ปัญญา จีนาคำ
ปัญญา จีนาคำ (เกิด 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2482) เป็นครูและนักการเมืองชาวไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแม่ฮ่องสอน 5 สมัย
ปัญญา จีนาคำ | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแม่ฮ่องสอน | |
ดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 | |
ก่อนหน้า | สมบัติ ยะสินธุ์ |
ถัดไป | ปกรณ์ จีนาคำ |
ดำรงตำแหน่ง 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 | |
ก่อนหน้า | บุญเลิศ สว่างกุล |
ถัดไป | สมบัติ ยะสินธุ์ อดุลย์ วันไชยธนวงศ์ |
ดำรงตำแหน่ง 13 กันยายน พ.ศ. 2535 – 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 | |
ก่อนหน้า | บุญเลิศ สว่างกุล |
ถัดไป | บุญเลิศ สว่างกุล |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2482 อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน |
พรรคการเมือง | พลังประชารัฐ (2561–2565, 2566–ปัจจุบัน) |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | ความหวังใหม่ (2535–2538) ชาติไทย (2538–2539) ประชาธิปัตย์ (2539–2547) ไทยรักไทย (2547–2550) พลังประชาชน (2550–2551) เพื่อไทย (2551–2556) ชาติพัฒนา (2556–2561) เศรษฐกิจไทย (2565–2566) |
บุตร | |
ประวัติ
แก้ปัญญา เกิดเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2482 ที่ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นบุตรของนายพรหม นางเกี๋ยง จีนาคำ ด้านครอบครัวสมรสกับนางศิริลักษณ์ จีนาคำ มีบุตร 2 คน[1]
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อปี พ.ศ. 2512 และทางด้านนิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และปริญญาโท ทางด้านการบริหารการศึกษา จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2516
การทำงาน
แก้ปัญญา จีนาคำ เป็นนักการเมืองในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคความหวังใหม่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ย้ายมาสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 และสมัยที่ 3 ในปี พ.ศ. 2544 นับเป็น 1 ใน 5 สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ที่ได้รับเลือกตั้งในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งเป็นฐานเสียงสำคัญของพรรคไทยรักไทย ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 เขาได้ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 4 ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 เขาลงสมัครในนามพรรคพลังประชาชน คู่กับนายอดุลย์ วันไชยธนวงศ์ แต่สอบตก โดยมีนายอดุลย์ และนายสมบัติ ยะสินธุ์ จากพรรคประชาธิปัตย์ เป็นฝ่ายได้รับเลือกตั้ง
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 นายปัญญา จีนาคำ ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนเช่นเดิม[2] ซึ่งมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ 1 ที่นั่ง (จากเดิม 2 ที่นั่ง) โดยมีผู้สมัครที่เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถึง 4 คน คือ นายสมบัติ ยะสินธุ์ (ประชาธิปัตย์) นายปัญญา จีนาคำ (เพื่อไทย) นายอดุลย์ วันไชยธนวงศ์ (ชาติไทยพัฒนา) และสมบูรณ์ ไพรวัลย์ (ภูมิใจไทย) ซึ่งนายปัญญา ได้คะแนนเป็นลำดับที่ 2 ประมาณ 31,953 คะแนน (ร้อยละ 25.82)
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคชาติพัฒนา[3] แต่การเลือกตั้งเป็นโมฆะ ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 นายปัญญา ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคพลังประชารัฐ และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 5 ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 นายปัญญา ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคพลังประชารัฐแต่ลงในแบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 20 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดแม่ฮ่องสอน สังกัดพรรคความหวังใหม่
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดแม่ฮ่องสอน สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดแม่ฮ่องสอน สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดแม่ฮ่องสอน สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดแม่ฮ่องสอน สังกัดพรรคพลังประชารัฐ → พรรคเศรษฐกิจไทย → พรรคพลังประชารัฐ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2547 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[6]
- พ.ศ. 2538 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
- ↑ ""อ.ปัญญา"ชิงเก้าอี้ ส.ส.เมืองสามหมอกในนามพรรคเพื่อไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-17. สืบค้นเมื่อ 2013-07-08.
- ↑ "รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จังหวัด แม่ฮ่องสอน เขตเลือกตั้งที่ 1". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-23. สืบค้นเมื่อ 2018-03-25.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นเชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน เก็บถาวร 2022-08-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๔๔, ๘ ตุลาคม ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน เก็บถาวร 2022-11-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๑๙๓, ๒๐ ธันวาคม ๒๕๓๘