จังหวัดฉะเชิงเทรา
ฉะเชิงเทรา เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกของประเทศไทย มีอาณาเขตติดต่อกับกรุงเทพมหานคร จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนครนายก จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดสระแก้ว จังหวัดจันทบุรี จังหวัดชลบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ รวมถึงมีอาณาเขตติดกับอ่าวไทยเป็นระยะสั้นประมาณ 12 กิโลเมตร[3]
จังหวัดฉะเชิงเทรา | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Changwat Chachoengsao |
(ตามเข็มนาฬิกาจากบนซ้าย): วัดโสธรวราราม, พระพิฆเนศแห่งวัดสมานรัตนาราม, ทิวทัศน์ของฉะเชิงเทรา, ศาลากลางหลังเก่า, วัดหงษ์ทอง | |
คำขวัญ: แม่น้ำบางปะกงแหล่งชีวิต พระศักดิ์สิทธิ์หลวงพ่อโสธร พระยาศรีสุนทรปราชญ์ภาษาไทย เขาอ่างฤๅไนป่าสมบูรณ์ | |
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดฉะเชิงเทราเน้นสีแดง | |
ประเทศ | ไทย |
การปกครอง | |
• ผู้ว่าราชการ | ขจรเกียรติ รักพานิชมณี (ตั้งแต่ พ.ศ. 2567) |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 5,235.768 ตร.กม. (2,021.541 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 41 |
ประชากร (พ.ศ. 2566)[2] | |
• ทั้งหมด | 730,543 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 33 |
• ความหนาแน่น | 139.53 คน/ตร.กม. (361.4 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | อันดับที่ 33 |
รหัส ISO 3166 | TH-24 |
ชื่อไทยอื่น ๆ | แปดริ้ว |
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด | |
• ต้นไม้ | อะราง (นนทรีป่า) |
• ดอกไม้ | นนทรี (นนทรีบ้าน) |
• สัตว์น้ำ | ปลากะพงขาว |
ศาลากลางจังหวัด | |
• ที่ตั้ง | ถนนเรืองวุฒิ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา 24000 |
• โทรศัพท์ | 0 3851 2520 |
เว็บไซต์ | http://www.chachoengsao.go.th |
ศัพทมูลวิทยา
แก้ที่มาของคำว่า "ฉะเชิงเทรา" มีข้อสันนิษฐานที่แตกต่างกัน 2 ข้อ คือ[4]
- คำว่า ฉะเชิงเทรา มาจากคำภาษาเขมร 2 คำ คือ สทึง+เจรา ซึ่ง สทึง (ស្ទឹង) แปลว่า แม่น้ำสายย่อย และ เจรา (ជ្រៅ) แปลว่า ลึก เมื่อรวมความหมายก็ได้ว่า แม่น้ำลึก ซึ่งหมายถึงแม่น้ำบางปะกงนั่นเอง (มีผู้โต้แย้งข้อสันนิษฐานนี้ เนื่องจากว่าเมืองฉะเชิงเทรานั้นตั้งขึ้นมาในสมัยเดียวกับเมืองสาครบุรี เมืองนครไชยศรี และเมืองนนทบุรี ซึ่งไม่น่าจะมีคำเขมรมาปนอยู่ในชื่อเมืองแล้ว)
- คำว่า ฉะเชิงเทรา อาจเพี้ยนมาจากคำว่า แสงเชรา แสงเซา หรือ แซงเซา (ข้อสันนิษฐานนี้ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน)
ประวัติ
แก้พ.ศ. 1000 มีชุมชนบ้านเมืองโบราณบริเวณสองฝั่งคลองลำน้ำท่าลาด หรือคลองท่าลาด ที่ไหลผ่านอำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา หลายแห่งตั้งแต่บ้านเกาะขนุน ถึงบ้านท่าเกวียน ฯลฯ หลังพ.ศ. 1500 ฉะเชิงเทราและดินแดนใกล้เคียงคือ เมืองมโหสถ (อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี) กับเมืองพระรถ (อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี) ต่างรุ่งเรืองขึ้นจากการค้าโลก และมีความเกี่ยวข้องเป็นเครือญาติกับกษัตริย์ขอมทั้งเมืองละโว้ (ลพบุรี) และเมืองพระนคร (กัมพูชา) จนหลังหลัง พ.ศ. 1700 บริเวณลุ่มน้ำบางปะกง ตั้งแต่เขตฉะเชิงเทราถึงปราจีนบุรีกลายเป็นป่าดง เนื่องจากเป็นที่ดอนมากขึ้นจากทับถมของตะกอนปากแม่น้ำ ส่งผลให้เส้นทางคมนาคมออกอ่าวไทยไม่ค่อยสะดวกเช่นเดิม จนหลัง พ.ศ. 2000 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 โปรดให้ซ่อมแปลงคลองสำโรง ซึ่งเชื่อมแม่น้ำบางปะกง กับแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อให้สะดวกในการคมนาคม
ในสมัยรัชกาลที่ 3 หลังปี พ.ศ. 2369 ทรงยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ ได้มีการกวาดต้อนครัวลาวพวกหนึ่งมาอยู่ที่ลุ่มแม่น้ำบางปะกง เกิดเมืองใหม่ชื่อ เมืองฉะเชิงเทรา แต่ปากชาวบ้านเรียกชื่อเดิมที่มีมาก่อนว่า เมืองแปดริ้ว (ปัจจุบันคือ อำเภอบางคล้า) มีการสร้างป้อมเมืองฉะเชิงเทราเพื่อป้องกันศึกญวนและเขมรที่มาทางแม่น้ำบางปะกง และอ่าวไทย ราวปี พ.ศ. 2377 ต่อมา พ.ศ. 2381 ให้อพยพครอบครัวเจ้าองค์ด้วง แห่งกัมพูชา เข้ากรุงเทพฯ ส่วนบ่าวไพร่ทั้งหลายให้อยู่เมืองฉะเชิงเทรา (บริเวณ ชุมชนวัดดอนทอง ปากคลองบางตีนเป็ด ตรงข้ามอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา)
ในสมัยรัชกาลที่ 4 โปรดให้ยกบ้านท่าถ่านเป็นเมืองพนมสารคาม (อำเภอพนมสารคาม) และต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ปี พ.ศ. 2459 โปรดให้เมืองฉะเชิงเทรากับเมืองพนมสารคาม รวมกันสถาปนาเป็น จังหวัดฉะเชิงเทรา[5]
ภูมิศาสตร์
แก้ภูมิประเทศของจังหวัดฉะเชิงเทราแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนตะวันตกของจังหวัดตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำบางปะกง ส่วนตะวันออกมีลักษณะเป็นเนินเขา ด้วยความสูงจากระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ยกว่า 100 เมตร จังหวัดฉะเชิงเทรามีเกาะจำนวน 1 เกาะ คือ เกาะกลาง ที่บริเวณปากแม่น้ำบางปะกง
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สัญลักษณ์ของจังหวัด
แก้- ตราประจำจังหวัด เป็นรูปพระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหารหลังใหม่ หมายถึง ที่ประดิษฐานพระพุทธโสธร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำคัญของเมือง ตำนานเล่าว่าเป็นพระพุทธรูปแสดงปาฏิหาริย์ ลอยทวนน้ำมา ขึ้นที่จังหวัด ชาวเมืองเคารพ ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ บันดาลให้ดิน และน้ำอุดมสมบูรณ์ มีรูปครุฑ และชื่อจังหวัดฉะเชิงเทราอยู่ด้านล่างโบสถ์
สีหลังคาพระอุโบสถ : เป็นสีด่อน (สีเทาควันบุหรี่) ซึ่งเป็นจริงของหลังคาพระอุโบสถหลังใหม่
พื้นหน้าพระอุโบสถ : เป็นสีเทาอ่อน มิใช่สีดำ
ขอบสีรอบเครื่องหมายราชการ : เป็นสีแดงเลือดหมู ซึ่งเป็นสีประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา
- ต้นไม้ประจำจังหวัด นนทรีป่า
- ดอกไม้ประจำจังหวัด นนทรี
- สัตว์น้ำประจำจังหวัด ปลากะพงขาวหรือปลาโจ้โล้
- ลักษณะรูปร่างของจังหวัดฉะเชิงเทรา ลักษณะรูปร่างของจังหวัดฉะเชิงเทรามีรูปร่างคล้ายกับ "ค้อนตอกตะปู"
- คำขวัญประจำจังหวัด “แม่น้ำบางปะกงแหล่งชีวิต พระศักดิ์สิทธิ์หลวงพ่อโสธร พระยาศรีสุนทรปราชญ์ภาษาไทย เขาอ่างฤๅไนป่าสมบูรณ์”
หน่วยการปกครอง
แก้การปกครองแบ่งออกเป็น 11 อำเภอ 93 ตำบล 859 หมู่บ้าน
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้มีองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด 110 แห่ง แบ่งออกเป็น 1 เทศบาลเมือง 33 เทศบาลตำบล 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด และ 74 องค์การบริหารส่วนตำบล โดยมีรายชื่อเทศบาลดังนี้
อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา อำเภอบางคล้า อำเภอบางน้ำเปรี้ยว |
อำเภอบางปะกง |
อำเภอบ้านโพธิ์ อำเภอพนมสารคาม |
อำเภอราชสาส์น
อำเภอสนามชัยเขต อำเภอแปลงยาว อำเภอท่าตะเกียบ
อำเภอคลองเขื่อน
|
ประชากร
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ปี | ประชากร | ±% |
---|---|---|
2553 | 673,933 | — |
2554 | 679,370 | +0.8% |
2555 | 685,721 | +0.9% |
2556 | 690,226 | +0.7% |
2557 | 695,478 | +0.8% |
2558 | 700,902 | +0.8% |
2559 | 704,399 | +0.5% |
2560 | 709,889 | +0.8% |
2561 | 715,009 | +0.7% |
2562 | 720,113 | +0.7% |
2563 | 720,698 | +0.1% |
2564 | 724,178 | +0.5% |
2565 | 726,687 | +0.3% |
2566 | 730,543 | +0.5% |
อ้างอิง:กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย |
การศึกษา
แก้มหาวิทยาลัย
แก้- มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
- มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา ฉะเชิงเทรา
- มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์พุทธโสธร
วิทยาลัย
แก้โรงเรียน
แก้การขนส่ง
แก้ระยะทางจากตัวจังหวัดไปอำเภอต่าง ๆ
แก้- อำเภอบ้านโพธิ์ 16 กิโลเมตร
- อำเภอคลองเขื่อน 18 กิโลเมตร
- อำเภอบางปะกง 20 กิโลเมตร
- อำเภอบางนํ้าเปรี้ยว 21 กิโลเมตร
- อำเภอบางคล้า 25 กิโลเมตร
- อำเภอราชสาส์น 32 กิโลเมตร
- อำเภอแปลงยาว 33 กิโลเมตร
- อำเภอพนมสารคาม 35 กิโลเมตร
- อำเภอสนามชัยเขต 51 กิโลเมตร
- อำเภอท่าตะเกียบ 79 กิโลเมตร
สถานที่ท่องเที่ยว
แก้- วัดโสธรวรารามวรวิหาร
- กำแพงเมืองฉะเชิงเทรา
- ศาลหลักเมืองฉะเชิงเทรา
- สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ฉะเชิงเทรา
- วัดเมือง
- วัดจีนประชาสโมสร
- วัดโพธิ์บางคล้า
- ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
- ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน
- เขาหินซ้อน
- ศูนย์ศึกษาพัฒนาการสังคมหมู่บ้าน
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไน
- สมาคมสงเคราะห์การกุศลฉะเชิงเทรา (เจ้าแม่กวนอิมลอยน้ำ)
- สวนน้ำเกาะแก้วบางปะกง
- สวนปาล์มฟาร์มนก
- ตลาดน้ำบางคล้า
บุคคลที่มีชื่อเสียง
แก้ด้านศาสนา
แก้- สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปญฺโญ) – สมเด็จพระราชาคณะ เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร
- พระพรหมคุณาภรณ์ (เจียม จิรปุญฺโญ) – พระราชาคณะเจ้าคณะรอง อดีตเจ้าอาวาสวัดโสธรวรารามวรวิหาร
- พระเทพวชิรโสภณ (สุรพล ชิตญาโณ) – เจ้าคณะภาค 12 วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
- พระราชปริยัติสุนทร (อมรภิรักษ์ ปสฺสนฺโน) – อดีตเจ้าคณะจังหวัด ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดโสธรวรารามวรวิหาร,ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 12
- พระเทพภาวนาวชิรคุณ (ศิริวัฒน์ สิริวฑฺฒโน) – เจ้าคณะจังหวัด เจ้าอาวาสพระอารามหลวงวัดโสธรวรารามวรวิหาร
- พระครูสิทธิสารคุณ (จาด คังคสโร) – อดีตเจ้าอาวาสวัดบางกะเบา
- หลวงปู่ไข่ อินทสโร – พระเกจิอาจารย์ชาวไทย
- หลวงพ่อฟู อติภทฺโท พระเกจิอาจารย์
- พระชลญาณมุนี (สมโภช ธมฺมโภชฺโช) เจ้าคณะอำเภอเมืองชลบุรี (ธรรมยุต)
ด้านวงการบันเทิง
แก้- ธนพล นิ่มทัยสุข - นักแสดง
- รุ่งเรือง อนันตยะ - นักแสดง
- วี จิราพร - นักร้องลูกทุ่ง
- วิจิตร คุณาวุฒิ - ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ภาพยนตร์และละคร) ประจำปี พ.ศ. 2530
- ภรณ์ทิพย์ นาคหิรัญกนก - นางสาวไทยปี 2531 และนางงามจักรวาลปี 1988
- พัชราภา ไชยเชื้อ - นักแสดง นางแบบ
- กนกอร บุญมา- นางสาวไทย พ.ศ. 2515
- ชัยชนะ บุญนะโชติ- เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง
- นิสา วงวัฒน์- นักแสดง
- ปราบ ยุทธพิชัย- นักแสดง พิธีกร
- เพิ่มพล เชยอรุณ- ผู้กำกับภาพยนตร์ไทย
- ราม ราชพงษ์- นักแสดง
- แมน ธีระพล- อดีตนักแสดง
- ละอองดาว สกาวเดือน- นักร้องลูกทุ่ง
- อุบลวรรณ บุญรอด- นักแสดง
- ภูธนิน สินสมใจ- นักแสดง
- พีรวิชญ์ อรรถชิตสถาพร- นักแสดง
- สไปร์ท (ศุกลวัฒน์ พวงสมบัติ) - นักร้องแร็ปเปอร์
- รพีพรรณ แช่มเจริญ (เหมย CGM48) – นักร้อง
- พิมพ์มาดา ตั้งสี (มีมี่ DaruNi) – นักร้อง
ด้านวงการกีฬา
แก้- พลเรือตรี หลวงเจียรกลการ (เจียม เจียรกุล) น้องชาย นายนี้ เจียรกุล ผู้ให้กำเนิดโรงเรียนบางปะกง “บวรวิทยายน”) นักฟุตบอลทีมนายเรือ ชุดถ้วยทองของหลวง พ.ศ. 2458 ทูตทหารเรือไทยคนแรก ณ กรุงโรม และนายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ คนที่ 8
- ศิริมงคล ลูกศิริพัฒน์ - นักมวยไทย
- สามารถ พยัคฆ์อรุณ - นักมวยไทยและอดีตแชมป์โลกมวยสากล
- ก้องธรณี พยัคฆ์อรุณ - นักมวยไทย
- ทรงชัย รัตนสุบรรณ - โปรโมเตอร์มวย
- อดุลย์ ศรีโสธร - นักมวยไทย
- ชูชัย ลูกปัญจมา - นักกีฬามวยไทย
- เดชฤทธิ์ อิทธิอนุชิต - นักมวยไทย เจ้าของฉายา "ไอ้ปลิว" หรือ "ไอ้ปลิวใจเพชร"
- มนต์ชัย สุภจิรกุล - หัวหน้าผู้ฝึกสอนวอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย
- วิลาศ น้อมเจริญ - อดีตผู้รักษาประตูฟุตบอลทีมชาติไทย
- ปรีชา พิมพ์พันธ์ - คนไทยคนแรกที่ปั่นจักรยานทางไกล จากประเทศไทยไปประเทศสหรัฐอเมริกา เคยเป็นอดีตโค้ชนักกีฬาจักรยานทีมชาติไทย ปัจจุบันเป็นผู้จัดการโรงเรียนจิรศาสตร์วิทยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ด้านวงการวิชาการ
แก้- พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) - ผู้แต่งตำราเรียนชุดแรกของไทย
- โกวิท วรพิพัฒน์ - อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ อธิบดีกรมสามัญศึกษา อธิบดีกรมวิชาการ อธิบดีกรมการศึกษานอกโรงเรียน สมาชิกวุฒิสภา และอีกหลาย ๆ ตำแหน่ง
- หม่อมหลวงมานิจ ชุมสาย- นักเขียน นักประวัติศาสตร์
- เรียน วันเจริญ- ปราชญ์ชาวบ้านตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- สัชฌุเศรษฐ์ เรืองเดชสุวรรณ-ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมทางวิทยาการและการประกอบการ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น ผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์การตลาด Micro SMEs เจ้าของโครงการ Mini-Giant Entrepreneurship
- อมร วาณิชวิวัฒน์ - อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล - อาจารย์ภาควิชาอายุรศาสตร์ สาขาโรคปอดและวัณโรค คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล นายกสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ผู้นำนักรบเสื้อกาวน์และบุคลากรสาธารณสุขในการสู้ภัยการระบาดของโควิด-19 ของประเทศไทย
ด้านวงการธุรกิจ
แก้▪ นายวิชัย มาลีนนท์ ผู้ก่อตั้งและบุกเบิก สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อ.ส.ม.ท.
ด้านวงการทหาร
แก้- พล.อ.พิจิตร กุลละวณิชย์ - อดีตแม่ทัพภาคที่ 1 และอดีตองคมนตรีในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ด้านวงการตำรวจ
แก้- พล.ต.ท.พิทักษ์ จารุสมบัติ - อดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 8
- วินัย ทองสอง- อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
ด้านราชการพลเรือน
แก้- ณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร - เป็นข้าราชการชาวไทย อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดจังหวัดพะเยา อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง อดีตผู้ตรวจราชการของกระทรวงมหาดไทย อดีตที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมสำรวจของกรมที่ดิน อดีตผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีทำแผนที่กรมที่ดิน อดีตผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลแผนที่ของกรมที่ดิน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นบัญชีของกระทรวงการคลัง สำหรับการดำเนินการเกี่ยวกับการให้เอกชนลงทุนในโครงการของรัฐ เขามีชื่อเสียงจากการดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานการณ์ช่วยเหลือเด็กและโค้ชติดถ้ำ 13 คน ในปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง ระหว่างวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2561 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
ด้านอื่น ๆ
แก้- บุญทบ อรัณยะกานนท์- อดีตนายกเทศมนตรีเมืองฉะเชิงเทรา ปี พ.ศ. 2500-2515
- ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ - นักการเมือง อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎรและรัฐมนตรีในหลายกระทรวง ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยรังสิต
- อนันต์ ฉายแสง - อดีต ส.ส.ฉะเชิงเทรา และ อดีต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในสมัยรัฐบาล ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช
- พินิจ จารุสมบัติ - อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีในหลายกระทรวง, อดีตหัวหน้าพรรคเสรีธรรม
- จาตุรนต์ ฉายแสง - อดีตรองนายกรัฐมนตรี ,อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย
- วุฒิพงศ์ ฉายแสง - อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- ฐิติมา ฉายแสง - โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- สมชัย อัศวชัยโสภณ- สมาชิกาสภาผู้แทนราษฎร 3 สมัย,ประธานคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุและผู้พิการ รัฐสภา,อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดฉะเชิงเทรา 3 สมัย
- บุญเลิศ ไพรินทร์ - อดีตสมาชิกวุฒิสภา และโหราจารย์ที่มีชื่อเสียง
- ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน- อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อดีตปลัดทบวงมหาวิทยาลัย
- กระจ่าง ตุลารักษ์- ผู้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
- ไกรสร นันทมานพ- นักการเมือง
- นิคม ไวยรัชพานิช- อดีตประธานวุฒิสภาไทย
- ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์- เป็นอดีตประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย
- พิเชษฐ์ ตันเจริญ- อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
- สวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์- อดีตจุฬาราชมนตรีของประเทศไทย
- เสกสรรค์ ประเสริฐกุล- เป็นอดีตผู้นำนักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 และนักเขียนรางวัลศรีบูรพา
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
- ↑ สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php, http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php 2564. สืบค้น 22 มกราคม 2565.
- ↑ https://www.travelin8riew.com/webapp/featured_item/ลุ่มแม่น้ำบางปะกง/[ลิงก์เสีย]
- ↑ ภูมิสถานนักปราชญ์ 3 แผ่นดิน ถิ่นฐานตำนานเมืองแปดริ้ว, "พินิจนคร" สารคดีทางไทยพีบีเอส: พุธที่ 24 สิงหาคม 2554
- ↑ "จังหวัดฉะเชิงเทรา มีที่มาอย่างไร? ชุมชนเก่าแก่ตั้งแต่ พ.ศ. 1000". ศิลปวัฒนธรรม. 16 มีนาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2020.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้13°41′N 101°04′E / 13.69°N 101.07°E
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ จังหวัดฉะเชิงเทรา
- แผนที่ จาก มัลติแมป โกลบอลไกด์ หรือ กูเกิลแผนที่
- ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
- ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย