สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949)
สาธารณรัฐจีน (อังกฤษ: Republic of China; จีน: 中華民國; พินอิน: Zhōnghuá Mínguó; เวด-ไจลส์: Chung1-hua2 Min2-kuo2) เป็นรัฐในเอเชียตะวันออกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1912 ถึงปี ค.ศ. 1949 ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1912 หลังจากที่สามารถโค่นล้มราชวงศ์ชิง (การปฏิวัติซินไฮ่ 辛亥革命) ได้สำเร็จ และสิ้นสุดลงหลังสงครามกลางเมืองจีน ด้วยความพ่ายแพ้ของพรรคก๊กมินตั๋งหรือจีนคณะชาติ ซึ่งได้ลี้ภัยไปยังเกาะไต้หวันและก่อตั้งสาธารณรัฐจีนขึ้นมาใหม่ ในขณะที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนที่เป็นฝ่ายได้ชัยชนะได้ก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนบนแผ่นดินใหญ่จีนในปัจจุบัน
สาธารณรัฐจีน 中華民國 จงหฺวาหมิงกั๋ว | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 1912–ค.ศ. 1949 | |||||||||||||||
เพลงชาติ: 《五族共和歌》 "เพลงห้าเชื้อชาติใต้หนึ่งสหภาพ" (1912–1913) 《卿雲歌》 "เพลงเมฆมงคล" (1913–1915, 1921–1928) 《中華雄立宇宙間》 "เมืองจีนยืนแกร่งกลางพิภพ" (1915–1921) 《中華民國國歌》 "เพลงชาติสาธารณรัฐจีน" (1930–1949) "เพลงธงชาติสาธารณรัฐจีน" (1937–1949) | |||||||||||||||
อาณาเขตของสาธารณรัฐจีนในปี ค.ศ. 1945 | |||||||||||||||
เมืองหลวง | หนานจิง (1912; 1927-1949) ปักกิ่ง (1912-1928) ฉงชิ่ง (ช่วงสงคราม; 1937-1946) | ||||||||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษาจีนมาตรฐาน (อักษรจีนตัวเต็ม) | ||||||||||||||
ศาสนา | ชาวบ้านจีน | ||||||||||||||
การปกครอง | สหพันธ์ สาธารณรัฐระบบกึ่งประธานาธิบดี (1912—1928) รัฐเดี่ยว เผด็จการทหาร (1928—1946) รัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบรัฐสภา (1946—1949) | ||||||||||||||
ประธานาธิบดี | |||||||||||||||
• 1912 | ดร. ซุน ยัตเซ็น (เฉพาะกาล) (คนแรก) | ||||||||||||||
• 1949 | ลี ซงเริน (รักษาการ) (คนสุดท้าย) | ||||||||||||||
นายกรัฐมนตรี | |||||||||||||||
• 1912 | ถัง เฉายี (คนแรก) | ||||||||||||||
• 1949 | ย่าน สีชาน (คนสุดท้าย) | ||||||||||||||
สภานิติบัญญัติ | พรรคชาตินิยมแห่งประเทศจีน | ||||||||||||||
• สภาสูง | สมัชชาแห่งชาติ | ||||||||||||||
• สภาล่าง | สภานิติบัญญัติหยวน | ||||||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | ศตวรรษที่ 20 | ||||||||||||||
10 ตุลาคม ค.ศ. 1911 | |||||||||||||||
• ก่อตั้ง | 1 มกราคม ค.ศ. 1912 | ||||||||||||||
• กำหนดอำนาจรัฐบาลหลักที่นานกิง | 18 เมษายน ค.ศ. 1927 | ||||||||||||||
7 กรกฎาคม ค.ศ. 1937 | |||||||||||||||
• มีรัฐธรรมนูญ | 25 ธันวาคม ค.ศ. 1947 | ||||||||||||||
ธันวาคม ค.ศ. 1948 | |||||||||||||||
• หนีไปเกาะไต้หวัน | 10 ธันวาคม ค.ศ. 1949 | ||||||||||||||
พื้นที่ | |||||||||||||||
1912 | 11,420,000 ตารางกิโลเมตร (4,410,000 ตารางไมล์) | ||||||||||||||
1949 | 9,634,057 ตารางกิโลเมตร (3,719,730 ตารางไมล์) | ||||||||||||||
ประชากร | |||||||||||||||
• 1912 | 432375000 | ||||||||||||||
• 1949 | 541670000 | ||||||||||||||
สกุลเงิน | หยวน, ดอลลาร์ไต้หวันเก่า | ||||||||||||||
รหัส ISO 3166 | CN | ||||||||||||||
| |||||||||||||||
Population from http://www.populstat.info/Asia/chinac.htm |
สาธารณรัฐจีนมีประธานาธิบดีคนแรกคือ ดร. ซุน ยัตเซ็น ดำรงตำแหน่งหน้าที่เพียงระยะเวลาอันสั้น พรรคของซุนต่อมาได้นำโดย ซ่ง เจี่ยวเริน ซึ่งชนะการเลือกตั้งรัฐสภาที่จัดขึ้นในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1912 อย่างไรก็ตามกองทัพนำโดยประธานาธิบดียฺเหวียน ชื่อไข่ยังคงควบคุมรัฐบาลแห่งชาติในปักกิ่งต่อไป ตั้งแต่ปลายปี 1915 ถึงต้นปี 1916 ยฺเหวียนได้รื้อฟื้นระบอบจักรพรรดิจีนที่เรียกว่าจักรวรรดิจีนขึ้นมาใหม่ และสถาปนาตนเองเป็น "จักรพรรดิหงเซี่ยน (洪憲皇帝)" แต่จักรวรรดิใหม่ของยฺเหวียนกลับดำรงอยู่ได้เพียงระยะเวลาสั้น ๆ หลังยฺเหวียนได้เสียชีวิตลง ผู้นำกองกำลังท้องถิ่นตามแคว้นต่าง ๆ ซึ่งต่อมาได้กลายมาเป็นเหล่าขุนศึก และได้ประกาศตั้งตนเป็นอิสระไม่ขึ้นกับรัฐบาลกลางหรือรัฐบาลแห่งชาติอีกต่อไป ทำให้จีนเข้าสู่สมัยขุนศึกในเวลาต่อมา
ในปี ค.ศ. 1925 พรรคก๊กมินตั๋งได้เริ่มก่อตั้ง รัฐบาลคู่แข่งในบริเวณตอนใต้ของเมืองกวางโจว ในขณะที่เศรษฐกิจของภาคเหนือมีการขูดรีดเพื่อสนับสนุนเหล่าขุนศึก ซึ่งต่อมาเหล่าขุนศึกได้ถูกยุบในปี 1928 โดยนายพลเจียง ไคเชก ผู้ได้ขึ้นเป็นผู้นำพรรคก๊กมินตั๋ง หลังการเสียชีวิตของซุน ยัตเซ็น เจียงได้นำกองทัพกรีธาทัพขึ้นเหนือ ซึ่งเป็นการรบเพื่อล้มล้างรัฐบาลกลางในกรุงปักกิ่ง ต่อมารัฐบาลกลางได้ถูกล้มในปี 1928 และเจียงได้สถาปนารัฐบาลชาตินิยมขึ้นที่นานกิง หลังจากนั้นเขาก็ตัดความสัมพันธ์ของเขากับพรรคคอมมิวนิสต์และขับไล่ผู้ฝักใฝ่คอมมิวนิสต์ออกจากพรรคก๊กมินตั๋ง ซึ่งความขัดแย้งนี้ได้นำไปสู่สงครามกลางเมืองจีน
สาธารณรัฐจีนได้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมและความทันสมัย แต่ก็ยังมีความปัญหาขัดแย้งระหว่างรัฐบาลคณะชาติในนานกิง อาทิเช่น พรรคคอมมิวนิสต์จีน, ขุนศึกที่เหลือและ จักรวรรดิญี่ปุ่น อย่างต่อเนื่อง สาธารณรัฐจีนได้มีการเร่งพัฒนาประเทศอย่างจริงจังเมื่อเกิดสงครามกับญี่ปุ่น เมื่อกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นได้รุกรานจีนอย่างอย่างเต็มรูปแบบในปี ค.ศ. 1937
สงครามกับญี่ปุ่นได้ยืดเยื้อจนกระทั่งนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่สอง สาธารณรัฐจีนได้เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองยุติลงและจักรวรรดิญี่ปุ่นยอมจำนนโดยไม่มีเงื่อนไขในปี ค.ศ. 1945 สาธารณรัฐจีนมีฐานะเป็นผู้ชนะสงครามและได้กลายมาเป็นหนึ่งในชาติมหาอำนาจ มีส่วนในการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ
ในระหว่างยุคสงครามเย็นได้เกิดความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต นำไปสู่การขัดแย้งครั้งใหม่ระหว่างพรรคก๊กมินตั๋งและพรรคคอมมิวนิสต์ซึ่งได้ทำให้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นอีกครั้ง ในปี ค.ศ. 1947 รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐจีนได้ถือกำเนิดขึ้นและเป็นกฎหมายพื้นฐานของประเทศ จนกระทั่งพรรคก๊กมินตั๋งของเจียง ไคเชก ได้พ่ายแพ้ในการสู้รบสงครามกลางเมืองกับพรรคคอมมิวนิสต์ ในปี ค.ศ. 1949 พรรคคอมมิวนิสต์นำโดย เหมา เจ๋อตง ได้จัดตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน ขับไล่รัฐบาลจีนคณะชาติออกจากจีนแผ่นดินใหญ่ ส่วนเจียง ไคเชกและพรรคก๊กมินตั๋งได้ถอยร่นไปยังเกาะไต้หวัน
ประวัติศาสตร์
แก้สาธารณรัฐได้รับการจัดตั้งอย่างเป็นทางการขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1912 หลังการปฏิวัติซินไฮ่ ซึ่งเริ่มด้วยการเกิดการก่อการกำเริบอู่ชางในประเทศจีน ซึ่งนำไปสู่การโค่นล้มราชวงศ์ชิงและสิ้นสุดระบอบการปกครองโดยจักรพรรดินับห้าพันปีในประวัติศาสตร์จีน ตลอดระยะเวลาตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปี ค.ศ. 1949 สาธารณรัฐจีนได้ดำรงอยู่กับจีนแผ่นดินใหญ่ อำนาจรัฐบาลกลางของสาธารณรัฐจีนได้สั่นคลอนในสมัยขุนศึก (ค.ศ. 1915–28) ประกอบกับภาวะสงครามกับจักรวรรดิญี่ปุ่น (ค.ศ. 1927–37) เมื่อรัฐบาลพรรคก๊กมินตั๋งได้ดำเนินนโยบายการรวบรวมประเทศจีนเป็นปึกแผ่นได้อย่างมั่นคงภายใต้ระบบพรรคเดียว[1] เมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่สองได้ยุติลง จักรวรรดิญี่ปุ่นได้ยอมจำนนและได้คืนเกาะไต้หวันและหมู่เกาะข้างเคียงแก่ฝ่ายสัมพันธมิตร ฝ่ายสัมพันธมิตรได้พิจารณาให้เกาะไต้หวันได้กลับคืนมาภายใต้การปกครองของสาธารณรัฐจีน
เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ยึดครองประเทศจีนได้สำเร็จ หลังสงครามกลางเมืองจีนในปี ค.ศ. 1949 รัฐบาลสาธารณรัฐจีนได้ลี้ภัยไปยังเกาะไต้หวันและประกาศให้เมืองไทเป เป็นเมืองหลวงรัฐบาลพลัดถิ่น[2] ฝ่ายพรรคคอมมิวนิสต์จีนเมื่อยึดครองแผ่นดินใหญ่จีนก็ได้สถาปนา สาธารณรัฐประชาชนจีน ขึ้นที่กรุงปักกิ่ง และได้ดำเนินนโยบายจีนเดียว อ้างสิทธิ์และอำนาจเหนือดินแดนจีนทั้งหมด โดยมีการอ้างสิทธิ์ในการรวมเกาะไต้หวันมาเป็นส่วนหนึ่งของจีนแผ่นดินใหญ่ นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลคอมมิวนิสต์ที่ปักกิ่งและรัฐบาลก๊กมินตั๋งที่ไทเป
การก่อตั้งสาธารณรัฐจีน
แก้การปฏิวัติซินไฮ่เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1912 โดยการนำของ ดร.ซุน ยัตเซ็น ซึ่งเป็นการโค่นล้มอำนาจการปกครองของราชวงศ์ชิง สิ้นสุดการปกครองโดยจักรพรรดิของจีน จีนได้เปลี่ยนแปลงการปกครองสู่สาธารณรัฐ[3] เป็นผลทำให้จีนเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยในที่สุด
สาเหตุที่ก่อให้เกิดการโค่นล้มอำนาจครั้งนี้น่าจะมาจากความเสื่อมโทรมของสภาพสังคมจีน ชาวจีนอยู่ภายใต้การปกครองโดยราชวงศ์ชิง ชนกลุ่มน้อยเผ่าแมนจูซึ่งได้ให้อภิสิทธิ์แก่เฉพาะชาวแมนจูและกดขี่ชาวจีนฮั่น อีกทั้งราชวงศ์ชิงไม่มีอำนาจกำลังพอที่จะปกครองประเทศได้ ซึ่งตลอดระยะเวลาปกครอง 268 ปี (ค.ศ. 1644–1912) มีแต่การแย่งชิงอำนาจในหมู่ผู้นำราชวงศ์ ด้วยเหตุนี้ราษฎรส่วนมากจึงตกอยู่ในสภาพยากจน ชาวไร่ชาวนาถูกขูดรีดภาษีอย่างหนัก ถูกเอารัดเอาเปรียบจากเจ้าของที่ดิน ชาวต่างชาติเข้ามากอบโกยผลประโยชน์ แผ่นดินจีนถูกคุกคามจากเหล่าประเทศลัทธิล่าอาณานิคม[4] โดยเฉพาะชาติมหาอำนาจตะวันตก และญี่ปุ่น จีนได้ทำสงครามต่อต้านการรุกรานของกองกำลังต่างชาติเป็นฝ่ายแพ้มาโดยตลอด ทำให้ราษฎรหมดความเชื่อถือต่อราชวงศ์ชิงเป็นอย่างมากนำไปสู่การต่อต้านระบอบการปกครองของราชวงศ์แมนจู
แนวความคิดต่อต้านราชวงศ์ชิงเริ่มมาจากการที่ราชวงศ์ชิงได้ทำสงครามฝิ่นกับอังกฤษ โดยสงครามฝิ่นครั้งที่หนึ่ง ทำให้จีนต้องสูญเสียเกาะฮ่องกงและลงนามสนธิสัญญานานกิง ผลกระทบของสนธิสัญญานานกิงที่จีนจำต้องลงนามเมื่อพ่ายแพ้สงครามฝิ่นครั้งแรก ในด้านสังคมที่ร้ายแรงที่สุด คือ อังกฤษบังคับให้จีนยอมรับว่าการค้าฝิ่นเป็นเรื่องถูกกฎหมาย โดยถือว่าเป็นยารักษาโรคและทำได้โดยเสรี ทำให้สังคมจีนอยู่ในสภาพอ่อนแอ เพราะประชากรจำนวนมากอยู่ในสภาพติดยาเสพติด บ้านเมืองตกอยู่สภาพจลาจลในวุ่นวาย แม้ราชวงศ์ชิงจะพยายามแก้ปัญหาการเสพติดฝิ่นของประชาชน แต่เมื่อจีนได้ทำสงครามฝิ่นครั้งที่สองและเป็นฝ่ายพ่ายแพ้อีกครั้งทำให้จีนต้องทำสนธิสัญญาเทียนจินซึ่งทำให้จีนสูญเสียผลประโยชน์มากขึ้นไปอีก
กบฎนักมวยเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1900 กองโจรนักมวยได้บุกเข้าโจมตีฐานที่มั่นของพันธมิตรแปดชาติ ราชวงศ์ชิงนำโดยซูสีไทเฮาได้สนับสนุนการกบฎดังกล่าว แต่ก็ได้พ่ายแพ้ให้กับกลุ่มพันธมิตรแปดชาติ ทำให้จีนถูกบังคับให้ลงนามพิธีสารนักมวย และต้องจ่ายค่าชดใช้สงครามจำนวนมหาศาล[5] ทำให้ชาวจีนอัปยศอดสูเป็นอย่างมาก
ในขณะที่ราชวงศ์ชิงกำลังอ่อนแอจากปัญหารุมเร้าทั้งภายในประเทศและจากนอกประเทศ ชาวตะวันตกและญี่ปุ่นดูถูกชาวจีนโดยการขนานนามว่า ขี้โรคแห่งเอเชีย ทำให้ชาวจีนบางส่วนมีแนวความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไปสู่ประชาธิปไตยและนำไปสู่ขบวนการถงเหมิงฮุ่ยต่อต้านราชวงศ์ชิง นำโดย ดร.ซุน ยัตเซ็น
การจัดตั้งสาธารณรัฐจีนพัฒนามาจากการก่อการกำเริบอู่ชางโดยได้เริ่มลุกฮือต่อต้านราชวงศ์ชิง เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1911 ต่อมาการลุกฮือได้พัฒนามาเป็นการปฏิวัติซินไฮ่ การปฏิวัติสิ้นสุดลงด้วยชัยชนะของขบวนการถงเหมิงฮุ่ย ราชสำนักชิงโดยมี ไจ้เฟิง องค์ชายฉุน และ พระพันปีหลงยฺวี่ เป็นผู้สำเร็จราชการ ยอมสละอำนาจโดยประทับตราพระราชสัญจักร คืนอำนาจให้ประชาชน หลังจากการยอมสละอำนาจของราชสำนักชิงแล้ว ชาวจีนทั่วประเทศและชาวจีนโพ้นทะเลได้มีการเฉลิมฉลอง วันแห่งการลุกฮือ วันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1911 ที่เป็นที่รู้จักกันใน "วันสองสิบ" ซี่งวันดังกล่าวนี้เองในปัจจุบันได้เป็นวันชาติสาธารณรัฐจีน เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม ค.ศ. 1911 ซุน ยัตเซ็น ได้ถูกเลือกเป็นประธานาธิบดี โดยการประชุมที่นานกิงโดยมีตัวแทนจากทุกมณฑลของจีน ซุนได้แถลงกาณ์เปิดตัวอย่างเป็นทางการ และให้สัตย์คำมั่นสัญญาว่า จะรวมสาธารณรัฐจีนให้มั่นคงและวางแผนเพื่อความเป็นอยู่ของประชาชน
ซุนได้ตระหนักถึงการขาดแคลนการสนับสนุนทางด้านการทหาร ซึ่งผู้นำกองทัพเป่ย์หยาง นายพลยฺเหวียน ชื่อไข่ได้เสนอให้การสนับสนุนแต่ต้องแลกกับกับการที่เขาจะได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดี ซุน ยัตเซ็นจึงได้มอบอำนาจตำแหน่งประธานาธิบดีให้แก่ ยฺเหวียน ชื่อไข่ ผู้ซึ่งต่อมาได้บีบบังคับให้จักรพรรดิผู่อี๋ จักรพรรดิราชวงศ์ชิงองค์สุดท้ายสละราชสมบัติ นายพลยฺเหวียนได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีต่อในปี ค.ศ. 1913[4][6]
ยฺเหวียน ชื่อไข่รื้อฟื้นระบอบจักรพรรดิ
แก้ยฺเหวียน ชื่อไข่ได้อำนาจปกครองประเทศและมีอำนาจด้านการทหารอยู่ในกำมือ เขากลับแสดงตนเป็นเผด็จการและละเลยต่อหลักการของสาธารณรัฐที่ก่อตั้งโดยเจตนารมณ์ของ ดร. ซุน ยัตเซ็น ยฺเหวียนได้คุกคามขู่เข็ญประหารชีวิตสมาชิกรัฐสภาผู้ไม่เห็นด้วยกับเขาและได้ยุบพรรคก๊กมินตั๋ง มีการล้มล้างรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐ การเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยที่ถูกคาดหวังไว้ในปี ค.ศ. 1912 ถูกยุติลงด้วยการลอบสังหารผู้ลงสมัครเลือกตั้งโดยคนของยฺเหวียน ชื่อไข่
ยฺเหวียน ชื่อไข่หลังจากได้ทำลายหลักการประชาธิปไตยแล้วได้ทะเยอทะยานที่ต้องการขึ้นเป็นฮ่องเต้ โดยได้รื้อฟื้นระบอบจักรพรรดิหรือฮ่องเต้ขึ้นมาอีกครั้ง จนในที่สุดยฺเหวียนได้ปราบดาภิเษกตั้งตนเป็นฮ่องเต้หรือ "จักรพรรดิหงเซียน (洪憲皇帝)" และสถาปนาเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น จักรวรรดิจีน ขึ้นในปี ค.ศ. 1915[7] เท่ากับเป็นการทรยศและขัดต่อหลักการลัทธิไตรราษฎรของดร.ซุน และสาธารณรัฐจีน ทำให้แผ่นดินเกิดความวุ่นวายอีกครั้ง เกิดการลุกฮือขึ้นต่อต้านฮ่องเต้หงเซียนทั่วประเทศเกิดสงครามพิทักษ์ชาติขึ้นโดยกลุ่มทหารที่ไม่เห็นด้วยกับการรื้อฟื้นระบอบฮ่องเต้กลับมา จักรวรรดิจีนของยฺเหวียน ชื่อไข่ดำรงอยู่ได้เพียง 1 ปี ใน ค.ศ. 1916 ยฺเหวียน ชื่อไข่ได้เสียชีวิตด้วยวัยชราและระบอบจักรพรรดิที่เขารื้อฟื้นก็สิ้นสุดลง[8][9]
หลังจากการตายของฮ่องเต้ยฺเหวียน ชื่อไข่ บรรดาแว่นแคว้นจังหวัดต่าง ๆ ได้ประกาศตั้งตนเป็นอิสระไม่ขึ้นกับรัฐบาลกลางอีกต่อไปทำให้ประเทศจีนเข้าสู่ยุคแห่งความแตกแยกหรือยุคที่เรียกว่า สมัยขุนศึก
รัฐบาลเป่ย์หยางและสมัยขุนศึก
แก้หลังจากนั้นประเทศจีนก็ได้เข้าสู่สมัยขุนศึก ประชาชนอยู่อย่างยากลำบากเกิดสงครามการสู้รบขึ้นทุกหย่อมหญ้าทั่วทั้งประเทศ อดีตกลุ่มทหารของยฺเหวียน ชื่อไข่ได้เริ่มแตกแยกกัน โดยกลุ่มกองทัพเป่ย์หยางที่เข้มแข็งที่สุดได้ตั้ง รัฐบาลเป่ย์หยาง ที่กรุงปักกิ่งสืบอำนาจเป็นรัฐบาลต่อไป รัฐบาลเป่ย์หยางนั้นถือว่าเป็นรัฐบาลประชาธิปไตยจอมปลอมที่มีประธานาธิบดีที่ถูกแต่งตั้งเป็นเพียงหุ่นเชิดให้แก่กองทัพเท่านั้น ทำให้ชาวจีนเริ่มลุกขึ้นต่อต้านรัฐบาลเป่ย์หยางขึ้น สถานการณ์ที่วุ่นวายได้ทำให้ ดร.ซุน ยัตเซ็นได้ถูกบีบบังคับให้ต้องลี้ภัยกลับไปที่เมืองกวางตุ้งในภาคใต้อีกครั้งด้วยความช่วยเหลือของกลุ่มขุนศึกที่สนับสนุนประชาธิปไตย ในปี ค.ศ. 1917 และ ค.ศ. 1922 ดร.ซุนได้ตั้งรัฐบาลกู้ชาติเป็นรัฐบาลคู่แข่งในภาคใต้ขึ้นโดยใช้เมืองกวางตุ้งเป็นฐานที่มั่นหวังจะกอบกู้ประเทศจีนให้เป็นประชาธิปไตยเพื่อปวงชนอีกครั้ง
ดร.ซุนได้ฟื้นฟูพรรคก๊กมินตั๋งอีกครั้งในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1919 ทั้งนี้ดร.ซุนมิได้หมดหวังท้อแท้เขายังได้มีความหวังที่จะรวมประเทศจีนอีกครั้ง โดยมี เจียง ไคเชก ลูกศิษย์ผู้สืบทอดเจตนารมณ์ของเขาได้กรีธาทัพรวมชาติขึ้นเหนือเพื่อล้มล้างรัฐบาลเป่ย์หยางที่ปักกิ่งในตอนเหนือหรือการกรีธาทัพขึ้นเหนือ อย่างไรก็ตาม ดร.ซุนกลับขาดแคลนการสนับสนุนด้านการทหารที่เพียงพอและมีงบประมาณที่จำกัด ในขณะเดียวกันรัฐบาลเป่ย์หยางได้พยายามต่อสู้ดิ้นรนที่จะยื้อเวลาอยู่ในอำนาจต่อไป
และความไม่เป็นธรรม
แก้ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่งที่ได้ปะทุขึ้น ประเทศจีนได้ถูกบรรดาชาติตะวันตกและจักรวรรดิญี่ปุ่นบีบบังคับให้เข้าร่วมฝ่ายสัมพันธมิตรและประกาศสงครามกับเยอรมนี รัฐบาลเป่ย์หยางยอมปฏิบัติตามโดยไม่มีเงื่อนไข มีการยึดทรัพย์จับเชลยชาวเยอรมันในจีนและได้ส่งอาหาร, แรงงานไปช่วยฝ่ายสัมพันธมิตรในการรบ แต่ในปี ค.ศ. 1919 เมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่งยุติลง ถึงแม้จีนจะอยู่ฝ่ายสัมพันธมิตรตามหลักมีสิทธิ์เป็นผู้ชนะสงคราม แต่หลังสงครามสิ้นสุดลงประเทศจีนกลับเป็นฝ่ายถูกเอารัดเอาเปรียบ สนธิสัญญาแวร์ซายได้ปล่อยให้สัมปทานของเยอรมนีในมณฑลชานตงของจีนต้องถูกโอนให้แก่ญี่ปุ่นแทนที่จะถูกโอนกลับมาอยู่ภายใต้การปกครองของจีน
อีกทั้งญี่ปุ่นยังได้พยายามรื้อฟื้นประเด็นข้อเรียกร้อง 21 ประการเพื่อขูดรีดผลประโยชน์จากจีนอีกครั้ง ประกอบกับบรรดาประเทศตะวันตกและญี่ปุ่นไม่ยอมแก้ไขยอมให้สิทธิสภาพนอกอาณาเขตคืนแก่จีน จนทำให้ชาวจีนโกรธแค้นเป็นอย่างมากทำให้เกิดการประท้วงของนักศึกษาต่อต้านรัฐบาลที่ยอมอ่อนข้อเพิกเฉยต่อสนธิสัญญาแวร์ซายโดยกลุ่มปัญญาชน นำไปสู่การเดินขบวนเรียกร้องความเป็นธรรมหรือเป็นที่รู้จักกันในเหตุการณ์ ขบวนการ 4 พฤษภาคม
การเดินขบวนเคลื่อนไหวในครั้งนี้เกิดการรับเอาอิทธิพลแนวคิดลัทธิมากซ์มาเผยแพร่ทำให้รากฐานของแนวความคิดลัทธิคอมมิวนิสต์ได้เริ่มถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกอย่างแพร่หลายในหมู่ปัญญาชนและนักศึกษา จนท้ายที่สุดได้นำไปสู่การก่อตัวของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในภายภาคหน้า[10]
กำเนิดพรรคคอมมิวนิสต์จีน
แก้หลังดร.ซุนได้ตั้งรัฐบาลในภาคใต้ขึ้น เขาได้ตัดสินใจขอความช่วยเหลือทางด้านการทหารและงบประมาณส่วนหนึ่งจากสหภาพโซเวียตและก่อตั้งโรงเรียนทหารหวังผู่ ซึ่งเป็นโรงเรียนทหารแห่งแรกขึ้น แต่การสนับสนุนของโซเวียตกลับต้องแลกเปลี่ยนกับการให้โซเวียตก่อตั้งและสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่มีต้นกำเนิดจากขบวนการเคลื่อนไหว 4 พฤษภาคม ที่เริ่มรวมตัวเป็นรูปเป็นร่างตั้งแต่ปี ค.ศ. 1919 พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ก่อตั้งสำเร็จในปี ค.ศ. 1921 ซึ่งได้รับความนิยมพอ ๆ กับพรรคก๊กมินตั๋ง ในระยะแรก ๆ ทั้ง 2 พรรคได้ตกลงที่จะร่วมมือกันฟื้นฟูและสร้างชาติจีนขึ้นมาโดยยึดหลักการรวมประเทศจีนและความผาสุขของประชาชน
รัฐบาลชาตินิยมจีน (จีนคณะชาติ)
แก้ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1925 ดร.ซุน ยัตเซ็น บิดาแห่งสาธารณรัฐจีนได้เสียชีวิตลง ได้ทิ้งหลักลัทธิไตรราษฎร์ เอาไว้เป็นปรัชญาทางการเมืองที่กล่าวถึงชาติใน 3 ด้าน
เจียง ไคเชก ได้ดำรงตำแหน่งสืบทอดเป็นผู้นำพรรคก๊กมินตั๋งต่อเพื่อสืบทอดเจตนารมณ์ของ ดร.ซุน เจียง ไคเชกได้นำทัพกรีธาขึ้นเหนือจนสำเร็จ ในปี ค.ศ. 1926 ถึง ปี ค.ศ. 1928 เจียงได้ล้มรัฐบาลเป่ย์หยางเดินหน้าปราบกลุ่มขุนศึกจนราบคาบ เขาได้ตั้งรัฐบาลที่เมืองนานกิง ประกาศตั้งรัฐบาลชาตินิยมแห่งสาธารณรัฐจีนขึ้น
สงครามกลางเมือง
แก้สงครามจีน-ญี่ปุ่น และสงครามโลกครั้งที่สอง
แก้จักรวรรดิญี่ปุ่นพยายามดินจีนมาโดยตลอด ทั้งนี้เพื่อบรรลุเป้าที่จะหาประโยชน์สูงสุดจากแผ่นดินจีน จนกระทั่งวันที่ 18 กันยายน 1931 นั่นคือวันที่ญี่ปุ่นได้สร้างสถานการณ์ “เหตุการณ์บึงหลิ่วเถียว” (柳条湖事变)ในการโจมตีเมืองเสิ่นหยางใกล้บึงหลิ่วเถียวของจีน ซึ่งในเวลาเดียวกันนั้น ญี่ปุ่นพยายามหาข้ออ้างในการเข้าบุกยึดแมนจูเรียและโจมตีภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนมาโดยตลอด จึงจงใจจุดชนวนศึกสงครามขึ้น
โดยในวันที่ 18 กันยายนปีนั้น เกิดระเบิดขึ้นที่ทางรถไฟสายแมนจูเรียใต้ของญี่ปุ่น แต่มีความเสียหายน้อยมากจนไม่กระเทือนการให้บริการปกติ ทว่าทหารญี่ปุ่นกลับอ้างว่า ทหารจีนยิงใส่พวกตนจากท้องนา จึงจำเป็นต้อง “ป้องกันตนเอง” เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นที่จักกันในกรณีมุกเดน ต่อมาญี่ปุ่นจึงเปิดฉากยิงใส่ทหารจีนทันทีและถือโอกาสเข้ารุกรานประเทศจีนโดยเริ่มการรุกรานแมนจูเรีย
ในเวลานั้น รัฐบาลก๊กมินตั๋งอยู่ในช่วงรวบรวมกำลัง เพื่อสู้รบกับคอมมิวนิสต์ที่ลุกขึ้นต่อต้านในประเทศ จึงได้มีคำสั่งห้ามต่อต้าน ให้พยายามแก้ไขด้วยวิธีการทางการทูต และให้ถอนกำลังไปที่ด่านซันไห่กวน ทำให้ทหารญี่ปุ่นบุกยึดเสิ่นหยาง แล้วบุกยึดต่อไปที่จี๋หลิน เฮยหลงเจียง จนกระทั่งสามารถยึด 3 มณฑลทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีนได้ในเดือนมกราคม 1932
ในเดือนถัดมาญี่ปุ่นได้สร้างรัฐใหม่ขึ้นบนแผ่นดินแมนจูเรีย โดยมีญี่ปุ่นคอยเชิดอยู่เบื้องหลัง ตั้งชื่อว่า ประเทศแมนจูกัว (满洲国) มีฉางชุนเป็นเมืองหลวง แล้วนำจักรพรรดิผู่อี๋ (ปูยี) ฮ่องเต้ราชวงศ์ชิงองค์สุดท้ายที่ถูกปฏิวัติในปี ค.ค. 1911 ซึ่งมีอายุ 25 พรรษในขณะนั้นมาเป็นฮ่องเต้หุ่นเชิดที่ได้ปกครองแต่ในนาม จากนั้นญี่ปุ่นก็ใช้อำนาจในการขูดรีดประชาชน ทำลายวัฒนธรรม ทำให้ชาวจีนกว่า 30 ล้านคนต้องทนทุกข์ทรมาน
เหตุร้าย 18 กันยายนได้กลายเป็นชนวนความแค้นของจีนทั่วประเทศ จนมีการเรียกร้องให้ต่อต้านญี่ปุ่น และถึงขั้นประท้วงรัฐบาลก๊กมินตั๋งที่ไม่ยอมต่อกรกับญี่ปุ่น จนกระทั่งประชาชนจีนทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีนต่างเริ่มลุกฮือขึ้นต่อต้านญี่ปุ่น เมื่อถึงปี 1937 การรวมตัวก็กระจายกว้างออกไป จนสามารถยืดหยัดสู้รบกับทัพญี่ปุ่นได้อย่างยาวนาน
เรื่องราวในวันที่ 18 กันยายน เป็นหนึ่งในแผนการที่ญี่ปุ่นได้วางไว้นานแล้ว เห็นได้จากเมื่อปี 1927 ที่ญี่ปุ่นได้ประชุมที่โตเกียว แล้วกำหนด “โครงสร้างนโยบายต่อจีน” ออกมา จากนั้นก็ได้แจ้งต่อจักรพรรดิ พร้อมประกาศว่า หากต้องการยึดครองจีน จะต้องสยบแผ่นดินแมนจูเรียก่อน และหากจะพิชิตโลก ก็จะต้องสยบจีนให้ได้ก่อน สงครามครั้งนี้ได้บานปลายจนกลายเป็นสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สองในที่สุด
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง การยึดและถอยมาเกาะไต้หวัน
แก้2 กันยายน ค.ศ. 1945 หลังการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ ญี่ปุ่นยอมจำนนแบบไม่มีเงื่อนไข อเมริกาเข้ายึดครองญี่ปุ่นและหมู่เกาะต่าง ๆ ที่ญี่ปุ่นตั้งฐานทัพอยู่ รวมถึงเกาะไต้หวันด้วย ส่วนโซเวียตรัสเซียเข้าตีแมนจูเรียและเกาหลีตอนเหนือขับไล่ญี่ปุ่นกลับประเทศตนไป ประเทศจีนได้เข้าร่วมฝ่ายสัมพันธมิตรได้เป็นส่วนหนึ่งในประเทศผู้ชนะสงครามเหนือญี่ปุ่น มีศักดิ์ศรีเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจ แต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศจีนเสียหายย่อยยับ ผู้คนทุกข์ยาก อดอยาก ขาดซึ่งปัจจัยสี่ ประกอบกับตลอดระยะ 10 กว่าปีที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนดำเนินการเผยแพร่อุดมการณ์ ทั้งแบบใต้ดินบนดิน ทำให้มีประชาชนเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก เพราะอุดมการณ์แบบสังคมนิยมนั้นดึงดูดคนยากคนจนเป็นพิเศษ เวลานี้กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน (人民解放軍) ก็พร้อมแล้วสำหรับสงครามปลดปล่อยประชาชนจากระบบ นายทุน ขุนศึก ศักดินา
ส่วนรัฐบาลก๊กมินตั๋งหลังสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลหมดเนื้อหมดตัวเพราะใช้เงินไปกับสงครามโลกจำนวนมาก ซ้ำด้วยปัญหาการคอรัปชั่นในวงราชการอย่างกว้างขวางทำให้ไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชน อีกทั้งทหารก๊กมินตั๋งก็เหนื่อยล้าจากการรบที่ต่อเนื่องยาวนานทำให้ทหารไร้ระเบียบวินัยทั้งยังขาดแคลนยุทธปัจจัย ขวัญกำลังใจตกต่ำ เทียบไม่ได้เลยกับกองทัพปลดแอกประชาชนจีนที่มีขวัญกำลังใจเปี่ยมล้น เพียบพร้อมทั้งกำลังพลและยุทธปัจจัยเพราะได้รับการสนับสนุนจากประชาชน ปี ค.ศ. 1947 อเมริกาพยายามเป็นตัวกลาง ให้ทั้งสองพรรคเจรจากันอย่างสันติ แต่อเมริกาก็ต้องถอนทหารออกไปเพราะเดิมทหารอเมริกันนั้นเพียงแค่มาช่วยก๊กมินตั๋งรบกับญี่ปุ่น อีกทั้งไม่มีกำลังพลมากพอที่จะยับยั้งไม่ให้ทั้งสองพรรคทำสงครามกัน จึงเกิดเป็นสงครามกลางเมืองจีนอีกเป็นครั้งที่สอง
หลังจากนั้นในปี 1949 พรรคคอมมิวนิสต์จีนเข้ายึดเมืองสำคัญ ๆ ของจีนได้โดยแทบจะไม่มีการต่อต้าน สงครามกลางเมืองได้สิ้นสุดลงด้วยความพ่ายแพ้ของพรรคก๊กมินตั๋งของเจียง ไคเช็กต่อพรรคคอมมิวนิสต์จีนของเหมา เจ๋อตุง พรรคก๊กมินตั๋งจึงได้หนีไปเกาะไต้หวัน เมื่อเป็นดังนี้ ในวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ.1949 เจียง ไคเชก จึงนำพลพรรคก๊กมินตั๋งพร้อมทั้งสมบัติมีค่า เช่น วัตถุโบราณจากวังต้องห้าม ทองคำในธนาคาร ตลอดจนทรัพย์สินต่าง ๆ เหล่าพ่อค้าประชาชนที่กลัวภัยคอมมิวนิสต์หนีตามเจียงไปตั้งหลักที่เกาะไต้หวันจำนวนมากกว่า 1 ล้าน 5 แสนคน เพื่อรอวันมายึดแผ่นดินใหญ่คืน
การเมือง
แก้รัฐบาลแห่งชาติของสาธารณรัฐจีนได้ก่อตั้งเป็นครั้งแรก ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1912 ที่เมืองนานกิง (จีน: 南京市) โดยมี ดร.ซุน ยัตเซ็น เป็นประธานาธิบดีชั่วคราวคนแรก บรรดาผู้แทนจากมณฑลต่าง ๆ ทั่วประเทศจีนถูกส่งไปเพื่อยืนยันรับรองอำนาจของรัฐบาลแห่งชาติที่นานกิง และต่อมาก็มีการจัดตั้งรัฐสภาขึ้นเป็นครั้งแรก อำนาจของรัฐบาลแห่งชาตินี้มี จำกัด และอายุสั้น เนื่องจากสาธารณรัฐจีนอยู่ในช่วงสมัยขุนศึก มียังการแบ่งนายพล หรือขุนศึก ได้ตั้งตนเป็นอิสระควบคุมทั้งภาคกลางและภาคเหนือของจังหวัดและมณฑลทั่วประเทศ การปฏิบัติหน้าที่ที่จำกัดโดยรัฐบาลชุดนี้ ประกอบไปด้วย การประกาศล้มล้างราชวงศ์ชิงอย่างเป็นทางการ จักรพรรดิผู่อี๋ จักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์ชิง ถูกบีบบังคับให้ออกจากพระราชวังต้องห้ามในปี ค.ศ. 1917 อีกทั้งยังมีแนวนโยบายความคิดริเริ่มทางพัฒนาเศรษฐกิจ
อำนาจของรัฐสภากลายได้น้อยลง เมื่อได้มีการละเมิดรัฐธรรมนูญโดย นายพลยฺเหวียน ชื่อไข่ และสมาชิกรัฐสภาพรรคก๊กมินตั๋งถูกกองทัพของนายพลยฺเหวียนบีบให้ยอมแพ้ อีกทั้งยังให้สมาชิกของในพรรคก๊กมินตั๋งสนับสนุนเขาด้วยการเสนอเงินจำนวน 1,000 ปอนด์สเตอร์ลิงเป็นการตอบแทน ยฺเหวียนได้รักษาอำนาจของเขาโดยการส่งนายพลคนสนิทใกล้ชิดไปประจำตามจังหวัดและมณฑลทั่วประเทศจีนในฐานะผู้ปกครองแคว้น เมื่อนายพลยฺเหวียน ชื่อไข่ได้ฟื้นคืนระบอบจักรพรรดิและสถาปนาตั้งตนเป็นฮ่องเต้ นามว่า "จักรพรรดิหงเซียน (洪憲皇帝)" ได้มีการต่อต้านทั่วประเทศและเกิดการจลาจลขึ้น เมื่อยฺเหวียนได้เสียชีวิต ในปี ค.ศ. 1916 รัฐสภาได้ถูกเรียกให้มีประชุมอีกครั้งเพื่อให้มีการปรับปรุงกฎหมายและรัฐธรรมนูญให้เกิดถูกต้องชอบธรรมให้กับรัฐบาลใหม่ อย่างไรก็ตามบรรดานายพลได้ถูกส่งไปประจำยังแคว้นต่าง ๆ ทั่วประเทศจีนได้ตั้งตนเป็นอิสระหลังจากการเสียชีวิตของยฺเหวียน ชื่อไข่ โดยไม่ขึ้นตรงกับรัฐบาลแห่งชาติอีกต่อไป ทำให้จีนเข้าสู่แห่งความแตกแยกหรือ สมัยขุนศึก แต่รัฐบาลแห่งชาติที่ไร้อำนาจก็ได้ดำรงอยู่อย่างกระท่อนกระแท่น เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งขึ้น สาธารณรัฐจีนได้เห็นสมควรที่จะเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อที่จะได้ยื่นข้อเสนอในการขอแก้ไขสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมและเรียกร้องสิทธิสภาพนอกอาณาเขตกลับคืนมา แต่รัฐบาลแห่งชาติก็ยังคงลังเลเพราะต้องการดูสถานการณ์ความได้เปรียบในสงคราม เมื่อหลายประเทศตะวันตกและจักรวรรดิญี่ปุ่นได้บีบบังคับให้จีนประกาศสงครามกับเยอรมนี ทำให้สาธารณรัฐจีนต้องประกาศสงครามกับจักรวรรดิเยอรมันและเข้าร่วมฝ่ายสัมพันธมิตร แต่จุดประสงค์ที่แท้จริงคือเมื่อเยอรมันแพ้สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เพื่อที่จะเลิกกิจการการถือครองเยอรมันและยึดครองบรรดาทรัพย์สิน ธุรกิจ ของชาวเยอรมันในประเทศจีน นอกจากนี้รัฐบาลแห่งชาติ สาธารณรัฐจีนยังมีรัฐบาลขุนศึกที่ต้องคอยรับมืออีกในช่วงเวลาเดียวกัน
รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐจีนก่อตั้งขึ้นบนพื้นฐานของรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐจีนและหลักลัทธิไตรราษฎร์ ซึ่งระบุว่า (สาธารณรัฐจีน) จะเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยของประชาชน จะถูกปกครองร่วมกันโดยประชาชนและเพื่อประชาชน โดยได้รับแรงบันดาลใจจากวาทะของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา อับราฮัม ลินคอล์น ที่ว่า ประชาธิปไตยเป็น การปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน[11]
ต่อมา เจียง ไคเช็ก ผู้นำการทหาร มือขวาผู้ที่ได้รับความไว้วางใจจาก ดร.ซุน ยัตเซ็น ได้เข้าปราบปรามเหล่าขุนศึกและรวบรวมประเทศให้เป็นหนึ่งและก่อตั้ง รัฐบาลคณะชาติ ขึ้นแทน โดยมีพรรคก๊กมินตั๋งเป็นพรรคหลัก ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1928 การประชุมสมัชชาภาคที่สี่ครั้งที่ 2 ของรัฐสภาแห่งชาติก๊กมินตั๋งที่จัดขึ้นในนานกิงผ่านการปฏิรูปกฎหมายของรัฐบาลคณะชาติ กฎหมายได้ระบุว่ารัฐบาลแห่งชาติจะถูกกำกับและควบคุมภายใต้คณะกรรมการบริหารกลางของพรรคก๊กมินตั๋ง กับคณะกรรมการรัฐบาลแห่งชาติซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากคณะกรรมการกลางของพรรคก๊กมินตั๋ง ภายใต้รัฐบาลคณะชาติได้มีการก่อตั้งกระทรวงหลักขึ้น 7 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงการต่างประเทศ, กระทรวงการเงิน, กระทรวงการขนส่ง, กระทรวงยุติธรรม, กระทรวงการเกษตรและกระทรวงการเหมืองแร่พาณิชย์ และนอกจากนี้เช่น ศาลฎีกา, และสถาบันการศึกษาทั่วไป
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้ดูบทความหลักที่: การแบ่งเขตการปกครองในสาธารณรัฐจีน และ การแบ่งเขตการปกครองในสาธารณรัฐจีนในปี ค.ศ. 1945
เขตการปกครอง | จำนวน | สาธารณรัฐจีน การแบ่งเขตการปกครองภาคแรก สมัยรัฐบาลเป่ย์หยาง (ภาคเหนือ) | เขตปกครองของสาธารณรัฐจีนในปี ค.ศ. 1945 |
---|---|---|---|
มณฑล | 22 | มณฑลจื๋อลี่ (直隸) | มณฑลเฟิ่งเทียน (奉天) | มณฑลจี๋หลิน (吉林) | มณฑลเฮย์หลงเจียง (黑龍江) | มณฑลชานตง (山東) | มณฑลเหอหนาน (河南) | มณฑลชานซี (山西) | มณฑลเจียงซู (江蘇) | มณฑลอานฮุย (安徽) | มณฑลเจียงซี (江西) | มณฑลฝูเจี้ยน (福建) | มณฑลเจ้อเจียง (浙江) | มณฑลหูเป่ย์ (湖北) | มณฑลหูหนาน (湖南) | มณฑลฉ่านซี (陝西) | มณฑลกานซู่ (甘肅) | มณฑลซินเจียง (新疆) | มณฑลเสฉวน (四川) | มณฑลกวางตุ้ง (廣東) | มณฑลกว่างซี (廣西) | มณฑลยูนนาน (雲南) | มณฑลกุ้ยโจว (貴州) | |
เมืองท่าสำคัญ | 2 | เจียวอ้าว (膠澳商埠) | ซงฮู่ (淞滬商埠) | |
เขตบริหารพิเศษ | 4 | ชวนเปียน (川邊特別區) | เยโฮล (เร่อเหอ) (热河特别区) | ชาร์ฮาร์ (ฉาฮาเอ่อร์) (察哈尔特别区) | ซุยหย่วน (綏遠特別區) | |
เขตปกครองภูมิภาค | 4 | ทิเบต (西藏地方) | มองโกเลีย (เหมิงกู่) (蒙古地方) | ชิงไห่ (青海省) | จิงเจ้า (เมืองหลวง) (京兆地方) | |
เขตการปกครอง | จำนวน | สาธารณรัฐจีน การแบ่งเขตการปกครองภาคสอง สมัยรัฐบาลจีนคณะชาติ (พรรคก๊กมินตั๋ง) | |
มณฑล | 28 | มณฑลเจียงซู (江蘇) | มณฑลเจ้อเจียง (浙江) | มณฑลอานฮุย (安徽) | มณฑลเจียงซี (江西) | มณฑลหูเป่ย์ (湖北) | มณฑลหูหนาน (湖南) | มณฑลเสฉวน (四川) | มณฑลซีคัง (西康) | มณฑลฝูเจี้ยน (福建) | มณฑลกวางตุ้ง (廣東) | มณฑลกว่างซี (廣西) | มณฑลยูนนาน (雲南) | มณฑลกุ้ยโจว (貴州) | มณฑลหูเป่ย์ (河北) | มณฑลชานตง (山東) | มณฑลหูหนาน (河南) | มณฑลชานซี (山西) | มณฑลฉ่านซี (陝西) | มณฑลกานซู่ (甘肅) | มณฑลหนิงเซี่ย (寧夏省) | มณฑลชิงไห่ (青海省) | มณฑลซุยหย่วน (綏遠) | มณฑลชาร์ฮาร์ (ฉาฮาเอ่อร์) (察哈爾) | มณฑลเร่อเหอ (熱河) | มณฑลเหลียวหนิง (遼寧) | มณฑลจี๋หลิน (吉林) | มณฑลเฮย์หลงเจียง (黑龍江) | มณฑลซินเจียง (新疆) | |
เขตเทศบาล | 6 | หนานจิง (南京) | เซี่ยงไฮ้ (上海) | เป่ย์ผิง (北平) | ชิงเต่า (青島) | เทียนจิน (天津) | ฮั่นโข่ว (漢口) | |
นครระดับจังหวัด | 2 | เวยไห่ (威海衛行政區) | ตงเฉิ่ง (東省特別行政區]) | |
เขตบริหารภูมิภาค | 2 | ทิเบต (西藏地方) | มองโกเลีย (เหมิงกู่) (蒙古地方) |
-
แผนที่สาธารณรัฐจีนในปี ค.ศ. 1936
-
แผนที่สาธารณรัฐจีนในปี ค.ศ. 1914 มาตราส่วนขนาดแผนที่โลก
-
ดินแดนที่สาธารณรัฐจีนอ้างสิทธิ
สาธารณรัฐจีนมีความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนกับประเทศมองโกเลีย (มองโกเลียนอก) ในฐานะที่เป็นรัฐสืบต่อจากราชวงศ์ชิง สาธารณรัฐจีนอ้างสิทธิ์ในดินแดน มองโกเลียนอก ประเทศมองโกเลียได้ถูกปกครองโดยรัฐบาลเป่ย์หยางตลอดจนถึงสมัยของรัฐบาลจีนคณะชาตินำโดยพรรคก๊กมินตั๋ง จนกระทั่งประเทศมองโกเลียได้รับเอกราชจากจีนหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง สาธารณรัฐจีนได้ทำสนธิสัญญาพันธมิตรและพันธไมตรีจีน–โซเวียตเนื่องจากการกดดันโดยสหภาพโซเวียต[12]
เมืองสำคัญ
แก้ในระเวลาแรกที่ก่อตั้งสาธารณรัฐจีน ได้มีการก่อตั้ง "เขตปกครองชนบทเพื่อพัฒนาไปสู่ระบบเมือง" ขึ้น เพื่อสนับสนุนการก่อสร้างชนบทเพื่อขยายเป็นเมืองใหญ่ แต่การพัฒนาเมืองชนบทหยุดชะงักลงในช่วงรัฐบาลเป่ย์หยาง ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1921 กว่างโจว ถูกพัฒนายกระดับขึ้นเป็นเมือง รัฐบาลเห็นผลของความสำเร็จของเมืองกว่างโจว จึงเพิ่มการใช้ระบบเมืองทั่วประเทศ วันที่ 3 กรกฎาคม ในปีเดียวกัน รัฐบาลเป่ย์หยางประกาศใช้ "ระบบเขตเทศบาล" ขึ้น "เมือง" ได้ถูกแบ่งออกเป็น "เมืองสำคัญ" และ "เมืองธรรมดา" ได้แก่ "เทียนสิน, ซ่งอู๋ (ปัจจุบันคือเซี่ยงไฮ้), ชิงเต่า, ฮาร์บิน, ฮั่นโข้ว (ปัจจุบันคืออู่ฮั่น) รวมทั้งสิ้น 6 เมืองสำคัญ[13] ในปี ค.ศ. 1930 รัฐบาลจีนคณะชาติได้ประกาศใช้ "กฎหมายบริหารเขตเทศบาล" ขึ้น "เมือง" ได้ถูกแบ่งออกเป็น "เมืองท้องถิ่นภูมิภาค" และ เขตเทศบาลพิเศษ โดยเมืองท้องถิ่นภูมิภาคและเขตชนบทจะอยู่ในระดับเดียวกัน มีฐานะเทียบเท่ากับจังหวัด เมืองแต่ละเมืองของเขตชนบทจะอยู่ภายใต้เขตอำนาจของเมืองท้องถิ่นภูมิภาค กฎหมายได้กำหนดแต่ละเมืองมีประชากรได้ถึงหนึ่งล้านคน แต่มีข้อยกเว้น ในปี ค.ศ. 1948 "รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐจีน" เมืองแต่ละเมืองจะอยู่ภายใต้เขตอำนาจเขตเทศบาล ก่อนปี ค.ศ. 1949 ทั้งประเทศมีเขตเทศบาล 12 แห่ง[14]
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
แก้ก่อนหน้าที่รัฐบาลชาตินิยมจะถูกขับออกจากแผ่นดินใหญ่ สาธารณรัฐจีนได้มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับ 59 ประเทศ[ต้องการอ้างอิง] รวมถึงออสเตรเลีย, แคนาดา, คิวบา, เชโกสโลวาเกีย, เอสโตเนีย, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, กัวเตมาลา, ฮอนดูรัส, อิตาลี, ญี่ปุ่น, ลัตเวีย, ลิทัวเนีย, นอร์เวย์, ปานามา, สยาม, สหภาพโซเวียต, สเปน, สหราชอาณาจักร, สหรัฐอเมริกา, และสันตะสำนัก สาธารณรัฐจีนสามารถรักษาความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศเหล่านี้ไว้ได้เกือบทั้งหมด อย่างน้อยที่สุดในช่วงแรกของการล่าถอยไปยังเกาะไต้หวัน เจียง ไค-เช็ก ได้สาบานว่าจะรีบกลับมาและ "ปลดปล่อย" แผ่นดินใหญ่[15][16] และเชื่อมั่นว่าจะกลายเป็นรากฐานของนโยบายต่างประเทศของสาธารณรัฐจีนภายหลังปี 1949
ภายใต้กฎบัตรแอตแลนติก สาธารณรัฐจีนได้รับสิทธิที่นั่งถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC)[17] [18] แม้ว่าจะมีการคัดค้านอยู่หลายต่อหลายครั้งว่าที่นั่งถาวรนั้นควรจะเป็นของรัฐบาลจีนแผ่นดินใหญ่[19][20] สาธารณรัฐจีนยังคงได้รับสิทธิที่นั่งถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติต่อไป จนกระทั่งในปี 1971 เมื่อสิทธินั้นถูกแทนที่โดยสาธารณรัฐประชาชนจีน[21]
สังคม
แก้หลังจากที่ได้มีการโค้นล้มราชวงศ์ชิงและเปลี่ยนแปลงไปสู่สาธารณรัฐ ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย รัฐบาลแห่งชาติชุดแรกของดร.ซุน ยัตเซ็น ได้เริ่มร่างรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐจีนขึ้น บรรดาชนชั้นของขุนนางราชวงศ์ชิงถูกปลดเป็นพลเมืองธรรมดารวมทั้งจักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์ชิง จักรพรรดิผู่อี๋ ก็ถูกถอดจากบัลลังก์เป็นเพียงพลเมืองแห่งสาธารณรัฐจีน รัฐบาลมีการออกกฎหมายอาญาและแพ่งขึ้นใช้บังคับทั่วประเทศอย่างเท่าเทียม มีการรณรงค์แจกใบปลิวและติดป้ายประกาศจำนวนมากให้ตระหนักถึง หน้าที่พลเมืองดี สิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และรู้จักติดตามข่าวสารสมัยใหม่ รัฐบาลสาธารณรัฐจีนยังได้สนับสนุนให้มีการยกเลิกการสูบฝิ่นของประชาชน มีการออกกฎหมายถือว่าฝิ่นเป็นสิ่งผิดกฎหมาย มีการส่งเสริมสุขอนามัยประชาชน ในช่วงนี้ทำให้เกิดสมาคมสภากาชาดแห่งสาธารณรัฐจีนขึ้น
ในขณะเดียวกันในยุคสาธารณรัฐจีนได้มีการรณรงค์ให้ใช้ปฏิทินหมิงกั๋วเป็นการนับปีศักราชแทนการนับศักราชแบบปฏิทินจีนโบราณที่นิยมเรียกตามพระนามของจักรพรรดิ โดยกำหนดให้เรียกปีที่หนึ่งของสาธารณรัฐว่า หมิงกั๋วปีที่ 1 หรือ ปีสาธารณรัฐที่ 1
การแต่งกาย
แก้กองทัพ
แก้กองทัพแห่งสาธารณรัฐจีนมีรากฐานมาจากกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีนซึ่งก่อตั้งโดย ดร.ซุน ยัตเซ็น ในปี ค.ศ. 1925 ที่ เมืองกวางตุ้ง กับเป้าหมายของการรวมประเทศจีนภายใต้ก๊กมินตั๋ง
โดยแรกเริ่มนั้นกองทัพปฏิวัติได้ถูกจัดตั้งโดยการช่วยเหลือทางทหารจากสหภาพโซเวียต เพื่อช่วยให้พรรคก๊กมินตั๋งในการรวบรวมประเทศจีนในช่วงสมัยขุนศึก กองทัพปฏิวัติแห่งชาติด้ทำการสู้รบในการรบหลักคือ การกรีธาทัพขึ้นเหนือ, การต่อต้านกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สองและในการสู้รบกับกองทัพปลดปล่อยประชาชนของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในสงครามกลางเมืองจีน
และการร่วมมือยังคงมีความขัดแย้งและในที่สุดพรรคคอมมิวนิสต์ได้แยกออกไปกองทัพปลดปล่อยประชาชนของตนเองหลังสงครามกับญี่ปุ่นยุติลง ด้วยการปรักาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐจีนปี ค.ศ. 1947 และการสิ้นสุดการปกครองจีนแผ่นดินใหญ่ของก๊กมินตั๋ง หลังจากการพ่ายแพ้ของพรรคก๊กมินตั๋งในสงครามกลางเมืองจีนให้กับพรรคคอมมิวนิสต์จีน และกองทัพปฏิวัติแห่งชาติได้ล่าถอยอพยพไปยังเกาะไต้หวันในปี ค.ศ. 1949 ต่อมากองทัพปฏิวัติแห่งชาติได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นกองทัพแห่งสาธารณรัฐจีน
เศรษฐกิจ
แก้ในช่วงปีแรก ๆ ของสาธารณรัฐจีนเศรษฐกิจยังคงไม่มั่นคงเนื่องจากประเทศถูกทำให้โดดเด่นด้วยสงครามอย่างต่อเนื่องระหว่างกลุ่มขุนศึกในภูมิภาคต่าง ๆ รัฐบาลเป่ย์หยางในปักกิ่งก็มีการเปลี่ยนแปลงผู้นำอย่างต่อเนื่องและความไร้เสถียรภาพทางการเมืองทำให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ซบเซาจนกระทั่งเกิดการรวมชาติของจีนได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1928 โดยพรรคก๊กมินตั๋ง
หลังจากที่พรรคก๊กมินตั๋งได้รวมประเทศจีนสำเร็จอีกครั้งในปี ค.ศ. 1928 จีนเข้าสู่ช่วงเวลาแห่งความมั่นคงแม้ว่าจะมีความขัดแย้งทางทหารอย่างต่อเนื่องและเผชิญกับการรุกรานของญี่ปุ่นใน มณฑลซานตงและในที่สุดแมนจูเรีย ในปี ค.ศ. 1931
ช่วงทศวรรษที่ 1930 ในประเทศจีนเป็นที่รู้จักกันในนาม "ทศวรรษนานกิง" ซึ่งการเติบโตทางเศรษฐกิจยังดำเนินต่อไปเนื่องจากความมั่นคงทางการเมืองที่สัมพันธ์กันเมื่อเทียบกับทศวรรษที่ผ่านมา อุตสาหกรรมของจีนเติบโตอย่างมากจากปี ค.ศ. 1928 ถึงปี ค.ศ. 1931 ในขณะที่เศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากการยึดครองแมนจูเรียของญี่ปุ่นอีกครั้งในปี ค.ศ. 1931 และในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในปี 1931 ถึง 1935 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมกลับมาสู่จุดสูงสุดก่อนหน้านี้ในปี ค.ศ. 1936 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มของจีดีพีของจีน ในปี ค.ศ. 1932 จีดีพีของจีนพุ่งสูงสุดที่ 28.8 พันล้านก่อนร่วงลงมาที่ 21.3 พันล้านในปี ค.ศ. 1934 และฟื้นตัวเป็น 23.7 พันล้านในปี ค.ศ. 1935[22] ในปี ค.ศ. 1930 การลงทุนจากต่างประเทศในประเทศจีนมีจำนวนทั้งสิ้น 3.5 พันล้าน โดยมีการพยายามแทรกแซงของญี่ปุ่นที่จะเข้ามาเป็นผู้นำ (1.4 พันล้าน) และสหราชอาณาจักรอยู่ที่ 1 พันล้าน อย่างไรก็ตามในปี ค.ศ. 1948 หุ้นทุนได้หยุดลงด้วยการลงทุนลดลงเหลือเพียง 3 พันล้านดอลลาร์โดยผู้นำของสหรัฐฯและอังกฤษ[23]
อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจในชนบทได้รับผลกระทบอย่างหนักจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในช่วงทศวรรษที่ 1930 ซึ่งเป็นผลมาจากผลผลิตทางการเกษตรที่มากเกินไปทำให้ราคาตกต่ำอย่างมากสำหรับจีนรวมถึงการนำเข้าจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น (เป็นสินค้าเกษตรที่ผลิตในประเทศตะวันตกถูก "เข้ามาขายระบายสินค้า" ในประเทศจีน) ในปี ค.ศ. 1931 การนำเข้าข้าวในประเทศจีนมีจำนวน 21 ล้านบุชเชล (Bushel) เมื่อเทียบกับ 12 ล้านในปี ค.ศ. 1928 สินค้าอื่น ๆ ก็เห็นการเพิ่มขึ้นของการส่ายมากขึ้น ในปี ค.ศ. 1932 มีการนำเข้าธัญพืช 15 ล้านบุชเชลเมื่อเทียบกับ 900,000 ในปี ค.ศ. 1928 การแข่งขันที่เพิ่มขึ้นนี้นำไปสู่การลดลงอย่างมากในราคาสินค้าเกษตรของจีน (ซึ่งมีราคาถูกกว่า) และทำรายได้ให้เกษตรกรในชนบท ในปี ค.ศ. 1932 ราคาสินค้าเกษตรอยู่ที่ระดับร้อยละ 41 จากปี ค.ศ. 1921[24]
วัฒนธรรมสมัยนิยม
แก้ภาพยนตร์
แก้- ละครชุด มนต์รักในสายฝน เป็นเรื่องราวในยุคหมิงกั๋วช่วงสมัยขุนศึกรัฐบาลเป่ย์หยางจนถึงช่วงรัฐบาลคณะชาติ
- ภาพยนตร์เรื่อง เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ เดอะ มูฟวี่ เป็นเรื่องราวในยุคสาธารณรัฐจีน เกี่ยวกับเมืองเซี่ยงไฮ้ที่ได้ถูกครอบครองโดยกลุ่มอาชญากร หรือ เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ ก่อนเมืองเซี่ยงไฮ้จะถูกกองทัพญี่ปุ่นยึดครองในยุทธการเมืองเซี่ยงไฮ้
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Roy, Denny (2003). Taiwan: A Political History. Ithaca, New York: Cornell University Press. pp. 55, 56. ISBN 0-8014-8805-2.
- ↑ "Taiwan Timeline – Retreat to Taiwan". BBC News. 2000. สืบค้นเมื่อ 2009-06-21.
- ↑ China, Fiver thousand years of History and Civilization. City University Of Hong Kong Press. 2007. p. 116. สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2560.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 4.0 4.1 "The Chinese Revolution of 1911". US Department of State. สืบค้นเมื่อ 2016-10-27.
- ↑ Spence, Jonathan D. [1991] (1991), The Search for Modern China, WW Norton & Co. ISBN 0-393-30780-8.
- ↑ Fenby 2009, pp. 123–125
- ↑ Fenby 2009, p. 131
- ↑ Fenby 2009, pp. 136–138
- ↑ Meyer, Kathryn; James H Wittebols; Terry Parssinen (2002). Webs of Smoke. Rowman & Littlefield. pp. 54–56. ISBN 0-7425-2003-X.
- ↑ Guillermaz, Jacques (1972). A History of the Chinese Communist Party 1921–1949. Taylor & Francis. pp. 22–23.
- ↑ "The Republic of China Yearbook 2008 / CHAPTER 4 Government". Government Information Office, Republic of China (Taiwan). 2008. สืบค้นเมื่อ 2009-05-28.[ลิงก์เสีย]
- ↑ name="Japan Contemporary Chinese Society�">"1945年「外モンゴル独立公民投票」をめぐる中モ外交交渉".
- ↑ "浩學歷史網>国学频道>国学书库>中华民国政治史>第七节市制". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2017-05-23.
- ↑ 「中國地理」.中華民國國立編譯館發行之地理課本
- ↑ Li Shui. Chiang Kai-shek Captain of the Guard Publishers. Discloses the history of retaking the mainland. 13 November 2006. [1] เก็บถาวร 2008-10-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Qin Xin. Taiwan army published new book uncovering secrets of Chiang Kai-shek: Plan to retake the mainland. 28 June 2006. China News Agency. China News
- ↑ "1945: The San Francisco Conference". United Nations. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2017. สืบค้นเมื่อ 1 July 2015.
- ↑ Stephen Schlesinger, "FDR's five policemen: creating the United Nations." World Policy Journal 11.3 (1994): 88-93. online
- ↑ Wellens, Karel C., บ.ก. (1990). Resolutions and Statements of the United Nations Security Council: (1946–1989); a Thematic Guide. Dordrecht: BRILL. p. 251. ISBN 0-7923-0796-8.
- ↑ Cook, Chris Cook. Stevenson, John. [2005] (2005). The Routledge Companion to World History Since 1914. Routledge. ISBN 0-415-34584-7. p. 376.
- ↑ CHINA'S REPRESENTATION IN THE UNITED NATIONS by Khurshid Hyder - Pakistan Horizon; Vol. 24, No. 4, The Great Powers and Asia (Fourth Quarter, 1971), pp. 75-79 Published by: Pakistan Institute of International Affairs
- ↑ Sun Jian, pg 1059–1071
- ↑ Sun Jian, pg 1353
- ↑ Sun Jian, page 1089
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- คู่มือการท่องเที่ยว Chinese Revolutionary Destinations จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)
- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Republic of China (1912–1949)