เฉิงตู หรืออ่านตามเสียงแต้จิ๋ว เชงโต๋ (จีน: 成都; พินอิน: Chéngdū; Sichuanese Pinyin: Cen2-du1) เป็นนครระดับกิ่งมณฑลซึ่งเป็นเมืองหลวงของมณฑลเสฉวน เป็นหนึ่งในสามนครที่มีประชากรมากที่สุดในภาคตะวันตกของประเทศจีน โดยอีกสองแห่ง คือ ฉงชิ่งและซีอาน ในปี ค.ศ. 2014 พื้นที่เฉิงตูทั้งหมดมีประชากร 14,427,500 คน ซึ่งมากที่สุดในมณฑลเสฉวน และมีประชากรในเขตเมืองจำนวน 10,152,632 คน เฉิงตูได้รับการจัดระดับว่าเป็นนครโลกระดับเบตาบวก ตามข้อมูลของเครือข่ายวิจัยโลกาภิวัตน์และนครโลก[6]

เฉิงตู

成都市
สถานที่ต่าง ๆ ในเฉิงตู
โลโกอย่างเป็นทางการของเฉิงตู
ตราสัญลักษณ์ของเฉิงตู
แผนที่
ที่ตั้งของนครเฉิงตูภายในมณฑลเสฉวน
ที่ตั้งของนครเฉิงตูภายในมณฑลเสฉวน
เฉิงตูตั้งอยู่ในประเทศจีน
เฉิงตู
เฉิงตู
ที่ตั้งของนครเฉิงตูภายในประเทศจีน
พิกัด (Tianfu Square): 30°39′25″N 104°03′58″E / 30.657°N 104.066°E / 30.657; 104.066
ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
มณฑลเสฉวน
ก่อตั้ง311 ปีก่อน ค.ศ.
ที่ตั้งที่ทำการเขตอู่โหว
เขตปกครองระดับอำเภอ10 เขต, 5 นครระดับอำเภอ, 5 อำเภอ
การปกครอง
 • ประเภทนครระดับกิ่งมณฑล
 • เลขาธิการพรรคFan Ruiping
 • นายกเทศมนตรีLuo Qiang
พื้นที่
 • จังหวัด14,378.18 ตร.กม. (5,551.45 ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง  (ค.ศ. 2018)[2]1,761 ตร.กม. (680 ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล4,558.4 ตร.กม. (1,760.0 ตร.ไมล์)
 • ใจกลางเมือง465.88 ตร.กม. (179.88 ตร.ไมล์)
ความสูง500 เมตร (1,600 ฟุต)
ความสูงจุดสูงสุด5,364 เมตร (17,598 ฟุต)
ความสูงจุดต่ำสุด378 เมตร (1,240 ฟุต)
ประชากร
 (ค.ศ. 2014)
 • จังหวัด14,427,500[1] คน
 • ความหนาแน่น1,003 คน/ตร.กม. (2,600 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง  (ค.ศ. 2018)[2]11,430,000 คน
 • ความหนาแน่นเขตเมือง6,500 คน/ตร.กม. (17,000 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล18.1 ล้าน[3] คน
 • เชื้อชาติส่วนใหญ่ชาวฮั่น
เขตเวลาUTC+8 (เวลามาตรฐานจีน)
รหัสไปรษณีย์610000–611944
รหัสพื้นที่(0) 28
รหัส ISO 3166CN-SC-01
ป้ายทะเบียนรถ川A และ 川G
จีดีพีรวม (ค.ศ. 2018)1.534 ล้านล้านเหรินหมินปี้[4]
จีดีพีต่อหัว (ค.ศ. 2017)86,911 เหรินหมินปี้[5]
ต้นไม้แปะก๊วย (Ginkgo biloba)
ดอกไม้พุดตาน (Hibiscus mutabilis)
เว็บไซต์www.chengdu.gov.cn

เฉิงตูตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำหมินใจกลางมณฑล ในปัจจุบันเป็นทั้งศูนย์กลางด้านการเมือง การทหาร และด้านการศึกษาของภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ คำว่าเฉิงตูมีความหมายว่า ค่อย ๆ กลายเป็นเมือง เนื่องจากย้อนไปเมื่อราว 2,000 ปีที่แล้ว ในสมัยจิ๋นซีฮ่องเต้ ได้มีการจัดการชลประทานขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมที่เกิดเป็นประจำทุกปี เมื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้ ชาวนาชาวไร่เพาะปลูกได้ดี ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น คนจึงเริ่มอพยพมาที่เมืองนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ จึงได้ชื่อว่าเฉิงตู

อ้างอิง

แก้
  1. "3-2各市 (州) 年末常住人口、出生率、死亡率、自然增长率、城镇化率和人口密度 (2014年)". www.tjsql.com (ภาษาจีน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 July 2016. สืบค้นเมื่อ 6 March 2016.
  2. 2.0 2.1 Cox, Wendell (2018). Demographia World Urban Areas. 14th Annual Edition (PDF). St. Louis: Demographia. p. 22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 3 May 2018. สืบค้นเมื่อ 16 June 2018.
  3. OECD Urban Policy Reviews: China 2015, OECD READ edition. OECD iLibrary. OECD Urban Policy Reviews. OECD. 18 April 2015. p. 37. doi:10.1787/9789264230040-en. ISBN 9789264230033. ISSN 2306-9341. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 March 2017. สืบค้นเมื่อ 8 December 2017.
  4. 赖, 芳杰. "2018年成都市实现地区生产总值15342.77亿元 比上年增长8.0%". 封面新闻 (ภาษาจีน). Baijiahao Baidu News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 January 2019. สืบค้นเมื่อ 28 January 2019.
  5. "成都统计年鉴2018" (PDF). 成都市统计局 (ภาษาจีน). 成都市统计局. p. 52. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-28. สืบค้นเมื่อ 22 October 2019.
  6. "The World According to GaWC 2016". Globalization and World Cities Research Network. Loughborough University. 14 November 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 May 2017. สืบค้นเมื่อ 14 November 2018.