สุวัจน์ ลิปตพัลลภ

อดีตรองนายกรัฐมนตรีไทย

สุวัจน์ ลิปตพัลลภ นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา[1][2] ประธานพรรคชาติพัฒนากล้า อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของทักษิณ ชินวัตร อดีตรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย และอดีตรัฐมนตรีว่าการหลายกระทรวง เป็นหนึ่งในแกนนำพรรครวมชาติพัฒนา[3] (ปัจจุบันคือพรรคชาติพัฒนากล้า) แต่ไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งทั่วไป 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 เนื่องจากถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี

สุวัจน์ ลิปตพัลลภ
สุวัจน์ในปี พ.ศ. 2553
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ดำรงตำแหน่ง
30 มิถุนายน พ.ศ. 2547 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2548
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ดำรงตำแหน่ง
11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าพงศ์เทพ เทพกาญจนา
ถัดไปพลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
นายกรัฐมนตรีพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
ก่อนหน้าวันมูหะมัดนอร์ มะทา
ถัดไปสุเทพ เทือกสุบรรณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
5 ตุลาคม พ.ศ. 2541 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ก่อนหน้าสมศักดิ์ เทพสุทิน
ถัดไปสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ดำรงตำแหน่ง
17 ธันวาคม 2537 – 17 กรกฎาคม 2538
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ก่อนหน้าพิศาล มูลศาสตรสาทร
ถัดไปยิ่งพันธ์ มนะสิการ
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
5 มีนาคม พ.ศ. 2545 – 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย
ดำรงตำแหน่ง
5 มีนาคม พ.ศ. 2545 – 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าสุธรรม แสงประทุม
ถัดไปยุบตำแหน่ง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
ดำรงตำแหน่ง
3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าเดช บุญ-หลง (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม)
ถัดไปอุไรวรรณ เทียนทอง
หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา
ดำรงตำแหน่ง
7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 – 31 สิงหาคม พ.ศ. 2547
ก่อนหน้ากร ทัพพะรังสี
ถัดไปเชษฐา ฐานะจาโร (หัวหน้าพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา)
ประธานพรรคชาติพัฒนา
เริ่มดำรงตำแหน่ง
16 ตุลาคม พ.ศ. 2565
ก่อนหน้าวรรณรัตน์ ชาญนุกูล
เลขาธิการพรรคชาติพัฒนา
ดำรงตำแหน่ง
8 สิงหาคม พ.ศ. 2538 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546
ก่อนหน้าประจวบ ไชยสาส์น
ถัดไปปวีณา หงสกุล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 (69 ปี)
อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองปวงชนชาวไทย (2531–2535)
ชาติพัฒนา (2535–2547)
ไทยรักไทย (2547–2550)
ชาติพัฒนากล้า (2555–ปัจจุบัน)
คู่สมรสพลโทหญิง พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ

ประวัติ

แก้
 
เครื่องบินของสุวัจน์

สุวัจน์ ลิปตพัลลภ เกิดวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 ที่อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี เป็นบุตรของนายวิศว์ และนางจรัสพิมพ์ ลิปตพัลลภ (สกุลเดิม : ศักดิ์สมบูรณ์) นับเป็นบุตรคนที่สามในพี่น้องทั้งหมด 5 รายจากรายนามต่อไปนี้ นายสังวรณ์ ลิปตพัลลภ ผู้ต้องหาคดีฉ้อโกงโครงการบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน[4]นายเสวี ลิปตพัลลภ, นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ, พล.ต.อ.วุฒิ ลิปตพัลลภ ผู้ตรวจราชการพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[5][6], อดีตที่ปรึกษา สบ.10[7] และนายเทวัญ ลิปตพัลลภ ประธานสโมสรนครราชสีมา เอฟซี สโมสรฟุตบอลนครราชสีมา

สุวัจน์ ลิปตพัลลภจบการศึกษาระดับประถมจากโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี และระดับมัธยมจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และปริญญาโท วิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเพอร์ดู รัฐอินดีแอนา ประเทศสหรัฐอเมริกา

สมรสกับ พลโทหญิง พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานมีบุตรด้วยกัน 2 คนคือ นายพสุ ลิปตพัลลภ และ นางสาว พราวพุธ ลิปตพัลลภ นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์[8]ต่อมา นางสาว พราวพุธ ลิปตพัลลภ สมรสกับ นาย อิทธิชัย พูลวรลักษณ์ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ บริษัท สบาย เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) นายพสุ สมรส กับนางสาว ปัทมรัตน์ พหิทธานุกร บุตรสาว ปานปรีย์ พหิทธานุกร

สุวัจน์ ลิปตพัลลภ มีเครื่องบินส่วนตัวหนึ่งลำได้แก่ HS-SPL ย่อมาจาก Mr. Suwat Liptapanlop

การเมือง

แก้

นายสุวัจน์ เริ่มเข้าสู่การเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2531 ต่อมาในปี พ.ศ. 2533 ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัน (1)[9] พ.ศ. 2534 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัน (2)[10]

ภายหลังการยุบสภาในปี พ.ศ. 2535 นายสุวัจน์ ได้เข้าร่วมกับพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกร ทัพพะรังสี และสมาชิกอีกจำนวนหนึ่ง จัดตั้งพรรคชาติพัฒนาขึ้น[11]

ในรัฐบาลของพลเอก สุจินดา คราประยูร ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม[12] และในปี พ.ศ. 2538 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย พ.ศ. 2540 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของชวลิต ยงใจยุทธ[13] และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย

 
สุวัจน์ ใน พ.ศ. 2548 ขณะดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลทักษิณ

ในปี พ.ศ. 2545 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย รัฐบาลของทักษิณ ชินวัตร (1)[14] และ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2547 เป็นรองนายกรัฐมนตรี ต่อจากนั้นไม่นานก็ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในรัฐบาลของพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร (2)[15]

สุวัจน์เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าพรรคชาติพัฒนา ต่อจากนายกร ทัพพะรังสี ซึ่งลาออกไปร่วมกับพรรคไทยรักไทย และต่อมาในปี พ.ศ. 2548 นายสุวัจน์ จึงประกาศยุบพรรคชาติพัฒนาเข้าร่วมกับพรรคไทยรักไทย

9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 สุวัจน์ได้ส่งตัวแทนนำหนังสือลาออกจากสมาชิกพรรคไทยรักไทย พร้อมสมาชิกกลุ่มอีก 30 คน โดยมีนายจำลอง ครุฑขุนทด ประธานคณะทำงานติดตามบริหารราชการแผ่นดิน พรรคไทยรักไทย เป็นตัวแทนรับหนังสือลาออกดังกล่าวไว้ ทั้งนี้ได้จัดตั้งกลุ่มแนวร่วมสมานฉันท์กับ พินิจ จารุสมบัติ, ปรีชา เลาหพงศ์ชนะ และ สุวิทย์ คุณกิตติ พร้อมสมาชิกอีกประมาณ 40 คน โดยยืนยันจะเดินหน้าทำงานด้านการเมืองต่อไป โดยยึดหลักความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในประเทศ และปฏิเสธข่าวไม่ได้เข้าพบคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือ คมช. ตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด[16]


และในปีเดียวกัน สุวัจน์ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[17]

5 สิงหาคม พ.ศ. 2550 สุวัจน์ถูกจับตามองเรื่องการจัดตั้ง พรรคสมานฉันท์ โดยมีสมาชิกเป็นกลุ่มทั้ง 30 คนที่ลาออกจากพรรคไทยรักไทยไปก่อนหน้านี้ โดยแถลงกับสื่อมวลชนว่าจะมีความชัดเจนหลังวันที่ 19 สิงหาคม เพราะการตัดสินใจต้องรอว่าประชามติร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านหรือไม่ผ่าน ทั้งนี้ หากประชามติไม่ผ่านอาจจะมีกติกาใหม่ๆ เกิดขึ้น[18]

3 ตุลาคม พ.ศ. 2550 สุวัจน์นำกลุ่มแนวร่วมสมานฉันท์ ร่วมกับ พรรครวมใจไทย (พ.ศ. 2550) ก่อตั้ง พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา

การกีฬา

แก้

สุวัจน์ ลิปตพัลลภ ดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย วาระปี พ.ศ. 2552 - พ.ศ. 2556 และดำรงตำแหน่งนายกลอนเทนนิสสมาคมอีกด้วยและประธานกิตติมศักดิ์ สโมสรฟุตบอลจังหวัดนครราชสีมา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  2. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภาประจำสถาบันราชภัฏ (คุณหญิงจรัสศรี ทีปิรัช, นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ, ศาสตราจารย์เกษม จันทร์แก้ว, ศาสตราจารย์ศุภมาศ พนิชศักดิ์พัฒนา, ศาสตราจารย์เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-05-25. สืบค้นเมื่อ 2021-05-25.
  3. สุวัจน์ ลิปตพัลลภ ตัวจริงรวมใจไทยชาติพัฒนา
  4. "ชีวประวัติ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-06. สืบค้นเมื่อ 2012-10-02.
  5. อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
  6. ผู้ตรวจราชการพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[ลิงก์เสีย]
  7. อดีตที่ปรึกษา สบ.10
  8. พราวผุดคอนโดลักชัวรีในหัวหินรับเปิดเมืองจับกลุ่มครอบครัว-รีไทร์เมนท์
  9. พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี (ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ๑๗ ราย และตั้งรัฐมนตรี จำนวน ๒๐ ราย)
  10. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
  11. "ได้เข้าร่วมกับพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกร ทัพพะรังสี และสมาชิกอีกจำนวนหนึ่ง จัดตั้งพรรคชาติพัฒนาขึ้น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2010-01-05.
  12. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
  13. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
  14. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2011-06-13.
  15. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี
  16. ""สุวัจน์" ถือฤกษ์วันเกิดทิ้ง ทรท.-ผนึก "พินิจ" ตั้งกลุ่ม "สมานฉันท์"". mgronline.com. 2007-02-09.
  17. "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
  18. ""สุวัจน์" แย้มเปิดตัว "พรรคสมานฉันท์" หลังประชามติร่าง รธน". mgronline.com. 2007-08-06.
  19. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
  20. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
  21. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ให้แก่บุคคลที่ช่วยเหลือผู้ประสบธรณีพิบัติภัย “สึนามิ”, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
ก่อนหน้า สุวัจน์ ลิปตพัลลภ ถัดไป
พิศาล มูลศาสตรสาทร    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
(17 ธันวาคม พ.ศ. 2537 – 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2538)
  ยิ่งพันธ์ มนะสิการ
สุธรรม แสงประทุม    
รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย
(5 มีนาคม พ.ศ. 2545 - 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545)
  ล้มเลิกตำแหน่ง