ถาวร​ เสนเนียม (เกิด 29 มีนาคม พ.ศ. 2490) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยในรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตรองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ปัจจุบันสังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ

ถาวร เสนเนียม
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
(1 ปี 229 วัน)
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ อธิรัฐ รัตนเศรษฐ
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าไพรินทร์ ชูโชติถาวร
ถัดไปวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554
(2 ปี 231 วัน)
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ บุญจง วงศ์ไตรรัตน์
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ก่อนหน้าปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข
ประสงค์ โฆษิตานนท์
ถัดไปชูชาติ หาญสวัสดิ์
ฐานิสร์ เทียนทอง
ประธานพรรคไทยภักดี
ดำรงตำแหน่ง
29 กันยายน พ.ศ. 2565 – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2566
(0 ปี 310 วัน)
ถัดไปวรงค์ เดชกิจวิกรม
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด29 มีนาคม พ.ศ. 2490 (77 ปี)
อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2511–2564)
ไทยภักดี (2565–2566)
รวมไทยสร้างชาติ (2566–ปัจจุบัน)
คู่สมรสพล.ต.หญิง จันทิมา เสนเนียม
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์[1]
ลายมือชื่อ

การศึกษา

แก้

บทบาททางการเมือง

แก้

ถาวร เสนเนียม เป็น ส.ส. และสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ที่มีบทบาทมากผู้หนึ่ง เป็น ส.ส.ในพื้นที่จังหวัดสงขลาอย่างต่อเนื่องรวมแล้ว 7 สมัย ซึ่งก่อนเข้าสู่แวดวงการเมือง นายถาวรเคยเป็นทนายความและอัยการประจำจังหวัดกระบี่และพัทลุงมาก่อนด้วย

ในการเลือกตั้งหาเสียงเมื่อปี พ.ศ. 2548 นายถาวรได้สร้างความฮือฮาด้วยการเปิดประเด็นว่ามีเทปบันทึกเสียงของเนวิน ชิดชอบ ซึ่งขณะนั้นเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทุจริตการเลือกตั้งด้วยการพยายามพูดจาหว่านล้อมให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง สงขลา และสตูลช่วยเหลือพรรคไทยรักไทยขณะไปปฏิบัติหน้าที่ที่จังหวัดสงขลา โดยนายถาวรกล่าวว่าเป็นผู้บุกเข้าไปในห้องประชุมบันทึกเทปด้วยตนเอง[2] และได้ยื่นเทปชิ้นนี้ฟ้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) (ชุดเดียวกับชุด สามหนา ห้าห่วง อันประกอบด้วย วาสนา เพิ่มลาภ, ปริญญา นาคฉัตรีย์, วีระชัย แนวบุญเนียร) แต่ทว่า กกต.มีความเห็นว่าเสียงไม่ชัดเจนไม่อาจใช้เป็นหลักฐานได้

และเป็นผู้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองในกรณีที่ กกต. ชุดที่ 2 ที่ วาสนา เพิ่มลาภ เป็นประธาน ว่าจัดการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในช่วงวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2549 เป็นผลให้ศาลพิพากษาให้จำคุก กกต.ทั้งสามคน[3]

นอกจานี้ ถาวร ยังเป็นหนึ่งในคณะผู้ว่าคดีพรรคในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์อีกด้วย

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 พรรคประชาธิปัตย์ประกาศจัดตั้ง คณะรัฐมนตรีเงา หรือ ครม.เงา ขึ้น ถาวร เสนเนียม ได้รับเลือกจากที่ประชุมพรรค ให้ทำหน้าที่ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยเงา[4]

ปลายปี พ.ศ. 2551 พรรคประชาธิปัตย์สามารถเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ถาวร เสนเนียม ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย [5]

และเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2554 ถาวร ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ดูแลพื้นที่ภาคใต้)[6] ต่อมาเขาได้ลาออกจากตำแหน่งรองเลขาธิการพรรค เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556[7] เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับกลุ่ม กปปส.

ภายหลังจากพรรคประชาธิปัตย์ได้กลับมาเป็นฝ่ายค้านอีกครั้ง หลังจากแพ้การเลือกตั้ง พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดตั้ง คณะรัฐมนตรีเงา คณะที่ 2 ขึ้น โดยนถาวรได้รับเลือกจากที่ประชุมพรรคให้ทำหน้าที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเงา[8]

หลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เขาต้องพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากศาลอาญามีคำพิพากษาจำคุก ในคดีเกี่ยวเนื่องจากการชุมนุมของกลุ่ม กปปส.

วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2565 เขาดำรงตำแหน่งประธานพรรคไทยภักดี

ในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เขาลาออกจากสมาชิกพรรคไทยภักดีและเข้ามาสมัครเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ[9]

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557

แก้

ในวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 นายถาวรเป็นหนึ่งใน 9 ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ที่ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคและกรรมการบริหารพรรค และเข้าเป็นหนึ่งในแกนนำ กปปส. (คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข) โดยมีบทบาทเป็นผู้ดูแลเรื่องการรักษาความปลอดภัยของการชุมนุม [10] และติดต่อประสานกับกลุ่มแนวร่วมอื่น ๆ อันได้แก่ กองทัพประชาชน โค่นระบอบทักษิณ (กปท.), เครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) และสันติอโศก [11] อีกทั้งเป็นแกนนำที่เวทีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ในการชุมนุมตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2557 จนถึงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน เนื่องจากเป็นพื้นที่ ๆ เป็นจุดอันตราย ถูกโจมตีจากอาวุธชนิดต่าง ๆ บ่อยครั้ง[12][13]

ในวันที่ 14 พฤษภาคม ปีเดียวกัน จากการชุมนุมในครั้งนี้ ศาลอาญาอนุมัติหมายจับแกนนำ กปปส. รวม 43 คน ผู้ต้องหาคดีกบฏ และความผิดอื่น รวม 8 ข้อหา เพื่อติดตามตัวมาดำเนินกระบวนการตามกฎหมาย โดยนายถาวรเป็นผู้ต้องหาหมายเลขที่ 7[14][15] ต่อมาในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ศาลอาญามีคำพิพากษาให้จำคุก 5 ปี พร้อมทั้งให้ตัดสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 5 ปี[16]

วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพการเป็น ส.ส. ของนายถาวร ผู้ถูกร้องที่ 4 สิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2564[17]

ชีวิตส่วนตัว

แก้

นายถาวรเป็นบุตรชายของนายพวงแก้ว และนางเริ่ม เสนเนียม โดยบิดามีอาชีพเป็นชาวนา[18] และมีน้องชายเป็น ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ จังหวัดสงขลา เขต 4 ด้วยกัน คือ นายวินัย เสนเนียม (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ชีวิตครอบครัว นายถาวร สมรสกับ พล.ต.หญิง จันทิมา เสนเนียม ทั้งคู่มีบุตรด้วยกันทั้งหมด 3 คน เป็นหญิง 2 ชาย 1 ในปี พ.ศ. 2558 นายถาวรได้รับรางวัลพ่อตัวอย่างแห่งชาติ จากงานวันพ่อแห่งชาติ ครั้งที่ 36 ประจำปี 2558[19]

และหลังจากการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2557 ทางคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีคำสั่งห้ามพรรคการเมืองรวมถึงนักการเมืองทำกิจกรรมทางการเมือง นายถาวรได้ใช้เวลาช่วงนี้เป็นโปรโมเตอร์จัดการแข่งขันชกมวยไทย โดยทำการแข่งขันเป็นประจำที่เวทีมีนบุรีสปอร์ต เขตมีนบุรี มีการถ่ายทอดทางสถานีโทรทัศน์ทีนิวส์ ทุกคืนวันเสาร์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2558[20] และในวันที่ 23-24 มกราคม พ.ศ. 2559 ยังได้จัดคู่มวยไทยอีกกว่า 20 คู่ ชกในงานกิจกรรมสมุยเฟสติวัล ที่เกาะสมุย ซึ่งนับเป็นรายการใหญ่อีกด้วย[21]

รางวัลและเกียรติยศ

แก้
ถาวร เสนเนียม
รับใช้  ไทย
แผนก/สังกัดกองอาสารักษาดินแดน
ประจำการพ.ศ. 2551 - 2554
ชั้นยศ  นายกองเอก

ถาวร เสนเนียม ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองเอกถาวร เสนเนียม เมื่อ พ.ศ. 2552[22]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ศิษย์เก่าธรรมศาสตร์
  2. "ร้องยี้ห้อยซื้อเสียง ปชป.ยันหลักฐานสัญญาตำบลละแสน-'เนวิน'ขู่ฟ้อง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2021-08-16.
  3. "'ถาวร'ขึ้นศาลสืบพยานโจทก์นัดคดีฟ้อง'กกต.'". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2007-08-03.
  4. "เว็บไซต์ ครม.เงา พรรคประชาธิปัตย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-25. สืบค้นเมื่อ 2021-08-16.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี, เล่ม ๑๒๕ ตอนพิเศษ ๑๙๑ ง หน้า ๓, ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๑
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑๕๑ ง หน้า ๕๓, ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๔
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๑ ง หน้า ๑๗๗, ๒ มกราคม ๒๕๕๗
  8. "คณะรัฐมนตรีเงา จากเว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-19. สืบค้นเมื่อ 2012-07-16.
  9. ถาวร เสนเนียม เปิดตัวเข้ารทสช. แกนนำรับพรึบ เปิดใจกับ ‘หมอวรงค์’ จากกันด้วยดี
  10. "ม็อบ กปปส. จัดจุดทำข่าว ป้องมวลชนคุกคามสื่อ ด้านถาวร ลั่นจะดูแลความปลอดภัยให้เอง". เอ็มไทยดอตคอม. 24 ธันวาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  11. หน้า 066-067, แง้มวอร์รูม'กปปส.' . นิตยสาร ฅ คน Magazine ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 (97): มกราคม 2557
  12. "นายถาวร เสนเนียม แกนนำกปปส.อนุสาวรีย์ชัยฯ ระบุว่า เหตุปาระเบิดนั้น ผู้ก่อเหตุใช้ระเบิดชนิดสังหาร ซึ่งสังเกตได้จากการพบกระเดื่องระเบิดทั้ง 2 จุด ขณะเดียวกัน มีพยาน 2 คน ที่เห็นเหตุการณ์อย่างชัดเจน". ไทยพีบีเอส. 19 มกราคม 2557. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. "กปปส.ยุบเวทีลาดพร้าว-อนุสาวรีย์ชัยฯ หลังถูกป่วนหนัก-แจงผู้ชุมนุมยิงปืนสั้นเพื่อป้องกันตัว". ผู้จัดการออนไลน์. 2 กุมภาพันธ์ 2557. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  14. "ศาลอาญาอนุมัติหมายจับ 30 แกนนำ กปปส. ที่เหลือยกคำร้อง". Thairath.co.th. 14 พฤษภาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. "ศาลอนุมัติออกหมายจับแกนนำ กปปส. 30 ราย-ยกคำร้อง 13". Posttoday.com. 14 พฤษภาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-15. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  16. "บี-ตั้น-ถาวร" เจอโทษ พ้นรัฐมนตรี 8 กปปส.นอนคุก พร้อมพวกลุงกำนัน
  17. ศาลรัฐธรรมนูญ ชี้ "5 แกนนำ กปปส." พ้นสภาพความเป็นส.ส.
  18. "เปลือยชีวิต ฯพณฯ ถาวร เสนเนียมพ่อพวงแก้ว-แม่เริ่มสอนลูกต้องกล้า". โฟกัสภาคใต้. 31 มกราคม 2552. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-05-22. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  19. "พ่อตัวอย่างแนะเลี้ยงลูกตามยุคสมัย ความภูมิใจของพ่อคือ ลูกเป็นคนดี". ไทยรัฐ. 8 ธันวาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  20. "อย่าพลาด !! ศึกมวยไทยTnews 25 เม.ย.นี้ ณ เวทีมีนบุรีสปอร์ต 1 ทุ่มเป็นต้นไป". ทีนิวส์. 23 เมษายน 2558. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-01. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  21. "ศึกยอดมวยไทยมหากุศลสมุยเฟสติวัลจัดกระหึ่มสุดยิ่งใหญ่". สยามสปอร์ต. 18 มกราคม 2559. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  22. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็นกรณีพิเศษ, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๘ ข หน้า ๑๕, ๒๗ เมษายน ๒๕๕๒
  23. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
  24. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
  25. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๐๕ ฉบับพิเศษ หน้า ๖๑, ๒๓ มิถุนายน ๒๕๒๙

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
ก่อนหน้า ถาวร เสนเนียม ถัดไป
ไพรินทร์ ชูโชติถาวร   รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (ครม. 62)
(10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 - 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564)
  -
ประสงค์ โฆษิตานนท์   รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (ครม. 59)
(20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554)
  บุญจง วงศ์ไตรรัตน์