จังหวัดตรัง

จังหวัดในภาคใต้ในประเทศไทย
(เปลี่ยนทางจาก ตรัง)

ตรัง เป็นจังหวัดในภาคใต้ของประเทศไทย ตรังหรือเมืองทับเที่ยงเป็นจังหวัดท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของภาคใต้

จังหวัดตรัง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Trang
(ตามเข็มนาฬิกาจากซ้ายบน) เกาะเหลาเหลียงพี่ในอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา, อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมยามอาทิตย์อัสดง, รูปปั้นพะยูนในหาดปากเมง, รถตุ๊ก ๆ หัวกบ รถเอกลักษณ์ของจังหวัด, รถไฟวิ่งผ่านที่หยุดรถไฟคลองม่วน
คำขวัญ: 
ชาวตรังใจกว้าง สร้างแต่ความดี
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดตรังเน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดตรังเน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดตรังเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ ทรงกลด สว่างวงศ์[1]
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2566)
พื้นที่[2]
 • ทั้งหมด4,917.519 ตร.กม. (1,898.665 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 43
ประชากร
 (พ.ศ. 2566)[3]
 • ทั้งหมด637,017 คน
 • อันดับอันดับที่ 40
 • ความหนาแน่น129.54 คน/ตร.กม. (335.5 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 34
รหัส ISO 3166TH-92
ชื่อไทยอื่น ๆเมืองทับเที่ยง
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้ศรีตรังชนิด Jacaranda obtusifolia
 • ดอกไม้ศรีตรังชนิด Jacaranda obtusifolia
 • สัตว์น้ำพะยูน
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งถนนพัทลุง ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง 92000
 • โทรศัพท์0 7521 8516
 • โทรสาร0 7521 8516
เว็บไซต์http://www.trang.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ

แก้

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดีที่ปรากฏในจังหวัดตรังมีอยู่ทั่วไป เช่น โครงกระดูกมนุษย์โบราณที่ถ้ำซาไก อำเภอปะเหลียน ขวานหินกะเทาะ ขวานหินขัด เศษภาชนะดินเผา ลูกปัดแก้ว  เครื่องประดับ ตามถ้ำต่าง ๆ เช่น เขาสามบาตร ถ้ำเขาไม้แก้ว ถ้ำเขาเทียมป่า ภาพเขียนสีที่เขาแบนะ ถ้ำตรา ล้วนเป็นหลักฐานบอกความเป็นชุมชนก่อนประวัติศาสตร์จนถึงแรกเริ่มประวัติศาสตร์ ต่อมาจึงมีหลักฐานที่แสดงถึงความสัมพันธ์กับอาณาจักรโบราณทางภาคใต้ในลักษณะที่เป็นเมืองท่าทางผ่าน และมีพัฒนาการมาตามลำดับ

จังหวัดตรังในอดีตเคยเป็นเมืองท่าค้าขายกับต่างประเทศ เป็นศูนย์กลางการคมนาคมไปสู่จังหวัดนครศรีธรรมราช

เจมส์ โลว์ หัวหน้าคณะทูตของผู้ว่าเกาะปีนัง ผู้รับหน้าที่เจรจาปัญหากับเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร) ได้บันทึกไว้ใน จดหมายเหตุเจมส์ โลว์ ว่า

ตรังเป็นตำบลที่กว้างใหญ่และมีประชากรน้อยมาก มีป่าไม้สักที่ยิ่งเหมาะสำหรับการต่อเรือและพื้นดินก็ปลูกข้าวได้ผลมากมาย แม่น้ำตรังเป็นที่รวมของลำน้ำที่ไหลมาจากปากแม่น้ำหลายแห่ง แม่น้ำแคบและมีสันดอนกั้นขวางอยู่ เวลาน้ำขึ้นสูงเรือสำเภาขนาดใหญ่สามารถแล่นผ่านเข้าไปถึงตอนในที่น้ำลึกกว่าได้และแล่นเรือขึ้นไปถึงหมู่บ้านเล็ก ๆ บางแห่งบนฝั่งแม่น้ำนี้

เจมส์ โลว์ กล่าวถึงการค้าของเมืองตรังว่า

เมืองท่าตรังมีสินค้าออกเพียง 23 ชนิด แต่ตรังก็สร้างผลประโยชน์ให้กับประเทศได้เป็นอย่างดี เรือค้าขายที่มาถึงตรังถ้าเป็นเรือค้าขายของยุโรปต้องคอยความพอใจของท่านเจ้าเมืองก่อนจึงจะสามารถเริ่มดำเนินการค้าได้ คนจีนจากปีนังเข้ามาดำเนินการค้าเล็กๆ น้อยๆ ธุรกิจการส่งสินค้าออกมีหลายอย่าง คือ ดีบุก ข้าว งาช้างเล็ก ๆ รังนก ซึ่งดีบุกที่นี่มีราคาแพงกว่าที่ถลาง

[4]

ตรังเป็นจังหวัดแรกที่มีต้นยางพารามาปลูก โดยพระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) นำพันธุ์ยางพารามาจากมาเลเซีย และในตรังยังมีต้นยางพาราต้นแรกอีกด้วย

ทำเนียบเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัด

แก้
ลำดับ พระนาม/นาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1. พระยาดำรงสุจริต (คอซิมกอง ณ ระนอง) พ.ศ. 2427 - 2433
2. พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) พ.ศ. 2433 - 2445
3. พระยารณชัยชาญยุทธ์ (ถนอม บุญยเกตุ) พ.ศ. 2445 - 2448
4. พระสกลสถานพิทักษ์ (คอยู่เกียด ณ ระนอง) พ.ศ. 2448 - 2454
5. พระยาอุตรกิจพิจารณ์ (สุด) พ.ศ. 2455 - 2456
6. พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ (เข็ม วสันตสิงห์) พ.ศ. 2456 - 2457
7. พระยารัษฎานุประดิษฐ์ (สินธุ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา) พ.ศ. 2457 - 2461
8. พระยาตรังคภูมาภิบาล (เจิม ปันยารชุน) พ.ศ. 2461 - 2466
9. พระยาสุรพลพิพิธ (เป้า สุมนดิษฐ์) พ.ศ. 2466 - 2468
10. พระยาอาณาจักรบริบาล (สมบุญ สวรรคทัต) พ.ศ. 2468 - 2476
11. พระสาครบุราณุรักษ์ (ปลิก สุวรรณานนท์) พ.ศ. 2476 - 2476
12. พระนรากรบริรักษ์ (เจิม บินฑรุจิ) พ.ศ. 2476 - 2478
13. พระบริรักษ์ภูธร (เพิ่ม กนิษฐายน) พ.ศ. 2478 - 2481
14. หลวงวุฒิราษฎร์รักษา (วุฒิ ศรสงคราม) พ.ศ. 2481 - 2484
15. หลวงอรรถวิภาคไพศาลย์ (กระจ่าง สินธุรงค์) พ.ศ. 2484 - 2488
16. นายศักดิ์ ไทยวัฒน์ พ.ศ. 2488 - 2489
17. นายอุดม บุญยประสพ พ.ศ. 2489 - 2492
18. นายผาด นาคพิน พ.ศ. 2492 - 2497
19. นายพุก ฤกษ์เกษม พ.ศ. 2497 - 2500
20. พ.ต.อ.บุญณรงค์ วัฒฑนายน พ.ศ. 2500 - 2504
21. นายสมอาจ กุยยกานนท์ 20 เม.ย. 2504 - 5 ต.ค. 2505
22. นายเวียง สาครสินธุ์ 6 ต.ค. 2505 - 13 ม.ค. 2509
23. ร.ต.ท.ระดม มหาศรานนท์ 14 ม.ค. 2509 - 30 เม.ย. 2513
24. นายจรัส สิทธิพงศ์ 1 พ.ค. 2513 - 30 ก.ย. 2515
25. ร.ต.ต.กร บุญยงค์ 1 ต.ค. 2515 - 30 ก.ย. 2518
26. นายฉลอง กัลยาณมิตร 1 ต.ค. 2518 - 30 ก.ย. 2519
27. นายศักดิ์ โกไศยกานนท์ 1 ต.ค. 2519 - 7 ก.พ. 2522
28. นายเติมศักดิ์ สมันตรัฐ 8 ก.พ. 2522 - 14 ก.ย. 2522
29. นายประสิทธิ์ โกมลมาลย์ 17 ก.ย. 2522 - 12 พ.ค. 2525
30. นายพีระพัชร สัตยพันธ์ 13 พ.ค. 2525 - 30 ก.ย. 2529
31. นายบุญช่วย หุตะชาติ 1 ต.ค. 2529 - 30 ก.ย. 2531
32. นายผัน จันทรปาน 1 ต.ค. 2531 - 30 ก.ย. 2532
33. นายภิญโญ เฉลิมนนท์ 1 ต.ค. 2532 - 30 ก.ย. 2536
34. นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ 5 ต.ค. 2536 - 19 ต.ค. 2540
35. นายสวัสดิ์ กฤตรัชตนันต์ 20 ต.ค. 2540 - 30 ก.ย. 2541
36. นายเฉลิมชัย ปรีชานนท์ 1 ต.ค. 2541 - 30 ก.ย. 2544
37. นายสงวน จันทรอักษร 1 ต.ค. 2544 - 30 ก.ย. 2546
38. นายนเรศ จิตสุจริตวงศ์ 1 ต.ค. 2546 - 30 ก.ย. 2548
39. นายเชิดพันธ์ ณ สงขลา 1 ต.ค. 2548 - 12 พ.ย. 2549
40. นายอานนท์ มนัสวานิช 13 พ.ย. 2549 - 30 ก.ย. 2551
41. นายสมพงษ์ อนุยุทธพงศ์ 20 ต.ค. 2551 - 30 ก.ย. 2552
42. นายไมตรี อินทุสุต 1 ต.ค. 2552 - 27 พ.ย. 2554
43. นายเสนีย์ จิตตเกษม 28 พ.ย. 2554 - 26 เม.ย. 2555
44. นายธีระยุทธ เอี่ยมตระกูล 27 เม.ย. 2555 - 30 ก.ย. 2556
45. นายวีระ ศรีวัฒนตระกูล 1 ต.ค. 2556
46. นายสมศักดิ์ ปะริสุทโธ เหมทานนท์ 2 ต.ค. 2556 - 30 ก.ย. 2558
47. นายเดชรัฐ สิมศิริ 1 ต.ค. 2558 - 30 ก.ย. 2559
48. นายศิริพัฒ พัฒกุล 1 ต.ค. 2559 - 30 ก.ย. 2561
49. นายลือชัย เจริญทรัพย์ 1 ต.ค. 2561 - 30 ก.ย. 2563
50. นายขจรศักดิ์ เจริญโสภา 1 ต.ค. 2563 - 4 ต.ค. 2566
51. นายทรงกลด สว่างวงศ์ 17 ธ.ค. 2566 - ปัจจุบัน

อาณาเขตติดต่อ

แก้

การปกครอง

แก้

แบ่งออกเป็น 10 อำเภอ 87 ตำบล 723 หมู่บ้าน

 

  1. อำเภอเมืองตรัง
  2. อำเภอกันตัง
  3. อำเภอย่านตาขาว
  4. อำเภอปะเหลียน
  5. อำเภอสิเกา
  6. อำเภอห้วยยอด
  7. อำเภอวังวิเศษ
  8. อำเภอนาโยง
  9. อำเภอรัษฎา
  10. อำเภอหาดสำราญ

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

มีการแบ่งการปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้

เทศบาลนคร

แก้

เทศบาลเมือง

แก้

ประชากร

แก้

จังหวัดตรังมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ และวัฒนธรรมเป็นอย่างมากซึ่งประกอบด้วย ชาวไทยใต้ ชาวไทยมุสลิม ชาวไทยเชื้อสายจีน ชาวเปอรานากันหรือชาวบาบ๋า ย่าหยา และชาวเล แต่ละกลุ่มก็มีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีและอัตลักษณ์ของตนเอง เช่น การแต่งกาย การกิน ประเพณีต่าง ๆ

สัดส่วนประชากรในจังหวัดตรังส่วนใหญ่ นับถือศาสนาพุทธ รองลงมาเป็นชาวมุสลิมร้อยละ 18.5 และศาสนาคริสต์ร้อยละ 1.5 มีวัด 129 แห่ง สำนักสงฆ์ 65 แห่ง มัสยิด 87 แห่ง โบสถ์คริสต์ 10 แห่ง ศาลเจ้า และโรงเจ 19 แห่ง

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

แก้
  • ตราประจำจังหวัด: ภาพกระโจมไฟและภาพลูกคลื่น ภาพกระโจมไฟหมายถึง จังหวัดตรังเคยเป็นเมืองท่าค้าขายกับต่างประเทศ ภาพลูกคลื่นหมายถึง ลักษณะพื้นที่ของจังหวัดตรัง เป็นเนินเล็ก ๆ สูง ๆ ต่ำ ๆ คล้ายลูกคลื่น
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด: ต้นศรีตรังชนิด Jacaranda filicifolia
  • ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกศรีตรังชนิด Jacaranda obtusifolia
  • คำขวัญประจำจังหวัด: ชาวตรังใจกว้าง สร้างแต่ความดี
  • คำขวัญส่งเสริมการท่องเที่ยว: เมืองพระยารัษฎา ชาวประชาใจกว้าง หมูย่างรสเลิศ ถิ่นกำเนิดยางพารา เด่นสง่าดอกศรีตรัง ปะการังใต้ทะเล เสน่ห์หาดทรายงาม น้ำตกสวยตระการตา

สภาพอากาศ

แก้
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย พ.ค. ก.ค. มิ.ย. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C
(°F)
32
(91)
34
(94)
35
(96)
34
(94)
32
(91)
31
(89)
31
(88)
31
(88)
31
(88)
31
(88)
30
(87)
31
(88)
32
(90)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C
(°F)
21
(70)
21
(71)
22
(72)
23
(74)
23
(75)
23
(74)
23
(74)
25
(77)
23
(74)
22
(73)
22
(72)
21
(71)
22
(73)
ปริมาณน้ำฝน เซนติเมตร
(นิ้ว)
5
(2.1)
2
(1.0)
6
(2.6)
19
(7.5)
24
(9.7)
24
(9.8)
25
(10.2)
29
(11.6)
32
(12.8)
32
(12.7)
24
(9.5)
11
(4.4)
238
(93.9)

แหล่งข้อมูล: Weatherbase

การศึกษา

แก้

ระดับอุดมศึกษา

โรงเรียน

ศาสนสถาน

แก้
วัด
มัสยิด

มีมัสยิด 152 แห่งอยู่ทั่วทั้งจังหวัด อาทิ

การขนส่ง

แก้

ระยะทางจากตัวจังหวัดไปอำเภอต่างๆ

แก้

สถานที่ท่องเที่ยว

แก้

ชาวจังหวัดตรังที่มีชื่อเสียง

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 318 ง หน้า 14 วันที่ 19 ธันวาคม 2566
  2. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  3. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_64.pdf 2564. สืบค้น 21 มีนาคม 2565.
  4. เจมส์ โลว์. (2542). จดหมายเหตุร้อยโทเจมส์โลว์“Journal of Public Mission to Raja of Ligor” แปลและเรียบเรียงโดย นันทา วรเนติวงศ์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. หน้า 89.
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-12-11.

แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

7°34′N 99°37′E / 7.56°N 99.61°E / 7.56; 99.61