ซูการ์โน มะทา
ซูการ์โน มะทา (เกิด 17 กันยายน พ.ศ. 2507) เป็นนักการเมืองชาวไทย กรรมการใน คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรไทย (รัฐบาล แพทองธาร ชินวัตร) เลขาธิการพรรคประชาชาติ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยะลา และอดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง เป็นน้องชายของ วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ซูการ์โน มะทา | |
---|---|
ซูการ์โน ใน พ.ศ. 2566 | |
เลขาธิการพรรคประชาชาติ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 26 สิงหาคม พ.ศ. 2566 (1 ปี 85 วัน) | |
ก่อนหน้า | ทวี สอดส่อง |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยะลา | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 (5 ปี 240 วัน) | |
ดำรงตำแหน่ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 17 กันยายน พ.ศ. 2507 อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา ประเทศไทย |
ศาสนา | อิสลาม |
พรรคการเมือง | ประชาชาติ (2561–ปัจจุบัน) |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | ไทยรักไทย (2548–2549) มัชฌิมาธิปไตย (2550) พลังประชาชน (2550–2551) เพื่อไทย (2551–2561) |
คู่สมรส | ชะบา มะทา[1] |
ประวัติ
แก้ซูการ์โน มะทา เกิดเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2507 เป็นบุตรของนายอาแว มะทา และนางแมะเย๊าะ วาเยาะตายี[1]เป็นน้องชายของนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.สูง) จากวิทยาลัยครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ระดับปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต สาขาพลศึกษา จากวิทยาลัยครูยะลา และระดับปริญญาโทสาขาพัฒนาสังคม จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ซูการ์โน สมรสกับนางชะบา มะทา มีบุตร-ธิดา 3 คน
การเมือง
แก้ซูการ์โน มะทา เคยเป็นผู้ช่วยดำเนินงาน สส. เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา และเคยเป็นรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา 2 สมัย ต่อมาได้สมัครรับเลือกตั้ง สส.จังหวัดยะลา สังกัดพรรคพลังประชาชน ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 และได้รับเลือกตั้งเป็น สส. คนเดียวของพรรคในจังหวัดยะลา ก่อนจะย้ายมาสังกัดพรรคเพื่อไทย ภายหลังจากที่พรรคพลังประชาชนถูกยุบ และเป็น สส. พรรคพลังประชาชนเพียงคนเดียวที่ไม่ได้ย้ายสังกัดตามพรรคร่วมรัฐบาลไป (อาทิ พรรคมาตุภูมิ)[2]
ในการเลือกตั้งปี 2554 นายซูการ์โน ได้ลงสมัครในสังกัดพรรคเพื่อไทย ในจังหวัดยะลา เขตเลือกตั้งที่ 2 แต่พ่ายให้กับนายอับดุลการิม เด็งระกีนา อดีต ส.ส.ยะลา 2 สมัย จากพรรคประชาธิปัตย์
ในปี พ.ศ. 2561 เขาในฐานะแกนนำกลุ่มวาดะห์ ได้ออกมาโพสต์เฟซบุ๊กยืนยันว่าทางกลุ่มวาดะห์ได้ย้ายมาสังกัดพรรคประชาชาติ[3] และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 และ การเลือกตั้ง พ.ศ. 2566
ประวัติการลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.
แก้- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549 จังหวัดยะลา สังกัด พรรคไทยรักไทย (การเลือกตั้งเป็นโมฆะ)
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดยะลา สังกัด พรรคพลังประชาชน → พรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดยะลา สังกัด พรรคเพื่อไทย (ไม่ได้รับเลือกตั้ง)
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดยะลา สังกัด พรรคประชาชาติ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดยะลา สังกัด พรรคประชาชาติ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน กรณีพ้นจากตำแหน่ง ส.ส. 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554[ลิงก์เสีย]
- ↑ เจาะสนาม: 'เพื่อไทย' กับสภาวะ 'ตะวันรอน' ที่ปลายด้ามขวาน
- ↑ น้องชาย'วันนอร์'คอนเฟิร์ม!'วาดะห์'รีเทิร์นย้ายสังกัดพรรคประชาชาติ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๘, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ซูการ์โน มะทา ที่เฟซบุ๊ก
- ซูการ์โน มะทา ที่เฟซบุ๊ก (แฟนเพจ)
- ซูการ์โน มะทา ที่ยูทูบ