู้สมัครใหม่เมื่อวันที่ 8-9 เมษายน แต่ให้ผู้ที่เคยสมัครในการเลือกตั้งรอบแรก ใช้หมายเลขเดิม
- เปิดโอกาสให้ผู้สมัครเวียนเทียนสมัคร โดยผู้สมัครที่ขาดคุณสมบัติในเขตการเลือกตั้งหนึ่ง และแพ้การเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน และทาง กกต.ยังไม่ได้รับรองการเลือกตั้ง สามารถย้ายไปลงสมัครที่เขตอื่น จังหวัดอื่นได้ ทั้งนี้ผู้อำนวยการเขตเลือกตั้งได้ตัดสิทธิ์ของผู้สมัครเหล่านี้ แต่กลับมีหนังสือเวียนโดยนายวาสนา เพิ่มลาภ ประธาน กกต. แจ้งให้รับสมัครได้
- เปิดโอกาสให้ผู้สมัครที่ขาดคุณสมบัติในการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน เนื่องจากไม่ได้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งครั้งก่อนหน้า ลงสมัครรับเลือกตั้งในวันที่ 23 เมษายน ได้ โดยอ้างว่าได้รับสิทธิ์คืนมา เนื่องจากไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน แล้ว
- เปิดโอกาสให้ผู้สมัครที่ขาดคุณสมบัติในการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน เนื่องจากเป็นสมาชิกพรรคการเมืองไม่ครบ 90 วัน นับถึงวันรับสมัครรอบแรก ลงสมัครรับเลือกตั้งในวันที่ 23 เมษายนได้ เนื่องจากเป็นสมาชิกพรรคการเมืองครบ 90 วัน ในวันรับสมัครรอบที่สอง วันที่ 8-9 เมษายน แล้ว
การเลือกตั้งวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2549
แก้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2549 จำนวน 40 เขตเลือกตั้ง ใน 17 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดชุมพร จังหวัดตรัง จังหวัดปัตตานี จังหวัดพังงา จังหวัดสตูล จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดภูเก็ต จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา จังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา จังหวัดกระบี่
เหตุการณ์ในช่วงการเลือกตั้ง
แก้- ผู้อำนวยการ กกต.เขต จังหวัดสงขลา ประกาศลาออกจากตำแหน่งทั้ง 7 เขต เนื่องจากไม่พอใจการทำงานของ กกต. กลาง
- กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 7 หน่วยเลือกตั้ง ประท้วงการเลือกตั้ง โดยบางหน่วยไม่ไปรับบัตรเลือกตั้งที่ กกต.จังหวัด และบางหน่วยไปรับบัตรเลือกตั้ง แต่ไม่เปิดทำการ
- มีผู้ฉีกบัตรเลือกตั้ง เพื่อประท้วงการเลือกตั้ง ในจังหวัดสงขลา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดยะลา จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดชุมพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- มีผู้ประท้วงการเลือกตั้ง โดยลงชื่อและรับบัตรเลือกตั้ง แล้วส่งบัตรเลือกตั้งคืนให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง โดยไม่มีการกาเครื่องหมายใดๆ ที่จังหวัดพัทลุง
ผลการเลือกตั้ง
แก้พรรค | แบ่งเขต | บัญชีรายชื่อ | ที่นั่งรวม | +/- | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
คะแนนเสียง | % | ที่นั่ง | คะแนนเสียง | % | ที่นั่ง | |||||
ไทยรักไทย | 361 | 16,420,755 | 56.45% | 100 | 461 | |||||
คนขอปลดหนี้ | 4 | 0 | 4 | |||||||
พลังประชาชน | 3 | 305,015 | 0 | 3 | ||||||
ประชากรไทย | 2 | 292,895 | 0 | 2 | ||||||
พลังธรรม | 1 | 0 | 1 | |||||||
เกษตรกรไทย | 0 | 675,662 | 0 | 0 | ||||||
ธัมมาธิปไตย | 0 | 255,853 | 0 | 0 | ||||||
ไทยช่วยไทย | 0 | 146,680 | 0 | 0 | ||||||
พัฒนาชาติไทย | 0 | 134,534 | 0 | 0 | ||||||
แผ่นดินไทย | 0 | 125,008 | 0 | 0 | ||||||
คะแนนสมบูรณ์ | 15,608,509 | 100% | 371 | 18,356,402 | 100% | 100 | 471 | |||
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | 9,610,874 คน | 33.14% | 9,051,706 | 31.12% | ||||||
คะแนนเสีย | 3,778,981 | 13.03% | 1,680,101 | 5.78% | ||||||
จำนวนผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง | 28,998,364 | 64.76% | 29,088,209 | 64.77% | ||||||
จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง | 44,778,628 | 44,909,562 | ||||||||
ที่มา: |
ผู้สมัครที่ได้รับเลือกตั้ง มีดังต่อไปนี้ [7][8][9][10][11][12][13]
พรรคไทยรักไทย (99)
แก้กรุงเทพ
แก้ภาคกลาง
แก้
ภาคเหนือ
แก้ภาคอีสาน
แก้ภาคใต้
แก้จังหวัด | เขต | รายนาม | พรรค | สมาชิกภาพ | หมายเหตุ |
กระบี่ | 1 | ||||
ณัฐพร ฉายประเสริฐ | พรรคพลังประชาชน | เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549 | |||
2 | |||||
โสภณ เสือพันธ์ | พรรคพลังธรรม | เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549 | |||
3 | |||||
ทศพร รัญวาศรี | พรรคพลังประชาชน | เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549 | |||
ชุมพร | 1 | ผู้สมัครได้รับคะแนนไม่ถึงร้อยละ 20[15] | |||
2 | สมชาย คุณวุฒิ | พรรคไทยรักไทย | |||
3 | ผู้สมัครได้รับคะแนนไม่ถึงร้อยละ 20 | ||||
ตรัง | 1 | ผู้สมัครได้รับคะแนนไม่ถึงร้อยละ 20 | |||
2 | |||||
มะลิวัลย์ รักเมือง | พรรคพลังประชาชน | เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549 | |||
3 | ทัศนีย์ สุนทรนนท์ | พรรคไทยรักไทย | |||
4 | |||||
วิรัช ยิมเทียง | พรรคประชากรไทย | เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549 | |||
นครศรีธรรมราช | 1 | ||||
กณพ เกตุชาติ | พรรคไทยรักไทย | เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549 | |||
2 | |||||
3 | |||||
ณัฏฐ์ประชา เกื้อสกุล | พรรคไทยรักไทย | เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549 | |||
4 | ปิติ เทพภักดี | พรรคไทยรักไทย | |||
5 | วิรวรรณ จงจิตร ศิริจิรกาล | พรรคไทยรักไทย | |||
6 | |||||
อารี ไกรนรา | พรรคไทยรักไทย | เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549 | |||
7 | อุดมเกียรติ อภินันทิกุล ปานมี | พรรคไทยรักไทย | |||
8 | ผู้สมัครได้รับคะแนนไม่ถึงร้อยละ 20 | ||||
9 | มาโนช เสนาชู | พรรคคนขอปลดหนี้ | |||
10 | เร็วจริง รัตนวิชา | พรรคไทยรักไทย | |||
นราธิวาส | 1 | ||||
อับดุลคอเต เจ๊ะอูเซ็ง | พรรคคนขอปลดหนี้ | เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549 | |||
2 | |||||
สุทธิพันธ์ ศรีกานนท์ | พรรคไทยรักไทย | เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549 | |||
3 | นัจมุดดีน อูมา | พรรคไทยรักไทย | |||
4 | |||||
เดาฟิก สะมะแอ | พรรคไทยรักไทย | เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549 | |||
5 | สมรรถ วาหลง | พรรคไทยรักไทย | |||
ปัตตานี | 1 | ผู้สมัครได้รับคะแนนไม่ถึงร้อยละ 20 | |||
2 | ผู้สมัครได้รับคะแนนไม่ถึงร้อยละ 20 | ||||
3 | สมมารถ เจ๊ะนา | พรรคไทยรักไทย | |||
4 | มุข สุไลมาน | พรรคไทยรักไทย | |||
พังงา | 1 | ผู้สมัครได้รับคะแนนไม่ถึงร้อยละ 20 | |||
2 | กฤษ ศรีฟ้า | พรรคไทยรักไทย | |||
พัทลุง | 1 | วาทิต ไพศาลศิลป์ | พรรคไทยรักไทย | ||
2 | ผู้สมัครได้รับคะแนนไม่ถึงร้อยละ 20 | ||||
3 | |||||
เปลื้อง บัวสรี | พรรคคนขอปลดหนี้ | เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549 | |||
ภูเก็ต | 1 | ||||
ศรีญาดา ปาลิมาพันธ์ | พรรคไทยรักไทย | เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549 | |||
2 | ผู้สมัครได้รับคะแนนไม่ถึงร้อยละ 20 | ||||
ยะลา | 1 | ||||
นิยะปาร์ ระเด่นอาหมัด | พรรคไทยรักไทย | เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549 | |||
2 | ซูการ์โน มะทา | พรรคไทยรักไทย | |||
3 | |||||
บูราฮานูดิน อุเซ็ง | พรรคไทยรักไทย | เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549 | |||
ระนอง | 1 | ไพโรจน์ ชาญพาณิชย์ | พรรคไทยรักไทย | ||
สงขลา | 1 | ||||
วันชัย ปริญญาศิริ | พรรคไทยรักไทย | เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549 | |||
2 | ผู้สมัครได้รับคะแนนไม่ถึงร้อยละ 20 | ||||
3 | |||||
ทวีศักดิ์ ทวีรัตน์ | พรรคไทยรักไทย | เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549 | |||
4 | |||||
กิตติพัฒน์ แก้วมณี | พรรคไทยรักไทย | เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549 | |||
5 | สมนิตย์ ประทุมวรรณ | พรรคไทยรักไทย | |||
6 | |||||
ทวีเกียรติ รองสวัสดิ์ | พรรคไทยรักไทย | เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549 | |||
7 | |||||
อรัญ พรหมรัตน์ | พรรคไทยรักไทย | เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549 | |||
8 | |||||
สุรศักดิ์ มณี | พรรคไทยรักไทย | เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549 | |||
สตูล | 1 | ||||
จิรายุส เนาวเกตุ | พรรคไทยรักไทย | เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549 | |||
2 | ชัยรัตน์ ลําโป | พรรคไทยรักไทย | |||
สุราษฎร์ธานี | 1 | ภานุ ศรีบุศยกาญจน์ | พรรคไทยรักไทย | ||
2 | สมพล วิชัยดิษฐ | พรรคไทยรักไทย | |||
3 | ผู้สมัครได้รับคะแนนไม่ถึงร้อยละ 20 | ||||
4 | ผู้สมัครได้รับคะแนนไม่ถึงร้อยละ 20 | ||||
5 | โกมล นกวิเชียร | พรรคไทยรักไทย | |||
6 | ผู้สมัครได้รับคะแนนไม่ถึงร้อยละ 20 |
ภาคตะวันออก
แก้ภาคตะวันตก
แก้จังหวัด | เขต | รายนาม | พรรค | สมาชิกภาพ | หมายเหตุ |
กาญจนบุรี | 1 | พลเอกสมชาย วิษณุวงศ์ | พรรคไทยรักไทย | ||
2 | สันทัด จีนาภักดิ์ | พรรคไทยรักไทย | |||
3 | เรวัต สิรินุกุล | พรรคไทยรักไทย | |||
4 | ไพบูลย์ พิมพ์พิสิฐถาวร | พรรคไทยรักไทย | |||
5 | พลโทมะ โพธิ์งาม | พรรคไทยรักไทย | |||
ตาก | 1 | ธนัสถ์ ทวีเกื้อกูลกิจ | พรรคไทยรักไทย | ||
2 | ชํานาญ สันติพนารักษ์ | พรรคไทยรักไทย | |||
3 | สุกัลยา โชคบํารุง | พรรคไทยรักไทย | |||
ประจวบคีรีขันธ์ | 1 | พีระ สุกิจปาณีนิจ | พรรคไทยรักไทย | ||
2 | พรเทพ วิสุทธิ์วัฒนศักดิ์ | พรรคไทยรักไทย | |||
3 | |||||
ทศเนตร เทียมเทศ | พรรคประชากรไทย | เลือกตั้งซ่อม 23 เมษายน พ.ศ. 2549 | |||
เพชรบุรี | 1 | พรจนัฐ ศรีรัตนานนท์ | พรรคคนขอปลดหนี้ | ||
2 | ธานี ยี่สาร | พรรคไทยรักไทย | |||
3 | ปิยะ อังกินันทน์ | พรรคไทยรักไทย | |||
ราชบุรี | 1 | กอบกุล นพอมรบดี | พรรคไทยรักไทย | เสียชีวิต/ไม่มีเลือกตั้งใหม่ | |
2 | วิวัฒน์ นิติกาญจนา | พรรคไทยรักไทย | |||
3 | ปารีณา ไกรคุปต์ | พรรคไทยรักไทย | |||
4 | วัฒนา มังคลรังษี | พรรคไทยรักไทย | |||
5 | บุญลือ ประเสริฐโสภา | พรรคไทยรักไทย |
รายชื่อตัวอย่างผู้ฉีกบัตรเลือกตั้ง
แก้- รศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร
- นายรัฐเอกราช ราษฎร์ภักดีรัช
- นายทศพร กาญจนะภมรพัฒน์ (ศาลจังหวัดตรัง ตัดสินยกฟ้องเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2549 คำวินิจฉัยระบุว่าเป็นการกระทำเพื่อแสดงออกถึงสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งบุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีซึ่งการกระทำใด ๆ)
- นพ.เกรียงศักดิ์ หลิวจันทร์พัฒนา (อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่)
- นายนิกร ยอดหนูขุน
- นางปราณี วีรวงศ์ (แม่ค้าตลาด อ.เมือง จ.สงขลา)
- น.ส.จินตนา จินเดหวา (แม่ค้าตลาด อ.เมือง จ.สงขลา)
- นางสุมล ตุลา (แม่ค้าตลาด อ.เมือง จ.สงขลา)
- นางสอาด จินเดหวา (แม่ค้าตลาด อ.เมือง จ.สงขลา)
- น.ส.วลัย ยนประเสริฐ (แม่ค้าตลาด อ.เมือง จ.สงขลา)
- นายศฦงคาร ชูวงศ์วุฒิ (ประธานชมรมโรงกลึงยะลา และรองประธานมูลนิธิสง)
- นายนิคม ชูวัฒนะ (อดีตผู้ใหญ่บ้าน ม.ภ ต.วังตะกอ อ.หลังสวน จ.ชุมพร)
- นายยงค์ ยังพลขันธุ์ (เจ้าของสวนปาล์มขนาดใหญ่ จ.ชุมพร)
- นายกฤช เทพบำรุง (นักธุรกิจ จ.ภูเก็ต)
- นายบุญชัย จรัสรัศมี
- นายสมมาตร หมั่นคิด
- นายวิกรม อิศรางกูร
- นายสนชัย ฤทธิชัย
- นายพรเทพ จันทร์ทองแก้ว
- นายแสวง กลิ่นคง
- น.ส.บุญนำ จันทรุพันธ์ (ข้าราชการบำนาญ)
พระราชดำรัสพระราชทานแก่ตุลาการศาลปกครองสูงสุดและผู้พิพากษาศาลฎีกา
แก้25 เมษายน พ.ศ. 2549 ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่ตุลาการศาลปกครองสูงสุดและผู้พิพากษาศาลฎีกา ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณตนก่อนเข้ารับหน้าที่ เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2549 โดยทรงแสดงความห่วงใยปัญหาเกี่ยวกับการเลือกตั้งที่มีผู้สมัครพรรคเดียว ได้คะแนนไม่ถึงร้อยละ 20 ทำให้ต้องมีการเลือกตั้งซ่อมซึ่งการเลือกตั้งซ่อมครั้งแรกผ่านพ้นไปก็ปรากฏว่ายังไม่ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครบ 500 คน ทำให้ไม่สามารถดำเนินการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย
ทรงชี้แนะให้พิจารณาว่าการที่ต้องมีการเลือกตั้งภายใน 30 วัน หลังยุบสภานั้นถูกต้องหรือไม่ หรือจะให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโมฆะหรือไม่ รวมทั้งทรงแสดงความเห็นว่าการเลือกตั้งโดยมีผู้สมัครพรรคเดียวนั้นไม่เป็นประชาธิปไตย นอกจากนี้มีพระราชดำรัสว่ามาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ พูดถึงการปกครองแบบมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มิได้ให้พระมหากษัตริย์มีอำนาจทำอะไรได้ทุกอย่าง และทรงแนะแนวทางให้ฝ่ายตุลาการ คือ ศาลฎีกา ศาลปกครองสูงสุด และศาลรัฐธรรมนูญ ร่วมกันหารือเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
การเพิกถอนการเลือกตั้ง และการจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่
แก้การเลือกตั้งในครั้งนี้ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ขอให้ ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาวินิจฉัย ตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 198 เก็บถาวร 2006-04-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กรณีการดำเนินการของ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่เกี่ยวกับ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่ วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 จนถึงปัจจุบัน มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพื่อขอให้ เพิกถอนการเลือกตั้ง เพื่อจะได้จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดย ศาลรัฐธรรมนูญ กำหนดการพิจารณาวินิจฉัย ในวันจันทร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2549
ผลการพิจารณา กรณีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เสียงข้างมาก จำนวน 8 ท่าน วินิจฉัยว่า การดำเนินการของ กกต. ดังกล่าว มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ส่วนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เสียงข้างน้อย จำนวน 6 ท่าน วินิจฉัยว่า การดำเนินการของ กกต. ดังกล่าว ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
ในส่วนของการพิจารณา เพิกถอนการเลือกตั้ง และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่นั้น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 9 ท่าน วินิจฉัยว่า ให้มีการเพิกถอนการเลือกตั้ง และต้องจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการเลือกตั้งทั่วไปใหม่[16]
กกต.ดำเนินการเลือกตั้งที่ไม่ชอบ และคำพิพากษาจำคุก กกต.
แก้จากกรณีที่นายถาวร เสนเนียม รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง กกต.ในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ความผิดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง ความผิดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ได้นำมาซึ่งคำพิพากษาให้ กกต.ต้องโทษจำคุก และออกจากตำแหน่งไปเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม [17] จนมีการสรรหา กกต.ใหม่ และกำหนดการเลือกตั้งใหม่ ตามพระราชกฤษฎีกาฯ ในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2549[18]
การรัฐประหาร พ.ศ. 2549
แก้แต่ก่อนจะถึงการเลือกตั้งใหม่ ก็เกิดการก่อรัฐประหาร ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ยึดอำนาจการปกครองประเทศจากรัฐบาลภายใต้การรักษาการนายกรัฐมนตรี ของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร และภายหลังการรัฐประหารนั้น คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้มีคำสั่งแถลงการณ์ฉบับที่ 3[19] จึงทำให้การเลือกตั้งในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ถูกยกเลิก
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2549 (ให้ยุบสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 และให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป ในวันที่ 2 เมษายน 2549)
- ↑ "บรรหาร"ทำหนังสือถึง"ทักษิณ" ทรท.ส่อปัดลงสัตยาบันแก้รธน.
- ↑ ""ทักษิณ"ปัดตอบลงสัตยาบันขอเป็นผู้พิทักษ์ทรท.ถกเช้านี้". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-04-01. สืบค้นเมื่อ 2007-08-08.
- ↑ 'ทักษิณ'จนมุมอ้อนพรรคเล็กลงสัตยาบัน[ลิงก์เสีย]
- ↑ พรรคร่วมฝ่ายค้านปัดประชาคม"แม้ว"-มติคว่ำบาตรเลือกตั้ง
- ↑ "'หมอเปรม'บวชผ่าทางตัน!ทรท.ระส่ำกลัวสภาไม่500". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2021-09-06.
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง (ครั้งที่หนึ่ง)
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง (ครั้งที่สอง)
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง (ครั้งที่สาม)[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง (ครั้งที่สี่)
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง (ครั้งที่ห้า)
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง (ครั้งที่หก)
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง (ครั้งที่เจ็ด)
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
- ↑ ไทยรัฐ, สรุปรวม พรรคไม้ประดับ แย่งที่นั่ง ทรท.ได้ถึง 9 เขต เก็บถาวร 2007-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "การพิจารณา เพิกถอนการเลือกตั้ง และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-05-10. สืบค้นเมื่อ 2006-05-08.
- ↑ "ข่าวคำพิพากษาจาก นสพ.มติชน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-26. สืบค้นเมื่อ 2021-08-13.
- ↑ พระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมกำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2549 (วันที่ 15 ตุลาคม 2549)
- ↑ ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 3 (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 วุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี และศาลรัฐธรรมนูญ สิ้นสุดลง องคมนตรี ศาลทั้งหลายดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่ต่อไป)