ประเทือง คำประกอบ

ประเทือง คำประกอบ เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช และเป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ 8 สมัย

ประเทือง คำประกอบ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
29 กันยายน พ.ศ. 2535 – 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
8 มกราคม – 20 เมษายน พ.ศ. 2519
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
15 กุมภาพันธ์ – 13 มีนาคม พ.ศ. 2518
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2470 (97 ปี)
อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ ประเทศสยาม
คู่สมรสอำภา คำประกอบ

ประวัติ

แก้

ประเทือง คำประกอบ เกิดเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2470 ที่อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ เป็นหลานชายของนายสวัสดิ์ คำประกอบ เขาจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านวิศวกรรมศาสตร์ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การทำงาน

แก้

ประเทือง คำประกอบ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 ไม่สังกัดพรรคการเมือง ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 ได้เข้าร่วมงานกับพรรคเกษตรสังคม พร้อมกับนายสวัสดิ์ คำประกอบ และได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2518 และ พ.ศ. 2522 ในปี พ.ศ. 2526 ได้รับเลือกตั้งในสังกัดพรรคกิจสังคม ในปี พ.ศ. 2529 และ พ.ศ. 2531 ได้รับเลือกตั้งในสังกัดพรรคสหประชาธิปไตย ในการเลือกตั้งเดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 สอบตก และในการเลือกตั้งเดือนกันยายน พ.ศ. 2535 และ พ.ศ. 2538 สังกัดพรรคชาติพัฒนา ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 เขาได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ[1]

ประเทือง คำประกอบ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ในปี พ.ศ. 2518[2] แต่ต้องพ้นจากหน้าที่ตั้งแต่ยังมิได้เริ่มปฏิบัติงาน เนื่องจากคณะรัฐมนตรีไม่ได้รับความไว้วางใจจากสภาในการแถลงนโยบาย ด้วยคะแนนไว้วางใจ 111 เสียง ไม่ไว้วางใจ 152 เสียง[3] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์อีกสมัย ในรัฐบาลของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ในปี พ.ศ. 2519

ในปี พ.ศ. 2535 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ประกาศรัฐสภา เรื่อง ตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอน 2ง วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2540
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย)
  3. คอลัมน์ส่วนร่วมสังคมไทย โดน นรนิติ เศรษฐบุตร หน้า 8 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับที่ 22,506 ประจำวันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๙ ข หน้า ๔, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๐