ลลิตา ฤกษ์สำราญ
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
รองศาสตราจารย์ ดร. ลลิตา ฤกษ์สำราญ อดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อชาติ[1] อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2[2] สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานครหลายสมัย
รศ.ดร.ลลิตา ฤกษ์สำราญ | |
---|---|
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 | |
ดำรงตำแหน่ง 7 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 | |
ก่อนหน้า | บุญชง วีสมหมาย |
ถัดไป | อภิวันท์ วิริยะชัย |
รองหัวหน้าพรรคเพื่อชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 – 3 เมษายน พ.ศ. 2564 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 |
พรรคการเมือง | ประชากรไทย (2529–2543) ไทยรักไทย (2543–2549) เพื่อชาติ (2561–2564) สร้างอนาคตไทย (2564–2566) พลังประชารัฐ (2566–ปัจจุบัน) |
ประวัติ
แก้ลลิตา ฤกษ์สำราญ เกิดเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 เป็นบุตรีของนายเซี้ยง และนางสั้ง ฤกษ์สำราญ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี (เกียรตินิยม) จาก วิทยาลัยวิชาการศึกษาพิษณุโลก (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยนเรศวร) ปริญญาโท สาขางานวิจัย จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาเอก จิตวิทยาการศึกษา จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การทำงาน
แก้ลลิตา ฤกษ์สำราญ เป็น อดีตอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ตำแหน่งสุดท้ายเป็น รองศาสตราจารย์ ระดับ 9 ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ลาออกจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.กรุงเทพมหานคร เขตดุสิต ในสังกัดพรรคประชากรไทย และอยู่ในวงการเมืองมาโดยตลอด ล่าสุดเป็นหนึ่งใน 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ที่ ตุลาการรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยตัดสิทธิทางการเมืองจาก คดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[3]
ในปี 2562 เธอลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อชาติ[4] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาในปี 2565 เธอได้ย้ายไปร่วมงานกับพรรคสร้างอนาคตไทย[5]
ประวัติทางการเมือง
แก้- สมาชิกผู้แทนราษฏร 8 สมัย (ปี พ.ศ. 2529, 2531, 2535, เลือกตั้งซ่อม 2536, 2538, 2539, 2544 และ 2548)
- รองประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร
- รองประธานคณะกรรมาธิการกิจการเยาวชน สตรี และผู้สูงอายุ
- ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร
- เลขานุการรัฐมนตรีทบวงมหาวิทยาลัย
- กรรมการในคณะกรรมการวิสามัญศึกษาปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้[6]
- กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาพระราชบัญญัติงบประมาณแผ่นดิน
- ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- กรรมาธิการวิสามัญพิจารณา พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร
การดำรงตำแหน่งอื่น ๆ
แก้- เลขาธิการหน่วยสหภาพรัฐสภาประจำชาติไทย (IPU)
รางวัลเกียรติยศ
แก้- ศิษย์เก่าดีเด่น โรงเรียนสตรีศักดรุณี จ.ฉะเชิงเทรา
- ศิษย์เก่าดีเด่น คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ศิษย์เก่าดีเด่น สถาบันราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
- ศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยนเรศวร
- ได้รับยกย่องประกาศเกียรติคุณให้เป็น สตรีตัวอย่างแห่งปี ประจำปี 2542 และ 2543
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2536 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคเพื่อชาติ
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2011-06-01.
- ↑ "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
- ↑ 150ผู้สมัครส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อชาติ เด็กจตุพร-ยงยุทธเพียบ
- ↑ ‘สร้างอนาคตไทย’ เปิดตัวคนดังการเมือง 26 ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.กทม. พร้อมทำงาน
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2533/D/091/4215.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖