มณฑลเหลียวหนิง
มณฑลเหลียวหนิง (จีนตัวย่อ: 辽宁省 จีนตัวเต็ม: 遼寧省) ชื่อย่อ เหลียว(辽)ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ทิศตะวันตกติดเหอเป่ย์ เหนือติดจี๋หลิน มองโกเลียใน ทิศตะวันออกเฉียงใต้มีแม่น้ำยาลู่ว์เจียงกั้นเขตแดนกับประเทศเกาหลีเหนือ ทางใต้เป็นทะเลเหลืองและทะเลป๋อไฮ่ มีเมืองหลวงชื่อ เฉิ่นหยาง มีเนื้อที่ 145,900 ก.ม.
มณฑลเหลียวหนิง 辽宁省 | |
---|---|
การถอดเสียงชื่อมณฑล | |
• ภาษาจีน | เหลียวหนิงเฉิ่ง (辽宁省 Liáoníng Shěng) |
• อักษรย่อ | LN / เหลียว (辽 Liáo) |
สถานที่ต่าง ๆ ในมณฑลเหลียวหนิง | |
แผนที่แสดงที่ตั้งของมณฑลเหลียวหนิง | |
พิกัด: 41°06′N 122°18′E / 41.1°N 122.3°E | |
ตั้งชื่อจาก | แม่น้ำเหลียว เหลียว (辽) – เหลียวหยาง หนิง (宁) - หนิงยฺหวั่น (ปัจจุบันคือ ซิงเฉิง) |
เมืองหลวง (และเมืองใหญ่สุด) | เฉิ่นหยาง |
จำนวนเขตการปกครอง | 14 จังหวัด, 100 อำเภอ, 1,511 ตำบล |
การปกครอง | |
• เลขาธิการพรรค | เฉิน ฉิ่วฟา (陈求发) |
• ผู้ว่าการ | ถัง อีจฺวิน (唐一军) |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 145,900 ตร.กม. (56,300 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 21 |
ความสูงจุดสูงสุด | 1,336 เมตร (4,383 ฟุต) |
ประชากร (ค.ศ. 2012)[2] | |
• ทั้งหมด | 43,900,000 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 14 |
• ความหนาแน่น | 300 คน/ตร.กม. (780 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | อันดับที่ 15 |
ประชากรศาสตร์ | |
• องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ | ฮั่น – 84% แมนจู – 13% มองโกล – 2% หุย – 0.6% เกาหลี – 0.6% ซีปั๋ว – 0.3% |
• ภาษาและภาษาถิ่น | ภาษาจีนกลางตะวันออกเฉียงเหนือ, ภาษาจีนกลางเจียวเหลียว, ภาษาจีนกลางปักกิ่ง, ภาษาเกาหลีพย็องอัน, ภาษาแมนจู |
รหัส ISO 3166 | CN-LN |
GDP (ค.ศ. 2017)[3] | 2.39 ล้านล้านเหรินหมินปี้ 354.60 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 14) |
• ต่อหัว | 54,745 เหรินหมินปี้ 8,108 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 14) |
HDI (ค.ศ. 2018) | 0.777[4] (สูง) (อันดับที่ 7) |
เว็บไซต์ | www |
ประวัติศาสตร์
แก้ได้ปรากฏหลักฐานฟอลซิลกะโหลกศีรษะมนุษย์ apeman บริเวณต้าฉือเฉียว เทือกเขาจินหนิว เมืองหยิงโข่ว แสดงให้เห็นว่ามีมนุษย์ดึกดำบรรพ์อาศัยอยู่บริเวณนี้เมื่อ 280,000 ปีก่อน และปรากฏหลักฐานเครื่องมือมนุษย์ช่วงกลางยุคหินเมื่อ 150,000 ปีก่อนที่บริเวณเมืองเฉาหยาง นอกจากนี้ ยังปรากฏหลักฐานมนุษย์ยุคหินใหม่ เช่น เครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ เมื่อ 6,000 – 7,000 ปีก่อนหลงเหลืออยู่ในเมืองเฉิ่นหยาง
ยุคสามก๊ก เมื่อโจโฉปราบอ้วนเสี้ยวได้แล้ว อ้วนซงและอ้วนฮี ผู้บุตรหนีไปพึ่งกองซุนของขอลี้ภัยการเมือง กองซุนของเกรงว่าโจโฉจะยกทัพเข้าบุกทลายเมืองเลียวตัง มณฑลเหลียวหนิง จึงจับตัวอ้วนซง และอ้วนฮีตัดศีรษะส่งไปให้โจโฉที่ตั้งทัพอยู่ ณ เอ๊กจิ๋ว และขอสวามิภักดิ์ โจโฉจึงตั้งให้กองซุนของเป็นไถ้โส่วที่เลียวตังตามเดิม
ศตวรรษที่ 16 ก่อนคริสตกาล มณฑลเหลียวหนิงซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของนครรัฐยานในสมัยชุนชิว เป็นเมืองที่อยู่ติดกับเมืองของราชวงศ์ซาง หลังจากนั้น มณฑลเหลียวหนิงถูกปกครองโดยหลายราชวงศ์ มณฑลเหลียวหนิงปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนสมัยราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1644 – 1911) โดยมีโบราณสถานที่สำคัญ คือ พระราชวังโบราณ “เฉิ่นหยางกู้กง” ในปี 1931-1945 เมืองเฉิ่นหยางถูกปกครองโดยประเทศญี่ปุ่น
หลังจากจัดตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี 1949 รัฐบาลประจำภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้แบ่งมณฑลเหลียวหนิงออกเป็นสองมณฑล คือ เหลียวหนิงตะวันออก และเหลียวหนิงตะวันตก ต่อมาในปี 1954 เหลียวหนิงตะวันออก และเหลียวหนิงตะวันตกได้รวมเป็นมณฑลเหลียวหนิงอีกครั้ง โดยมีเมืองเฉิ่นหยางเป็นเมืองหลวง
ภูมิศาสตร์
แก้ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้มณฑลเหลียวหนิงมีพื้นที่ติดต่อดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน และมณฑลจี๋หลิน ประเทศจีน
- ทิศใต้ ติดต่อกับ ทะเลเหลือง และประเทศเกาหลีเหนือ
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ มณฑลจี๋หลิน ประเทศจีน และประเทศเกาหลีเหนือ
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ มณฑลเหอเป่ย์ ประเทศจีน
ภูมิประเทศ
แก้เขตภูเขาทางทิศตะวันออกเป็นพื้นที่ป่าที่สำคัญของมณฑล บริเวณที่ราบติดทะเลทางตะวันตกของมณฑล ถูกเรียกตามความคุ้นเคยว่า “ระเบียงเหลียวซี” ภูมิอากาศ เหลียวหนิงตั้งอยู่ปีกตะวันออกของภาคพื้นทวีป
ภูมิอากาศ
แก้มณฑลเหลียวหนิงมีภูมิอากาศแบบลมมรสุมภาคพื้นทวีปแบบอบอุ่นแถบ เหนือ ฤดูร้อนอบอุ่น ฤดูหนาวยาวนาน ฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วงสั้น พื้นที่ทิศตะวันออกชุ่มชื้น ส่วนทิศตะวันตกแห้งแล้ง อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 7 – 11 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย 400 มิลลิเมตรต่อปี
ประชากร
แก้มณฑลเหลียวหนิงประกอบด้วยประชากร 44 ชนชาติ ได้แก่ ชนชาติฮั่น มองโกล แมนจู หุย เกาหลี ซีป๋อ จ้วง เหมียว ถู่เจีย อี๋ และต๋าว่อเอ๋อร์ เป็นต้น ชนกลุ่มน้อยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16 ของประชากร โดยในจำนวนนี้ ประชากรชนชาติแมนจู มองโกล หุย เกาหลี และซีป๋อ มีจำนวนค่อนข้างมาก
ปี 2551 มณฑลเหลียวหนิงมีประชากรจำนวน 43.15 ล้านคน โดยเป็นประชากรชาวเมือง 25.92 ล้านคน และเป็นประชากรชาวชนบท 17.23 ล้านคน มีอัตราการเกิดของประชากรร้อยละ 6.32 อัตราการตายของประชากรร้อยละ 5.22 และอัตราขยายตัวของประชากรร้อยละ 1.10
มีประชากร (2004) 42,170,000 คน ความหนาแน่น 289 จีดีพี (2003) 687.3 พันล้าน เหรินหมินปี้ ต่อประชากร 16,300 ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น
เศรษฐกิจ
แก้ทรัพยากร พบแหล่งแร่สะสมอยู่ถึง 64 ชนิด เช่น เหล็ก แร่โบร์รัม หินแมกนีไซท์ เพชร หยก หินปูน ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน และยูเรเนียมเป็นต้น มีแหล่งน้ำมันมากเป็นอันดับสามของประเทศ มีน้ำมันใต้ดินคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15 และก๊าซธรรมชาติร้อยละ 10 ของประเทศ
นอกจากนั้น ยังมีทรัพยากรแร่โลหะเหมาะสำหรับการทำอุตสาหกรรมโลหะผสม ได้แก่ แร่เหล็ก แมงกานีส แมกนีเซียมคาร์บอเนต ซีลิกา หินปูน ฟลูออไรด์ และแร่ Dolomite เป็นต้น โดยแร่เหล็กมีปริมาณมากถึงหนึ่งในสี่ของทั้งประเทศ ส่วนแร่แมงกานีส โบรอน เพชร หยก และหินปูน มีมากอยู่ในอันดับต้นของประเทศ
การเกษตรเหลียวหนิงเป็นหนึ่งในมณฑลเกษตรกรรมที่สำคัญมณฑลหนึ่งของจีน เกษตรกรรมที่ได้รับการพัฒนาปรับปรุงโครงสร้างการผลิตและส่งเสริมคุณภาพให้ดีขึ้น
อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี หลอมโลหะ โทรคมนาคม และเครื่องจักรกล
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "Doing Business in China - Survey". Ministry Of Commerce – People's Republic Of China. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2013. สืบค้นเมื่อ 5 August 2013.
- ↑ "Communiqué of the National Bureau of Statistics of People's Republic of China on Major Figures of the 2010 Population Census [1] (No. 2)". National Bureau of Statistics of China. 29 April 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 27, 2013. สืบค้นเมื่อ 4 August 2013.
- ↑ 辽宁省2017年国民经济和社会发展统计公报 [Statistical Communiqué of Liaoning on the 2017 National Economic and Social Development] (ภาษาจีน). Liaoning Bureau of Statistics. 2018-02-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-22. สืบค้นเมื่อ 2018-06-22.
- ↑ "Sub-national HDI - Subnational HDI - Global Data Lab". globaldatalab.org. สืบค้นเมื่อ 2020-04-17.