สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์
พลตำรวจเอก สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ (20 กันยายน พ.ศ. 2478 – 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559) อดีตอธิบดีกรมตำรวจ อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงใหม่ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2534 สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2532 และ พ.ศ. 2535 และสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2539
สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ | |
---|---|
อธิบดีกรมตำรวจ | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2534 – พ.ศ. 2536 | |
ก่อนหน้า | พลตำรวจเอกแสวง ธีระสวัสดิ์ |
ถัดไป | พลตำรวจเอกประทิน สันติประภพ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 20 กันยายน พ.ศ. 2478 จังหวัดเชียงใหม่ |
เสียชีวิต | 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (81 ปี) โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | คุณหญิง คัทลิยา อมรวิวัฒน์ |
ประวัติ
แก้พลตำรวจเอก สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ เกิดเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2478 เป็นชาวจังหวัดเชียงใหม่ สมรสกับคุณหญิง คัทลิยา อมรวิวัฒน์ มีบุตรธิดา 3 คน คือนางสาวอำไพพรรณ อมรวิวัฒน์, ดร.สุทธาภา อมรวิวัฒน์ และนายณัฐวุฒิ อมรวิวัฒน์[1] มีน้องชายคือ นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ อดีตหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย และพลตำรวจเอก สมบัติ อมรวิวัฒน์ อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ
การศึกษา
แก้- มัธยมศึกษา โรงเรียนอัสสัมชัญ
- รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
- ปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอินเดียน่า สหรัฐอเมริกา
- ปริญญาโท สาขาพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[2]
การทำงาน
แก้- สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2532
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2534
- อธิบดีกรมตำรวจ (พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2536) [3] และในขณะดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจ พล.ต.อ.สวัสดิ์ ได้รับแต่งตั้งให้ร่วมเป็นรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ[4] (รสช.) ก่อการรัฐประหาร ยึดอำนาจจากพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 นำโดย พลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
- สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2535
- ประธานกรรมการองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.)
- ประธานกรรมการธนาคารมหานคร
- สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2539
- สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงใหม่[5][6]
ถึงแก่อนิจกรรม
แก้พล.ต.อ.สว้สดิ์ ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ณ โรงพยาบาลศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ด้วยโรคชรา สิริรวมอายุ 81 ปี มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2532 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[9]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[10]
- พ.ศ. 2534 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[11]
- พ.ศ. 2514 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[12]
- พ.ศ. 2532 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[13]
- พ.ศ. 2527 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 4 (ภ.ป.ร.4)[14]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- ญี่ปุ่น :
- พ.ศ. 2535 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงคลรัตน์ ชั้นที่ 1[15]
อ้างอิง
แก้- ↑ ดอกเตอร์สุทธาภา อมรวิวัฒน์. จากไทยรัฐออนไลน์.
- ↑ สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงใหม่ พลตำรวจเอก สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ
- ↑ ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๕ (ไม่เป็นกฎหมาย เรื่อง แต่งตั้งบุคคลสำคัญให้ดำรงตำแหน่งในคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ เพิ่มเติม)
- ↑ พลตำรวจเอกสวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ เชียงใหม่ เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ข้อมูลประวัติของสมาชิกวุฒิสภา
- ↑ "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา เขตเลือกตั้งจังหวัดเชียงใหม่ (พลตรี อินทรัตน์ ยอดบางเตย นายถาวร เกียรติไชยากร พลตำรวจเอก สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-12-05. สืบค้นเมื่อ 2018-03-12.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๕๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๙ ข หน้า ๕, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๗ ธันวาคม ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๑๕๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐๑๕, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๑๘๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๙, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๒๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 109 ตอนที่ 27 หน้า 2240, 25 กุมภาพันธ์ 2535