ทศพร เสรีรักษ์
นายแพทย์ ทศพร เสรีรักษ์ ม.ว.ม. ป.ช. (เกิด 8 มีนาคม พ.ศ. 2498) เป็นแพทย์และนักการเมืองชาวไทย อดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี อดีตโฆษกประจำสำนักนายรัฐมนตรี ในรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่[1]
ทศพร เสรีรักษ์ | |
---|---|
ทศพรร่วมงานฉลองวันรัฐธรรมนูญที่สัปปายะสภาสถาน พ.ศ. 2566 | |
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 – 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 (0 ปี 200 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | ศันสนีย์ นาคพงศ์ |
ถัดไป | ธีรัตถ์ รัตนเสวี |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดแพร่ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 (1 ปี 190 วัน) | |
ก่อนหน้า | เอกการ ซื่อทรงธรรม |
เขตเลือกตั้ง | เขต 1 |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 มีนาคม พ.ศ. 2498 อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ชาติไทย (2539–2543) ไทยรักไทย (2543–2550) เพื่อไทย (2555–2561,2562–ปัจจุบัน) ไทยรักษาชาติ (2561–2562) |
คู่สมรส | ปานหทัย เสรีรักษ์ |
ประวัติ
แก้ทศพร เสรีรักษ์ เกิดเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2498 ที่อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง[2] เป็นบุตรของนายอุทัย กับนางทัศนีย์ เสรีรักษ์ สมรสกับนางปานหทัย เสรีรักษ์ บุตรสาวของ ดร.เมธา หรือพ่อเลี้ยงเมธา เอื้ออภิญญกุล[3] และเป็นพี่สาวของนายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล
นายแพทย์ทศพร สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต และแพทยศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยมหิดล และปริญญาโท สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยมหิดลเช่นเดียวกัน
การทำงาน
แก้นายแพทย์ทศพร รับราชการเป็นนายแพทย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ก่อนจะลาออกจากราชการมาทำงานการเมือง และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2539 สังกัดพรรคชาติไทย และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 และ พ.ศ. 2548 ในสังกัดพรรคไทยรักไทย ก่อนจะถูกตัดสิทธิทางการเมืองเนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ในปี พ.ศ. 2550
ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 ได้รับแต่งตั้งเป็นโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[4]
ในปี 2562 เขาได้เข้าร่วมงานกับพรรคไทยรักษาชาติ แต่เมื่อพรรคดังกล่าวถูกยุบพรรค นายแพทย์ทศพร จึงย้ายกลับไปสังกัดพรรคเพื่อไทย[5] และหลังจากนั้น เขามีบทบาทในการดูแลช่วยเหลือผู้ชุมนุมทางการเมือง[6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ สถาบันพระปกเกล้า. นักการเมืองถิ่นจังหวัดแพร่ กรุงเทพ : สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2555
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]กรมการปกครอง
- ↑ รู้จัก "ทศพร เสรีรักษ์" โฆษกรัฐบาล-บ้าน111
- ↑ ครม.มีมติแต่งตั้ง "ทศพร เสรีรักษ์" เป็นโฆษกรัฐบาลคนใหม่
- ↑ ล้วงลึกหัวใจคนเป็นหมอ ‘วรวัจน์’ เผยอีกด้าน ‘นพ.ทศพร’ เรื่องที่ตำรวจ-รัฐบาลอาจไม่เคยรู้
- ↑ รู้จัก "ทศพร เสรีรักษ์" อดีตโฆษกรัฐบาล ในภารกิจ "ประกบม็อบ"
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๙, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๒๗, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ก่อนหน้า | ทศพร เสรีรักษ์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ศันสนีย์ นาคพงศ์ | โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 - 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556) |
ธีรัตถ์ รัตนเสวี |