ทรงศักดิ์ ทองศรี

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

ทรงศักดิ์ ทองศรี (เกิด 20 เมษายน พ.ศ. 2501) ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ[2] สมาชิกกลุ่มเพื่อนเนวิน อดีตรองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย[3] อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์ 7 สมัย

ทรงศักดิ์ ทองศรี
ทรงศักดิ์ ในปี พ.ศ. 2562
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
เริ่มดำรงตำแหน่ง
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
(5 ปี 132 วัน)
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
เศรษฐา ทวีสิน
แพทองธาร ชินวัตร
รัฐมนตรีว่าการอนุพงษ์ เผ่าจินดา
อนุทิน ชาญวีรกูล
ก่อนหน้าสุธี มากบุญ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 – 9 กันยายน พ.ศ. 2551
(0 ปี 216 วัน)
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ อนุรักษ์ จุรีมาศ
นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช
ก่อนหน้าสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม
ถัดไปโสภณ ซารัมย์
วราวุธ ศิลปอาชา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 เมษายน พ.ศ. 2501 (66 ปี)
อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2523–2534)
สามัคคีธรรม (2534–2535)
ชาติไทย (2535–2539)
ความหวังใหม่ (2539–2543)
ไทยรักไทย (2543–2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
ภูมิใจไทย (2556–ปัจจุบัน)
คู่สมรสแว่นฟ้า ทองศรี
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัดกองอาสารักษาดินแดน
ยศ นายกองเอก[1]
บังคับบัญชากองอาสารักษาดินแดน

ประวัติ

ทรงศักดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2501 ที่ อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นบุตรของ สุนีย์ ทองศรี (เสียชีวิตแล้ว) สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษา จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ระดับปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียและระดับปริญญาเอก รัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย[4]สมรสกับ นางแว่นฟ้า ทองศรี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ

ในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้ยุบพรรคพลังประชาชน และเพิกถอนสิทธิทางการเมืองของคณะกรรมการบริหารพรรคคนละ 5 ปี ซึ่งในขณะนั้นนายทรงศักดิ์ได้ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน จึงถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมือง 5 ปีเช่นเดียวกับคณะกรรมการบริหารพรรคคนอื่นอีก 36 คน[5]

การทำงาน

ทรงศักดิ์ ทองศรี เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดบุรีรัมย์ เคยดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษา ประธานคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว สภาผู้แทนราษฎร และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน[6]

ทรงศักดิ์ เป็นหนึ่งในสมาชิก ส.ส.กลุ่ม 16[7]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคภูมิใจไทย ลำดับที่ 3[8] และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย ลำดับที่ 6[2]

ในปี 2562 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา[9] และดำรงตำแหน่งเดิมต่อเนื่องทั้งในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน[10] และแพทองธาร ชินวัตร[11]

วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เขาแต่งตั้ง นายวิเชียร จงชูวณิชย์ ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคามดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ทรงศักดิ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วทั้งสิ้น 9 สมัย

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดพรรคสามัคคีธรรม
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดพรรคชาติไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดพรรคชาติไทย
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดพรรคความหวังใหม่
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดพรรคไทยรักไทย
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดพรรคไทยรักไทย
  7. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดพรรคพลังประชาชน
  8. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคภูมิใจไทย
  9. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคภูมิใจไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน, เล่ม ๑๓๗ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๓, ๒ กรกฎาคม ๒๕๖๓
  2. 2.0 2.1 ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๖๒ ก หน้า ๑๓, ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๒
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคภูมิใจไทย, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๕๘ ง หน้า ๑๒๔, ๕ มิถุนายน ๒๕๕๘
  4. "นักการเมืองปริญญาเอก?!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-31. สืบค้นเมื่อ 2011-02-07.
  5. รายชื่อกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน ชาติไทย มัชฌิมาฯ[ลิงก์เสีย]
  6. "เปิดชื่อ 109 กก.บริหาร "พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ" ถูกยุบ-เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-18. สืบค้นเมื่อ 2011-06-10.
  7. แหยงกลุ่ม 16 ไม่กล้าแตะ ‘ราเกซ’[ลิงก์เสีย]
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๑๐ ก หน้า ๓๑, ๑๗ มกราคม ๒๕๕๗
  9. มท.2 และ มท.3 สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์มหาดไทย นิพนธ์ ยัน ให้สอบคุณสมบัติ
  10. โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง คณะรัฐมนตรี "เศรษฐา" นายกฯ ควบ "รมว.คลัง"
  11. ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 141 ตอนพิเศษ 240 ง วันที่ 4 กันยายน 2567
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔