ฉงชิ่ง
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ฉงชิ่ง หรือ จุงกิง (จีนตัวย่อ: 重庆市; จีนตัวเต็ม: 重慶市; พินอิน: Chóngqìng Shì) เป็นนครที่ตั้งอยู่ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน เป็นหนึ่งในสี่นครที่อยู่ภายใต้การบริหารโดยตรงของรัฐบาลกลาง (อีกสามแห่ง คือ ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และเทียนจิน) และเป็นนครปกครองโดยตรงเพียงแห่งเดียวที่ไม่ได้ตั้งอยู่ริมชายฝั่งทะเล[8]
ฉงชิ่ง 重庆市 จุงกิง | |
---|---|
ตามเข็มนาฬิกาจากด้านบน: ภาพถ่ายทางอากาศนครฉงชิ่ง ไป๋ตี้เฉิง สะพานเอ๋อกงหยาน โกรกธารชฺวีถัง และศาลาประชาคม | |
ที่ตั้งของนครฉงชิ่ง | |
พิกัด: 29°33′30″N 106°34′00″E / 29.55833°N 106.56667°E | |
ประเทศ | สาธารณรัฐประชาชนจีน |
ตั้งชื่อจาก | ฉง (重) — "ซ้ำ" ชิ่ง (庆) — "เฉลิมฉลอง" "เฉลิมฉลองซ้ำ" |
เขตการปกครอง • ระดับอำเภอ • ระดับตำบล | 25 เขต, 13 อำเภอ 1,259 เมือง, ตำบล และแขวง |
การปกครอง | |
• ประเภท | นครปกครองโดยตรง |
• เลขาธิการพรรค | Chen Min'er |
• นายกเทศมนตรี | Tang Liangzhi |
• ประธานรัฐสภา | Zhang Xuan |
• ประธานที่ประชุม | Xu Jingye |
พื้นที่[1] | |
• นครปกครองโดยตรง | 82,403 ตร.กม. (31,816 ตร.ไมล์) |
• เขตเมือง | 5,472.8 ตร.กม. (2,113.1 ตร.ไมล์) |
ความสูง | 244 เมตร (801 ฟุต) |
ความสูงจุดสูงสุด | 1,709.4 เมตร (5,608.3 ฟุต) |
ประชากร (2016)[3] | |
• นครปกครองโดยตรง | 8,518,000 คน |
• ความหนาแน่น | 100 คน/ตร.กม. (270 คน/ตร.ไมล์) |
• เขตเมือง | 30,484,300[2] คน |
• รวมปริมณฑล | 30,484,300 คน |
ประชากรศาสตร์ | |
• ชาติพันธุ์ | ฮั่น: 91% ตูเจีย: 5% ม้ง: 2% |
เขตเวลา | UTC+8 |
รหัสไปรษณีย์ | 4000 00 – 4099 00 |
รหัสพื้นที่ | 23 |
รหัส ISO 3166 | CN-CQ |
GDP | พ.ศ. 2561 [4] |
• ทั้งหมด | 2.04 ล้านล้านเหรินหมินปี้ (อันดับที่ 18) |
• ต่อหัว | 66,218 เหรินหมินปี้ (อันดับที่ 10) |
HDI (พ.ศ. 2559) | 0.797[5] (อันดับที่ 17) – สูง |
ชื่อย่อ | CQ / ยฺหวี (渝; Yú) |
ดอกไม้ | คาร์มีเลีย[6] |
ต้นไม้ | Ficus lacor[7] |
เว็บไซต์ | www www |
ฉงชิ่งเคยเป็นนครปกครองโดยตรงในสมัยที่จีนเป็นสาธารณรัฐจีน โดยใช้เป็นเมืองหลวงในช่วงสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง (ค.ศ. 1937–1945) ในช่วงสมัยนี้ ฉงชิ่งถูกจัดว่าเป็นหนึ่งในสี่แห่งของโลกที่เป็นศูนย์บัญชาการต่อต้านฟาสซิสต์ ซึ่งอีกสามแห่ง คือ วอชิงตัน ลอนดอน และมอสโก[9] ปัจจุบัน นครปกครองโดยตรงฉงชิ่งได้จัดตั้งขึ้นใหม่เมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1997 เพื่อเป็นการช่วยพัฒนาตอนกลางและตะวันตกของจีน[10] นครฉงชิ่งมีประชากรกว่า 30 ล้านคน มีพื้นที่ขนาดประมาณประเทศออสเตรีย[11] เขตเมืองของนครฉงชิ่งประกอบด้วย 9 เขต ซึ่งมีประชากรรวมกันไม่เกิน 8,518,000 คน ตามประมาณการปี ค.ศ. 2016[2] ตามการสำรวจสำมะโนประชากรปี ค.ศ. 2010 ฉงชิ่งเป็นนครปกครองโดยตรงที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศจีน[12] และยังเป็นนครปกครองโดยตรงที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศจีน เขตการปกครองของฉงชิ่งแบ่งออกเป็น 26 เขต 8 อำเภอ และ 4 อำเภอปกครองตนเอง
คำย่ออย่างเป็นทางการของนครฉงชิ่ง คือ "ยฺหวี" (渝; Yú) ได้รับการอนุมัติโดยสภารัฐกิจสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1997[13] มีที่มาจากชื่อเก่าของส่วนหนึ่งของแม่น้ำเจียหลิง ที่ไหลผ่านฉงชิ่งและไปบรรจบกับแม่น้ำแยงซี
ฉงชิ่งมีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่โดดเด่น ในฐานะที่เป็นนครศูนย์กลางแห่งชาติของจีน ฉงชิ่งเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจในบริเวณต้นน้ำของลุ่มแม่น้ำแยงซี เป็นศูนย์การผลิตและศูนย์กลางการขนส่ง จากรายงานของดิอีโคโนมิสต์อินเทลลิเจนซ์ยูนิต (Economist Intelligence Unit) เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2012 ระบุว่าฉงชิ่งเป็น 1 ใน 13 มหานครเกิดใหม่ของจีน[14]
ภูมิศาสตร์
แก้ภูมิประเทศ
แก้ตั้งอยู่ทางตอนบนของแม่น้ำแยงซีเกียง ที่ตั้งและอาณาเขต ฉงชิ่งมีพื้นที่ติดต่อดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ มณฑลฉ่านซี ประเทศจีน
- ทิศใต้ ติดต่อกับ มณฑลกุ้ยโจว ประเทศจีน
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ มณฑลหูเป่ย์ และมณฑลหูหนาน ประเทศจีน
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ มณฑลเสฉวน ประเทศจีน
ภูมิอากาศ
แก้มีอุณหภูมิระหว่าง 24-25 องศาเซลเซียส สำหรับอุณหภูมิสูงสุดโดย เฉลี่ย 29-29.7 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดโดยเฉลี่ย 20.6-21 องศาเซลเซียส
เศรษฐกิจ
แก้นครฉงชิ่งมีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 266,539 ล้านหยวน (ปี 2004) เพิ่มขึ้น 12.2%
ทางด้านเกษตรกรรม มีผลผลิตอุดมสมบูรณ์ และเป็นฐานการผลิตที่สำคัญ ได้แก่ วัตถุดิบข้าว หมู รังไหม ส้ม ส้มจีน และใบยาสูบ ปี 2003 พื้นที่การเกษตรลดลง 5.3% แต่ผลผลิตเพิ่มขึ้น 0.5%
ฉงชิ่งเป็นหนึ่งในสามของแหล่งสินแร่ที่สำคัญของประเทศ เท่าที่สำรวจพบ ได้แก่ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ สตรอนเชียม อะลูมิเนียม แมงกานีส หินปูน ยิปซั่ม ปรอท หินเขี้ยวหนุมาน หินเกลือ และอื่นๆ กว่า 38 ชนิด ในจำนวนนี้แร่สตรอนเชียมมีมากเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ และเป็นอันดับสองของโลก
ฉงชิ่งเป็นหนึ่งในเขตอุตสาหกรรมเก่าแก่ของจีน ในปี 2003 มีมูลค่าการเติบโตทางการผลิตในภาคอุตสาหกรรมสูงถึง 76,836 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 16.4% อุตสาหกรรมหลัก 3 ประเภทที่ก่อรูปก่อร่างขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักรกล
การค้าระหว่างประเทศ ปี 2003 มูลค่าการนำเข้าส่งออก 2,595 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 44.6% ในจำนวนนี้เป็นมูลค่าส่งออก 1,585 ล้านเหรียญฯ และมูลค่านำสินค้านำเข้า 1,010 ล้านเหรียญฯ
การศึกษา
แก้ฉงชิ่ง มี มหาวิทยาลัยฉงชิ่ง (重庆大学) มหาวิทยาลัยซีหนาน
รูปภาพอื่น
แก้-
นครฉงชิ่ง
-
วิวฉงชิ่ง
-
ริมน้ำแยงซี
-
รถราง Cable car บริเวณท่าเรือ
-
ชาวจีนเหยื่อของการโจมตีทางอากาศโดยทหารอากาศญี่ปุ่นที่เสียชีวิตขณะกำลังพยายามวิ่งไปหลุมหลบภัย ถ่ายเมื่อ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1941
อ้างอิง
แก้- ↑ "Doing Business in China – Survey". Ministry of Commerce of the People's Republic of China. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2013. สืบค้นเมื่อ 2013-08-05.
- ↑ 2.0 2.1 "Archived copy". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2019. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2019.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑
"Archived copy" 2015年重庆常住人口3016.55万人 继续保持增长态势 [2016年重庆常住人口3670万人 继续保持增长态势] (ภาษาจีน). Chongqing News. 28 มกราคม 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 มกราคม 2016. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2016.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ "Archived copy" 重庆市2017年国民经济和社会发展统计公报 [Statistical Communiqué of Chongqing on the 2017 National Economic and Social Development] (ภาษาจีน). Statistical Bureau of Chongqing. 11 มีนาคม 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 มิถุนายน 2018. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ "Archived copy" 《2013中国人类发展报告》 (PDF) (ภาษาจีน). United Nations Development Programme China. 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 29 พฤศจิกายน 2013. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2014.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ "City Flower". En.cq.gov.cn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 มิถุนายน 2012. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2013.
- ↑ "City Tree". En.cq.gov.cn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 มิถุนายน 2012. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2013.
- ↑ "China's Direct-Controlled Municipalities". Geography.about.com. 14 มีนาคม 1997. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 กรกฎาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2013.
- ↑ "World War II remains". www.chinesetoday.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 ธันวาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2018.
- ↑ "Archived copy" 关于提请审议设立重庆直辖市的议案的说明_中国人大网. www.npc.gov.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 พฤษภาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ Alexander, Ruth (29 มกราคม 2012). "Which is the world's biggest city?". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 สิงหาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2018.
- ↑ "Archived copy" 最新中国城市人口数量排名(根据2010年第六次人口普查). www.elivecity.cn. 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 มีนาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2014.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ "Chongqing's Official Abbreviation". English.cri.cn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2013.
- ↑ "EIU Report". Eiu.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 17 December 2015.