เผดิมชัย สะสมทรัพย์
เผดิมชัย สะสมทรัพย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย (2) และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครปฐม 8 สมัย
เผดิมชัย สะสมทรัพย์ | |
---|---|
เผดิมชัย ในปี พ.ศ. 2562 | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน | |
ดำรงตำแหน่ง 9 สิงหาคม 2554 – 30 มิถุนายน 2556 | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | เฉลิมชัย ศรีอ่อน |
ถัดไป | ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 14 พฤศจิกายน 2540 – 5 กรกฎาคม 2542 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 จังหวัดนครปฐม ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย ชาติไทยพัฒนา |
คู่สมรส | อุไรวรรณ สะสมทรัพย์ (หย่า) |
ประวัติ
แก้เผดิมชัย สะสมทรัพย์ เกิดเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 ที่ตำบลห้วยจรเข้ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม เป็นบุตรของนายประเสริฐ กับนางสุนีย์ สะสมทรัพย์ และเป็นพี่ชายของ ไชยยศ สะสมทรัพย์ ไชยา สะสมทรัพย์ และอนุชา สะสมทรัพย์ จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนครสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเซนต์หลุยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา และปริญญาโท สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และในปีพ.ศ. 2556ได้รับปริญญานิติศาสตร์มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง[1]
ด้านชีวิตครอบครัว เคยสมรสกับนางอุไรวรรณ สะสมทรัพย์ ปัจจุบันหย่าจากกันแล้ว มีบุตรด้วยกัน 5 คน คือ
- พ.ต.สุขชาต สะสมทรัพย์
- นางสาวสุรัชดา สะสมทรัพย์
- นางสาวสุรัชวดี สะสมทรัพย์
- นางสาวสุพีภัสร์ สะสมทรัพย์
- นางสาวสุภัสรา สะสมทรัพย์
การทำงาน
แก้เผดิมชัย สะสมทรัพย์ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครปฐม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 และได้รับเลือกตั้งอีกหลายสมัยอย่างต่อเนื่อง และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย (2) ซึ่งต่อมาในช่วงกลางปี พ.ศ. 2542 ได้ลาออกจากตำแหน่งดังกล่าว
เผดิมชัย สะสมทรัพย์ นอกจากการทำงานการเมืองแล้ว ยังมีอาชีพประกอบธุรกิจส่วนตัวด้วย ซึ่งในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 ได้ถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลายจากปัญหาหนี้สินทางธุรกิจ[2][3] ต่อมาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 ศาลล้มละลายกลาง ได้มีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของนายเผดิมชัย[4]
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 นายเผดิมชัย ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครปฐม สังกัดพรรคเพื่อไทย และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[5] จนกระทั่งได้รับโปรดเกล้าฯ ให้พ้นจากตำแหน่งในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556[6]
ต่อมานายเผดิมชัยได้ให้สัมภาษณ์กับรายการ เจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand ทางช่อง นาว 26 ว่าตนเองพร้อมกับ นายอนุชา น้องชาย และ อดีต ส.ส. อีก 2 คนได้ย้ายมาสังกัด พรรคชาติไทยพัฒนา โดยจะเปิดตัวในวันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ส่วนนายไชยยศอยู่ในช่วงพิจารณาว่าจะสังกัดพรรคใด ทางด้านนายไชยาป่วยด้วยโรคไตต้องฟอกไตทุกสัปดาห์จึงไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดนครปฐม เขต 5ในนามพรรคชาติไทยพัฒนา แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมานางจุมพิตา จันทรขจร ส.ส.นครปฐม พรรคอนาคตใหม่ ลาออกเนื่องจากปัญหาสุขภาพ[7] จึงมีการเลือกตั้งซ่อม โดยนายเผดิมชัย ได้รับเลือกตั้งในครั้งนั้น[8]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2541 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[10]
อ้างอิง
แก้- ↑ เปิดประวัติ เผดิมชัย สะสมทรัพย์
- ↑ ศาลฯสั่งล้มละลาย อดีต รมช.คมนาคม "เผดิมชัย สะสมทรัพย์"
- ↑ ประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เรื่อง คำพิพากษาให้ล้มละลาย (ศาลล้มละลายกลาง คดีหมายเลขแดงที่ ๗๓๑๙/๒๕๕๐ นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ ลูกหนี้ที่ ๒)
- ↑ ประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เรื่อง ยกเลิกการล้มละลาย (ศาลล้มละลายกลาง คดีหมายเลขแดงที่ ล. ๗๓๑๙/๒๕๕๐ นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ ลูกหนี้ที่ ๒)
- ↑ พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษที่ 88 ง วันที่ 9 สิงหาคม 2554 หน้า 3
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ๕)
- ↑ ส.ส.นครปฐม พรรคอนาคตใหม่ ยื่นใบลาออก จ่อหาผู้สมัครลงแข่งใหม่!
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง (จังหวัดนครปฐม เขตเลือกตั้งที่ ๕ นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ พรรคชาติไทยพัฒนา)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐