มณฑลเหอหนาน

มณฑลของสาธารณรัฐประชาชนจีน

เหอหนาน (จีน: 河南; พินอิน: Hénán) หรือ ห้อหลำ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน เป็นมณฑลหนึ่งในภาคกลางของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีชื่อเดิมคือ จงหยวน หรือ จงโจว (中州) ซึ่งแปลตรงตัวว่า "ที่ราบตอนกลาง" หรือ "ตอนกลาง" บริเวณมณฑลเหอหนานเป็นแหล่งกำเนิดของอารยธรรมจีน โดยมีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 3,000 ปี และยังคงเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมืองของจีนมาจนถึงประมาณ 1,000 ปีที่แล้ว

มณฑลเหอหนาน

河南省
การถอดเสียงชื่อมณฑล
 • ภาษาจีน河南省 (Hénán Shěng)
 • อักษรย่อHA / HEN / อวี้ ( )
ตามเข็มนาฬิกาจากด้านบน:
แผนที่แสดงที่ตั้งของมณฑลเหอหนาน
แผนที่แสดงที่ตั้งของมณฑลเหอหนาน
พิกัด: 33°54′N 113°30′E / 33.9°N 113.5°E / 33.9; 113.5
ตั้งชื่อจากเหอ ( ) – แม่น้ำ (แม่น้ำเหลือง)
หนาน ( nán) – ทิศใต้
"ทิศใต้ของแม่น้ำเหลือง"
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
เจิ้งโจว
จำนวนเขตการปกครอง17 จังหวัด, 159 อำเภอ, 2,455 ตำบล
การปกครอง
 • เลขาธิการพรรคหวาง กั๋วเชิง (王国生)
 • ผู้ว่าการหยิน หง (尹弘)
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด167,000 ตร.กม. (64,000 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 17
ความสูงจุดสูงสุด2,413.8 เมตร (7,919.3 ฟุต)
ประชากร
 (ค.ศ. 2017)[2]
 • ทั้งหมด95,590,000 คน
 • อันดับอันดับที่ 3
 • ความหนาแน่น570 คน/ตร.กม. (1,500 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 7
ประชากรศาสตร์
 • องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ฮั่น – 98.8%
หุย – 1%
 • ภาษาและภาษาถิ่นภาษาจีนกลางที่ราบภาคกลาง, ภาษาจีนจิ้น
รหัส ISO 3166CN-HA
GDP (ค.ศ. 2018)4.81 ล้านล้านเหรินหมินปี้
725.92 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[3] (อันดับที่ 5)
 • ต่อหัว50,058 เหรินหมินปี้
USD 7,562 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 19)
HDI (ค.ศ. 2018)0.732[4] (สูง) (อันดับที่ 18)
เว็บไซต์henan.gov.cn
มณฑลเหอหนาน
"เหอหนาน" เขียนด้วยตัวอักษรจีน
ภาษาจีน河南
ไปรษณีย์Honan
ความหมายตามตัวอักษร"ทิศใต้ของแม่น้ำ (เหลือง)"
ชื่อย่อ
ภาษาจีน

มณฑลเหอหนานเป็นที่ตั้งของแหล่งมรดกหลายแห่ง เช่น อินซฺวี เมืองหลวงแห่งราชวงศ์ชาง และวัดเส้าหลิน รวมถึงเมืองหลวงโบราณของจีนสี่แห่งจากทั้งหมดแปดแห่ง ได้แก่ ลั่วหยาง อันหยาง ไคเฟิง และเจิ้งโจว ก็ตั้งอยู่ในมณฑลเหอหนาน นอกจากนี้ การฝึกฝนไท่เก๊ก (ตระกูลเฉิน) ก็เริ่มขึ้นในหมู่บ้านเฉินเจียโกว มณฑลเหอหนาน เช่นเดียวกับตระกูลหยางและตระกูลอู่ที่เกิดขึ้นในภายหลัง[5]

แม้ว่าชื่อของมณฑลจะหมายถึง "ทิศใต้ของแม่น้ำ" (แม่น้ำเหลือง หรือที่เรียกว่าหวงเหอ)[6] แต่ก็มีพื้นที่หนึ่งในสี่ของมณฑลที่อยู่ทางเหนือของแม่น้ำเหลือง มณฑลเหอหนานมีพื้นที่ 167,000 ตารางกิโลเมตร (64,479 ตารางไมล์) ครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ของที่ราบจีนตอนเหนือที่อุดมสมบูรณ์และมีประชากรหนาแน่น มณฑลที่อยู่ข้างเคียงโดยเรียงตามเข็มนาฬิกาเริ่มจากทิศตะวันตก ได้แก่ ฉ่านซี ชานซี เหอเป่ย์ ชานตง อานฮุย และหูเป่ย์ มณฑลเหอหนานเป็นมณฑลที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของประเทศ ด้วยจำนวนประชากรกว่า 94 ล้านคน มณฑลเหอหนานยังเป็นมณฑลที่มีหน่วยการปกครองย่อยมากเป็นอันดับ 7 ของประเทศ ถ้าเหอหนานเป็นประเทศ ก็จะเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 14 ของโลก รองจากอียิปต์ และเวียดนาม

มณฑลเหอหนานมีเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อประชากรก็ยังต่ำเมื่อเทียบกับมณฑลอื่น ๆ ในภาคกลางและตะวันออก มณฑลเหอหนานถือเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจน้อยในประเทศจีน[7] เศรษฐกิจของมณฑลเติบโตตามราคาอะลูมิเนียมและถ่านหิน เช่นเดียวกับเกษตรกรรม อุตสาหกรรมหนัก การท่องเที่ยว และการค้าปลีก ส่วนของอุตสาหกรรมไฮเทคและภาคบริการยังด้อยพัฒนาและกระจุกตัวอยู่รอบ ๆ เจิ้งโจวและลั่วหยาง

ภูมิศาสตร์

แก้

มณฑลเหอหนานมีพื้นที่ติดต่อดังนี้

ภูมิประเทศ ทิศตะวันตกเป็นเทือกเขาทอดตัวยาวสลับซับซ้อน อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลมากกว่า 1,000 เมตร ทางตะวันออกเป็นพื้นที่ราบ สูงกว่าระดับน้ำทะเลราว 100 เมตร จุดที่สูงที่สุดของมณฑลอยู่ที่ยอดเหล่ายาช่า ในเมืองหลิงเป่า ซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 2413.8 เมตร ภูมิอากาศมีสภาพภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อนกึ่งอบอุ่น มีฤดู 4 ฤดูอย่างชัดเจน อุณหภูมิเฉลี่ยต่อปี 13-15 องศาเซลเซียส

เขตการปกครอง

แก้

มณฑลเหอหนานแบ่งออกเป็นเขตการปกครองระดับจังหวัดจำนวน 17 แห่ง โดยทั้งหมดมีฐานะเป็นนครระดับจังหวัด และยังมีนครระดับอำเภอที่บริหารโดยตรงอีก 1 แห่ง (หรือ นครระดับกิ่งจังหวัด)

นครระดับจังหวัดทั้ง 17 แห่ง และนครระดับอำเภอที่บริหารโดยตรงอีก 1 แห่ง ของมณฑลเหอหนานนั้น แบ่งย่อยเป็นเขตการปกครองระดับอำเภอ 158 แห่ง (ประกอบด้วย 52 เขต, 21 นครระดับอำเภอ, และ 85 อำเภอ และนครระดับกิ่งจังหวัดจี้ยฺหวันนั้นนับเป็นนครระดับอำเภอด้วย) ทั้งหมดนี้แบ่งย่อยลงไปอีกเป็นเขตการปกครองระดับตำบลอีก 2,440 แห่ง (ประกอบด้วย 866 เมือง, 1,234 ตำบล, 12 ตำบลชาติพันธุ์, และ 328 แขวง)

อ้างอิง

แก้
  1. "Doing Business in China – Survey". Ministry of Commerce – People's Republic of China. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2013. สืบค้นเมื่อ 5 August 2013.
  2. "China Statistical Yearbook 2018 - Populationat Year-end by Region". National Bureau of Statistics of China.
  3. 河南省2017年国民经济和社会发展统计公报 [Statistical Communiqué of Henan on the 2017 National Economic and Social Development] (ภาษาจีน). Statistical Bureau of Henan. 2018-02-27. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 June 2018. สืบค้นเมื่อ 2018-06-22.
  4. 《2013中国人类发展报告》 (PDF) (ภาษาจีน). United Nations Development Programme China. 2013. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 29 November 2013. สืบค้นเมื่อ 13 May 2014.
  5. "Archived copy". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 October 2018. สืบค้นเมื่อ 5 December 2018.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  6. Origin of the Names of China's Provinces เก็บถาวร 27 เมษายน 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, People's Daily Online. (จีน)
  7. "China dreams on hold: heartland city feels chill of economic slowdown". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2019-05-28. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 June 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-06-13.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้