สุชาติ ตันติวณิชชานนท์

สุชาติ ตันติวณิชชานนท์ (เกิด 10 มกราคม พ.ศ. 2498) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี 3 สมัย

สุชาติ ตันติวณิชชานนท์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด10 มกราคม พ.ศ. 2498 (69 ปี)
อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี
พรรคการเมืองไทยรักไทย (2543–2549)
เพื่อแผ่นดิน (2550–2554)
ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน (2554–2561)
พลังประชารัฐ (2561–2565)
ไทยสร้างไทย (2565–ปัจจุบัน)
คู่สมรสรำพูล ตันติวณิชชานนท์

ประวัติ

แก้

สุชาติ ตันติวณิชชานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2498 เป็นชาวอำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี สำเร็จการศึกษา เศรษฐศาสตรบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

สุชาติ ตันติวณิชชานนท์ สมรสกับนางรำพูล ตันติวณิชชานนท์ ส.ส. อุบลราชธานี[1]

การทำงาน

แก้

สุชาติ เข้าสู่งานการเมืองโดยการได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี ครั้งแรกจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคไทยรักไทย ต่อมาได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 ต่อมาพรรคไทยรักไทยถูกยุบ นายสุชาติจึงย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน และลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้ง ได้รับเลือกตั้งเป็น สส.สมัยที่ 3 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 และได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการการอุตสาหกรรม[2]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน แต่แพ้ให้กับปัญญา จินตะเวช จากพรรคเพื่อไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2561 เขาย้ายเข้าร่วมงานกับพรรคพลังประชารัฐ[3] แต่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง แต่สนับสนุนให้ภรรยาลงสมัครในเขตเลือกตั้งที่ 9 ในนามพรรคพลังประชารัฐ[4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ‘สุริยะ’ โว พปชร.กวาด 8 ที่นั่งอุบลฯ เหมา ‘อำนาจเจริญ’ ทั้งจังหวัด ขอ ปชช.ลบภาพเผาศาลากลาง
  2. https://eoffice.chonburi.spu.ac.th/library58/book_file/A1651253.pdf
  3. พลังดูด ‘พลังประชารัฐ’ อดีต ส.ส. – คนดังแห่ร่วมนับร้อย
  4. "นางรำพูล ตันติวณิชชานนท์ ผู้สมัคร สส.เบอร์ 2 เขต 9 จากพรรคพลังประชารัฐ ควง นายสุชาติ ตันติวณิชชานนท์ (อดีด ส.ส.3 สมัย)ลงพื้นที่ขอคะแนนเสียงโค้งสุดท้าย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-16. สืบค้นเมื่อ 2021-03-09.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๐, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑