สภาร่างรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2539
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
สภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2539 (ส.ส.ร.) เป็นสภาที่มีหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2539 [1][2]
สภาร่างรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2539 | |||||
---|---|---|---|---|---|
| |||||
ภาพรวม | |||||
สภานิติบัญญัติ | รัฐสภาไทย | ||||
เขตอำนาจ | ประเทศไทย | ||||
ที่ประชุม | อาคารรัฐสภาไทย | ||||
วาระ | 7 มกราคม พ.ศ. 2540 – 15 สิงหาคม พ.ศ. 2540 | ||||
การเลือกตั้ง | การเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2539 | ||||
รัฐบาล | คณะรัฐมนตรีชวลิต | ||||
สภาร่างรัฐธรรมนูญ | |||||
สมาชิก | 99 | ||||
ประธานสภา | อุทัย พิมพ์ใจชน | ||||
รองประธานสภาคนที่ 1 | กระมล ทองธรรมชาติ | ||||
รองประธานสภาคนที่ 2 | ยุพา อุดมศักดิ์ | ||||
นายกรัฐมนตรี | พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ | ||||
สมัยประชุม | |||||
|
ที่มา
แก้สภาร่างรัฐธรรมนูญชุดนี้ ที่ประชุมรัฐสภาสรุปให้ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 99 คน โดยมีที่มาจากตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้งประชาชนทางอ้อมทั้งหมด 76 จังหวัด และตัวแทนนักวิชาการ เสนอรายชื่อโดยสถาบันการศึกษา จำนวน 23 คน
ส่วนสมาชิกที่เป็นของตัวแทนประชาชนมีที่มา 3 ขั้นตอนดังนี้
- จากการเลือกตั้งของประชาชนในจังหวัดนั้น ๆ
- ให้ผู้สมัครคัดเลือกกันเองให้เหลือจังหวัดละ 10 คน รวมเป็น 760 คน
- จากนั้นจึงส่งรายชื่อทั้ง 760 คน ให้สมาชิกรัฐสภาซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา คัดเลือกขั้นสุดท้ายให้เหลือจังหวัดละ 1 คน รวม 76 คน
โดยสมาชิกที่กล่าวถึงทั้งที่มาจากการเลือกตั้งและตัวแทนนักวิชาการก็คือสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ สสร.
รายนามสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
แก้รายนามสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2539 จำนวน 99 คน [3]
สสร.จากการเลือกตั้งทางอ้อม
แก้สสร.ประเภทผู้เชี่ยวชาญ
แก้รายนาม | หมายเหตุ | |
---|---|---|
สาขากฎหมายมหาชน | ||
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ | ||
ธงทอง จันทรางศุ | ||
โกเมศ ขวัญเมือง | ||
แก้วสรร อติโพธิ์ | ||
คณิต ณ นคร | ||
สมคิด เลิศไพฑูรย์ | ||
ทองใบ ทองเปาด์ | ลาออก 26 มีนาคม พ.ศ. 2540 | |
เกษม ศิริสัมพันธ์ | ||
มนตรี รูปสุวรรณ | เริ่มปฏิบัติหน้าที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2540[4] | |
ผู้มีประสบการณ์ด้านการเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน หรือการร่างรัฐธรรมนูญ | ||
อุกฤษ มงคลนาวิน | ลาออก 6 มกราคม พ.ศ. 2540 (ก่อนเปิดประชุมสภาเพียง 1 วัน) | |
อุทัย พิมพ์ใจชน | ||
พลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร | ||
เกริกเกียรติ พิพัฒนเสรีธรรม | ||
อานันท์ ปันยารชุน | ||
ธรรมนูญ ลัดพลี | ||
สวัสดิ์ คำประกอบ | ||
นาวาอากาศตรี ประสงค์ สุ่นศิริ | เริ่มปฏิบัติหน้าที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540[5] | |
สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ | ||
กระมล ทองธรรมชาติ | ||
ลิขิต ธีรเวคิน | ||
สุจิต บุญบงการ | ||
เฉลิม พรหมเลิศ | ||
อมร รักษาสัตย์ | ||
วิสุทธิ์ โพธิแท่น | ||
เขียน ธีระวิทย์ | ||
เอนก สิทธิประศาสน์ |
คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
แก้ลำดับ | รายชื่อ สสร. | ตำแหน่ง[6] |
---|---|---|
1 | อานันท์ ปันยารชุน | ประธานคณะกรรมาธิการ |
2 | เกษม ศิริสัมพันธ์ | รองประธานคณะกรรมาธิการคนที่หนึ่ง |
3 | คณิต ณ นคร | รองประธานคณะกรรมาธิการคนที่สอง |
4 | บวรศักดิ์ อุวรรณโณ | เลขานุการคณะกรรมาธิการ |
5 | พงศ์เทพ เทพกาญจนา | ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมาธิการคนที่หนึ่ง |
6 | สมคิด เลิศไพฑูรย์ | ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมาธิการคนที่สอง |
7 | คณิน บุญสุวรรณ | โฆษกคณะกรรมาธิการ |
8 | โกเมศ ขวัญเมือง | ผู้ช่วยโฆษกคณะกรรมาธิการ |
9 | เขียน ธีรวิทย์ | คณะกรรมาธิการ |
10 | ทองใบ ทองเปาด์ | |
11 | พลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร | |
12 | วิสุทธิ์ โพธิแท่น | |
13 | พันเอก สมคิด ศรีสังคม | |
14 | สวัสดิ์ คำประกอบ | |
15 | สุจิต บุญบงการ | |
16 | เสรี สุวรรณภานนท์ | |
17 | เอนก สิทธิประศาสน์ | |
18 | กระมล ทองธรรมชาติ | ประธานคณะกรรมาธิการวิชาการข้อมูล และศึกษาแนวทางการร่างกฎหมาย ประกอบรัฐธรรมนูญ |
19 | เดโช สวนานนท์ | ประธานคณะกรรมาธิการจดหมายเหตุ ตรวจรายงานการประชุมและกิจการสภา |
20 | สมเกียรติ อ่อนวิมล | ประธานคณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์ |
21 | อมร รักษาสัตย์ | ประธานคณะกรรมาธิการรับฟัง ความคิดเห็นและประชาพิจารณ์ |
ผู้ดำรงตำแหน่ง
แก้- ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ : อุทัย พิมพ์ใจชน
- รองประธานประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญคนที่หนึ่ง : กระมล ทองธรรมชาติ
- รองประธานประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญคนที่สอง : ยุพา อุดมศักดิ์
โดยก่อนที่จะมีการลงมตินั้น เหลื่อม พันธ์ฤกษ์ ทำหน้าที่ประธานสภาชั่วคราว ในฐานะที่เป็นสมาชิกที่อาวุโสสูงสุด
การลงมติเลือกผู้ดำรงตำแหน่ง
แก้ลงมติเลือกประธานสภาฯ
แก้มีการเสนอชื่อผู้ที่จะดำรงตำแหน่งประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญดังต่อไปนี้
- พวงเล็ก บุญเชียง เสนอชื่อ พลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร
- คณิน บุญสุวรรณ เสนอชื่อ อุทัย พิมพ์ใจชน
- สุทธินันท์ จันทระ เสนอชื่อ อานันท์ ปันยารชุน
- เขียน ธีระวิทย์ เสนอชื่อ กระมล ทองธรรมชาติ
- ประเทือง คำประกอบ เสนอชื่อ สวัสดิ์ คำประกอบ
ตำแหน่ง | ชื่อ | คะแนนเสียง |
---|---|---|
ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ[7] | อุทัย พิมพ์ใจชน | 44 |
อานันท์ ปันยารชุน | 27 | |
พลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร | 18 | |
กระมล ทองธรรมชาติ | 4 | |
สวัสดิ์ คำประกอบ | 2 | |
2 | ||
1 | ||
98 |
เนื่องจากคะแนนเสียงไม่ถึงกึ่งหนึ่ง จำเป็นต้องมีการลงมติอีกครั้ง
ตำแหน่ง | ชื่อ | คะแนนเสียง |
---|---|---|
ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ | อุทัย พิมพ์ใจชน | 65 |
อานันท์ ปันยารชุน | 30 | |
2 | ||
1 | ||
98 |
ลงมติเลือกรองประธานสภาฯ คนที่ 1
แก้มีการเสนอชื่อผู้ที่จะดำรงตำแหน่งรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญคนที่หนึ่ง ดังต่อไปนี้
- ธงชาติ รัตนวิชา เสนอชื่อ เดโช สวนานนท์
- สมคิด เลิศไพฑูรย์ เสนอชื่อ ยุพา อุดมศักดิ์
- วรพจน์ ณ นคร เสนอชื่อ นายแพทย์ ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี
- ลิขิต ธีรเวคิน เสนอชื่อ กระมล ทองธรรมชาติ
ตำแหน่ง | ชื่อ | คะแนนเสียง |
---|---|---|
รองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญคนที่ 1 | ยุพา อุดมศักดิ์ | 36 |
กระมล ทองธรรมชาติ | 35 | |
เดโช สวนานนท์ | 14 | |
ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี | 11 | |
96 |
เนื่องจากคะแนนเสียงไม่ถึงกึ่งหนึ่ง จำเป็นต้องมีการลงมติอีกครั้ง
ตำแหน่ง | ชื่อ | คะแนนเสียง |
---|---|---|
รองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญคนที่ 1 | กระมล ทองธรรมชาติ | 52 |
ยุพา อุดมศักดิ์ | 44 | |
1 | ||
1 | ||
98 |
ลงมติเลือกรองประธานสภาฯ คนที่ 2
แก้มีการเสนอชื่อผู้ที่จะดำรงตำแหน่งรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญคนที่สอง ดังต่อไปนี้
- พวงเล็ก บุญเชียง เสนอชื่อ ยุพา อุดมศักดิ์
- บัวพรม ธีรกัลยาณพันธุ์ เสนอชื่อ อนันต์ บูรณวนิช
- สุทธินันท์ จันทระ เสนอชื่อ เสรี สุวรรณภานนท์
- จำนงค์ พิณสาย เสนอชื่อ ทวิช กลิ่นประทุม
- สมรรค ศิริจันทร์ เสนอชื่อ ธรรมนูญ ลัดพลี
ตำแหน่ง | ชื่อ | คะแนนเสียง |
---|---|---|
รองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญคนที่ 2 | ยุพา อุดมศักดิ์ | 62 |
อนันต์ บูรณวนิช | 23 | |
เสรี สุวรรณภานนท์ | 5 | |
ทวิช กลิ่นประทุม | 3 | |
ธรรมนูญ ลัดพลี | 2 | |
2 | ||
97 |
อ้างอิง
แก้- ↑ https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2540/D/002/13.PDF
- ↑ http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=17_%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%A8%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99_%E0%B8%9E.%E0%B8%A8._2539[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สภาร่างรัฐธรรมนูญไทย" (PDF). library.parliament.go.th.
- ↑ รายงานการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๙ วันอังคารที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๐
- ↑ รายงานการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๕ วันอังคารที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๐
- ↑ Admin, iLaw (2015-09-15). "ใครร่างนั้นสำคัญไฉน?: เปรียบเทียบคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญสามชุดในรอบ 20 ปี". iLaw.
- ↑ รายงานการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๑ วันอังคารที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๐