ผู้ใช้:บุญพฤทธิ์ ทวนทัย/ทดลองเขียน/กรุ 2
หน้านี้เป็นหน้ากรุของการอภิปรายอภิปรายในอดีต อย่าแก้ไขเนื้อหาของหน้านี้ หากต้องการเริ่มการอภิปรายใหม่หรือรื้อฟื้นการอภิปรายเดิมโปรดใช้หน้าพูดคุยปัจจุบันของหน้านี้ |
กรุ 1 | กรุ 2 | กรุ 3 |
ยังไม่มีกรุ (สร้าง) |
พิมรดาภรณ์ เบญจวัฒนะพัชร์
พิมรดาภรณ์ เบญจวัฒนะพัชร์ | |
---|---|
ข้อมูลส่วนตัว | |
เกิด | จิตรา สนองเกียรติ[1] พ.ศ. 2533–2534 (30 ปี) |
สัญชาติ | ไทย |
ข้อมูลยูทูบ | |
ช่อง | |
ปีปฏิบัติงาน | พ.ศ. 2555 – ปัจจุบัน |
ประเภท | |
จำนวนผู้ติดตาม | 3.42 ล้านคน[2] |
จำนวนผู้เข้าชม | 308,148,890 ครั้ง (ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564)[2] |
ส่วนเกี่ยวข้อง | ณัฐวุฒิ ศรีหมอก |
พิมรดาภรณ์ เบญจวัฒนะพัชร์ หรือ พิมรี่พาย เป็นยูทูบเบอร์ที่มีชื่อเสียงในแนวขายของออนไลน์คนนึงของประเทศไทย และเป็นศิลปินและผู้บริหารในค่ายเพลงไฮต์เคลาส์เอนเตอร์เทนเมนท์ เธอเป็นที่รู้จักดีจากการช่วยเหลือผู้ยากไร้ในพื้นที่อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2564 โดยการติดตั้งแผงโซลาเซลล์สำหรับการใช้ประโยชน์ของคนในพื้นที่ดังกล่าว
ประวัติและการทำงาน
บิดาของเธอเป็นชาวจังหวัดชุมพร มารดาของเธอเป็นชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช ส่วนเธอนั้นเติบโตในกรุงเทพมหานคร ด้วยความที่ครอบครัวประกอบอาชีพค้าขายนั้นทำให้เธอซึมซับมา เธอจึงเริ่มสู่เส้นทางอาชีพนักธุรกิจจากการค้าขายในช่องทางออนไลน์ในนาม พิมรี่พายขายทุกอย่าง และเธอประกอบอาชีพนี้เรื่อยมา
ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เธอได้เปลี่ยนบทบาทของตนครั้งใหญ่ จากการเปิดตัวธุรกิจค่ายเพลงของเธอในชื่อไฮน์เคลาส์เอนเตอร์เทนเมนต์ ร่วมกับณัฐวุฒิ ศรีหมอก และหลุยส์ ธนา และเธอเองเป็นศิลปินในสังกัดดังกล่าวควบคู่ไปกับผู้บริหารค่ายเพลงอีกด้วย[3][4][5] ทั้งนี้ เธอได้ออกผลงานเพลงชื่อ อย่านะคะ ซึ่งเป็นผลงานซิงเกิลของเธอเอง[1]
การกุศล
ในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2564 เธอได้ช่วยเหลือเด็กและผู้ด้อยโอกาสในพื้นที่อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ โดยการมอบเครื่องอุปโภคบริโภค ตลอดจนติดตั้งแผงโซลาเซลล์และมอบโทรทัศน์ให้แก่โรงเรียนในพื้นที่ดังกล่าวเนื่องจากคนในพื้นที่ขาดการเข้าถึงไฟฟ้าและสิ่งอำนวยความสะดวก[6][7] ทำให้ได้รับกระแสคำชื่นชมจากสื่อสังคมออนไลน์ตลอดจนประชาชนทั่วไป จนกระทั่ง "#พิมรี่พาย" ขึ้นเทรนต์ทวิตเตอร์อันดับหนึ่งในวันดังกล่าว[8][9] อย่างไรก็ดีได้มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์จากประชาชนอีกฝ่ายว่าสิ่งที่เธอทำเป็นการสร้างภาพหรือไม่[10] รศ.ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี กล่าวว่าสิ่งที่เธอทำนั้นไม่รู้ถึงปัญหาจริงๆ ในพื้นที่ และเป็นเพียงการโปรดสัตว์ชนชั้นล่าง[11] ทั้งนี้ เธอได้ออกมาชี้แจงผ่านการถ่ายทอดสดในเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2564 ว่าเธอตั้งใจช่วยเหลือเด็กในพื้นที่ดังกล่าวด้วยความจริงใจและตอบแทนคุณแผ่นดิน และเธอกล่าวว่าอย่านำเรื่องดังกล่าวไปโยงกับเรื่องอื่นๆ[12]
ผลงาน
- ยูทูบเบอร์ในช่อง "Pimrypie - พิมรี่พาย"
ผลงานเพลง
- มกราคม 2564 - "ตายทั้งเป็น" (ต้นฉบับ ดนุพล แก้วกาญจน์)
- กุมภาพันธ์ 2564 - "อย่านะคะ"
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 "พิมรี่พาย” จากแม่ค้าออนไลน์ มาเป็นนักร้องสุดแซ่บ จนกลายมาเป็นนางฟ้าตอบแทนสังคม
- ↑ 2.0 2.1 "About UCoJuMpfYKqCbvnd1DpUUJmg". YouTube.
- ↑ จากแม่ค้าสู่สตาร์!'พิมรี่พาย' ไม่กล้วเจ๊งควักเงินเปิดค่ายเพลง
- ↑ พิมรี่พาย’ เปิดตัวในสถานะใหม่ เป็นศิลปินนักร้อง ควบเจ้าของค่ายเพลง
- ↑ จากแม่ค้าสู่ผู้บริหาร พิมรี่พาย จับมือ กอล์ฟ ฟักกลิ้งฮีโร่ เปิดค่ายเพลง
- ↑ เปิดชีวิต "พิมรี่พาย" แม่ค้าออนไลน์สุดแซ่บ สู่นางฟ้าตอบแทนสังคม
- ↑ คลิปจาก ‘พิมรี่พาย’ สะท้อนความเหลื่อมล้ำ เด็กบนดอยยังขาดคุณภาพชีวิต ไร้ความฝัน และเข้าไม่ถึงการศึกษาที่ดี
- ↑ โซเชียลแห่ชม “พิมรี่พาย” ขึ้นทวิตอันดับ1 หลังเจ้าตัวปล่อยคลิป “บนดอยไร้แสงไฟ”
- ↑ 5 เรื่องน่ารู้ พิมรี่พาย คือใคร มาทำความรู้จักเน็ตไอดอลคคุณภาพ นางฟ้าของคนจน
- ↑ รู้จัก “พิมรี่พาย” ยูทูบเบอร์ปากร้าย นางฟ้าคนยาก คนสร้างภาพ?
- ↑ รู้จัก อาจารย์ ม. ดัง หลังฉะแรง "พิมรี่พาย" ไม่รู้จักปัญหาที่แท้จริง หวังแค่โปรดสัตว์ชนชั้นล่าง!
- ↑ 'พิมรี่พาย' ไลฟ์สดเปิดใจยันเดินหน้าทำความดีตอบแทนแผ่นดิน ด่าลั่นเอาไปโยงเรื่องอื่นทำไม
หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2533 หมวดหมู่:บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ หมวดหมู่:นักธุรกิจชาวไทย หมวดหมู่:ยูทูบเบอร์ชาวไทย หมวดหมู่:นักร้องหญิงชาวไทย หมวดหมู่:นักการกุศล หมวดหมู่:บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
อติธิ ราวห์ ไฮดารี (en:Aditi Rao Hydari)
อติธิ ราวห์ ไฮดารี | |
---|---|
ไฮดารีในงานเปิดตัวภาพยนตร์เรื่อง Sammohanam ในปี พ.ศ. 2561 | |
เกิด | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2521[1] ไฮเดอราบาด รัฐเตลังคานา ประเทศอินเดีย |
อาชีพ | นักแสดง |
ปีปฏิบัติงาน | พ.ศ. 2543–ปัจจุบัน |
คู่สมรส | ศตยดีพห์ มิชราห์ |
บิดามารดา | อัสซัน ไฮดารี (บิดา) ดีวาห์ ราวห์ (มารดา) |
อติธิ ราวห์ ไฮดารี (อังกฤษ: Aditi Rao Hydari, ฮินดี: अदिति राव हैदरी) (28 ตุลาคม พ.ศ. 2521 –) เป็นนักแสดง นักเต้น และนักร้องชาวอินเดียในแนวฮินดี, เตลูกู และทมิฬ
เธอแจ้งเกิดในวงการบันเทิงเมื่อปี พ.ศ. 2550 จากภาพยนตร์เรื่อง Singaram มีชื่อเสียงและประสบความสำเร็จอย่างสูงสุดจากภาพยนตร์แนวโรแมนติกเรื่อง Yeh Saali Zindagi ในปี พ.ศ. 2554 กำกับโดยสุธี มิชรา และหลังจากนั้นเธอยังมีผลงานการแสดงภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จมากมาย อาทิ Rockstar (2554), Murder 3 (2556), Boss (2556) และ Wazir (2559)
ในปี พ.ศ. 2560 เธอได้แสดงภาพยนตร์เรื่อง Kaatru Veliyidai กำกับโดยมณี รัตนนาม โดยเธอรับบทเป็นแพทย์ที่ชื่อ "ไลลา อับราฮัม" หลังจากเรื่องดังกล่าวออกฉาย ภาพยนตร์ดังกล่าวสามารถทำรายได้อย่างมากในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของอินเดีย[2]
ประวัติและการศึกษา
ไอดารีเกิดเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2521 ที่ไฮเดอราบาด[3] รัฐเตลังคานา ประเทศอินเดีย เป็นธิดาของอัสซัน ไฮดารีและดีวาห์ ราวห์ นักร้องแนวเพลงพื้นบ้าน[4][5] บิดาเธอเป็นมุสลิมและเสียชีวิตไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 มารดาเธอเป็นฮินดู ต่อมามารดาของเธอเปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนา เธอมีเชื้อสายเตลูกูจากมารดา[6] เธอนั้นเกิดมาในครอบครัวที่มีฐานะ[7] เนื่องจากเธอเป็นหลานสาวของอักบัร ไฮดารี อดีตผู้ว่าการรัฐเตลังคนา และยังเป็นเหลนสาวของมูฮัมหมัด เซราห์ อักบาร์ ไฮดารี อดีตผู้ว่าการจังหวัดอัสซัม (ในสมัยที่อินเดียเป็นบริติชราช)[8]
บิดาและมารดาของเธอหย่าร้างกันตั้งแต่เธออายุได้สองปี หลังจากนั้นมารดาของเธอก็ย้ายจากรัฐเตลังคนาไปอยู่ที่นิวเดลี และทำธุรกิจที่นั่น ส่วนการศึกษานั้นเธอสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยเลดี ศรี ราม มหาวิทยาลัยเดลี[9][10]
เธอใช้นามสกุลของทั้งบิดามารดา โดยเธอเคยบอกว่า "มารดาให้กำเนิดเธอ บิดาเธอก็เป็นส่วนนึงในชีวิตที่สำคัญ เธอจึงต้องการใช้สองนามสกุลเพื่อให้เกียรติต่อทั้งบิดาและมารดา"[11]
ชีวิตส่วนตัว เธอสมรสตั้งแต่อายุ 21 ปี[12][13] กับศตยดีพห์ มิชราห์ นักกฎหมายและนักแสดงชื่อดัง โดยสมรสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547[14]
ผลงานภาพยนตร์
† | ยังไม่ได้เข้าฉาย |
ปี | ชื่อเรื่อง | บทบาท | ภาษา | หมายเหตุ | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|
2549 | Prajapathi | Savithri | ภาษามาลายัม | [15] | |
2550 | Sringaram | Madhura/Varshini | ภาษาทมิฬ | ||
2552 | Delhi 6 | Rama | ภาษาฮินดี | ||
2553 | Dhobi Ghat | Guest at art gallery | ภาษาฮินดี | ||
2554 | Yeh Saali Zindagi | Shanti | ภาษาฮินดี | Screen Award for Best Supporting Actress | [16] |
Rockstar | Sheena | ภาษาฮินดี | Nominated—Producers Guild Film Award for Best Actress in a Supporting Role | ||
2555 | London, Paris, New York | Lalitha Krishnan | ภาษาฮินดี | ||
2556 | Murder 3 | Roshni | ภาษาฮินดี | ||
Boss | Ankita Thakur | ภาษาฮินดี | |||
2557 | Khoobsurat | Kiara | ภาษาฮินดี | Cameo appearance | |
Rama Madhav | Herself | ภาษามราฐี | Special appearance in the song "Loot Liyo Mohe Shyam" | [17] | |
2558 | Guddu Rangeela | Baby | ภาษาฮินดี | ||
2559 | Wazir | Ruhana Ali | ภาษาฮินดี | ||
Fitoor | Begum Hazrat | ภาษาฮินดี | |||
The Legend of Michael Mishra | Varshali Shukla | ภาษาฮินดี | |||
2560 | Kaatru Veliyidai | Leela Abraham | ภาษาฮินดี | SIIMA Award for Best Debut Tamil Actress Asiavision Award for Best Tamil Actress |
[18] |
Bhoomi | Bhoomi Sachdeva | ภาษาฮินดี | |||
2561 | Padmaavat | Mehrunisa | ภาษาฮินดี | IIFA Award for Best Supporting Actor (Female)[19] | |
Daas Dev | Chandni | ภาษาฮินดี | |||
Sammohanam | Sameera | ภาษาเตลูกู | Nominated — Filmfare Award for Best Actress – Telugu Nominated — SIIMA Award for Best Actress (Telugu) |
||
Chekka Chivantha Vaanam | Parvathi | ภาษาฮินดี | [20] | ||
Antariksham 9000 KMPH | Riya | ภาษาเตลูกู | |||
2563 | Psycho | Dagini | ภาษาทมิฬ | ||
Sufiyum Sujatayum | Sujatha | ภาษามาลายัม | [21][22] | ||
V | Saheba | ภาษาเตลูกู | [23] | ||
2564 | The Girl on the Train | Nusrat John | ภาษาฮินดี | [24] | |
Ajeeb Daastaans † | รอประกาศ | ภาษาฮินดี | Netflix film | [25] | |
Hey Sinamika † | รอประกาศ | ภาษาทมิฬ | Filming | [26][27] | |
Maha Samudram † | รอประกาศ | ภาษาเตลูกู ภาษาทมิฬ |
Filming; Bilingual film | [28] |
ผลงานเพลง
ปี | จากภาพยนตร์เรื่อง | ชื่อเพลง | โปรดิวเซอร์ | ภาษา | บันทึก | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|---|
2563 | Jail † | Kaathodu Kaathanen (co-singer Dhanush) | G. V. Prakash Kumar | ทมิฬ | วางจำหน่ายแล้ว | [29] |
อ้างอิง
- ↑ Roy, Tulip (28 October 2020). "Aditi Rao Hydari Birthday: 15 Facts About The Actor That Fans Would Like To Know". Republicworld.com.
- ↑ MumbaiJuly 3, Suhani Singh; July 3, 2020UPDATED; Ist, 2020 01:21. "They were writing scripts for me: Aditi Rao Hydari". India Today. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2020. สืบค้นเมื่อ 10 September 2020.
{{cite web}}
: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์) - ↑ Adivi, Sashidhar (26 November 2017). "I always consider myself a Hyderabadi: Aditi Rao Hydari". Deccan Chronicle. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 December 2018. สืบค้นเมื่อ 3 March 2018.
- ↑ Panicker, Anahita (20 September 2017). "I feel like a kid in a candy shop!". The Hindu. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2020. สืบค้นเมื่อ 25 November 2017.
- ↑ Stephen, Rosella (21 July 2017). "Doing desi-boho like Aditi". The Hindu. สืบค้นเมื่อ 12 November 2017.
- ↑ Chakraborty, Sumita (5 December 2013). "Aditi Rao Hydari on screen kissing, the casting couch and more..." Stardust. savvy.co.in. สืบค้นเมื่อ 20 November 2017.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Varma, Shraddha (15 September 2017). "Did You Know These Bollywood Celebrities Had A Royal Lineage?". iDiva.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2020. สืบค้นเมื่อ 3 December 2017.
- ↑ "I can speak good Hyderabadi Hindi: Aditi Rao Hydari". The Times of India. 21 January 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 July 2013. สืบค้นเมื่อ 29 March 2012.
- ↑ Mukherjee, Treena (12 October 2014). "Making the right moves". The Telegraph. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 June 2018. สืบค้นเมื่อ 18 November 2017.
- ↑ Kaushik, Divya (7 August 2015). "Aditi Rao Hydari: I know the best places to shop in Delhi". The Times of India. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2020. สืบค้นเมื่อ 12 November 2017.
- ↑ Gupta, Priya (23 February 2013). "I've always struggled with my relationship with my father: Aditi". The Times of India. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2020. สืบค้นเมื่อ 21 January 2018.
- ↑ "Aditi Rao Hydari regrets first split?". Deccan Chronicle. 19 February 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2020. สืบค้นเมื่อ 25 November 2017.
- ↑ Razzaq, Sameena (12 November 2016). "Aditi is my closest friend: Satyadeep Mishra". Deccan Chronicle. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2020. สืบค้นเมื่อ 3 December 2017.
- ↑ "Aditi Rao shines as Delhi 6 sinks". Zimbio. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2009. สืบค้นเมื่อ 11 March 2009.
- ↑ "Review: 'Prajapathi'". Sify. 3 July 2020.
- ↑ "Aditi Rao Hydari on 'standing up' against casting couch: I didn't regret it but I cried about it – Bollywood News". Timesnownews.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2018. สืบค้นเมื่อ 27 December 2018.
- ↑ "First Look: Aditi Rao Hydari in a Marathi film". Rediff. 21 June 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2020. สืบค้นเมื่อ 4 February 2018.
- ↑ Bangalore Mirror Bureau (8 April 2017). "Kaatru Veliyidai movie review: 'Kaatru Veliyidai' ain't a breezy ride". Bangalore Mirror. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2018. สืบค้นเมื่อ 27 December 2018.
- ↑ DBPost.com, About DB POST Digital view all posts twitterfacebook Staff Writer at (19 September 2019). "IIFA Awards/ Raazi Best Film, Ranveer Singh Best Actor and Alia Bhatt adjudged Best Actress". DBPOST. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 October 2019. สืบค้นเมื่อ 16 October 2019.
{{cite web}}
:|first=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - ↑ "Aditi Rao plays Parvathi in Chekka Chivantha Vaanam". Behindwoods. 23 August 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 September 2018. สืบค้นเมื่อ 3 September 2018.
- ↑ "Vijay Babu announces post-production of Sufiyum Sujathayum". Times of India. 14 May 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2020. สืบค้นเมื่อ 15 May 2020.
- ↑ "With 'Sufiyum Sujathayum' releasing on Amazon Prime, Malayalam cinema is in for a change of scene". The Hindu. 15 May 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2020. สืบค้นเมื่อ 3 July 2020.
- ↑ "Nani starrer V to release on Amazon Prime Video". Indian Express. 20 August 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2020. สืบค้นเมื่อ 20 August 2020.
- ↑ "'The Girl On The Train': Parineeti Chopra shares gripping teaser as film gears up for digital release". The Times of India. 13 January 2021. สืบค้นเมื่อ 13 January 2021.
- ↑ Vivek, Arundhati (3 March 2021). "Aditi Rao Hydari shares still from her next Netflix titled 'Ajeeb Daastaans'; check out". Republic World (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 4 March 2021.
- ↑ "Choreographer Brindha turns director, casts Dulquer Salmaan, Kajal Aggarwal and Aditi Rao Hydari". The Hindu. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2020. สืบค้นเมื่อ 12 March 2020.
- ↑ "Aditi Rao Hydari, Kajal Aggarwal, Dulquer team up for first time for 'Hey Sinamika'". Deccan Chronicle. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2020. สืบค้นเมื่อ 12 March 2020.
- ↑ "Aditi Rao Hydari on board for 'Maha Samudram'". The Hindu.
- ↑ "Aditi Rao Hydari croons for GV Prakash". 7 December 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2020. สืบค้นเมื่อ 19 January 2020.
โจโม เคนยาตา (en:Jomo Kenyatta)
โจโม เคนยาตา (อังกฤษ: Jomo Kenyatta) (พ.ศ. 2440 – 22 สิงหาคม พ.ศ. 2521) เป็นนักเคลื่อนไหวลัทธิต่อต้านอาณานิคมชาวเคนยา และนักการเมืองชาวเคนยา ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเคนยาในช่วงปี พ.ศ. 2506 ถึง พ.ศ. 2507 ในช่วงที่ประเทศเคนยายังอยู่ภายใต้อาณานิคมของสหราชอาณาจักร และเป็นประธานาธิบดีคนแรกของเคนยาหลังได้รับเอกราชเมื่อปี พ.ศ. 2507 จนกระทั่งเขาถึงแก่อสัญกรรมในปี พ.ศ. 2521
เขาเกิดในครอบครัวชาวนาชนเผ่าคิกุยู เมืองเกียมบู บริติชแอฟริกาตะวันออก เขาศึกษาในโรงเรียนของมิชชันนารีที่เข้ามาเผยแผ่ศาสนาในถิ่นที่เขาอยู่ และเส้นทางการเมืองของเขาได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อเขาเข้าร่วมกับสมาคมชนเผ่าคิกุยู ใน พ.ศ. 2472 เขาได้เดินทางไปลอนดอน เพื่อเจรจาเรื่องที่ดินของชาวคิกุยู ใน พ.ศ. 2473 เขาได้เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยคอมมิวนิสต์แห่งทอยเลอร์ตะวันออกที่กรุงมอสโก จากนั้นเขาก็ศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน และโรงเรียนเศรษฐศาสตร์ลอนดอน ในปี พ.ศ. 2481 เขาได้ตีพิมพ์วิจัยเกี่ยวกับสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาเกี่ยวกับชนเผ่าคิกุยู และเขาได้ทำงานในเฟาร์มในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ต่อมาเขาได้ร่วมกับจอร์จ แพตมอร์ เพื่อนของเขาได้รวบรวมชาวแอฟริกันในพื้นที่เพื่อขับไล่เจ้าอาณานิคมอย่างอังกฤษออกไป
เบเร็ตตา 92 (en:Beretta 92)
เบเร็ตตา 92 | |
---|---|
รุ่น 92 เอ 1 | |
ชนิด | ปืนสั้นกึ่งอัติโนมัติ |
แหล่งกำเนิด | อิตาลี |
บทบาท | |
ประจำการ | พ.ศ. 2519–present |
ผู้ใช้งาน | ดูที่ ประเทศผู้ใช้งานและประเทศผู้ผลิตออกมาในลักษณะเดียวกัน |
ประวัติการผลิต | |
ช่วงการออกแบบ | พ.ศ. 2518 |
บริษัทผู้ผลิต | บาเร็ตตา |
ช่วงการผลิต | พ.ศ. 2519–present |
จำนวนที่ผลิต | 3,500,000 [1] |
ข้อมูลจำเพาะ | |
มวล | 950 กรัม (34 ออนซ์) |
ความยาว | 217 มิลลิเมตร (8.5 นิ้ว) |
ความยาวลำกล้อง | 125 มิลลิเมตร (4.9 นิ้ว) |
กระสุน | กระสุนขนาด 9×19 มิลลิเมตร |
ความเร็วปากกระบอก | 381 m/s (1,250 ft/s) |
ระยะหวังผล | 50 m (160 ft) |
ระบบป้อนกระสุน | บรรจุกระสุนในแม็กกาซีนได้:
|
เบเร็ตตา 92 (อังกฤษ: Beretta 92) เป็นปืนสั้นกึ่งอัตโนมัติชนิดหนึ่ง ผลิตโดยบริษัทเบเร็ตตาสัญชาติอิตาลี เริ่มออกแบบในปี พ.ศ. 2518 และผลิตออกมาในปี พ.ศ. 2519 เป็นปืนสั้นกึ่งอัตโนมัติอีกชนิดหนึ่งที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน และยังมีหลายประเทศนำไปผลิตในลักษณะเดียวกันกับปืนสั้นรุ่นนี้ อาทิ ประเทศบราซิลผลิตในชื่อเทอร์ราส พีที92, สหรัฐผลิตในชื่อเบเร็ตตา เอ็ม9, ประเทศตุรกี ผลิตในชื่อวายุส16 เป็นต้น
ปืนสั้นชนิดนี้มีหลายรุ่น[2] ได้แก่ 92, 92D, 92เอฟเอส[3], เซ็นทรัลนิออล, อีลีท แอลทีที ฯลฯ เบเร็ตตา 92 บรรจุกระสุนขนาด 9×19 มิลลิเมตร บรรจุในแม็กกาซีนได้ 13 นัด[4]
ประวัติ
เบเร็ตตา 92 ได้แรงบันดาลใจมาจากปืนพกหลายชนิด โดยลำกล้อง ไกปืน และส่วนประกอบต่างๆ ได้แรงบันดาลใจมาจากวอลเทอร์ พี38[4] และมีการทำงานและตัวปืนบางส่วนที่ยังคล้ายคลึงกับบราวนิง ไฮ-พาวเวอร์ อีกด้วย[5]
การ์โล บาเร็ตตา, กียูเซปเป เมซเซสตี และวิคตอริโอ วาเลได้ร่วมกันออกแบบปืนสั้นชนิดนี้ และออกแบบเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2518[6]
ประเทศผู้ใช้งานและประเทศผู้ผลิตออกมาในลักษณะเดียวกัน
- สหรัฐ: ผลิตในชื่อ "เบเร็ตตา เอ็ม9" และใช้ในกองทัพสหรัฐ[7] แทนปืนพกเอ็ม 1911
- อิตาลี
- บราซิล: ผลิตออกมาในชื่อ "เทอร์ราส พีที92" (Taurus PT 92) โดยบริษัทเทอร์ราส และใช้กันในกองทัพบราซิล[8]
- ตุรกี: ผลิตออกมาในชื่อ "วายุส 16" โดยบริษัทกรีซาน[9] และใช้กันในกองทัพตุรกี[10][11]
- แอฟริกาใต้: ผลิตออกมาในชื่อ "เวกตอร์ เอส16" โดยบริษัทเวกตอร์[8]
- อียิปต์: ผลิตออกมาในชื่อ "เฮลวาน 920"[8][12]
- ไทย: ใช้ประจำการในกองทัพบกไทย[13] และยังมีขายในร้านอวุธปืนทั่วไปอีกด้วย
- มาเลเซีย: ใช้ในกองทัพมาเลเซียและตำรวจมาเลเซีย[8]
อ้างอิง
- ↑ "Excellence N0.10". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-17. สืบค้นเมื่อ 2020-06-18.
- ↑ Wilson, Robert Lawrence (2000). The World of Beretta: An International Legend. New York: Random House. pp. 207, 234. ISBN 978-0-375-50149-4.
- ↑ Lawrence, Erik; Pannone, Mike (19 February 2015). Beretta 92FS/M9 Handbook. Erik Lawrence Publications. p. 10. ISBN 978-1-941998-55-7.
- ↑ 4.0 4.1 ตำนาน BERETTA สุดยอดปืนพก
- ↑ Gangarosa, Gene Jr., "Modern Beretta Firearms", Stoeger Publishing (1994)
- ↑ "Beretta Web - 92FS 15 years of evolution and success". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 August 2017. สืบค้นเมื่อ 25 December 2014.
- ↑ "Beretta Web – M9A1". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-12. สืบค้นเมื่อ 2010-03-06.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 Diez, Octavio (2000). Armament and Technology. Lema Publications, S.L. ISBN 84-8463-013-7.
- ↑ "References". Girsan. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 May 2014. สืบค้นเมื่อ 6 May 2014.
- ↑ "REGARD MC - Girsan". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 April 2015. สืบค้นเมื่อ 25 December 2014.
- ↑ "Modern Firearms". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 December 2014. สืบค้นเมื่อ 25 December 2014.
- ↑ Alberts, Kristin (5 February 2013). "The Helwan 920: Cheap Knock-Off or Beretta-Quality?". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 June 2015. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
- ↑ "อาวุธประจำกาย และอาวุธธประจำกายทหารราบ" [Body armor and weapons for the infantry]. Thai Army. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-24. สืบค้นเมื่อ 2019-03-24.
แหล่งข้อมูลอื่น
- Official Beretta 92 page
- Beretta USA page
- Diagram of beretta 92
- Details on the Beretta 92
- Free videos of Beretta 92/96 disassembly
- How To Make The 92FS 9mm Shoot, Performance Shooter, October 1997
- Beretta 92F exploded-view parts diagram from American Rifleman
หมวดหมู่:ปืนสั้น หมวดหมู่:อาวุธตำรวจ
เครื่องอิสริยาภรณ์มูกูฮวา
เครื่องอิสริยาภรณ์มูกูฮวา | |
---|---|
ประเภท | อิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุด |
วันสถาปนา | พ.ศ. 2492 |
ประเทศ | เกาหลีใต้ |
แพรแถบ | |
ผู้สมควรได้รับ | ประธานาธิบดี, สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง, ประมุขต่างประเทศและคู่สมรส |
สถานะ | ยังมีการมอบ |
ประธาน | ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ |
ลำดับเกียรติ | |
สูงกว่า | ไม่มี |
รองมา | เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณสำหรับการสร้างชาติ • เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณทางการทูต • เครื่องอิสริยาภรณ์วัฒนธรรม |
เครื่องอิสริยาภรณ์มูกูฮวา (อังกฤษ: Grand Order of Mugunghwa, เกาหลี: 무궁화대훈장) เป็นเครื่องอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของประเทศเกาหลีใต้ มอบโดยประธานาธิบดีเกาหลีใต้ สำหรับประธานาธิบดีเกาหลีใต้ สึภาพสตรีหมายเลขหนึ่งเกาหลีใต้ ประมุขรัฐต่างประเทศและคู่สมรสของประมุขรัฐต่างประเทศ โดยผู้ได้รับมอบต้องเป็น "ผู้ที่กระทำคุณประโยชน์อย่างโดดเด่นเพื่อส่งเสริมความสัมพันธไมตรีและความก้าวหน้าอันเป็นประโยชน์ยิ่งของสาธารณรัฐเกาหลี"[1]
ชื่อเครื่องอิสริยาภรณ์นี้มีที่มาจากดอกไม้ประจำชาติเกาหลีใต้นั่นคือกุหลาบโซรอนซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งวัฒนธรรมและความภาคภูมิใจของเกาหลีใต้[2]
ลักษณะโดยทั่วไป
เครื่องอิสริยาภรณ์นี้ประกอบด้วยดวงตราที่ห้อยกับสายสะพายสีแดงและสร้อยคอ และดวงดารา อิสริยาภรณ์นี้ทำด้วยทองคำเงินทับทิมและอเมทิสต์ ใน พ.ศ. 2556 ต้นทุนในการสร้างอิสริยาภรณ์นี้อยู่ที่ประมาณ 20 ล้านวอน[3]หรือราวๆ 561,175 บาทไทย
ผู้ที่เคยได้รับอิสริยาภรณ์นี้
- ไทย: พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายเมื่อ พ.ศ. 2509)[4]
- ไทย: สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง (ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายเมื่อ พ.ศ. 2509)[4]
- กาตาร์: ฮะมัด บิน เคาะลีฟะฮ์ อัษษานี (ได้รับเมื่อ พ.ศ. 2550)[5]
- อินโดนีเซีย: ซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน (ได้รับเมื่อ พ.ศ. 2557)[6]
อ้างอิง
- ↑ Awards and Decorations Act, Act มาตรา 11690 ประกาศใช้เมื่อ March 23, 2013(in English and Korean) Korea Legislation Research Institute. Retrieved 2018-02-15.
- ↑ Umoh, Kingsley (2014). Taekwondo Poomsae: The Fighting Scrolls: Guiding Philosophy and Basic Applications. Strategic Book Publishing & Rights Agency. pp. 233–234. ISBN 9781612048017.
- ↑ "Will Pres. Lee accept top gov`t honor before retiring?". The Dong-A Ilbo. 2013-01-11. สืบค้นเมื่อ 2018-02-15.
- ↑ 4.0 4.1 "오늘 한·태 정상회담". 경향신문. 1966-02-11. สืบค้นเมื่อ 2013-02-14.
- ↑ 배재만 (2007-03-28). "카타르 국왕에게 훈장 수여하는 노대통령". 연합뉴스. สืบค้นเมื่อ 2013-02-16.
- ↑ 이정훈 (2014-11-19). "박 대통령, 유도요노 전 인도네시아 대통령 서훈". 연합뉴스. สืบค้นเมื่อ 2015-04-06.
เครื่องราชอิสริยาภรณ์เซราฟีม
เครื่องราชอิสริยาภรณ์เซราฟีม | |
---|---|
ประเภท | อิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุด |
วันสถาปนา | พ.ศ. 2291 |
ประเทศ | สวีเดน |
แพรแถบ | |
ผู้สมควรได้รับ | พระมหากษัตริย์, พระราชินี, พระบรมวงศานุวงศ์, ผู้กระทำความดีอย่างยิ่งยวดต่อประเทศวีเดน และประมุขรัฐตลอดจนผู้มีเกียรติจากต่างประเทศ |
สถานะ | ยังมีการมอบ |
ประธาน | พระมหากษัตริย์สวีเดน |
สถิติการมอบ | |
รายแรก | : พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งสวีเดน |
รายล่าสุด | : มุน แจ-อิน[1] |
ทั้งหมด | 882 ราย |
ลำดับเกียรติ | |
สูงกว่า | ไม่มี |
รองมา | เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาบ |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์เซราฟีม (สวีเดน: Kungliga Serafimerorden) เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของประเทศสวีเดน และเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่เก่าแก่อย่างหนึ่งของโลก สถาปนาขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2291 โดยพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งสวีเดน ซึ่งสร้างมาพร้อมกันกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาบและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาวขั้วโลก[2][3] เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้มีเพียงสองชั้นคือ ชั้นอัศวิน และชั้นสมาชิก ประกอบด้วยดวงตราห้อยกับสายสะพายสีฟ้า สายสร้อย และดารา เครื่องราชอิสริยาภรณ์มอบให้แก่พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระบรมวงศานุวงศ์สวีเดน[4][5] ชาวสวีเดนที่ทำคุณประโยชน์อย่างยิ่งยวด ตลอดจนประมุขและผู้มีเกียรติจากต่างประเทศ
ลักษณะของเครื่องราชอิสริยาภรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้มีเพียงสองชั้น และใน 1 สำรับของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประกอบไปด้วยดวงตรา 2 ดวง ดวงหนึ่งห้อยกับสายสร้อย อีกดวงหนึ่งห้อยกับสายสะพายสีฟ้าสะพายจากทางขวาเฉียงลงทางซ้าย และดาราประดับบนหน้าอกซ้าย ลักษณะใน 1 สำรับมีดังนี้
- สายสร้อย (Collar) ลักษณะมีนกเซราฟีมสีทองสลับกันกับตราดวงกางเขนสีฟ้าอย่างละ 11 ตัว โดยตัวนกเซราฟีมสีทองนั้นมีหน้าคล้ายเด็กทารกปรากฎอยู่
- ดวงตรา (Badge) ลักษณะเป็นกางเขนมอลตาและลงยาด้วยกางเขนสีทอง 4 ด้าน และซ้อนกับนกเซราฟีมสีทองคั่นระหว่างกางเขนทั้ง 4 ด้าน และมีอัญมณีสีน้ำเงินสลักตัวอักษร IHS สีขาว
- สายสะพาย (Sash) ลักษณะเป็นสีฟ้าอ่อนๆ หรือที่คนสวีเดนมักเรียกว่าสีน้ำเงินเซราฟีม มีขนาดเล็กมากตามแต่ระดับวัยหรือเพศของสมาชิกแห่งราชอิสริยาภรณ์
- ดารา (Star) ลักษณะคล้ายดวงตรา แต่มีขนาดใหญ่กว่า
ตราประจำของผู้ได้รับ
ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ หากได้รับพระราชทานใหม่ๆ จะต้องมีตราประจำของตัวผู้ได้รับ ซึ่งจะประกอบไปด้วยตราแผ่นดินหรือตราประจำและล้อมรอบด้วยสายสร้อยหรือสายสะพายตามแต่ลำดับชั้นผู้ที่ได้รับพระราชทาน โดยจะวาดลงบนแผ่นคอปเปอร์ และนำไปประดิษฐานไว้ที่หอเกียรติยศเซราฟีมในพระบรมหาราชวังของสวีเดน เมื่อผู้ได้รับพระราชทานได้เสียชีวิตลง แผ่นตราประจำของผู้ได้รับดังกล่าวจะถูกย้ายจากพระราชวังไปทำพิธีไว้อาลัยที่วิหารลิตาโฮเมนในกรุงสต็อกโฮล์ม และจะสั่นระฆังเพื่อไว้อาลัยเป็นเวลา 1 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 12:00 น. ถึง 13:00 น. ตามเวลาท้องถิ่น โดยเรียกพิธีนี้ว่า เซราฟีมเมินเลกิเอิน
สมาชิกแห่งราชอิสริยาภรณ์
- ไทย: พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2493 ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้ากุสตาฟที่ 5 แห่งสวีเดน[6])
- ไต้หวัน: เจียง ไคเชก (ได้รับเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2491 ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้ากุสตาฟที่ 5 แห่งสวีเดน)
- ญี่ปุ่น: สมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ (ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายเมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2550 ในรัชสมัยสมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟแห่งสวีเดน[7])
- แอฟริกาใต้: เนลสัน แมนเดลา (ได้รับเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2540 ในรัชสมัยของสมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟแห่งสวีเดน[8])
อ้างอิง
- ↑ State visit from the Republic of Korea – day 1
- ↑ kungahuset.se
- ↑ Orders (in Swedish). Note: This is inconsistent with the English version of the page, which does not include the Order of Vasa in the Orders of HM the King.
- ↑ "The Orders in Sweden". kungahuset.se.
- ↑ Ordenskungörelse (1974:768)
- ↑ Sweden says farewell to its honorary
- ↑ "Noblesse et Royautés" เก็บถาวร 22 พฤษภาคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (French), Guests to Victoria of Sweden's wedding, Photo
- ↑ Heraldry เก็บถาวร 12 พฤศจิกายน 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน of the Order of the Seraphim, Nelson Mandela's us/img24/9572/mandelaxr1.png Coat of arms[ลิงก์เสีย]
แหล่งข้อมูลอื่น
นอรานิซา อิดริส (en:Noraniza Idris, ms:Noraniza Idris)
นอรานิซา อิดริส Noraniza Idris | |
---|---|
เกิด | 25 สิงหาคม พ.ศ. 2511 รัฐยะโฮร์, ประเทศมาเลเซีย |
แนวเพลง | ป็อป • อิรามมาเลเซีย |
อาชีพ | นักร้อง |
เครื่องดนตรี | เสียงร้อง |
ช่วงปี | พ.ศ. 2528 – ปัจจุบัน |
นอร์ อานีซา ปินติ ฮาจิ อิดริส (มลายู: Nor Aniza binti Haji Idris) หรือ นอรานิซา อิดริส (มลายู: Noraniza Idris) เป็นนักร้องหญิงชาวมาเลเซีย เธอได้รับสมญานามในประเทศว่า ราชินีเพลงป็อป เธอมีชื่อเสียงอย่างดีในแนวเพลง อิรามามาเลเซีย ซึ่งเป็นการนำแนวดนตรีพื้นเมืองมาผสมผสานกับเพลงป็อปแถบตะวันตก[1] เนื้อหาเพลงของเธอส่วนมากใช้ภาษาที่อิงมาจากเพลงดั้งเดิมของมาเลย์[2] โดยเพลงของเธอที่เป็นรู้จักและมีชื่อเสียงทั้งในประเทศมาเลเซียและประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ซี จันตุง หาตี[3], ดิกีร์ ปุตตรี เป็นต้น
ประวัติ
เธอเกิดเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2511 ที่รัฐยะโฮร์ เริ่มเข้าสู่วงการบันเทิงและเริ่มร้องเพลงจากการชนะเลิศการประกวดร้องเพลงทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งมาเลเซีย เมื่อ พ.ศ. 2528[4]
ชีวิตส่วนตัว
เธอสมรสครั้งแรกกับโมฮัด ฟาซุอิ โมฮัด ทาญุดดีน ซึ่งเป็นนักร้องเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2531 ต่อมาทั้งคู่ได้หย่ากันในปี พ.ศ. 2549 และเธอสมรสใหม่แบบไม่เปิดเผยในปี พ.ศ. 2551 กับนักธุรกิจคนหนึ่ง แต่ก็ได้หย่าขาดกันหลังสมรสเพียง 45 วัน[5][6]
ผลงานเพลง
- 2540 - อาลา ดอนดัง
- 2541 - มาซูอู
- 2542 - เบอคาปา
- 2543 - อิคติราฟ
- 2545 - เอารา
- 2547 - ซาโว' มาตัง
ผลงานการแสดง
- 2531 - ซายัง อีบุ
อ้างอิง
- ↑ Patricia Ann Matusky,Sooi Beng Tan. The music of Malaysia: the classical, folk, and syncretic traditions. p. 411.
- ↑ Patricia Ann Matusky,Sooi Beng Tan. The music of Malaysia: the classical, folk, and syncretic traditions. p. 412.
- ↑ SI JANTUNG HATI - ซี จันตุง หาตี / เธอคือ เจ้าหัวใจ
- ↑ True, Chris. "Biography: Noraniza Idris". AllMusic. สืบค้นเมื่อ 3 August 2010.
- ↑ Mahkamah sahkan Noraniza Idris bercerai
- ↑ Sukar Ani lari daripada Fareez
อูเปีย อีซิล
อูเปีย อีซิล Upiak Isil | |
---|---|
เกิด | 24 ธันวาคม พ.ศ. 2529 บูคิตติงกี, จังหวัดสุมาตราตะวันตก, อินโดนีเซีย |
แนวเพลง | ป็อป |
อาชีพ | นักร้อง |
เครื่องดนตรี | เสียงร้อง |
ช่วงปี | พ.ศ. 2542 – ปัจจุบัน |
ซิลเวีย นันดา[1] (อินโดนีเซีย: Silvia Nanda) หรือชื่อในวงการคือ อูเปีย อีซิล (อินโดนีเซีย: Upiak Isil) (24 ธันวาคม พ.ศ. 2529 –) เป็นนักร้องและนักแสดงตลกหญิงชาวอินโดนีเซีย มีเพลงที่สร้างชื่อเสียงได้แก่ ต๊ะ ตุง ตวง ซึ่งเผยแพร่บนสื่อโซเชียลเมื่อปี พ.ศ. 2560[2] และได้รับความนิยมทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทย[3]และประเทศมาเลเซีย
เธอเกิดเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ 2529 ที่บูคิตติงกี จังหวัดสุมาตราตะวันตก ในครอบครัวชาวมีนังกาเบา ก่อนที่จะไปเติบโตอยู่ที่เมืองปาลีมัน เธอเริ่มต้นชีวิตในวงการบันเทิงตั้งแต่อายุ 13 ปี และมีชื่อเสียงในภูมิลำเนาของเธอก่อนที่จะมีชื่อเสียงระดับประเทศในภายหลังในฐานะนักร้องเพลงป็อปซึ่งใช้ภาษามีนังกาเบาอันเป็นภาษาถิ่นเกิดของเธอเอง[4]
ใน พ.ศ. 2560 เธอมีชื่อเสียงในโลกโซเชียลจากเพลง ต๊ะ ตุง ตวง (อินโดนีเซีย: Tak Tung Tuang)[5][6] ซึ่งเนื้อหาเชิงขำขันอันเกี่ยวเกี่ยวกับชีวิตของเธอที่มีทัศนคติว่าถึงเธอไม่อาบน้ำก็ไม่เป็นใคร ใครจะคิดอย่างไรก็ช่าง แต่ตัวเธอนั้นมีความสุข[7] ซึ่ง 3 ปีถัดมาเพลงของเธอโด่งดังอย่างมากทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย และยังมีศิลปินหลายคนนำไปร้องใหม่ อาทิ ศุภัคชญา สุขใบเย็น
ผลงานเพลง
สตูดิโออัลบั้ม
- มาลัส เดต๊ะ มาห์
- ฮาโระห์ โจ ปาดี สาลีบุ
- อัลบั้ม ลาวัก บาสิเลอมัก 3 ดีวา
- เออมัง อูดะ ซีอ
- อัมลิส อารีฟิน & อีซิล - บาฮาเกีย บูตัน ฮาราโตะ
- พูดูกัน ซาจา
- อูเปีย อีซิล - กูตัง บาเรินโด
ซิงเกิล
- 2560 - ต๊ะ ตุง ตวง
- 2560 - คมเารา ปาลูซุ
ผลงานการแสดง
ภาพยนตร์
ปี | ชื่อเรื่อง | บท | บริษัทผู้ส้รางภาพยนตร์ |
---|---|---|---|
2561 | เลียม ดัน ไลลา | เต๊ะ โรสมา | มหากายา พิคเจอร์ มาลิน ฟิล์ม |
มามา มามา จาโกน | ตัวเธอเอง | บัดดี บัดดี พิคเจอร์ เบรัด พิคเจอร์ | |
2021 | เบการัง เดินรัง | อะมะ อะฟีฟา | พีไอเอม พิคเจอร์ |
อ้างอิง
- ↑ Upiak Isil alias Silvia Nanda
- ↑ Lagu Minang Tak Tun Tuang.
- ↑ เปิดโฉมหน้า? “อูเปีย” เจ้าของเพลงฮิต “ตะ ตุง ตวง” มาเยือนไทยตัวจริงเสียงจริง!!! (ชมภาพ)
- ↑ Upiak Isil Tak Tun Tuang dari Minang Go Internasional.
- ↑ "อูเปีย อีซิล" ปลื้มคนชอบ "ต๊ะตุงตวง" เผยความหมายเพลงสุดฮา (คลิป)
- ↑ อูเปีย เจ้าของเพลง ตะ ตุง ตวง มาเยือนไทย
- ↑ เผยโฉมต้นฉบับ ต๊ะ ตุน ตวง มาจากอินโดฯ เคยฟังกันหรือยัง!!
โจโม เคนยาตา (simple:Jomo Kenyatta)
โจโม เคนยาตา | |
---|---|
เคนยาตาในปี พ.ศ. 2509 | |
ประธานาธิบดีเคนยา คนที่ 1 | |
ดำรงตำแหน่ง 12 ธันวาคม พ.ศ. 2507 – 22 สิงหาคม พ.ศ. 2521 | |
รองประธานาธิบดี | จาราโมกี โอกินกา โอดินกา โจเซฟ มูรุมบี แดเนียล อารัป โมอี |
ก่อนหน้า | สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ในฐานะ พระราชินีแห่งเคนยา |
ถัดไป | แดเนียล อารัป โมอี |
นายกรัฐมนตรีเคนยา คนที่ 1 | |
ดำรงตำแหน่ง 1 มิถุนายน พ.ศ. 2506 – 12 ธันวาคม พ.ศ. 2507 | |
กษัตริย์ | สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร |
ถัดไป | ไรลา โอดินดา (2551) |
ประธานแห่งขบวนการแห่งชาติแอฟริกันเคนยา | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2504 – พ.ศ. 2521 | |
ก่อนหน้า | เจมส์ กิชูรู |
ถัดไป | แดเนียล อารัป โมอี |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | คาเมา วา มูไก ป. 2440 งินดา, บริติชแอฟริกาตะวันออก |
เสียชีวิต | 22 สิงหาคม พ.ศ. 2521 (81 ปี) โมมบาซา, จังหวัดโคสท์, ประเทศเคนยา |
ที่ไว้ศพ | ไนโรบี, ประเทศเคนยา |
เชื้อชาติ | เคนยา |
พรรคการเมือง | ขบวนการแห่งชาติแอฟริกันเคนยา (KANU) |
คู่สมรส | เกรซ วาฮู (m. 2462) เอ็ดนา คาร์เก (2485–2489) เกรซ วาจินกู (d. 2493) งินา เคนยาตา (สมรส 2494) |
บุตร | 8
|
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยยูนิเวอร์ซิตี้ คอลเลจ ลอนดอน, โรงเรียนเศรษฐศาสตร์ลอนดอน |
โจโม เคนยาตา (อังกฤษ: Jomo Kenyatta) (ประมาณ พ.ศ. 2440 – 22 สิงหาคม พ.ศ. 2521) เป็นนักการเมืองชาวเคนยา ดำรงตำแหน่งในฐานะผู้นำคนแรกของเคนยาตั้งแต่ได้รับเอกราชจากอังกฤษจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมใน พ.ศ. 2521 ได้รับสมญานามว่า บิดาแห่งเคนยา[1]
เขาเกิดในครอบครัวชาวนาชนเผ่าคิกุยู เมืองเกียมบู บริติชแอฟริกาตะวันออก เขาศึกษาในโรงเรียนของมิชชันนารีที่เข้ามาเผยแผ่ศาสนาในถิ่นที่เขาอยู่ และเส้นทางการเมืองของเขาได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อเขาเข้าร่วมกับสมาคมชนเผ่าคิกุยู ใน พ.ศ. 2472 เขาได้เดินทางไปลอนดอน เพื่อเจรจาเรื่องที่ดินของชาวคิกุยู ใน พ.ศ. 2473 เขาได้เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยคอมมิวนิสต์แห่งทอยเลอร์ตะวันออกที่กรุงมอสโก จากนั้นเขาก็ศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยยูนิเวอร์ซิตี้ คอลเลจ ลอนดอน และโรงเรียนเศรษฐศาสตร์ลอนดอน ในปี พ.ศ. 2481 เขาได้ตีพิมพ์วิจัยเกี่ยวกับสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาเกี่ยวกับชนเผ่าคิกุยู และเขาได้ทำงานในเฟาร์มในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ต่อมาเขาได้ร่วมกับจอร์จ แพตมอร์ เพื่อนของเขาได้รวบรวมชาวแอฟริกันในพื้นที่เพื่อประกาศเอกราชจากอังกฤษ
เขากลับมายังประเทศเคนยาเมื่อ พ.ศ. 2489 และได้เป็นครูใหญ่ที่โรงเรียนแห่งหนึ่ง ใน พ.ศ. 2490 เขาได้รับเลือกให้เป็นประธานแห่งสหภาพเคนยาแอฟริกัน[2] ซึ่งเขาพยายามรวบรวมชนพื้นเมืองต่างๆ ประกาศเอกราชจากอังกฤษซึ่งเขาได้รับการสนับสนุนจากชนเผ่าต่างๆ ในประเทศเป็นอย่างดี แต่เขากลับถูกต่อต้านจากกลุ่มคนในพื้นที่ที่ผิวขาว ใน พ.ศ. 2495 เขาจึงถูกจำคุกพร้อมกับแกนนำอีก 5 คน ในกลุ่มที่เรียกว่า คาเปนกูเรียซิกซ์ฺ ในคดีกบฎเมาเมา (Mau Mau Uprising)[3] แม้ว่าเขาจะชุมนุมอย่างสันติก็ตาม อย่างไรก็ดี เขายังถูกจำคุกที่โลกิตวงจนได้รับอิสรภาพในปี พ.ศ. 2502[4] และถูกเรเทศไปยังลอดวาร์ จนถึง พ.ศ. 2504[5]
หลังเขาได้รับอิสรภาพ เขาเป็นประธานขบวนการแห่งชาติแอฟริกันเคนยา และเขาได้นำพรรคสู่ชัยชนะการเลือกตั้งทั่วไปของเคนยาในปี พ.ศ. 2506[6] และดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในระหว่างการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเขาได้ดำเนินนโยบายให้เคยนยาถอนตัวจากเครือจักรภพและเปลี่ยนผ่านไปสู่รัฐเอกราชระบอบสาธารณรัฐและได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกของประเทศเคนยาเมื่อปี พ.ศ. 2507[7] ในระหว่างการเป็นประธานาธิบดี เคนยาเข้าร่วมกับสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรในสงครามเย็น และต่อต้านสังคมนิยม ในสมัยของเขาถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมากในเรื่องการทุจริตทางการเมือง[8] เขาเริ่มป่วยด้วยโรคหัวใจในปี พ.ศ. 2509 และได้ถึงแก่อสัญกรรมขณะดำรงตำแหน่งในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2521 สิริอายุ 88 ปี
ชื่อของเขาถูกนำไปตั้งเป็นท่าอากาศยานนานาชาติโจโมเคนยัตตาเพื่อให้เกียรติแก่เขา และลูกชายของเขาอูฮูรู เกนยัตตาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 3 และคนปัจจุบันของประเทศเคนยา[9]
อ้างอิง
- ↑ Murray-Brown 1974, p. 315; Arnold 1974, p. 166; Bernardi 1993, p. 168; Cullen 2016, p. 516.
- ↑ Murray-Brown 1974, p. 226; Maloba 2018, p. 113.
- ↑ Maloba 2018, p. 121.
- ↑ Murray-Brown 1974, p. 296; Maloba 2018, p. 140.
- ↑ Murray-Brown 1974, p. 296; Maloba 2018, pp. 140, 143.
- ↑ Murray-Brown 1974, p. 303; Kyle 1997, p. 49.
- ↑ Lonsdale 2006, p. 99.
- ↑ Maloba, W. O. (2017). The Anatomy of Neo-Colonialism in Kenya: British Imperialism and Kenyatta, 1963–1978. African Histories and Modernities (ภาษาอังกฤษ). Palgrave Macmillan. ISBN 978-3-319-50964-8.
- ↑ Jason Patinkin in Nairobi. "Uhuru Kenyatta's election victory is denounced by Kenya's supreme court 2017". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 January 2017. สืบค้นเมื่อ 2015-11-29.
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อิซเบลลาแห่งคาทอลิก (en:Order of Isabella the Catholic)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อิซเบลลาแห่งคาทอลิก | |
---|---|
ประเภท | อิสริยาภรณ์หกชั้น |
วันสถาปนา | พ.ศ. 2358 |
ประเทศ | สเปน |
แพรแถบ | สีขาวขนาบสีเหลือง (ยกเว้นชั้นสายสร้อยที่เป็นสีเหลืองและมีเส้นเล็กๆ สีขาวขนาบสองข้าง) |
ผู้สมควรได้รับ | ผู้กระทำคุณประโยชน์ต่อสเปนและราชวงศ์ |
สถานะ | ยังมีการมอบ |
ประธาน | พระมหากษัตริสเปร |
ลำดับเกียรติ | |
สูงกว่า | เครื่องราชอิสริยาภรณ์มาเรียลูซี |
รองมา | เครื่องราชอิสริยาภรณ์กิตติคุณฝ่ายพลเรือน |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อิซเบลลาแห่งคาทอลิก (สเปน: Orden de Isabel la Católica) เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศสเปน มอบให้แก่ผู้ที่ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศ ซึ่งส่วนมากจะไม่มอบให้กับชาวสเปนเท่าใดนัก แต่จะมอบให้ชาวต่างประเทศมากกว่า
เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2358 โดยพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 7 แห่งสเปน[1] เพื่อให้เกียรติแก่สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยาในชื่อ รอยัลแอนด์อเมริกาออร์เดอร์ออฟอิซเบลลาเดอะคาทอลิก สำหรับเป็นเกียรติยศของผู้กระทำความดีและผู้จงรักภักดีต่อราชวงศ์สเปน รวมถึงกระทำคุณประโยชน์อื่นๆ ต่ออาณานิคมของสเปน[2] ต่อมาถูกบรรจุเข้าในลำดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ใน พ.ศ. 2390 ในชื่อปัจจุบันคือ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อิซเบลลาแห่งคาทอลิก
การมอบและลำดับชั้น
พระมหากษัตริย์สเปนทรงเป็นประธานแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้[3] และมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งสเปนเป็นอธิการบดีแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์[4] โดยผู้ได้รับพระราชทานจะได้รับใบประกาศนียบัตรซึ่งมีลายมือชื่อของประธานและอธิการบดีแห่งราชอิสริยาภรณ์อยู่ สมาชิกอิสริยาภรณ์ชั้นเบญจมาภรณ์เป็นต้นไปจะได้เสื้อคลุมสีทองเป็นเครื่องราชอิสรริยศประกอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์และมีตราพระราชลัญจกรประจำตัวผู้ได้รับอีกด้วย[5] ผู้ได้รับชั้นประถมาภรณ์และสายสร้อยจะได้ตำแหน่ง ฮิสออเฮอมอร์สเอ็คซ์เลนด์ลอร์ด[6] ผู้ได้รับชั้นตริตาภรณ์และตริตาภรณ์แห่งสมาชิกจะได้ตำแหน่ง ฮิสออฟเฮอมอสอิลลูสติลอัสลอร์ด[6] เครื่องราชอิสริยาภรณ์อิซเบลลาและคาทอลิกมีลำดับชั้นต่อไปนี้
- ชั้นที่หนึ่ง
- ชั้นที่สอง
- ชั้นที่สาม
- ชั้นที่สี่
- ชั้นที่ห้า
- ชั้นที่หก
ลักษณะแห่งอิสริยาภรณ์
ลักษณะจะเป็นกางเขนอิเมรัลสีแดงและขอบสีทอง ยอดด้านนอกจะมีลูกเล็กๆ คล้ายๆ ลูกบอลสีทองติดอยู่บนมุมของกางเขนทั้งสี่ ตรงกลางของตัวดวงตราและดาราจะมีจารึกว่า "A La Lealtad Acrisolada" (เพื่อประกันความจงรักภักดี) และ "Por Isabel la Católica" (โดยอิซเบลลาแห่งคาทอลิก) บนพ้นสีขาว เหนือคำจารึกมีพวงหรีดสีเชียวพร้อมวงแหวน
แพรแถบอิสริยาภรณ์จะเป็นสีขาวขนาบด้วยสีเหลืองทั้งสองข้าง[9] ยกเว้นชั้นสายสร้อยที่จะมีแพรแถบสีเหลืองและมีเส้นสีขาวเล็กๆ ขนาบทั้งสองข้าง
Insignia | ||||||
ชั้นสายสร้อย | ดวงดาราชั้นสายสร้อย | ชั้นประถมาภรณ์ | ดวงดาราชั้นประถมาภรณ์ | ชั้นตริตาภรณ์แห่งสมาชิก | ||
ชั้นตริตาภรณ์ | ชั้นตริตาภรณ์ (สำหรับสตรี) | ชั้นจัตุรถาภรณ์ | ชั้นจัตุรถาภรณ์ (สำหรับสตรี) | ชั้นเบญจมาภรณ์ | ||
ชั้นเบญจมาภรณ์ (สำหรับสตรี) | ชั้นกางเขนเงิน | ชั้นกางเขนเงินสำหรับสตรี | ชั้นเหรียญเงิน | ชั้นเหรียญเงินสำหรับสตรี | ||
ชั้นเหรียญทองแดง | ชั้นเหรียญทองแดงสำหรับสตรี |
อ้างอิง
- ↑ Real y Americana Orden de Isabel la Católica
- ↑ "premiar la lealtad acrisolada a España y los méritos de ciudadanos españoles y extranjeros en bien de la Nación y muy especialmente en aquellos servicios excepcionales prestados en favor de la prosperidad de los territorios americanos y ultramarinos"
- ↑ article 2, Reglamento de la Orden de Isabel la Católica (1998)
- ↑ article 3, Reglamento de la Orden de Isabel la Católica (1998)
- ↑ articles 2 and 3, Reglamento de la Orden de Isabel la Católica (1998)
- ↑ 6.0 6.1 article 13, Reglamento de la Orden de Isabel la Católica (1998)
- ↑ "Real Decreto 2395/1998, por el que se aprueba el Reglamento de la Orden de Isabel la Católica". Minesterio de Asuntos Exteriores y de Cooperacion website (ภาษาสเปน). Government of Spain. 11 June 1998. สืบค้นเมื่อ 5 September 2005.1998 Statutes of the Order of Isabella the Catholic.
- ↑ De Ceballos-Escalera y Gila, Alfonso; Almudena de Arteaga y del Alcázar; Fernando Fernández-Miranda y Lozana (1997). "The Royal (American) Order of Isabella the Catholic". Great Orders of Chivalry, Royalty and Nobility website (ภาษาสเปน). Madrid, Spain. สืบค้นเมื่อ 5 September 2010. Essay on the history of the Order of Isabella the Catholic.
- ↑ Spain: Order of Isabella the Catholic
โสนากษี สิงหา (en:Sonakshi Sinha)
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
โสนากซี สิงหา | |
---|---|
สิงหาจากงานเปิดตัวภาพยนตร์เรื่อง โจ๊กเกอร์ เมื่อปี พ.ศ. 2555 | |
เกิด | 2 มิถุนายน พ.ศ. 2530 ปัฏนา, รัฐพิหาร, ประเทศอินเดีย |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยสตรีนาธิบายดาโมดาร์ฐกาสีมหิลาวิเทศพิชญ์ |
อาชีพ |
|
ปีปฏิบัติงาน | พ.ศ. 2553–ปัจจุบัน |
บิดามารดา | ภูณัม สิงหา สถุงคัณ สิงหา |
ญาติ | ลูว สิงหา (พี่ชาย) |
โสนากษี สิงหา (อังกฤษ: Sonakshi Sinha; ออกเสียง: [soːnaːkʂi sɪnɦa]; เกิด 2 มิถุนายน พ.ศ. 2530) เป็นนักแสดงและน้กร้องหญิงชาวอินเดียประเภทหนังฮินดี[1] เธอเริ่มต้นชีวิตวงการบันเทิงจากการทำงานสายออกแบบเสื้อผ้า จนกระทั่งแจ้งเกิดในฐานะนักแสดงจาผลงานภาพยนตร์ ดาแบง ใน พ.ศ. 2553 ซึ่งทำให้เธอได้รับรางวัล ฟิล์มแฟร์อะวอร์ดส์ สาขานักแสดงหญิงหน้าใหม่ยอดเยี่ยม[2]
เธอรับบทเป็นนางเอกนภาพยนตร์แนวดรามาและแอ็คชันเป็นจำนวนมากและประสบความสำเร็จ อาทิ โรดเวย์แรโทร์ (2555), ซันออฟซาดาร์ (2555), ดาแบง 2 (2555) และ ฮอลิเดย์:อะโซเจอร์อีสนีเวอร์ออฟดิวตี (2557) แม้เธอจะถูกวิพากษ์วิจารณืถึงเรื่องบทของเธอในการแสดง อย่างไรก็ดี เธอได้รับคำชื่นชมมากจากการแสดงละครแนวดราม่าเรื่อง ลูเตรา ในปี พ.ศ. 2556 ซึ่งทำให้เธอได้รับรางวัล ฟิล์มแฟร์อะวอร์ดส์ สาขานักแสดงหญิงยอดเยี่ยมในปีเดียวกัน[3][4][5] ทั้งนี้ เธอยังประสบความสำเร็จจากภาพยนตร์แนวดรามาเรื่อง Mission Mangal ใน พ.ศ. 2562 อีกด้วย[6]
นอกจากความสำเร็จในวงการภาพยนตร์แล้ว เธอยังร่วมร้องเพลง เล็ดส์เซเลอร์เบด ของอิมรัน ข่าน เพื่อประกอบภาพยนตร์เรื่อง เทวาร์ ใน พ.ศ. 2558 และเธอยังมีซิงเกิลเดี่ยวในชื่อ แอดจ์มูดอิศโคลิคไฮ
ประวัติ
เธอเกิดในวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2530 ที่ปัฏนา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย[7] เป็นธิดาของสถุงคัณ สิงหาและภูณัม สิงหา (สกุลเดิม จันทรมณี) บิดาของเธอมีเชื้อสายคายัสตา มารดาเธอมีเชื้อสายฮินดูสินธุ[8] บิดาของเธอเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคภารตียชนตา[7][9] ก่อนจะย้ายไปสังกัดคองเกรสแห่งชาติอินเดียในปี พ.ศ. 2562 เธอเป็นธิดาคนสุดท้องจากพี่น้องทั้งสามคน ซึ่งเธอมีพี่ชายฝาแฝดสองคนคือลูวะและคูซ สิงหา เธอเริ่มศึกษาที่โรงเรียนอารยาวิทยามานติ และสำเร็จการศึกษาวิชาการออกแบบแฟชั่น จากสถาบันเปรมลีลาวิฑัส มหาวิทยาลัยสตรีนาธิบายดาโมดาร์ฐกาสีมหิลาวิเทศพิชญ์[10]
ผลงานการแสดง
ภาพยนตร์
ปี | ชื่อเรื่อง | บทบาท | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
2553 | Dabangg | Rajjo Pandey | Filmfare Award for Best Female Debut |
2555 | Rowdy Rathore | Paro | |
Joker | Diva | ||
OMG – Oh My God | Herself | Special appearance in song "Go Go Govinda" | |
Son of Sardaar | Sukhmeet Kaur Sandhu | ||
Dabangg 2 | Rajjo Pandey | ||
2556 | Himmatwala | Herself | Special appearance in song: "Thank God It's Friday" |
Lootera | Pakhi Roy Chaudhary | Nominated—Filmfare Award for Best Actress | |
Once Upon A Time In Mumbai Dobaara | Jasmine Sheikh | ||
Boss | Herself | Special appearance in songs: "Party All Night" and "Har Kisi Ko" | |
Bullett Raja | Mitali | ||
R... Rajkumar | Chanda | ||
2557 | Holiday: A Soldier Is Never Off Duty | Saiba Thapar | |
Action Jackson | Kushi | ||
Lingaa | Mani Bharathi | Tamil Film Debut | |
2558 | Tevar | Radhika Mishra | |
All Is Well | Herself | Special appearance in song "Nachan Farrate" | |
2559 | Akira | Akira | |
Force 2 | Kamaljit Kaur | ||
2560 | Noor | Noor Roy Chaudhary | Also playback singer of song "Move Your Lakk" |
Ittefaq | Maya | ||
2561 | Welcome to New York | Jinal Patel | |
Happy Phirr Bhag Jayegi | Harpreet | ||
Yamla Pagla Deewana: Phir Se | Herself | Special appearance in song 'Rafta Rafta' | |
2562 | Total Dhamaal | Herself | Special appearance in song 'Mungda' |
Kalank | Satya Chaudhry | ||
Khandaani Shafakhana | Babita "Baby" Bedi | ||
Mission Mangal | Eka Gandhi | ||
Laal Kaptaan | Noor Bai | ||
Dabangg 3 | Rajjo Pandey | ||
2563 | Ghoomketu | Herself | Special appearance |
Bhuj: The Pride of India† | Sunderben Jetha Madharparya | กำลังถ่ายทำ[11] |
ผลงานเพลง
ซิงเกิล
- 2558 - แอดจ์มูดอิศโคลิคไฮ[12][13]
อ้างอิง
- ↑ Joginder Tuteja (31 December 2015). "Sonakshi Sinha Turns Singer-Rapper". The New Indian Express. สืบค้นเมื่อ 3 January 2016.
- ↑ Gaurav Dubey. "Salman Khan hosts an impromptu birthday bash for Sonakshi Sinha". Mid Day. สืบค้นเมื่อ 12 October 2017.
- ↑ "Sonakshi Sinha: Year since 'Lootera', appreciation hasn't stopped". The Times of India. IANS. 5 กรกฎาคม 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 กรกฎาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2015.
- ↑ "Shatrughan Sinha breaks down after watching daughter Sonakshi in Lootera". Indian Express. สืบค้นเมื่อ 12 October 2017.
- ↑ Hungama, Bollywood (5 September 2016). ""No one doubted my capacity as an actor in the past as well" – Sonakshi Sinha on Akira appreciation : Bollywood News - Bollywood Hungama".
- ↑ "Sonakshi Sinha". Box Office India. สืบค้นเมื่อ 8 March 2018.
- ↑ 7.0 7.1 "'Shotgun Junior' Sonakshi Sinha turns 26!". Zee News. สืบค้นเมื่อ 12 October 2017.
- ↑ Pradhan S. Bharati (12 June 2012). "It's work first for Sonakshi". The Telegraph (Kolkata). สืบค้นเมื่อ 30 October 2019.
- ↑ "Sonakshi Sinhas birthday with fans". NDTV. สืบค้นเมื่อ 3 October 2014.
- ↑ "Just How educated are our Bollywood heroines?". Rediff.com. 18 January 2012. สืบค้นเมื่อ 12 October 2017.
- ↑ "Bhuj: The Pride of India goes on floors in Hyderabad; Sanjay Dutt starts shooting for war drama". Firstpost.com. 25 June 2019. สืบค้นเมื่อ 25 June 2019.
- ↑ "Sonakshi Sinha set for singing debut with Aaj Mood Ishqholic Hai". Hindustan Times. New Delhi, India. 22 December 2015. สืบค้นเมื่อ 31 December 2015.
- ↑ "Sonakshi Sinha to cheer up your mood with debut single". The Times of India. 22 December 2015. สืบค้นเมื่อ 31 December 2015.[ลิงก์เสีย]
ฝน ธนสุนทร
ฝน ธนสุนทร | |
---|---|
เกิด | 29 มิถุนายน พ.ศ. 2517 อำเภอเมืองอุดรธานี, จังหวัดอุดรธานี |
แนวเพลง | เพลงลูกทุ่ง · ป็อป |
อาชีพ | นักร้อง · นักแสดง · นางแบบ |
เครื่องดนตรี | เสียงร้อง |
ช่วงปี | พ.ศ. 2531 – ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | ชัวร์ออดิโอ |
ฝน ธนสุนทร หรือชื่อจริงคือ เตือนใจ ศรีสุนทร (29 มิถุนายน พ.ศ. 2517 −) เป็นนักร้องลูกทุ่งหญิงที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งของประเทศไทย[1] เจ้าชองฉายา เจ้าหญิงลูกทุ่ง[2] เธอถูกเรียกได้ว่าเป็นนักร้องลูกทุ่งหญิงที่มีมาตรฐานเช่นเดียวกันกับ ผ่องศรี วรนุช พุ่มพวง ดวงจันทร์ และสุนารี ราชสีมา ชีวิตเริ่มต้นของเธอนั้นเคยร้องเพลงสตริงมาก่อน มีผลงานที่เป็นเพลงสตริงสองชุด ได้แก่ "มุมหนึ่งของหัวใจ" และ "สายฝนแห่งความรัก" แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เธอจึงหันมาร้องเพลงลูกทุ่ง และประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูงจากผลงานสตูดิโออัลบั้มเพลงลูกทุ่งชุดที่สองของเธอ ใจอ่อน เมื่อปี พ.ศ. 2544
ชีวิตในวัยเด็ก
ฝน ธนสุนทร เกิดเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2517 ที่อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ในครอบครัวที่ยากจน บิดาของเธอเป็นคนขับสามล้อ มารดาของเธอนั้นเป็นแม่ค้าหาบเร่ (ปัจจุบันมารดาของเธอได้เสียชีวิตแล้ว[3]) เธอเป็นลูกคนโตจากพี่น้องทั้งหมด 10 คน ชีวิตในวัยเด็กนั้นเธอรับจ้างเก็บขยะเพื่อหาเงินมาจุนเจือครอบครัว และลำบากจนกระทั่งเคยขอข้าววัดรับประทานมาแล้วในวัยเด็ก[4] เริ่มศึกษาชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนมุขมนตรี ต่อมาศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสตรีราชินูทิศ และจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และปริญญาโท คณะรัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยปทุมธานี[1]
วงการบันเทิง
เธอชื่นชอบการร้องเพลงมาตั้งแต่เด็ก เคยเป็นนักร้องในเชียร์รำวงและปู่ของเธอก็ฝึกฝนการร้องเพลงให้ เธอเริ่มหารายได้จากการร้องเพลงตั้งแต่ศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยเสียงของเธอนั้นเป็นที่ยอมรับในหมู่ผู้ฟังเป็นจำนวนมาก จึงทำให้เธอมีงานขึ้นมาเรื่อยๆ จากนั้นเธอจึงเริ่มเข้าสู่วงการบันเทิงด้วยการประกวด มิสทีนโอเล่ และได้ตำแหน่งมาครอง หลังจากนั้นเธอจึงได้เป็นพรีเซ็นเตอร์โฆษณา "ลูกอมโอเล่" เป็นผลงานในวงการบันเทิงชิ้นแรกของเธอ ต่อมาสมัยเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เธอได้รับเชิญให้ไปบันทึกเทปเพลงที่จัดทำขึ้นเพื่อฉลอง 100 ปีของจังหวัดอุดรธานี โดยเธอได้ร้อง 3 เพลง คือ กราบเท้าพ่อหลวง, อุดรฯ มีของดี และ 3 ส. โดยได้รับค่าจ้างมาถึง 500 บาท และจุดนี้ได้ทำให้ปรีชา อรัญวารี นักจัดรายการวิทยุในสังกัดของชัวร์ออดิโอที่อุดรธานีเห็นแววในการเป็นนักร้องของเธอ และได้ชักนำเธอเข้าสู่การเป็นนักร้องอาชีพเต็มตัว[1]
เธอได้เซ็นสัญญาเป็นเวลา 4 ปี กับเคลฟเวอร์เอนเตอร์เทนเม้นท์ บริษัทในเครือของชัวร์ออดิโอ ที่เน้นทำเพลงสตริง ด้วยเหตุที่ทางต้นสังกัดมองว่าหน้าตาของเธอนั้นเหมาะกับแนวนี้มากกว่า โดยมีผลงานเพลงออกมาในแนวสตริง 2 ชุด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 คือ มุมหนึ่งของหัวใจ และ สายฝนแห่งความรัก แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
เมื่อไม่ประสบความสำเร็จ ทางต้นสังกัดจึงตัดสินใจเปลี่ยนแนวเพลงให้เธอได้ร้องเพลงลูกทุ่งตามแนวที่เธอถนัด โดยให้เริ่มร้องเพลงคู่กับมนต์สิทธิ์ คำสร้อย และเกษม คมสันต์ ในชุด เกี่ยวก้อย ซึ่งก็ได้รับความสนใจจากแฟนเพลงมากขึ้น ในที่สุดเธอก็มีผลงานเป็นของตัวเองใน พ.ศ. 2544 กับสตูดิโออัลบั้มชุดแรก ฮักอ้ายโจงโปง ก่อนจะมาประสบความสำเร็จกับผลงานสตูดิโออัลบั้มชุดที่สองของเธอ ใจอ่อน[1] หลังจากนั้นเธอก็มีผลงานในวงการเพลงเป็นระยะ และอยู่ในวงการบันเทิงมาจนถึงปัจจุบัน
ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 เธอได้แสดงละครโทรทัศน์เรื่องแรกทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 คือ มิตร ชัยบัญชา มายาชีวิต[5] โดยเธอรับบทเป็นเพชรา เชาวราษฎร์ คู่กับพุฒิชัย อมาตยกุล และ พ.ศ. 2551 เธอได้แสดงละครเรื่องดาวจรัสฟ้า ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 โดยรับบทเป็น "ฟ้า" คู่กับทฤษฎี สหวงษ์[1]
ชีวิตส่วนตัว
ชีวิตส่วนตัว เธอคบหาดูใจกับสาวหล่อนอกวงการบันเทิง ซึ่งคบหาดูใจกันมาถึง 20 ปี[6][7]
ผลงาน
อัลบั้มเพลง
- ฮักอ้ายโจงโปง (มีนาคม 2544)
- ใจอ่อน (กรกฎาคม 2544)
- แอบรักเขา (มิถุนายน 2544)
- ขอใช้สิทธิ์ (กรกฎาคม 2545)
- พี่ชายชั่วคราว (มิถุนายน 2546)
- แผลเป็นวันวาเลนไทน์ (สิงหาคม 2547)
- รักหมดใจ (สิงหาคม 2547)
- ดาวประดับใจ (กรกฎาคม 2548)
- ค่อยๆ ปล่อยมือ (พฤศจิกายน 2548)
- ฝน ฝากรัก (สิงหาคม 2549)
- หัวใจฝากถาม (ธันวาคม 2549)
- ถึงเวลา...บอกรัก (สิงหาคม 2550)
- เรียกที่รักได้มั้ย? (มกราคม 2551)
- เป็นแฟนกันมะ (กันยายน 2551)
- ฝนเลือกเอง (เมษายน 2552)
- รักนี้ไม่มีลืม (กันยายน 2552)
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 https://www.isangate.com/new/firstpage/15-art-culture/artist/185-fon-thanasuntorn.html
- ↑ พูดคุยกับเจ้าหญิงลูกทุ่ง ฝน ธนสุนธร พร้อมโชว์ซิงเกิลใหม่ ซังใจเจ้าของ
- ↑ ‘ฝน ธนสุนทร’ ทำหน้าที่สุดท้าย แต่งหน้าศพแม่
- ↑ "ฝน ธนสุนทร" เล่าอดีตเคยขอข้าววัดกิน-เก็บขยะขาย ชีวิตพลิกเพราะชนะการประกวด
- ↑ มิตร ชัยบัญชา มายาชีวิต
- ↑ https://www.daradaily.com/news/84584/read
- ↑ 'ฝน ธนสุนธร'เปลือยเส้นทาง 18 ปีพิสูจน์ความรักสาวหล่อ! สุดช้ำคำดูถูก เสียของ? ไปกันไม่รอดแน่
สุรินทร์ ภาคศิริ
สุรินทร์ ภาคศิริ | |
---|---|
ชื่อเกิด | ชานนท์ ภาคศิริ |
รู้จักในชื่อ | ทิดโส สุดสะแนน |
เกิด | พ.ศ. 2485 (79 ปี) อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันคือจังหวัดอำนาจเจริญ) |
แนวเพลง | เพลงลูกทุ่ง · หมอลำ |
อาชีพ | นักแต่งเพลง · นักดนตรี · นักเขียน · กวี |
ช่วงปี | พ.ศ. 2506 – ปัจจุบัน |
สุรินทร์ ภาคศิริ เป็นศิลปินมรดกอีสาน (ประพันธ์เพลง) ประจำปี พ.ศ. 2551[1] เป็นนักแต่งเพลงในแนวเพลงลูกทุ่งอีสานที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งของประเทศไทย[2][3] เป็นที่รู้จักจากเพลง หนาวลมที่เรณู[4][5] ขับร้องโดยศรคีรี ศรีประจวบ อีสานลำเพลิน[5] ขับร้องโดยอังคนางค์ คุณไชย และ วอนลมฝากรัก ขับร้องโดยบุปผา สายชล (ซึ่งพุ่มพวง ดวงจันทร์ นำไปขับร้องใหม่) และยังมีผลงานประพันธ์เพลงให้นักร้องลูกทุ่งอีกเป็นจำนวนมาก
ประวัติ
เขามีชื่อเกิดว่า ชานนท์ ภาคศิริ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2485 ที่อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันแยกตัวออกมาเป็นจังหวัดอำนาจเจริญ) จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนอำนาจเจริญ เมื่อ พ.ศ. 2503 [6]
เขามีพรสวรรค์ด้านการประพันธ์เพลงและร้อยแก้วต่างๆ มาตั้งแต่เยาว์วัย เนื่องจากเขาได้มีโอกาสเรียนรู้จากคณะละครอุลิตราตรีศิลป์และคณะเทพศิลป์ 2 ซึ่งไปทำการแสดงที่บ้านเกิดของเขาขณะเขากำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากนั้นเขาจึงเริ่มแต่งคำประพันธ์ นิยาย เรื่องสั้น และยังแต่งเพลงเชียร์กีฬาให้กับทางโรงเรียนอีกด้วย[6]
เส้นทางนักแต่งเพลง
เมื่อเขาจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เขาได้มุ่งหน้าเข้าสู่กรุงเทพมหานคร เพื่อทำตามความฝัน ด้วยที่มีอุปสรรคและขาดโอกาสการศึกษาต่อจึงไปอยู่ที่วัดนรนารถสุนทริการามโดยได้รับความช่วยเหลือจากพระที่วัดดังกล่าว ระหว่างนี้เขาได้ฝึกการเป็นนักร้องและนักแต่งเพลงจนกระทั่งไปฝากตัวเป็นศิษย์ของก.แก้วประเสริฐ จากนั้นเขาก็ไปสอบเข้าเป็นข้าราชการประจำกรมราชทัณฑ์[6] ทำให้เขาไม่ได้มีผลงานด้านการร้องเพลงอีก เขามุ่งกับงานราชการประกอบกับเป็นนักแต่งเพลงจึงทำให้เขาได้มีโอกาสประพันธ์เพลงให้กับนักร้องลูกทุ่งในสมัยนั้น โดยผลงานชิ้นแรกคือ คนขี้หึง ขับร้องโดยชื่นกมล ชื่นฤทัย ต่อด้วย คนขี้งอน ขับร้องโดยไพรวัลย์ ลูกเพชร ตามด้วย เมษาอาลัย และ เต้ยเกี้ยวสาว ตามลำดับ หลังจากนั้นเขาก็มีผลงานแต่งเพลงให้กับศิลปินท่านอื่นอีก อาทิ ศักดิ์ศรี ศรีอักษร ไพรินร์ พรพิบูลย์ สนธิ สมมาตร กาเหว่า เสียงทอง ศรคีรี ศรีประจวบ ศรชัย เมฆวิเชียร เรียม ดาราน้อย ศักดิ์สยาม เพชรชมภู บุปผา สายชล พุ่มพวง ดวงจันทร์ สันติ ดวงสว่าง เอ๋ พจนา สายัณห์ สัญญา เป็นต้น[5]
ใน พ.ศ. 2534 เขาได้รับรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เนื่องในงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ครั้งที่ 2 จากเพลง ทุ่งกุลาร้องไห้ ขับร้องโดยศักดิ์สยาม เพชรชมภู[6]
ผลงานประพันธ์เพลงที่มีชื่อเสียง
- หนาวลมที่เรณู (ศรคีรี ศรีประจวบ)
- อีสานลำเพลิน (อังคนางค์ คุณไชย)
- ทุ่งกุลาร้องไห้ (ศักดิ์สยาม เพชรชมภู)
- อส. รอรัก (ศักดิ์สยาม เพชรชมภู)
- วอนลมฝากรัก (บุปผา สายชล)
- เขารู้กันตั้งนานแล้วละลุง (วิภารัตน์ เปรื่องสุวรรณ)
- ลูกทุ่งคนยาก (สนธิ สมมาตร)
- ทหารเกณฑ์ผลัดสอง (ศรชัย เมฆวิเชียร)
- ทิ้งน้องไว้หนองหาน (วงเดือน ชไมพร)
- ผู้หนีช้ำ (จินตหรา พูนลาภ)
รายการวิทยุ
- ทิดโสโปข่าว
รางวัล
- พ.ศ. 2534 - รางวัลกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ครั้งที่ 2
- พ.ศ. 2551 - ศิลปินมรดกอีสาน สาขาวรรณศิลป์ (ประพันธ์เพลง) ประจำปี พ.ศ. 2551 จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น[6]
อ้างอิง
- ↑ ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน - สุรินทร์ ภาคศิริ - Google Sites
- ↑ สุรินทร์ ภาคศิริ จากเว็บไซต์นิตยสารทางอีศาน
- ↑ แผ่นเสียงแห่งชีวิต ครูเพลงสุรินทร์ ภาคศิริ
- ↑ ‘ครูสุรินทร์’ ฟันธง ! หมดยุคลูกทุ่งรวมศูนย์
- ↑ 5.0 5.1 5.2 นายสุรินทร์ ภาคศิริ จาก IsanGate - ประตูสู่อีสานบ้านเฮา
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 ศิลปินมรดกอีสาน 2551 สุรินทร์ ภาคศิริ (ประพันธ์เพลง)
โอยันตา อูมาลา
โอยันตา อูมาลา | |
---|---|
อูมาลาใน พ.ศ. 2559 | |
ประธานาธิบดีเปรู คนที่ 58 | |
ดำรงตำแหน่ง 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 | |
นายกรัฐมนตรี | |
รองประธานาธิบดี | มารีซัล เอสปิโนซา โอมาร์ เชฮาร์เด (2554-2555) |
ก่อนหน้า | อาร์ลัน การ์ซีอา |
ถัดไป | เปรโต พาโบล คุซชินสกี |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 27 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ลิมา, เปรู |
เชื้อชาติ | เปรู |
พรรคการเมือง | พรรคชาตินิยมเปรู |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | เปรู วินส์ (2553–2554) พรรคสหภาพแห่งเปรู (2549) |
คู่สมรส | นาดีน เฮอร์เลนเดีย (สมรส 2542) |
บุตร | 3 |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนทหารชอร์ลินลอส มหาวิทยาลัยคาทอลิกแห่งเปรู (ปริญญาโท) |
ลายมือชื่อ | |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | เปรู |
สังกัด | กองทัพบกเปรู |
ประจำการ | 2524–2548 |
ยศ | พันโท |
ผ่านศึก | ความขัดแย้งภายในเปรู สงครามเซเนปา |
โอยันตา โมเซส อูมาลา ตัสโซ (สเปน: Ollanta Moisés Humala Tasso, เกิด 27 มิถุนายน พ.ศ. 2505 –) เป็นนักการเมืองและอดีตทหารชาวเปรู เคยดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของประเทศเปรูระหว่างปี พ.ศ. 2554 จนถึง พ.ศ. 2559 เดิมเขามีแนวคิดทางการเมืองไปทางสังคมนิยมและชาตินิยมฝ่ายซ้าย ต่อมาเขามีแนวคิดแบบเสรีนิยมใหม่และมีจุดยืนแบบการเมืองสายกลางเมื่อเขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี[1][2]
เขาเกิดในครอบครัวที่เป็นนักการเมืองและนักเคลื่อนไหว บิดาของเขาชื่อไอแซก อูมาลา เป็นนักกฎหมายและทนายความ อูมาลาเข้ารับรัฐการเป็นทหารประจำกองทัพเปรูเมื่อ พ.ศ. 2524 และได้รับยศพันโท ในช่วงที่เขาเป็นทหารนั้น เขามีบทบาทอย่างมากในเหตุการณ์ความขัดแย้งภายในเปรู และเคยร่วมรบในสงครามเซเนปาซึ่งเกิดจากความขัดแย้งระหว่างประเทศเอกวาดอร์กับประเทศเปรู ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2543 เขาพยายามกระทำรัฐประหารรัฐบาลของอัลเบร์โต ฟูฆิโมริ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ[3] ต่อมาเมื่อฟูฆิโมริหมดวาระ เขาจึงได้รับการนิรโทษกรรมและได้เข้ามารับรัฐการทหารอีกครั้ง
ใน พ.ศ. 2548 เขาเข้าสู้เส้นทางการเมืองและได้ก่อตั้งพรรคชาตินิยมเปรูและลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปของเปรู พ.ศ. 2549 แต่ได้แพ้อาร์ลัน การ์ซีอา ทว่านโยบายและการหาเสียงของเขากลับเป็นที่สนใจของนานาชาติเป็นอย่างมาก และถือเป็นความสำเร็จของการเมืองฝ่ายซ้ายในละตินอเมริกา ซึ่งเขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งใน พ.ศ. 2554 และได้รับชัยชนะการเลือกตั้ง โดยสามารถเอาชนะเคคิโอ ฟูฆิโมริได้อย่างหวุดหวิด และดำรงตำแหน่งประธานาธิดีจนถึงปี พ.ศ 2559
ชัยชนะในการเลือกตั้งของเขาถูกมองว่ามีความเกี่ยวข้องกับนายทุน และมีความกังวลว่าเขาจะดำเนินนโยบายแบบอูโก ชาเบซซึ่งเป็นอดีตประธานาธิบดีของประเทศเวเนซุเอลาและอาจดำเนินนโยบายแบบซ้ายจัดได้ ดังนั้นอูมาลาจึงเปลี่ยนจุดยืนทางการเมืองเป็นสายกลางเมื่อดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี[4] อย่างไรก็ดี ระหว่างเขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีนั้นมีเรื่องอื้อฉาวและพบว่ามีการทุจริตทางการเมืองโดยเขาและภรรยาคือนาดีน เฮอร์เลเดีย[5][6] ทั้งนี้เขายังถูกวิจารณ์จากนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจากนโยบายการสร้างเหมืองแร่อีกด้วย โดยวิจารณ์ว่าเขาไม่ได้ทำตามสัญญาที่หาเสียงไว้ว่าจะดำเนินนโยบายควบคุมการทำเหมืองแร่ในเปรูรวมถึงบริษัทผู้สัมปทาน[7][8]
หลังพ้นตำแหน่งประธานาธิบดี ใน พ.ศ. 2560 เขาถูกทางการเปรูจับกุมข้อหาทุจริตทางการเมือง[9] ต่อมาอูมาลากลับมาลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปของเปรู พ.ศ. 2564 แต่เขาได้รับคะแนนเสียงเพียงร้อยละ 1.5 และไม่ได้รับเลือกตั้ง[10][11]
อ้างอิง
- ↑ Cruz, Diego Sánchez dela (2014-07-06). "Ollanta Humala consolida el modelo liberal en Perú". Libre Mercado (ภาษาสเปนแบบยุโรป). สืบค้นเมื่อ 2021-04-16.
- ↑ Staff, Reuters (2013-10-30). "Peru's Humala reshuffling Cabinet in investor-friendly move". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-16.
- ↑ Peru.com, Redacción (2012-10-04). "Ollanta Humala recibió perdón del Congreso por levantamiento en Locumba". Peru.com (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2021-05-21.
- ↑ Staff, Reuters (2011-07-21). "Leftist Humala picks centrists for Peru Cabinet". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-16.
- ↑ "First lady drags Peru's President to new public approval low". Perú Reports (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2015-06-16. สืบค้นเมื่อ 2021-04-16.
- ↑ "The Prosecutor Investigating Peru's Powerful First Lady Has Been Fired". www.vice.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-16.
- ↑ Staff, Reuters (2016-07-27). "Anti-mining politician freed from jail in Peru slams government". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-16.
- ↑ "Peru: Humala Submits to the United States and the Mining Industry". NACLA (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-16.
- ↑ McDonnell, Adriana Leon and Patrick J. "Another former Peruvian president is sent to jail, this time as part of growing corruption scandal". latimes.com.
- ↑ PERÚ, NOTICIAS EL COMERCIO (2021-04-14). "Conteo rápido Ipsos al 100% de Elecciones 2021: Pedro Castillo y Keiko Fujimori disputarían segunda vuelta de Elecciones Generales de Perú del 2021 | Perú Libre | Fuerza Popular | Ganadores | Lima | Callao | Departamentos | Regiones | presidente | congresistas | Resultados Elecciones 2021 | pandemia Covid-19 | Presidente del Perú | Congreso | Parlamento Andino | | ELECCIONES-2021". El Comercio Perú (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2021-05-23.
- ↑ CORREO, NOTICIAS (2021-04-12). "Flash electoral | Ipsos resultados boca de urna | Conteo rápido | Elecciones generales de Perú de 2021 | ganadores segunda vuelta | Candidatos presidenciales | PERU". Correo (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2021-05-23.
พระเจ้าโมฮัมเหม็ด ซาเฮียร์ ชาห์
พระเจ้าโมฮัมหมัด ซาเฮียร์ ชาห์ | |
---|---|
พระมหากษัตริย์แห่งอัฟกานิสถาน | |
พระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์ใน พ.ศ. 2506 | |
พระมหากษัตริย์แห่งอัฟกานิสถาน | |
ครองราชย์ | 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 – 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2516 |
ราชาภิเษก | 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479 |
ก่อนหน้า | พระเจ้าโมฮัมหมัด นาดิร ชาห์ |
ถัดไป | สิ้นสุดระบอบกษัตริย์(โมฮัมเหม็ด ดาวูด ข่าน ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี) |
ผู้นำราชวงศ์บารัคไซ | |
ครองราชย์ | 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 – 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 |
ก่อนหน้า | พระเจ้าโมฮัมหมัด นาดิร ชาห์ |
ถัดไป | อะห์หมัด ชาห์ ข่าน มกุฎราชกุมารแห่งอัฟกานิสถาน |
ประสูติ | 15 ตุลาคม พ.ศ. 2467 คาบูล, เอมิเรตส์แห่งอัฟกานิสถาน |
สวรรคต | 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 (82 ปี) คาบูล, อัฟกานิสถาน |
ฝังพระศพ | เขามารันจัน |
คู่อภิเษก | ฮูมาลีอะฮ์ เบกุม |
พระราชบุตร | 8 พระองค์ |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์บารัคไซ |
พระราชบิดา | พระเจ้าโมฮัมเหม็ด นาดิร ชาห์ |
พระราชมารดา | มาร์ ปะวาห์ เบกุม |
ศาสนา | ศาสนาอิสลามนิกายซุนนี |
พระเจ้าโมฮัมหมัด ซาเฮียร์ ชาห์ (15 ตุลาคม พ.ศ. 2467 – 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2550) เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรอัฟกานิสถาน ครองราชย์ตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 จนกระทั่งทรงสละราชสมบัติในวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2516[1] ในรัชสมัยของพระองค์มีการเจริญความสัมพันธไมตรีกับหลายนานาชาติ และสานสัมพันธไมตรีกับประเทศในสงครามเย็นทั้งสองฝ่าย[2] ในรัชสมัยของพระองค์มีการพัฒนาชาติให้ทันสมัยและเจริญรุ่งเรือง และได้ปกครองโดยระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ รัชสมัยของพระองค์คือสัญลักษณ์ของความสงบสุขของอัฟกานิสถานก่อนที่จะถูกปฏิวัติ[3]
ระหว่างที่พระองค์เสด็จเยือนประเทศอิตาลี พระองค์ถูกล้มล้างราชวงศ์จากการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2516 ซึ่งนำโดยพระญาติของพระองค์คือ โมฮัมเหม็ด ดาวูด ข่าน และเปลี่ยนระบอบเป็นสาธารณรัฐ[4] พระองค์ประทับอยู่ที่กรุงโรม จนกระทั่งปี พ.ศ. 2545 พระองคืก็ได้เสด็จกลับประเทศอัฟกานิสถานหลังจากสิ้นสุดการปกครองของตาลีบัน พระองค์ถูกขนานนามว่าบิดาแห่งอัฟกานิสถาน และดำรงสถานะดังกล่าวจนกระทั่งเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 2550[5]
พระชนม์ชีพช่วงต้น
พระองค์เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2467 ที่กรุงคาบูล ราชอาณาจักรอัฟกานิสถาน เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าโมฮัมเหม็ด นาดิร ชาห์ และมาร์ ปะวาห์ เบกุม พระองค์ทรงเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนฮาบิเบีย และจากนั้นก็สึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนอะมานียะฮ์ (ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนมิซเตกีร์[6]) ต่อมาพระองค์ทรงศึกษาที่โรงเรียนเตรียมทหารในฤดูหนาว จากนั้นพระองค์ถูกส่งไปที่ฝรั่งเศสเพื่ออบรมหลักสูตรเพิ่มเติม จากนั้นพระองค์จึงศึกษาต่อที่ประเทศฝรั่งเศสซึ่งบิดาของพระองค์ประทับที่นั่น โดยศึกษาที่สถาบันปาสเตอร์ มหาวิทยาลัยมงต์แปลิเออร์[7]
กษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งอัฟกานิสถาน
หลังพระเจ้าโมฮัมเหม็ด นาดิร ชาห์ถูกลอบปลงพระชนม์ พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 ขณะที่ยังทรงพระชนมายุได้ 19 พรรษา พระองค์มิได้ทรงมีพระราชอำนาจในการบริหารประเทศตั้งแต่เริ่ม โดยอำนาจอยู่ที่พระปิตุลาของพระองค์คือ โมฮัมหมัด นาซิน ข่านและชาห์ มามูด ข่าน ซึ่งทั้งสองต่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในรัชสมัยของพระองค์มีการสร้างความสัมพันธ์กับนานาชาติทั่วโลก และได้เข้าร่วมองค์การสันนิบาตชาติซึ่งได้รับการยอมรับจากสหรัฐ[8] ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษที่ 1930 อัฟกานิสถานได้บรรลุข้อตกลงจากหลายนานาชาติในการได้รับความช่วยเหลือและค้าขายกับนานาประเทศ โดยเฉพาะย่างยิ่งกับฝ่ายอักษะ ซึ่งนำโดยนาซีเยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น[9]
แม้จะมีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับฝ่ายอักษะ แต่พระองค์ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สองโดยวางตัวเป็นกลาง หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง อัฟกานิสถานก็เกิดเหตุชุลมุนวุ่นวายและเกิดวิกฤตการณ์การเมืองอย่างตึงเครียด พระองค์จึงทรงปฏิรูปประเทศให้ทันสมัยขึ้น[10] แต่การพัฒนาประเทศนั้นก็หยุดชะงักลงอย่างต่อเนื่องอันมาจากลัทธิฝักใฝ่ฝ่านต่างๆ และความขัดแย้งทางการเมืองในช่วงสงครามเย็น[11] ทั้งนี้พระองค์ยังเคยทรงขอความช่วยเหลือจากสหรัฐและสหภาพโซเวียต และอัฟกานิสถานเป็นเพียงไม่กี่ประเทศในโลกที่ได้รับความช่วยเหลือจากทั้งสองฝ่ายในสงครามเย็น[12] พระองค์ทรงตรัสว่าแม้ท่านจะไม่ใช่ทุนนิยม แต่ก็มิได้ต้องการเป็นสังคมนิยมแต่อย่างใด เนื่องจากมิทรงต้องการให้อัฟกานิสถานอยู่ภายใต้อิทธิพลของสหภาพโซเวียตและประเทศจีนหรือประเทศใดๆ ก็ตาม[13]
พระองค์ทรงมีพระราชอำนาจอย่างเต็มตัวใน พ.ศ. 2506 แม้จะเกิดความขัดแย้งทางการเมือง แต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรอัฟกานิสถานได้ถูกนำมาใช้ใน พ.ศ. 2507 ซึ่งทำให้อัฟกานิสถานเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มีรัฐสภา และมีการเลือกตั้ง และยังให้สิทธิสตรีอีกด้วยซึ่งทำให้อัฟกานิสถานเจริญเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดี ด้วยระบอบการปกครองที่ไม่เสถียร ประกอบกับการปฏิรูปประเทศที่ล้มเหลวของพระองค์ หลายฝ่ายจึงมองว่านี่คืออีกสาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้เกิดการปฏิวัติในประเทศขึ้นมาในปี พ.ศ. 2516 และยังถูกปฏิวัติซ้ำเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ในปี พ.ศ. 2519[14]
หลังการล้มล้างราชวงศ์ พระองค์ได้เสด็จลี้ภัยอยู่ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลีเป็นเวลาหลายปี และหลังจากอัฟกานิสถานสิ้นสุดการปกครองโดยตาลีบัน 4 เดือน พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินกลับสู่อัฟกานิสถานในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2545 โดยประทับบนเครื่องบินของกองทัพอิตาลี และประธานาธิบดีฮามิด กาไบ ได้ไปรับเสด็จพระองค์ที่สนามบินกรุงคาบูล[15] พระองค์ยังทรงได้รับการต้อนรับอย่างดีจากชาวอัฟกัน และพระองค์ยังทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของทุกกลุ่มชาติพันธุ์ภายในประเทศ[16][17] โดยผู้แทนส่วนมากในสภาโลยา เจอร์กา ต่างเสนอให้มีการฟื้นฟูสถาบันกษัตริย์ขึ้นมาใหม่[18] ทว่าพระองค์กลับมิทรงปรารถนาที่จะฟื้นฟูระบอบกษัตริย์ขึ้นมาอีก[19]
สวรรคต
ในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 พระเจ้าโมฮัมเหม็ด ซาเฮียร์ ชาห์ เสด็จสวรรคตที่พระตำหนักบริเวณทำเนียบประธานาธิบดีอัฟกานิสถานหลังจากทรงพระประชวรมาเป็นเวลายาวนาน[20] โดยการสวรรคตของพระองค์ถูกแถลงการณ์โดยประธานาธิบดีฮามิด กาไบ[21] โดยเขากล่าวว่า "พระองค์ทรงเป็นผู้รับใช้ประชาชน ทรงเป็นผู้ที่เชื่อมั่นในการปกครองที่ยึดตามหลักสิทธิมนุษยชน"[22] พิธีพระบรมศพของพระองค์ถูกจัดขึ้นในวันที่ 24 กรกฎาคม ปีเดียวกัน โดยฝังพระบรมศพของพระองค์ไว้ที่สุสานหลวงบนเนินเขามะรันจัน ทางทิศตะวันออกของกรุงคาบูล[23]
พระบรมราชอิสรริยศ
พระยศของ โมฮัมเหม็ด ซาเฮียร์ ชาห์แห่งอัฟกานิสถาน | |
---|---|
Reference style | ฮิสมาเจสตี |
การทูล | ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท |
ขณะพระองค์ทรงครองราชย์ทรงดำรงพระบรมราชอิสรริยศเป็น ฮิสมาเจสตี โมฮัมเหม็ด ซาเฮียร์ ชาห์แห่งอัฟกานิสถาน.[24]
อ้างอิง
- ↑ "Profile: Ex-king Zahir Shah". 1 October 2001 – โดยทาง news.bbc.co.uk.
- ↑ *C-SPAN: Afghan King & Queen 1963 Visit to U.S. Reel America Preview (official U.S. government video; public domain).
- ↑ Judah, Tim (23 September 2001). "Profile: Mohamed Zahir Shah" – โดยทาง www.theguardian.com.
- ↑ "State funeral for Afghanistan's former President". UNAMA. 19 March 2009.
- ↑ Encyclopædia Britannica, "Mohammad Zahir Shah"
- ↑ "Lycee Esteqlal". World News.
- ↑ "Mohammad Zahir Shah, 92, Last King of Afghanistan". The New York Sun.
- ↑ Jentleson, Bruce W.; Paterson, Thomas G. (1997). "Encyclopedia of U.S. foreign relations". The American Journal of International Law. Oxford University Press: 24. ISBN 0-19-511055-2.
- ↑ Dupree, Louis: Afghanistan, pages 477–478. Princeton University Press, 1980
- ↑ "Profile: Ex-king Zahir Shah". BBC. 1 October 2001. สืบค้นเมื่อ 1 February 2008.
- ↑ Judah, Tim (23 September 2001). "Profile: Mohamed Zahir Shah". The Observer. สืบค้นเมื่อ 1 February 2008.
- ↑ Steyn, Mark (6 October 2001). "The man who would be king, if you don't mind". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 8 March 2019.
- ↑ "Before Taliban". publishing.cdlib.org. สืบค้นเมื่อ 12 March 2019.
- ↑ "The Letter From the Afghan King" – โดยทาง www.washingtonpost.com.
- ↑ "April 18, 2002: Zahir Shah returns to Afghanistan after 29-year exile". Gulf News. สืบค้นเมื่อ 8 March 2019.
- ↑ "Afghanistan: Afghans Welcome Former King's Return". RadioFreeEurope/RadioLiberty. สืบค้นเมื่อ 8 March 2019.
- ↑ "No ordinary homecoming". BBC News. 17 April 2002. สืบค้นเมื่อ 8 March 2019.
- ↑ Bearak, Barry (24 July 2007). "Mohammad Zahir Shah, Last Afghan King, Dies at 92". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 8 March 2019.
- ↑ Bearak, Barry (24 July 2007). "Mohammad Zahir Shah, Last Afghan King, Dies at 92". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 8 March 2019.
- ↑ Bearak, Barry (24 July 2007). "Mohammad Zahir Shah, Last Afghan King, Dies at 92". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 8 March 2019.
- ↑ Barry Bearak, "Former King of Afghanistan Dies at 92", The New York Times, 23 July 2007.
- ↑ AP Archive (21 July 2015). "President Karzai announcing death of King Zahir Shah". สืบค้นเมื่อ 8 March 2019 – โดยทาง YouTube.
- ↑ "Afghanistan's King Mohammad Zahir Shah Laid to Rest", Associated Press (Fox News), 24 July 2007.
- ↑ "Foreign Relations of the United States Diplomatic Papers, 1934, Europe, Near East and Africa, Volume II - Office of the Historian". history.state.gov.
หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2467 หมวดหมู่:บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2550 หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์อัฟกานิสถาน
มาร์กอส เปเรซ ฮิเมเนซ
มาร์กอส เปเรซ ฮิเมเนซ | |
---|---|
ประธานาธิบดีเวเนซุเอลา | |
ดำรงตำแหน่ง 2 ธันวาคม พ.ศ. 2495 – 23 มกราคม พ.ศ. 2501 รักษาการ: 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 – 19 เมษายน พ.ศ. 2496 | |
ก่อนหน้า | เยอรมัน ซูซาเลส ฟลาเมริช |
ถัดไป | วูล์ฟกัง ลาร์ราซาบัล |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | มาร์กอส อีวานเกลิสตา เปเรซ ฮิเมเนซ 25 เมษายน พ.ศ. 2457 รัฐตาชีรา, ประเทศเวเนซุเอลา |
เสียชีวิต | 20 กันยายน พ.ศ. 2544 (87 ปี) อาร์โกเบนดัส, ประเทศสเปน |
เชื้อชาติ | เวเนซุเอลา |
คู่สมรส | ฟลอ แมเรีย ชาลบูธ |
บุตร | 5 |
ศิษย์เก่า | สถาบันเตรียมทหารแห่งเวเนซุเอลา |
อาชีพ | นักการเมือง |
วิชาชีพ | ทหาร |
ลายมือชื่อ | |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | เวเนซุเอลา |
สังกัด | กองทัพเวเนซุเอลา |
ประจำการ | 2474–2501 |
ยศ | พลเอก |
มาร์กอส อีวานเกลิสตา เปเรซ ฮิเมเนซ (สเปน: Marcos Evangelista Pérez Jiménez) เป็นผู้เผด็จการและอดีตประธานาธิบดีของประเทศเวเนซุเอลา เขาเข้าสู่อำนาจจากการรัฐประหารใน พ.ศ. 2491 เป็นผู้นำประเทศในฐานะหัวหน้าคณะรัฐประหารใน พ.ศ. 2490 – พ.ศ. 2495 และดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีใน พ.ศ. 2495 – พ.ศ. 2501 โดยมีการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2492 ปรากฎว่าพรรคฝ่ายค้านชนะการเลือกตั้งจึงทำให้การเลือกตั้งนี้เป็นโมฆะและเปเรซได้กลับมาเป็นประธานาธิบดีในปี พ.ศ. 2496 และได้ยกเลิกรัฐธรมนูญเดิมและประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่ซึ่งให้อำนาจเผด็จการแก่เขา[1]
ภายใต้การปกครองของเปเรซนั้น เวเนซุเอลาเริ่มร่ำรวยจากการส่งออกน้ำมัน ทำให้รายได้ทั้งหมดนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศและโครงการต่างๆ ที่เขาได้สร้างขึ้น รวมถึงการสร้างถนน สะพาน สถานที่ราชการ และสถานที่สาธารณะเพิ่มขึ้นมาและกระจายได้ทั่วถึง ทั้งนี้อุตสาหกรรมต่างๆ ภายในประเทศทั้งไฟฟ้า เหมืองแร่ โรงงานเหล็กและโรงงานต่างๆ ได้พัฒนาขึ้นมาอย่างรวดเร็ว[2][3][4] ส่งผลให้สมัยของเปเรซนั้นเจริญเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดี เปเรซถูกวิพากษ์วิจารณ์ในฐานะผู้เผด็จการที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน และเป็นผู้นำที่เผด็จการที่สุดในละตินอเมริกา[5] ทั้งนี้เขายังมีหน่วยตำรวจลับที่ชื่อ Dirección de Seguridad Nacional (DSN) ซึ่งเป็นหน่วยความมั่นคงของรัฐบาลได้จับผู้ที่วิจารณ์การบริหารงานของเขาและปราบปรามผู้ที่เห็นต่างจากเขา เพื่อพยายามรักษาอำนาจของเขาต่อไป ทั้งนี้รัฐบาลของเปเรซได้ต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างเข้มข้นอีกด้วย[6][7]
หลังการประท้วงครั้งใหญ่ในเวเนซุเอลาที่ต้องการประชาธิปไตย เปเรซได้หมดอำนาจลงหลังจากการรัฐประหารในวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2501[8][9] หลังจากนั้นเขาได้ลี้ภัยไปยังสาธารณรัฐโดมินิกัน ก่อนที่จะเดินทางไปลี้ภัยที่ไมอามี สหรัฐ และสุดท้ายเขาก็ได้ตั้งถิ่นฐานและอาศัยอยู่ที่ประเทศสเปนซึ่งขณะนั้นสเปนปกครองโดยฟรันซิสโก ฟรังโก และเขาก็ใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศสเปนเรื่อยมาจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2544 ที่อัลโกเบนดัส แคว้นมาดริด ประเทศสเปน ด้วยวัย 87 ปี[10]
ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา
เปเรซเกิดเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2457 ที่ มิเชเลนา รัฐตาชีรา เป็นบุตรของฆวน เปเรซ ซูตามันเต และอเดลา ฮิเมเนซ บิดาของเขาเป็นเกษตรกร ส่วนมารดาของเขาเป็นครู เขาเริ่มเข้าเรียนที่โรงเรียนในบ้านเกิดของเขาและได้ไปศึกษาต่อที่ประเทศโคลอมเบีย และใน พ.ศ. 2477 เขาได้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรของสถาบันเตรียมทหารแห่งเวเนซุเอลา โดยสอบได้ที่หนึ่งจากรุ่นเดียวกันกับเขา และสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนทหารคอริลอส ประเทศเปรู
ชีวิตส่วนตัว
เขาสมรสกับฟลอ แมเรีย ชาลบูธ เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488 ทั้งคู่มิธิดาด้วยกัน 5 คน[11]
รางวัลและเกียรติยศ
เขาได้รับอิสริยาภรณ์ลีเจียนออฟเมอริต จากรัฐบาลสหรัฐเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497[12][13]
อ้างอิง
- ↑ Hollis Micheal Tarver Denova, Julia C. Frederick (2005), The history of Venezuela, Greenwood Publishing Group. p357
- ↑ Martínez Castill, บ.ก. (มิถุนายน 2563). La intervención del Estado venezolano en la economía 1936-2016: alcances y límites (PDF). redalyc.org. ISBN 1315-2467. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2563.
{{cite book}}
: line feed character ใน|title=
ที่ตำแหน่ง 44 (help); ตรวจสอบค่า|isbn=
: length (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ Penélope, Plaza, บ.ก. (กันยายน 2551). La construcción de una nación bajo el Nuevo Ideal Nacional. Obras públicas, ideología y representación durante la dictadura de Pérez Jiménez (PDF). Universidad Central de Venezuela. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2563.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ Gerardo, Lucas, บ.ก. (กรกฎาคม 2551). Industralización contemporánea en Venezuela (PDF). UCAB. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2563.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "The Extradition of Marcos Perez Jimenez, 1959–63: Practical Precedent for Administrative Honesty?", Judith Ewell, Journal of Latin American Studies, 9, 2, 291–313, [1]
- ↑ Time, 23 August 1963, as cited in John Gunther, Inside South America, pp. 492–493
- ↑ Magallanes, Manuel Vicente (1873). Los partidos políticos en la evolución histórica venezolana. Mediterráneo.
- ↑ Holzer, Harold (2004). "Introduction". ใน Cuomo, Mario; Holzer, Harold (บ.ก.). Lincoln on Democracy. New York: Fordham University Press. p. xliv. ISBN 0823223450.
- ↑ Beyer, Rick (29 March 2011). "The Symphony That Helped Sink a Dictator". Astonish, Bewilder and Stupefy. สืบค้นเมื่อ 24 April 2017.
- ↑ Marcos Perez Jimenez Dies at 87
- ↑ "Benevolent Dictator Finally Loses Post". The Wilmington News. Vol. 24 no. 9. Wilmington, North Carolina. AP. 23 January 1958. p. 26. สืบค้นเมื่อ 4 May 2015.
- ↑ Office of the Historian, บ.ก. (19 January 1955). "Progress Report by the Operations Coordinating Board to the National Security Council". FRUS.
- ↑ "Marcos Perez Jimenez – Legion of Merit". valor.militarytimes.com.
เอริช ฮ็อนเนคเคอร์
เอริช ฮ็อนเนคเคอร์ | |
---|---|
ฮ็อนเนคเคอร์ใน พ.ศ. 2519 | |
เลขาธิการพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี (เป็นประธานสภาแห่งรัฐในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2519) | |
ดำรงตำแหน่ง 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2514 – 18 ตุลาคม พ.ศ. 2532 | |
ก่อนหน้า | วัลเทอร์ อุลบริชท์ |
ถัดไป | เอก็อน เคร็นทซ์ |
ประธานสภาแห่งรัฐเยอรมนีตะวันออก | |
ดำรงตำแหน่ง 29 ตุลาคม พ.ศ. 2519 – 24 ตุลาคม พ.ศ. 2532 | |
ก่อนหน้า | วิลลี ชโตฟ |
ถัดไป | เอก็อน เคร็นทซ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 25 สิงหาคม พ.ศ. 2455 จักรวรรดิเยอรมัน |
เสียชีวิต | 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 (81 ปี) ซานติอาโก, ประเทศชิลี |
สาเหตุการเสียชีวิต | มะเร็งตับ |
เชื้อชาติ | East German (until 1990); German (1990–1994) |
พรรคการเมือง | พรรคคอมมิวนิสต์เยอรมนี (2473–2489) พรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี (2489–2532) พรรคคอมมิวนิสต์เยอรมนี (2533–2537) |
คู่สมรส | ลอตเต กรุนด์ (สมรส 2488; 2490) อิดิธ บรูมัน (สมรส 2490; หย่า 2496)[1][2] มาร์ก็อต ฮ็อนเนคเคอร์ (2496–2537)[3][4][a] |
บุตร | เอริกา (เกิด พ.ศ. 2493) ซอนญา (เกิด พ.ศ. 2495) |
วิชาชีพ | นักการเมือง |
ลายมือชื่อ | |
เอริช ฮ็อนเนคเคอร์ (เยอรมัน: Erich Honecker; 25 ตุลาคม พ.ศ. 2455 – 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2537) เป็นอดีตประมุขแห่งรัฐของประเทศเยอรมนีตะวันออก ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. 2519 จนถึง พ.ศ. 2532 ก่อนจะเกิดการทลายกำแพงเบอร์ลิน เพียงเดือนเดียว เขาดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี ก่อนจะได้รับเลือกเป็นประธานสภาแห่งรัฐแทนวิลลี ชโตฟใน พ.ศ. 2519 และดำรงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ ในระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่งประมุขแห่งเยอรมนีตะวันออก เขามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสหภาพโซเวียตซึ่งสนับสนุนกองทัพในประเทศและการมีอำนาจของเขา
เขาเริ่มต้นเส้นทางการเมืองในคริสต์ทศวรรษที่ 1930 โดยการเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์เยอรมนี ทำให้เขาถูกพรรคนาซีกักขังเขาไว้[5] เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง เขาจึงได้รับอิสรภาพและเข้าสู่เส้นทางการเมืองอีกครั้ง และเขาได้ก่อตั้งองค์กรเยาวชนของพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี มีชื่อว่า :en:Free German Youth ใน พ.ศ. 2489 และเป็นประธานองค์กรนี้จนถึง พ.ศ. 2498 และเมื่อเขาดำรงตำแหน่งเลขานุการฝ่ายความมั่นคงของพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี เขามีส่วนสำคัญในการสร้างกำแพงเบอร์ลินใน พ.ศ. 2504 และยังมีหน้าที่รับผิดชอบในการสั่งยิงผู้ที่พยายามหลบหนีออกจากประเทศหรือข้ามฝั่งไปตามแนวกำแพงและพรมแดนระหว่างเยอรมันตะวันออกและเยอรมนีตะวันตก
ใน พ.ศ. 2513 เขาได้แย่งชิงและแข่งขันอำนาจทางการเมืองกับวิลลี ชโตฟ[6] โดยเขาได้รับการสนับสนุนจากเลโอนิด เบรจเนฟ[6] ซึ่งทำให้เขาได้รับตำแหน่งประธานสภาแห่งรัฐและเป็นประมุขแห่งเยอรมนีตะวันออกในเวลาต่อมา ภายใต้การปกครองของเขา เขาได้นำหลักการสังคมนิยมตลาดมาใช้และผลักดันเยอรมนีตะวันออกสู่ประชาคมโลกได้สำเร็จ[7] และได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกแห่งสหประชาชาติซึ่งถือว่าเป็นความสำเร็จในฐานะนักการเมืองและประมุขแห่งรัฐของเขา[8]
เมื่อความตึงเครียดในสงครามเย็นเริ่มคลายลงในปลายคริสต์ทศวรรษที่ 1980 และมิฮาอิล กอร์บาชอฟได้ใช้นโยบายเปเรสตรอยคา-กลัสนอสต์ ฮอนเนคเคอร์ได้คัดค้านนโยบายนี้ยกเว้นการเปลี่ยนแปลงเชิงปฏิรูปบางอย่างในระบบการเมืองภายในประเทศ[9] ต่อมาประชาชนในประเทศเยอรมนีตะวันออกได้ประท้วงรัฐบาลของเขา[10][11] เขาได้เรียกร้องให้สหภาพโซเวียตสนับสนุนการปราบปรามผู้เห็นต่างและผู้ที่ออกมาชุมนุมดังกล่าว[11] แต่มิฮาอิล กอร์บาชอฟปฏิเสธที่จะให้การสนับสนุน[11][12] ต่อมาเขาถูกบังคับให้ลาออกจากประธานสภาแห่งรัฐโดยพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนีในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2532 เพื่อรักษาภาพลักษณ์ของรัฐบาล[13] แต่ได้ประสบความล้มเหลวและนำไปสู่การล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์ในเยอรมนีตะวันออก และทั้งสองประเทศรวมกันเป็นประเทศเยอรมนีจนถึงปัจจุบัน
หลังการรวมประเทศเยอรมนีใน พ.ศ. 2533 เขาพยายามหลบหนีออกนอกประเทศโดยทำเรื่องขอลี้ภัยที่สถานเอกอัครราชทูตชิลีในกรุงมอสโก[14] แต่เขาได้ถูกส่งตัวกลับประเทศเยอรมนี ใน พ.ศ. 2535 เพื่อรับการพิจารณาคดีเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนในสมัยที่เขายังเป็นประมุขแห่งรัฐ[15] แต่การดำเนินคดีดังกล่าวได้ยกเลิกเนื่องจากเขาป่วยเป็นมะเร็งตับระยะสุดท้าย และเขาได้รับการปล่อยตัวไป เขาจึงลี้ภัยอยู่ในประเทศชิลีพร้อมครอบครัวของเขา และถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 สิริอายุได้ 81 ปี[16]
หมายเหตุ
- ↑ บางข้อมูลกล่าวว่าสมรสใน พ.ศ. 2496
อ้างอิง
- ↑ "Honecker, Erich * 25.8.1912, † 29.5.1994 Generalsekretär des ZK der SED, Staatsratsvorsitzender". Bundesstiftung zur Aufarbeitung der SED-Diktatur (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 28 February 2017.
- ↑ "Erich Honecker 1912 – 1994". Lebendiges Museum Online (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 28 February 2017.
- ↑ "Honecker, Margot geb. Feist * 17.4.1927, † 6.5.2016 Ministerin für Volksbildung". Bundesstiftung zur Aufarbeitung der SED-Diktatur (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 28 February 2017.
- ↑ "Margot Honecker". Chronik der Wende (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 28 February 2017.
- ↑ Epstein, Catherine (2003). The Last Revolutionaries: German Communists and their century. Harvard University Press. p. 112.
- ↑ 6.0 6.1 Winkler, Heinrich August (2007). Germany: The Long Road West, Vol. 2: 1933–1990. Oxford University Press. pp. 266–268.
- ↑ Honecker, Erich (1984). "The GDR: A State of Peace and Socialism". Calvin College German Propaganda Archive.
- ↑ "Helsinki Final Act signed by 35 participating States". Organization for Security and Co-operation in Europe.
- ↑ Gedmin, Jeffrey (2003). The Hidden Hand: Gorbachev and the Collapse of East Germany. Harvard University Press. pp. 55–67.
- ↑ "The Opposition charges the SED with fraud in the local elections of May 1989 (May 25, 1989)". German History in Documents and Images.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 Sebetsyen, Victor (2009). Revolution 1989: The Fall of the Soviet Empire. New York City: Pantheon Books. ISBN 978-0-375-42532-5.
- ↑ "Gorbachev in East Berlin". BBC News. 25 March 2009.
- ↑ "Plot to oust East German leader was fraught with risks". Chicago Tribune. 28 October 1990.
- ↑ การลี้ภัยครั้งสุดท้ายของ ‘เอริค โฮเน็กเกอร์’ อดีตผู้นำเยอรมนีตะวันออก
- ↑ "More Than 1,100 Berlin Wall Victims". Deutsche Welle. 9 August 2005. สืบค้นเมื่อ 8 August 2009.
- ↑ "Wo Honecker heimlich begraben wurde". Bild (ภาษาเยอรมัน). 25 August 2012.
เอียน สมิธ
เอียน ดักลาส สมิธ | |
---|---|
สมิธใน พ.ศ. 2497 | |
นายกรัฐมนตรีโรดีเซียคนที่ 8 | |
ดำรงตำแหน่ง 13 เมษายน พ.ศ. 2507 – 1 มิถุนายน พ.ศ. 2522 | |
กษัตริย์ | สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร |
ประธานาธิบดี |
|
รอง | คลิฟฟอร์ด ดูพอนท์ จอหน์ วาร์เทิล เดวิด สมิธ |
ก่อนหน้า | วินสตัน ฟิลด์ |
ถัดไป | อาเบล มูซอเรวา (ซิมบับเวโรดีเซีย) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | เอียน ดักลาส สมิธ Selukweเซลุคเว, โรดีเซีย |
เสียชีวิต | 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 (89 ปี) เคปทาวน์, ประเทศแอฟริกาใต้ |
ที่ไว้ศพ | ซูลุควิ, ซิมบับเว |
พรรคการเมือง |
|
คู่สมรส | เจเน็ต สมิธ (สมรส 2491; 2537) |
บุตร | 3 |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยโรโดส |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ |
|
สังกัด | กองทัพอากาศสหราชอาณาจักร |
ประจำการ | 2484–2488 |
ยศ | เรืออากาศเอก |
ผ่านศึก | สงครามโลกครั้งที่สอง |
เอียน สมิธ (อังกฤษ: Ian Smith) เป็นนักการเมืองชาวโรดีเซียผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งประเทศโรดีเซีย ตั้งแต่ พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2522 เขาคือผู้เรียกร้องเอกราชจากสหราชอาณาจักรในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2508 และเป็นนายกรัฐมนตรีหลังได้รับเอกราชเป็นเวลา 14 ปี เขายังเป็นผู้บัญชาการในสงครามบุช[1][2] ซึ่งทให้การบริหารของเขาขัดแย้งกับพวกกลุ่มคนผิวสี ปัจจุบันนี้บทบาทของเขายังเป็นที่ถกเถียงของเหล่านักวิชาการ ฝ่ายสนับสนุนมองว่าเขาเป็นคนที่มีคุณธรรมและเข้าใจปัญหาในภูมิภาคแอฟริกาเป็นอย่างดี ในขณะที่ฝ่านต่อต้านมองว่าเขาเป็นพวกเหยียดผิวสี[3]
เขาเกิดในครอบครัวผู้อพยนชาวอังกฤษในเมืองเซลุคเวในจังหวัดมิแลนด์แห่งเซาท์เทิร์นโรดีเซีย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขารับราชการเป็นทหารอากาศในสังกัดกองทัพอากาศอังกฤษ และในเหตุการณ์นี้ทให้เขาได้รับบาดเจ็บที่ใบหน้าของเขา หลังพักฟื้นเขาได้ประจำการในยุโรป ก่อนที่เขาจะกลับมาทำเกษตรกรรมใน พ.ศ. 2491 และปีเดียวกันนั้นเขาได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมืองเซลุคเว ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่อายุน้อยที่สุดด้วยวัย 29 ปี ต่อมาเขาเข้าร่วมกับพรรคสหภาพ (ยูเอฟพี) และตำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคใน พ.ศ. 2501 ก่อนที่เขาจะลาออกจากพรรคใน พ.ศ. 2504 เพื่อประท้วงคัดรัฐธรรมนูญแห่งโรดีเซีย ทำให้เขาได้ร่วมมือกับวินสตัน ฟีลด์ก่อตั้งพรรคโรดีเซียก้าวหน้าเพื่อเรียกร้องเอกราชจากสหราชอาณาจักร
เขาได้เป็นรองนายกรัฐมนตรีหลังจากที่พรรคโรดีเซียก้าวหน้าชนะเลือกตั้งใน พ.ศ. 2505 และได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีใน พ.ศ. 2507 หลังการลาออกของฟิลด์ แต่ยังไม่ได้รับเอกราช จนกระทั่งสมิธเจรจากับฮาโรลด์ วิลสัน นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร ณ ขณะนั้น ทำให้ได้รับเอกราชในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508 แต่รัฐบาลของสมิธต้องประสบปัญหาจากการที่ถูกองค์การสหประชาชาติคว่ำบาต แต่ได้รับความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจจากประเทศแอฟริกาใต้และประเทศโปรตุเกส และเขาประกาศให้โรดีเซียเป็นสาธารณรัฐใน พ.ศ. 2513 หลังสงครามบุชใน พ.ศ. 2515 รัฐบาลของเขาได้เจรจากับกลุ่มชาตินิยมที่นำโดยบิชอป อาเบล มูโซเรวา กับกองกำลังผิวสีที่นำโดยโจชัว เอ็นโคโมและรอเบิร์ต มูกาบี
ใน พ.ศ. 2541 เขาและขบวนการชาตินิยมรวมถึงกองกำลังผิวสีภายในประเทศได้ลงนามข้อตกลงภายใน ทำให้โรดีเซียกลายเป็นโรดีเซียซิมบับเวและสมิธพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และกลายเป็นประเทศซิมบับเวโดยสมบูรณ์ใน พ.ศ. 2523 พร้อมกับการขึ้นสู่อำนาจของมูกาบี สมิธเป็นผู้นำฝ่ายค้านของรัฐบาลมูกาบีในช่วงเจ็ดปีแรกที่เขาดำรงตำแหน่ง[4] เขาวิพากษ์วิจารณ์การบริหารงานของรัฐบาลมูกาบี เขาอยู่ในซิมบับเวจนกระทั่ง พ.ศ. 2548 เขาได้ย้ายไปอยู่เคปทาวน์ ประเทศแอฟริกาใต้[5][6] และถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 สิริอายุได้ 88 ปี[6][7]
อ้างอิง
- ↑ Tamarkin 1990, p. 14.
- ↑ "APF newsletter, "Appraisal of Rhodesia in 1975"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 May 2009.
- ↑ BBC 2007.
- ↑ Meredith 2007, p. 55.
- ↑ Bevan 2007 ; Boynton 2007 ; Cowell & 2007 b ; Johnson 2007 ; Meredith 2007, p. 17 ; The Times 2007 ; The Week 2007 .
- ↑ 6.0 6.1 Blair & Thornycroft 2007.
- ↑ Cowell & 2007 b.
เครื่องอิสริยาภรณ์เจ้าชายยาโรสลาฟ เดอะ ไวส์ (en:Order of Prince Yaroslav the Wise)
เครื่องอิสริยาภรณ์เจ้าชายยาโรสลาฟ เดอะ ไวส์ | |
---|---|
ประเภท | อิสริยาภรณ์ห้าชั้น |
วันสถาปนา | 23 สิงหาคม พ.ศ. 2538 |
ประเทศ | ยูเครน |
แพรแถบ | |
ผู้สมควรได้รับ | ชาวยูเครนและชาวต่างประเทศ |
มอบเพื่อ | ผู้ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศยูเครน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ การศึกษา วัฒนธรรม ศิลปะ การแพทย์ และคุณความดีอื่นๆ ต่อสาธารณชน |
สถานะ | ยังมีการมอบ |
ประธาน | ประธานาธิบดียูเครน |
ลำดับเกียรติ | |
สูงกว่า | เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งเสรีภาพ |
รองมา | เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณ (ประเทศยูเครน) |
เครื่องอิสริยาภรณ์เจ้าชายยาโรสลาฟ เดอะ ไวส์ (ยูเครน: Орден князя Ярослава Мудрого, อังกฤษ: Order of Prince Yaroslav the Wise) เป็นเครื่องอิสริยาภรณ์ของประเทศยูเครน[1] มอบให้กับผู้กระทำคุณประโยชน์แก่ประเทศยูเครนทั้งชาวยูเครนและชาวต่างประเทศ ทั้งด้านการพัฒนา เศรษฐกิจ การศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม ศิลปะ การสาธารณสุข และคุณงามความดีอื่นๆ ต่อสาธารณะชน เครื่องอิสริยาภรณ์นี้ถูกสร้างขึ้นในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2538 โดยเลโอนิด คุชมา ประธานาธิบดียูเครน ณ ขณะนั้น[2]
นับตั้งแต่สร้างเครื่องอิสริยาภรณ์นี้ขึ้นมา เครื่องอิสริยาภรณ์นี้จัดเป็นเครื่องอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของประเทศยูเครนที่ชาวยูเครนพึงจะได้รับ รวมถึงชาวต่างประเทศและบุคคลไร้สัญชาติ จนกระทั่งใน พ.ศ. 2541 มีการสร้างอิสริยาภรณ์วีรชนแห่งยูเครนขึ้นมาสำหรับชาวยูเครน เครื่องอิสริยาภรณ์นี้ยังเป็นเครื่องอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดสำหรับชาวต่างประเทศและบุคคลไร้สัญขาติ จนกระทั่งใน พ.ศ. 2548 เครื่องอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของยูเครนได้ถูกแทนที่ด้วยเครื่องอิสริยาภรณ์แห่งเสรีภาพ
เครื่องอิสริยาภรณ์นี้ถูกออกแบบโดยประติมากรและคณาจารย์แห่งสถาบันวิจิตรศิลป์และสถาปัตยกรรมแห่งชาติวาเรลี ชเวดซอฟ[3] เครื่องอิสริยาภรณ์นี้มีทั้งสิ้นห้าชั้น แพรแถบมีลักษณะเป็นสีฟ้าและมีแถบสีเหลืองขนาบทั้งสองข้าง[4]
ลำดับชั้นและลักษณะของอิสริยาภรณ์
ชั้นที่ 1 | ชั้นที่ 2 | ชั้นที่ 3 | ชั้นที่ 4 | ชั้นที่ 5 | |
---|---|---|---|---|---|
ดวงตรา | |||||
ดารา | |||||
แพรแถบ |
สมาชิกอิสริยาภรณ์ที่มีชื่อเสียง
- ราอุล กัสโตร อดีตประธานาธิบดีและประธานสภาแห่งรัฐแห่งประเทศคิวบา[5]
- ฌัก ชีรัก อดีตประธานาธิบดีแห่งประเทศฝรั่งเศส[6]
- สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟแห่งสวีเดน[7]
- สมเด็จพระราชินีซิลเวียแห่งสวีเดน[8]
- ดอนัลต์ ตุสก์[9]
- ซาปาร์มือรัต นือยาซอว์ อดีตประธานาธิบดีแห่งประเทศเติร์กเมนิสถาน[10]
- เรเจป ไตยิป แอร์โดอัน ประธานาธิบดีแห่งประเทศตุรกี[11]
อ้างอิง
- ↑ "Указ Президента №766/95 от 23.08.1995, Відзнака Президента України "Орден князя Ярослава Мудрого"". search.ligazakon.ua. สืบค้นเมื่อ 11 December 2020.
- ↑ "Указ Президента №766/95 от 23.08.1995, Про заснування відзнаки Президента України "Орден князя Ярослава Мудрого"". search.ligazakon.ua. สืบค้นเมื่อ 16 October 2020.
- ↑ "Кафедра скульптури". web.archive.org. 2014-02-03. สืบค้นเมื่อ 2021-05-01.
- ↑ "УКАЗ ПРЕЗИДЕНТА УКРАЇНИ №766/95". Офіційне інтернет-представництво Президента України (ภาษายูเครน). สืบค้นเมื่อ 16 October 2020.
- ↑ Peter Orsi (24 February 2013). "Cuba's Raul Castro announces retirement in 5 years". Yahoo! News. สืบค้นเมื่อ 6 April 2013.
- ↑ Указ Президента Украины от 2 сентября 1998 года № 965/98 "О награждении знаком отличия Президента Украины «Орден князя Ярослава Мудрого»
- ↑ "Kungens ordensinnehav". Sveriges Kungahus [Swedish Royal Court] (ภาษาสวีเดน). สืบค้นเมื่อ 30 January 2017.
- ↑ Order of Prince Yaroslav the Wise, zakon1.rada.gov.ua; accessed 7 April 2016.(ในภาษายูเครน)
- ↑ "Poroshenko presents awards to Tusk and Juncker". Ukrinform. 14 May 2019.
- ↑ Сапармурат Ниязов провел в Москве ряд двусторонних встреч | Интернет-газета Turkmenistan.Ru
- ↑ (ในภาษายูเครน) Zelensky awarded the President of Turkey a state order, Ukrayinska Pravda (16 October 2020)
แหล่งข้อมูลอื่น
ธันวา ราศีธนู
ธันวา ราศีธนู | |
---|---|
เกิด | 13 ธันวาคม พ.ศ. 2513 อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู |
เสียชีวิต | 8 กันยายน พ.ศ. 2564 (50 ปี) โรงพยาบาลคามิลเลียน กรุงเทพมหานคร |
แนวเพลง | เพลงลูกทุ่ง · เพื่อชีวิต · ร็อก |
อาชีพ | นักร้อง · นักดนตรี · นักแต่งเพลง |
ช่วงปี | พ.ศ. 2544 – ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | ไลท์มีเดียบางกอก อาร์สยาม |
ธันวา ราศีธนู (13 ธันวาคม พ.ศ. 2513 – 8 กันยายน พ.ศ. 2564) เป็นนักร้องลูกทุ่งและเพื่อชีวิตชายชาวไทย และเป็นศิลปินในสังกัดอาร์สยาม มีผลงานเป็นที่รู้จักของผู้ฟังจำนวนมาก อาทิ ไก่ตาฟาง, กิ้งก่าทอง, กบเฒ่า, 11 ร.ด. เป็นต้น
ประวัติ
ธันวาเกิดเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2513 ที่อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดอุดรธานี (ปัจจุบันขึ้นกับจังหวัดหนองบัวลำภู)[1] เขาเป็นคนสุดท้องจากพี่น้องทั้งหมด 3 คน มารดาของเขาได้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง เป็นเหตุให้เขาจบการศึกษาแค่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และไม่มีโอกาสได้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นไป เขาจึงไปทำงานเป็นเด็กท้ายรถสายศรีบุญเรือง - ขอนแก่น เป็นเวลา 2 ปี[1] ต่อมาบิดาของเขาได้ไปมีภรรยาใหม่ เขาและพี่น้องได้ย้ายไปอาศัยอยู่จังหวัดเพชรบูรณ์ตามบิดา แต่เขาไม่สามารถเข้ากับครอบครัวใหม่ของบิดาได้ เขาจึงตัดสินใจเข้าสู่กรุงเทพมหานครเพื่อสู้ชีวิตและเดินตามความฝัน[1] เขาไปทำงานเป็นลูกจ้างทัาวไป จนกระทั่งเขาได้พบกับเพื่อนเก่าที่เคยเป็นนักดนตรี เขาและเพื่อนจึงร่วมก่อตั้งวงทานตะวันขึ้นมา เมื่อเวลาผ่านไป สมาชิกวงต่างแยกย้ายกันไป ส่วนเขานั้นยังคงเดินตามฝันในฐานะอาชีพนักร้องและนักดนตรี[1]
วงการบันเทิง
เขาออกผลงานสตูดิโออัลบั้มถึง 3 ชุด โดยใน พ.ศ. 2544 เขาได้ออกอัลบั้มชุด แผ่ราศี มีเพลง หัวอกแม่ ที่บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับมารดาของเขา หลังจากนั้นใน พ.ศ. 2545 เขาได้ออกอัลบั้ม นักสู้ของแม่ และ พ.ศ. 2547 ได้ออกอัลบั้ม วันที่ฉันรอ จัดจำหน่ายโดยไลท์มีเดียบางกอก
พ.ศ. 2549 เขาประสบความสำเร็จจากผลงานเพลง ไก่ตาฟาง[2] โดยได้รับความนิยมจากทางภาคใต้มาก่อน จนกระทั่งสถานีวิทยุลูกทุ่งมหานครได้เปิดเพลงดังกล่าว[3] ทำให้เพลงของเขาเป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศรวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน[1][4]
ต่อมาเขาได้เป็นศิลปินสังกัดอาร์สยาม มีผลงานเพลงเป็นที่รู้จักเป็นจำนวนมาก อาทิ กิ้งก่าทอง, ฉันไม่ใช่ยกทรง, ลาโง่, กบเฒ่า, ปลาไหล, 11 ร.ด., ควาย เป็นต้น[1][4] นอกจากนี้ เขาได้ร่วมมือกับพี่สาวเปิดธุรกิจเย็นตาโฟที่จังหวัดปทุมธานีเมื่อ พ.ศ. 2560[5][6]
บั้นปลายชีวิตและลาลับ
ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564 เขาได้ติดเชื้อโรคโควิด-19 และถึงแก่กรรมในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2564 สิริอายุได้ 51 ปี[7][8][4] โดยการเสียชีวิตของเขานั้นมีคนในวงการรวมถึงแฟนเพลงร่วมแสดงความอาลัยเป็นจำนวนมาก อาทิ บ่าววี[9][10], ภัควรรธน์ ลีละเมฆินทร์[10] มีพิธีฌาปนกิจศพในวันเดียวกันที่วัดท่าซุงทักษินาราม อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา[11][12]
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 เปิดประวัติ ธันวา ราศีธนู นักร้องลูกทุ่งชื่อดัง เจ้าของสร้างชื่อ ไก่ตาฟาง
- ↑ เปิดประวัติ “ธันวา ราศีธนู” นักร้องสู้ชีวิต ทำเพลง “ไก่ตาฟาง”พลิกโด่งดังชั่วข้ามคืน
- ↑ กว่าจะมีวันนี้ "ธันวา ศรีธนู" คนดังที่จากไปเพราะโควิด
- ↑ 4.0 4.1 4.2 สิ้น ‘ธันวา ราศีธนู’ เจ้าของบทเพลงไก่ตาฟาง ติดโควิด-19 เสียชีวิตในวัย 51 ปี
- ↑ เปิดสูตร เด็ด เย็นตาโฟ ‘ ธันวา ราศีธนู’ เล็งขยายแฟรนไชส์ขึ้นห้าง
- ↑ ลูกทุ่งเพื่อชีวิต “ธันวา” หันมาขายเย็นตาโฟ
- ↑ ด่วน นักร้องดัง ธันวา ราศีธนู ติดโควิดเสียชีวิต
- ↑ ช็อกวงการ “ธันวา ราศีธนู” เจ้าของเพลงดัง “ไก่ตาฟาง” เสียชีวิตด้วยโรคโควิด-19!
- ↑ บ่าววี กล่าวคำอำลา ธันวา ราศีธนู ครั้งสุดท้าย ยกเป็น ต้นแบบนักร้องยุคเพลงใต้ดิน
- ↑ 10.0 10.1 สุดเศร้าอาลัย ธันวา ราศีธนู เจ้าของเพลงดัง ไก่ตาฟาง เสียชีวิตแล้ว
- ↑ ประมวลภาพพิธีฌาปนกิจ "ธันวา ราศีธนู" หลังเสียชีวิตจากโควิด-19
- ↑ พิธีฌาปนกิจ “ธันวา ราศีธนู” ครอบครัว คนสนิท ร่วมส่งครั้งสุดท้าย
หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2513 หมวดหมู่:บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2564 หมวดหมู่:นักร้องลูกทุ่งชายชาวไทย หมวดหมู่:นักดนตรีเพื่อชีวิต หมวดหมู่:ศิลปินสังกัดอาร์เอส หมวดหมู่:ศิลปินสังกัดอาร์สยาม หมวดหมู่:บุคคลจากจังหวัดหนองบัวลำภู หมวดหมู่:บุคคลที่เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ในประเทศไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาวขั้วโลก
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาวขั้วโลก | |
---|---|
ประเภท | อิสริยาภรณ์ห้าชั้น |
วันสถาปนา | พ.ศ. 2291 |
ประเทศ | สวีเดน |
ผู้สมควรได้รับ | ผู้กระทำคุณประโยชน์แก่ประเทศสวีเดนทั้งชาวสวีเดนและชาวต่างประเทศ |
สถานะ | ยังมีการมอบ |
ประธาน | พระมหากษัตริย์สวีเดน |
ลำดับเกียรติ | |
สูงกว่า | เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาบ |
รองมา | เครื่องราชอิสริยาภรณ์วาซา |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาวขั้วโลก (สวีเดน: Nordstjärneorden, อังกฤษ: Order of the Polar Star) เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศสวีเดน[1] สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2291 โดยพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งสวีเดน ซึ่งสร้างมาพร้อมกันกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาบและเครื่องราชอิสริยาภรณ์เซราฟีม
เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้มอบให้กับชาวสวีเดนและชาวต่างประเทศที่อุทิศให้กับวิทยาศาสตร์ วรรณกรรม การศึกษา และการกระทำคุณความดีอื่นๆ อันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งยวดต่อประเทศวสีเดนและชาวสวีเดน ซึ่งมอบให้กับชาวสวีเดนมาจนกระทั่ง พ.ศ. 2518 เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้มิได้มอบให้กับชาวสวีเดน แต่มอบให้กับชาวต่างประเทศเสียส่วนใหญ่[2] โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมาชิกราชวงศ์ หรือบุคคลสำคัญจากต่างประเทศ (อาทิ นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี) และมอบให้กับสมาชิกราชวงศ์ของสวีเดนที่ไม่ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์เซราฟีม[3] จนกระทั่งใน พ.ศ. 2562 รัฐสภาสวีเดนได้มีมติแก้ไขพระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของสวีเดนใหม่ และนำเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้มามอบให้แก่ชาวสวีเดนอีกครั้ง[4]
คำขวัญของเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้คือ "เนสคิตออกัสซึม" เดิมมีทั้งสิ้น 4 ชั้น และใช้แพรแถบแบบสีดำ จนกระทั่ง พ.ศ. 2518 ได้เปลี่ยนมาใช้แพรแถบสีฟ้าขนาบด้วยแถบสีเหลืองทั้งสองข้างซึ่งเป็นสีของธงชาติประเทศสวีเดนและเพิ่มขึ้นมาเป็น 5 ชั้น
ลำดับชั้น
เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้มีทั้งสิ้น 5 ชั้น ได้แก่[2]
- ชั้นประถมาภรณ์ (KmstkNO)
- ชั้นทวีตริตาภรณ์ (KNO1kl)
- ชั้นตริตาภรณ์ (KNO)
- ชั้นจตุรถาภรณ์ (RNO1kl)
- ชั้นเบญจมาภรณ์หรือชั้นสมาชิก (RNO1kl)
แพรแถบย่อเครื่องอิสริยาภรณ์ (พ.ศ. 2291 - พ.ศ. 2518) | ||||
---|---|---|---|---|
จัตุรถาภรณ์ | ตริตาภรณ์ | ทวีตริตาภรณ์ | ประถมาภรณ์ | |
แพรแถบย่อเครื่องอิสริยาภรณ์ (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518) | ||||
เบญจมาภรณ์หรือชั้นสมาชิก | จัตุรถาภรณ์ | ตริตาภรณ์ | ทวีตริตาภรณ์ | ประถมาภรณ์ |
สมาชิกอิสริยาภรณ์ที่มีชื่อเสียง
- มาฮาดีร์ บิน โมฮามัด อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย[5]
- ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 23[6]
อ้างอิง
- ↑ De svenska riddarordnarna, Jonas Arnell.
- ↑ 2.0 2.1 http://www.arnell.cc/fortjanstordnar.htm
- ↑ "Принц Даниэль Шведский с орденом Полярной звезды. Октябрь 2013 г." สืบค้นเมื่อ 2013-10-29.
{{cite web}}
: no-break space character ใน|title=
ที่ตำแหน่ง 63 (help) - ↑ "Dir. 2019:76 Kommittédirektiv Det offentliga belöningssystemet, de allmänna flaggdagarna och utformningen av anslaget till hovet" (PDF) (ภาษาสวาฮีลี). Government of Sweden. 7 November 2019. สืบค้นเมื่อ 13 April 2021.
- ↑ "MAHATHIR". Ray Azrul. Scribd. 18 February 2011. สืบค้นเมื่อ 31 March 2019.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๒๐ หน้า ๔ ข หน้า ๕, ๗ มีนาคม ๒๕๔๖
แหล่งข้อมูลอื่น
เครื่องอิสริยาภรณ์กู๊ดโฮป
เครื่องราชอิสริยาภรณ์กู๊ดโฮป | |
---|---|
ประเภท | อิสริยาภรณ์ห้าชั้น |
วันสถาปนา | พ.ศ. 2518 |
ประเทศ | แอฟริกาใต้ |
แพรแถบ | |
ผู้สมควรได้รับ | ชาวต่างประเทศ |
มอบเพื่อ | ผู้ที่กระทำคุณประโยชน์และผู้ที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่อประเทศแอฟริกาใต้ |
สถานะ | ยกเลิกการมอบ |
ประธาน | ประธานาธิบดีแอฟริกาใต้ |
ล้มเลิก | พ.ศ. 2545 |
สถิติการมอบ | |
รายแรก | พ.ศ. 2516 |
รายล่าสุด | พ.ศ. 2545 |
ทั้งหมด | 11,000 คน |
เครื่องอิสริยาภรณ์กู๊ดโฮป (อังกฤษ: Order of Good Hope) เป็นเครื่องอิสริยาภรณ์ในอดีตของประเทศแอฟริกาใต้ เครื่องอิสริยาภรณ์นี้ถูกสร้างขึ้นโดยรัฐบาลฝ่ายสาธารณรัฐของแอฟริกาใต้ใน พ.ศ. 2516[1] มอบให้กับผู้ที่กระทำคุณประโยชน์และผู้ที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่อประเทศแอฟริกาใต้
ประธานาธิบดีเนลสัน แมนเดลาได้ปรับเปลี่ยนการมอบเครื่องอิสริยาภรณ์นี้ใหม่[2] อย่างไรก็ดี รัฐบาลแอฟริกาใต้เห็นว่าเครื่องอิสริยาภรณ์นี้เป็นมรดกจากรัฐบาลคนผิวขาวและการเหยียดสีผิว ทั้งนี้ ลักษณะของเครื่องอิสริยาภรณ์ยังมีลักษณะเช่นเดียวกันกับเครื่องอิสริยาภรณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในทวีปยุโรป จึงมีการสร้างเครื่องอิสริยาภรณ์ โอ. อาร์. แทมโบขึ้นมาแทนที่ และยกเลิกการมอบเครื่องอิสริยาภรณ์นี้ไปตั้งแต่ พ.ศ. 2545 มีผู้ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์นี้ประมาณ 11,000 คน
ลำดับชั้นของเครื่องอิสริยาภรณ์
เครื่องอิสริยาภรณ์นี้มักจะมอบให้แก่ชาวต่างประเทศที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและกระทำคุณความดีอันเป็นประโยชน์สูงสุดต่อประเทศแอฟริกาใต้ ซึ่งใน พ.ศ. 2516-2531 เครื่องอิสริยาภรณ์นี้มีลำดับชั้นทั้งสิ้น 5 ชั้น ได้แก่[3]
- ชั้นสายสร้อย - มอบให้แก่ประมุขแห่งรัฐ
- ชั้นประถมาภรณ์ - มอบให้แก่หัวหน้ารัฐบาล รัฐมนตรี ประธานสภานิติบัญญัติ เอกอัครราชทูต ผู้บัญชาการทหาร ฯลฯ
- ชั้นทุติยาภรณ์ - มอบให้แก่สมาชิกสภานิติบัญญัติ ทูต นายทหารอาวุโส ฯลฯ
- ชั้นตริตาภรณ์ - มอบให้แก่อุปทูต เจ้าหน้าที่กงสุลใหญ่ ทหารและตำรวจชั้นนายพัน ฯลฯ
- ชั้นจัตุรถาภรณ์ - มอบให้แก่เจ้าหน้าที่กงสุล ทหารชั้นต่ำกว่านายพัน ฯลฯ
ต่อมาใน พ.ศ. 2531 มีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
- ชั้นประถมาภรณ์ - มอบให้แก่ประมุขแห่งรัฐ และหัวหน้ารัฐบาล
- ชั้นทุติยาภรณ์ - มอบให้แก่หัวหน้ารัฐบาล รัฐมนตรี ผู้พิพากษา ประธานสภานิติบัญญัติ เลขาธิการแห่งรัฐ เอกอัครราชทูต ผู้บัญชาการทหาร ฯลฯ
- ชั้นตริตาภรณ์ - มอบให้แก่สมาชิกสภานิติบัญญัติ ทูต นายทหารอาวุโส ฯลฯ
- ชั้นจัตุรถาภรณ์ - มอบให้แก่อุปทูต เจ้าหน้าที่กงสุลใหญ่ ทหารและตำรวจชั้นนายพัน ฯลฯ
- ชั้นเบญจมาภรณ์ - มอบให้แก่เจ้าหน้าที่กงสุล ทหารชั้นต่ำกว่านายพัน ฯลฯ
แพรแถบย่อของเครื่องอิสริยาภรณ์นี้เป็นแพรแถบสีเขียว มีแถบสีเหลืองขนาบทั้งสองข้าง
สมาชิกอิสริยาภรณ์ที่มีชื่อเสียง
- ฌัก ชีรัก อดีตประธานาธิบดีฝรั่งเศส[4]
- รอเบิร์ต มูกาบี อดีตประธานาธิบดีซิมบับเว[5]
- สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ อดีตจักรพรรดิญี่ปุ่น[6]
- สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร[6]
- สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์[4]
- สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก[4]
- สมเด็จพระราชาธิบดีอึมสวาตีที่ 3 แห่งเอสวาตีนี[6]
- สมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 แห่งนอร์เวย์[7]
- สมเด็จพระราชาธิบดีฆวน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปน[8]
- มูอัมมาร์ กัดดาฟี อดีตผู้นำลิเบีย[5]
- ซูฮาร์โต อดีตประธานาธิบดีอินโดนีเซีย[5]
- ยัสเซอร์ อาราฟัต[7]
- บิล คลินตัน อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ[7]
- ฟีเดล กัสโตร อดีตประธานาธิบดีและประธานสภาแห่งรัฐคิวบา[8]
อ้างอิง
- ↑ "ODM of South Africa: Order of Good Hope". 2011-05-21. สืบค้นเมื่อ 2021-07-25.
- ↑ Deon Fourie: «South Africa: The Order of Good Hope», Diplomacy and Statecraft, bd. 18, 2007, s. 445–466
- ↑ "South African civil honours 1967-2002". 2014-03-15. สืบค้นเมื่อ 2021-07-25.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 1996 National Orders awards เก็บถาวร 2012-11-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ 5.0 5.1 5.2 1997 National Orders awards
- ↑ 6.0 6.1 6.2 1995 National Orders awards เก็บถาวร 2012-10-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ 7.0 7.1 7.2 1998 National Orders awards เก็บถาวร 2011-01-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ 8.0 8.1 1999 National Orders awards เก็บถาวร 2012-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
แหล่งข้อมูลอื่น
เอ็ด แอสเนอร์
เอ็ด แอสเนอร์ | |
---|---|
แอสเนอร์ใน พ.ศ. 2520 | |
เกิด | เอ็ดดี แอสเนอร์ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472 แคนซัสซิตี (รัฐมิสซูรี), สหรัฐ |
เสียชีวิต | 29 สิงหาคม พ.ศ. 2564 (91 ปี) ลอสแอนเจลิส, รัฐแคลิฟอร์เนีย, สหรัฐ |
การศึกษา | มหาวิทยาลัยชิคาโก |
อาชีพ | นักแสดง |
ปีปฏิบัติงาน | พ.ศ. 2490–2564 |
พรรคการเมือง | พรรคเดโมแครต |
คู่สมรส |
|
บุตร | 4 คน |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | สหรัฐ |
แผนก/ | กองทัพสหรัฐ |
ประจำการ | พ.ศ. 2494–2496 |
เอ็ด แอสเนอร์ (อังกฤษ: Ed Asner); 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472 – 29 สิงหาคม พ.ศ. 2564) เป็นนักแสดงชาวอเมริกันและเป็นอดีตประธานสมาคมนักแสดงอาชีพแห่งอเมริกา เขามีชื่อเสียงจากบทบาท ลู แกรน ในภาพยนตร์ซีรีส์เรื่อง เดอะแมรีไทเลอร์มัวร์โชว์ ที่ออกอากาศตั้งแต่ พ.ศ. 2513 – 2520 และต่อมาก็แยกออกมาเป็นซีรีส์เรื่อง ลูแกรน ซึ่งได้รับความนิยมเช่นกัน ซึ่งบทบาทดังกล่าวทำให้เขาได้รับรางวัลไพรม์ไทม์เอ็มมีอวอร์ดส์ถึง 3 รางวัล ในฐานะนักแสดงสมทบจากเรื่องเดอะแมรีไทเลอร์มัวร์โชว์ และนักแสดงหลักจากเรื่องลูแกรน และยังได้รับรางวัลดังกล่าวจากบทบาทของเขาในละครโทรทัศน์เรื่อง ริชแมน พูร์แมน ใน พ.ศ. 2519 และ รูท ใน พ.ศ. 2520 โดยได้รับรางวัลนักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม[1]
นอกจากนี้ เขายังรับบทเป็นจอห์น ไวเนอร์ จากภาพยนตร์เรื่อง เอลเดอราโด และยังรับบทเป็นซานตาคลอสในภาพยนตร์หลายเรื่อง อาทิ ปาฏิหาริย์เทวดาตัวบิ๊ก ใน พ.ศ. 2556[2] และมีชื่อเสียงอีกครั้งจากการให้เสียงพากย์เป็น คาร์ล เฟรดิกเซน จากภาพยนตร์แอนิเมชัน ปู่ซ่าบ้าพลัง ใน พ.ศ. 2552[3][4] นอกจากนี้ เขายังมีผลงานการแสดงอีกเป็นจำนวนมาก
ประวัติ
แอสเนอร์เกิดเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472[5] ที่แคนซัสซิตี รัฐมิสซูรี[6][7] และเติบโตที่แคนซัสซิตี รัฐแคนซัส เขาเป็นชาวยิวอัชเคนาซิ เป็นบุตรของลิซซี่และมอริส อัสเนอร์[8][9] เขานับถือศาสนาคริสต์นิกายออร์ทอด็อกซ์ และมีชื่อในภาษาฮิบรูว่า ยิตซัค[10][11]
เขาสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนวายันด็อตเต และคณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยชิคาโก จากนั้นเขาไปทำงานที่โรงถลุงเหล็ก[12] และเขาได้เริ่มต้นการเป็นนักแสดงจากละครของโทมัส เอเลียต ซึ่งเขาได้รับบทเป็นทอมัส แบ็กกิต จากนั้นเขาจึงลาออกจากมหาวิทยาลัยและได้ไปทำงานเป็นคนขับแท็กซี่ และทำงานหาเงินหลายงานจนกระทั่งเขาถูกเกณฑ์ทหารใน พ.ศ. 2494[13] และเขาได้ไปประจำการที่กองทัพสหรัฐ จนกระทั่ง พ.ศ. 2496 เขาได้ถูกปลดประจำการ[14][15]
วงการบันเทิง
หลังจากรับราชการทหาร เขาได้ก่อตั้งเพลย์ไรท์เธียเตอร์ บริษัทด้านวงการบันเทิงของเขาที่ชิคาโก หลังจากนั้นเขาและสมาชิกในบริษัทได้ไปที่นิวยอร์กและรวมกันในฐานะ คอมแพสเพลย์เออร์[16] เขาได้ร่วมแสดงและมีส่วนร่วมในละครเวทีเรื่อง คอมแพส เดอะเซเคิร์นซิตี[17] ก่อนที่เขาจะกลายมาเป็นนักแสดงละครโทรทัศน์ใน พ.ศ. 2500 โดยเริ่มแสดงละครโทรทัศน์เรื่อง สตูดิโอ วัน[1] และเขามีผลงานแสดงเรื่อยมาจนกระทั่งมีชื่อเสียงจากบทบาท ลู แกรน ในภาพยนตร์ซีรีส์เรื่อง เดอะแมรีไทเลอร์มัวร์โชว์[18]
ลาลับ
เขาเสียชีวิตอย่างสงบในบ้านของเขาที่ทาร์ซานา ลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย ในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2564 ด้วยวัย 91 ปี[19][20][21]
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 "Ed Asner Fast Facts". CNN. November 7, 2016. สืบค้นเมื่อ July 6, 2017.
- ↑ "Ed Asner's Santa Complex". TV Guide. October 30, 2003. สืบค้นเมื่อ June 28, 2019.
- ↑ เจ้าของเสียงพากย์คุณปู่คาร์ลแห่งหนัง Up “เอ็ด แอสเนอร์” เสียชีวิตแล้วด้วยวัย 91 ปี
- ↑ เอ็ด แอสเนอร์ ” ปู่ซ่าบ้าพลัง ” ในหนังแอนิเมชั่น “Up” เสียชีวิตในวัย 91 ปี
- ↑ Asner, Ed [@TheOnlyEdAsner] (August 31, 2019). "It's actually not. That is a strange mistake that floats out there. My Hebrew name is Yitzhak. My real name is Eddie Asner. Truth" (ทวีต). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 12, 2019. สืบค้นเมื่อ September 3, 2019 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ "Edward Asner". Television Academy Interviews. October 22, 2017. สืบค้นเมื่อ May 22, 2019.
- ↑ @TheOnlyEdAsner (November 15, 2018). "Hi. Tomorrow 11/15 is my 89th birthday" (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ "Edward Asner Biography (1929–)". filmreference.com.
- ↑ "Ed Asner". eNewsReference. สืบค้นเมื่อ March 7, 2018.
- ↑ Zager, Norma (August 5, 2005). "Outspoken Asner's Activism Is No Act". The Jewish Journal of Greater Los Angeles. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 25, 2008. สืบค้นเมื่อ December 13, 2006.
- ↑ Horwitz, Simi (September 27, 2012). "Ed Asner's Still Crusty After All These Years". The Forward.
- ↑ "Ed Asner (1929-2021) A Lion in Underpants". GregPalast.com. Greg Palast. August 29, 2021. สืบค้นเมื่อ August 30, 2021.
- ↑ "Late-Night Lox, Vodka, and Banana Cream Pie With Ed Asner". Vulture.com. October 1, 2012. สืบค้นเมื่อ November 24, 2017.
- ↑ "Edward Asner". Hollywood Walk of Fame. สืบค้นเมื่อ August 27, 2016.
- ↑ Gates, Anita (August 29, 2021). "Ed Asner, Emmy-Winning Star of 'Lou Grant' and 'Up,' Dies at 91". The New York Times. New York, New York. สืบค้นเมื่อ September 1, 2021.
- ↑ Blumberg, Naomi (November 11, 2019). "Ed Asner". Encyclopaedia Britannica. สืบค้นเมื่อ December 3, 2019.
- ↑ "Ed Asner". The Second City. สืบค้นเมื่อ June 2, 2020.
- ↑ "The Virginian Season 1 Episode 26: Echo of Another Day". TV Guide. สืบค้นเมื่อ December 3, 2019.
- ↑ Gates, Anita (2021-08-29). "Ed Asner, Emmy-Winning Star of 'Lou Grant' and 'Up,' Dies at 91". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-01. สืบค้นเมื่อ 2021-08-30.
- ↑ Dagan, Carmel; Natale, Richard (August 29, 2021). "Ed Asner, Emmy-Winning 'Lou Grant' Star, Dies at 91". Variety. สืบค้นเมื่อ August 29, 2021.
- ↑ Barnes, Mike. "Ed Asner Dead: Lou Grant on 'Mary Tyler Moore Show' Was 91". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ August 29, 2021.
แพ็กกี้ สกลนรี
แพ็กกี้ สกลนรี | |
---|---|
เกิด | ศศิวิมล ไชยประเทศ 7 มกราคม พ.ศ. 2542 อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร |
การศึกษา | โรงเรียนสว่างแดนดิน มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร |
อาชีพ | นักร้อง |
อาชีพทางดนตรี | |
แนวเพลง | ลูกทุ่ง • ป็อป • หมอลำ |
เครื่องดนตรี | ขับร้อง |
ช่วงปี | พ.ศ. 2564–ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | แกรมมี่โกลด์ |
ศศิวิมล ไชยประเทศ หรือชื่อในวงการคือ แพ็กกี้ สกลนรี (7 มกราคม พ.ศ. 2542 –) เป็นนักร้องลูกทุ่งหญิงชาวไทยสังกัดแกรมมี่โกลด์[1]
ประวัติและวงการบันเทิง
เธอเกิดเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2542 ที่อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร[2] จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนสว่างแดนดิน และกำลังศึกษาคณะครุศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร[2] เธอเริ่มสนใจการร้องเพลงตั้งแต่วัย 9 ปี และเริ่มร้องเพลงอย่างจริงจังในช่วงที่เธอศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อันเนื่องมาจากการที่เธอเข้าร่วมกับวงดนตรีโปงลางของโรงเรียน และเมื่อเธอศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย เธอก็ได้หารายได้พิเศษด้วยการร้องเพลงกับวงดนตรีที่จังหวัดสกลนคร และยังมีผลงานโคฟเวอร์เพลงลงในยูทูบ จนกระทั่งสลา คุณวุฒิเข้ามาเห็นความสามารถและแววของเธอ เธอจึงเข้าสู่วงการบันเทิงโดยการเป็นศิลปินสังกัดแกรมมี่โกลด์[2]
เธอมีผลงานชุดแรกร่วมกับเจมส์ จตุรงค์ เวียง นฤมล และมนต์แคน แก่นคูน ในชุด ลุยโลดรถแห่[3] เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 โดยเธอร่วมร้องเพลงกับมนต์แคน แก่นคูน ในเพลง ผู้บ่าวรถแห่แหย่ลูกสาวเจ้าภาพ[3] และเพลงเดี่ยวคือ ร้องไห้ใกล้หนองหาน[4] ต่อมาในเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 เธอมีผลงานซิงเกิลแรกที่เป็นของตัวเองในชื่อเพลง ญาอ้าย[5][6]
ผลงานเพลง
ซิงเกิล
- มีนาคม พ.ศ. 2564 - ร้องไห้ใกล้หนองหาน (จากชุด ลุยโลดรถแห่, ต้นฉบับคือ วงเดือน ชไมพร ในชื่อเพลงเดิมคือ ทิ้งน้องไว้หนองหาร)
- กันยายน พ.ศ. 2564 - ญาอ้าย[5]
ผลงานร่วมกับศิลปินอื่น
- มีนาคม พ.ศ. 2564 - ผู้บ่าวรถแห่แหย่ลูกสาวเจ้าภาพ (จากชุด ลุยโลดรถแห่, ร่วมกับมนต์แคน แก่นคูน)
- สิงหาคม พ.ศ. 2564 - สบตาหน้าฮ้าน[7] (จากชุด สงครามลำซิ่ง, ร่วมกับเจมส์ จตุรงค์ เบียร์ พร้อมพงษ์ ส้ม พฤกษา เอิร์น กนกอร วิเชียร ไชยเลิศ เอ อนุชา และดอกเหมย เพ็ญนภา, ต้นฉบับคือพี สะเดิด)
- กันยายน พ.ศ. 2564 - แด่เธอ...ด้วยดอกแค (จากชุด สงครามลำซิ่ง, ร่วมกับเอิร์น กนกอร, ต้นฉบับคือศิริพร อำไพพงษ์)
ผลงานการแสดง
มิวสิกวิดิโอ
- สิเอาผู้นี้ - ศิลปิน ลำเพลิน วงศกร
- เรวัตตะลาฮัก - ศิลปิน เบียร์ พร้อมพงษ์, เวียง นฤมล[8]
อ้างอิง
- ↑ เปิดวาร์ปสาวน้อย ศิลปินน้องใหม่แกรมมี่โกลด์ "แพ็กกี้ สกลนรี" สวยใสสะกดใจ!
- ↑ 2.0 2.1 2.2 เปิดวาร์ปสาวน้อย ศิลปินน้องใหม่แกรมมี่โกลด์ แพ็กกี้ สกลนรี เตรียมปล่อยเพลง 3 ก.ย. นี้
- ↑ 3.0 3.1 ‘แกรมมี่โกลด์’ส่งความม่วนเขย่าเทศกาล กับอัลบั้ม‘ลุยโลดรถแห่’
- ↑ "แกรมมี่ โกลด์" ส่งความม่วนเขย่าเทศกาล กับอัลบั้ม "ลุยโลดรถแห่"
- ↑ 5.0 5.1 ‘แพ็กกี้-สกลนรี’ โยกย้ายโชว์สเต็ปสดใสใน‘ญาอ้าย’
- ↑ ลูกทุ่งสาวดาวรุ่ง! แพ็กกี้ สกลนรี ปล่อย Lyric Video เพลง ญาอ้าย โยกย้ายโชว์สเต็ปสดใส!
- ↑ เบียร์ พร้อมพงษ์ นำทีมเปิดศึกดุเดือดสู้ยิบตาแบบไม่ไว้หน้า ใน "สงครามลำซิ่ง"
- ↑ จากวันบอกรัก มาถึงวันบอกลา “เบียร์ เวียง” ปล่อยภาคต่อใน “เรวัตตะลาฮัก”
เวียง นฤมล
เวียง นฤมล | |
---|---|
เกิด | นฤมล พลพุทธา 11 มกราคม พ.ศ. 2534 อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด |
การศึกษา | สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ |
อาชีพ | นักร้อง |
อาชีพทางดนตรี | |
แนวเพลง | ลูกทุ่ง • ป็อป • หมอลำ |
เครื่องดนตรี | ขับร้อง |
ช่วงปี | พ.ศ. 2560–ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | แกรมมี่โกลด์ |
นฤมล พลพุทธา หรือชื่อในวงการคือ เวียง นฤมล (11 มกราคม พ.ศ. 2534 –) เป็นนักร้องลุกทุ่งและหมอลำหญิงชาวไทยสังกัดแกรมมี่โกลด์[1] เธอเข้าสู่วงการจากการเป็นนักร้องในโครงการ น้องใหม่ไต่ดวง โครงการ 2
เธอเกิดที่จังหวัดร้อยเอ็ด จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ เธอซึมซับการเป็นศิลปินมาจากบิดาและครอบครัว และเธอได้รับการฝึกฝนเพิ่มเติมจากฉวีวรรณ ดำเนิน จนเมือ่เธอจบปริญญาตรี เธอได้พบกับอำไพ มณีวงษ์ นักแต่งเพลงและนักดนตรีหมอลำชื่อดัง อำไพได้พาเธอไปพบกับสลา คุณวุฒิและเธอได้เป็นศิลปินในโครงการ น้องใหม่ไต่ดวง โครงการ 2 และบันทึกเสียงผลงานเพลงในโครงการคือ ฮักบ่ได้แต่ลืมอ้ายบ่ลง และ น้องตั้งใจฮัก อ้ายตั้งใจถิ่ม และหลังจากนั้นเธอจึงได้เป็นศิลปินสังกัดแกรมมี่โกลด์นับแต่นั้นเป็นต้นมา
ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา
เะอเกิดเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2534 ที่ตำบลศรีแก้ว อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด[2] เป็นบุตรีของสุวรรณ พลพุทธา (เสียชีวิตแล้ว)[3] เธอสำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนชุมชนบ้านศรีแก้ว ระดับชั้นมัธยมศึกษาจากวิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด และระดับปริญญาตรีจากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ [2]
วงการบันเทิง
เธอซึมซับการเป็นนักร้องมาจากครอบครัวทั้งสิ้น เธอมีศักดิ์เป็นหลานลุงของร้อยเอ็ด เพชรสยาม[2] และหลานป้าของวรรณภา สารคามซึ่งเป็นนักร้องหมอลำของคณะนกยูงทอง[2] กอปรกับบิดานั้นเป็นหมอลำ ทำให้เธอติดตามบิดาและมารดาพร้อมครอบครัวไปในงานแสดงของบิดาทุกครั้ง จนกระทั่งเธอศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เธอได้เป็นหางเครื่องของวงดนตรีของบิดา และต่อมารุ่นพี่ได้ชักชวนเธอไปเป็นหางเครื่องและหมอลำตัวประกอบในคณะนกเอี้ยงโมง เมือ่เธอจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เธอได้ศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาที่วิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด และเธอได้พบกับฉวีวรรณ ดำเนิน ศิลปินแห่งชาติ ซึ่งมาสอนหมอลำที่วิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด[2] เธอได้รับการอบรมและฝึกฝนในการเป็นหมอลำจากฉวีวรรณ ทั้งลำทำนองขอนแก่น ลำทำนองมหาสารคาม ลำทำนองอุบล หรือแม้แต่ลำทำนองจากประเทศลาว อาทิ ลำสาละวัน ลำตั้งหวาย เป็นต้น[2]
เธอเริ่มเห็นว่า เธอมีพรสวรรค์และหลงไหลในด้านนี้[2] เธอได้เข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาที่สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ จนจบปริญญาตรี ต่อมาเธอได้พบกับอำไพ มณีวงษ์ นักแต่งเพลงและนักดนตรีหมอลำที่มีชื่อเสียง อำไพพบว่าเธอมีแววและความสามารถ จึงให้เธอบันทึกเสียงการร้องหมอลำเอาไว้ หลังจากนั้นได้นำไปให้สลา คุณวุฒิ จนกระทั่งผ่านไปเป็นปี สลาได้ติดต่อเธอให้ไปบันทึกเสียงจากเพลงในโครงการ น้องใหม่ไต่ดาว โครงการ 2[4] ในเพลง ฮักบ่ได้แต่ลืมอ้ายบ่ลง และ น้องตั้งใจฮัก อ้ายตั้งใจถิ่ม จากนั้นเธอกลายเป็นศิลปินสังกัดแกรมมี่โกลด์ นับแต่นั้นเป็นต้นมา มีผลงานอันเป็นที่รู้จักหลังจากนี้อาทิ วอนปู่ลำโขง, วัยอกหัก[5], ฮักแล้วคือบ่ฮักเลย[6] เป็นต้น
ใน พ.ศ. 2563 เธอได้ร่วมงานกับเบียร์ พร้อมพงษ์ ในเพลง เรวัตตะฮักนะลีลาวดี และ เรวัตตะลาฮัก[7] ใน พ.ศ. 2564 เธอเริ่มเป็นที่รู้จักบ้างจากซิงเกิลแนวหมอลำของเธอคือ งิ้วต่องต้อนฮำฮอนผู้บ่าวเก่า[8] ซึ่งประพันธ์โดยดอย อินทนนท์ โดยใช้ทำนอง งิ้วต่องต้อนอ้อนผู้บ่าว ของบานเย็น รากแก่น และผลงานล่าสุดของเธอคือ กะคนบ่ฮักกัน ขับร้องและประพันธ์โดยเธอเอง [9]
ผลงานเพลง
ซิงเกิล
- พ.ศ. 2560
- ฮักบ่ได้แต่ลืมอ้ายบ่ลง
- น้องตั้งใจฮัก อ้ายตั้งใจถิ่ม
- พ.ศ. 2561
- วอนปู่ลำโขง
- พ.ศ. 2563
- วัยอกหัก
- พ.ศ. 2564
- งิ้วต่องต้อนฮำฮอนผู้บ่าวเก่า
- กะคนบ่ฮักกัน
ผลงานร่วมกับศิลปินอื่น
- พ.ศ. 2563
- เรวัตตะฮักนะลีลาวดี (ร่วมกับเบียร์ พร้อมพงษ์)
- เรวัตตะลาฮัก (ร่วมกับเบียร์ พร้อมพงษ์)
อ้างอิง
- ↑ บ่ต้องห่วงเด้อแม่! เวียง นฤมล โพสต์ถึงสายตาของแม่ ที่ยังเป็นเงาติดตามตัว
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 เวียง นฤมล – The IsanGate ประตูสู่อีสานบ้านเฮา
- ↑ แฟนคลับแห่ร่วมอาลัย “เวียง นฤมล” คุณพ่อจากไปอย่างสงบ
- ↑ เปิดบันทึก รัก ลวง พราง! "เวียง นฤมล" น้องใหม่ไต่ดาว
- ↑ "เวียง นฤมล" ชวนลืมทุกเรื่องราวแล้วก้าวผ่าน "วัยอกหัก" ไปด้วยกัน
- ↑ ‘เวียง-นฤมล’สุดทน!!! หันหลังให้กับสิ่งเดิมๆ
- ↑ 'เบียร์-เวียง'คู่หวานคู่ใหม่ในตำนานรัก'เรวัตตะฮักนะลีลาวดี'
- ↑ ‘เวียง นฤมล’ขอสอบวิชาหมอลำใน ‘งิ้วต่องต้อนฮำฮอนผู้บ่าวเก่า’
- ↑ เจ้าแม่เพลงเศร้า! MV เพลงลูกทุ่งใหม่ กะคนบ่ฮักกัน เวียง นฤมล แต่งเองร้องเองเจ็บถึงใจจนติดเทรนด์ (มีคลิป)
เลโอนิด คุชมา
เลโอนิด คุชมา | |
---|---|
คุชมาใน พ.ศ. 2562 | |
ประธานาธิบดียูเครน คนที่ 2 | |
ดำรงตำแหน่ง 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 – 23 มกราคม พ.ศ. 2548 | |
ก่อนหน้า | เลโอนิด คราวชุค |
ถัดไป | วิกตอร์ ยุชเซนโค |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | เลโอนิด ดานยโรวิช คุชมา 9 สิงหาคม พ.ศ. 2481 แคว้นเซอร์วิฮิฟ, สาธารณัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน, สหภาพโซเวียต |
พรรคการเมือง | พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต |
คู่สมรส | ลุดมิลา คุชมา |
บุตร | โอเลนา พินซุค |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยแห่งชาติดนีโปรเตโตสวัก |
ลายมือชื่อ | |
เลโอนิด ดานยโรวิช คุชมา (ยูเครน: Леоні́д Дани́лович Ку́чма; 9 สิงหาคม พ.ศ. 2481 –) เป็นนักการเมืองชาวยูเครนซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดียูเครนตั้งแต่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 จนถึง 23 มกราคม พ.ศ. 2548 ในสมัยที่เขาดำรงนั้นเต็มไปด้วยปัญหาการทุจริต ฉ้อราษฎรบังหลวง รวมถึงการจำกัดเสรีภาพสื่อสารมวลชนในประเทศ[1]
เขาประสบความสำเร็จจากอาชีพการงานในอุตสาหกรรมเครื่องจักรของสหภาพโซเวียต ต่อมาเขาเริ่มเข้าสู่เส้นทางการเมืองใน พ.ศ. 2533 จากการที่เขาได้รับเลือกตั้งเข้าสู่รัฐสภายูเครน โดยเขาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรียูเครนตั้งแต่ พ.ศ. 2535 ถึง พ.ศ 2536 จนกระทั่งใน พ.ศ. 2537 เขาชนะการเลือกตั้งอีกคั้งและดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของประเทศ หลังจากนั้นเขาชนะการเลือกตั้งอีกครั้งใน พ.ศ. 2532 ซึ่งการทุจริตนั้นพุ่งสูงขึ้นตั้งแต่ที่เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในสมัยแรก จนกระทั่ง พ.ศ. 2543-2544 อำนาจของเขาเริ่มเสื่อมลงจากการเผชิญหน้ากับสื่อมวลชน[2] ทั้งนี้ในสมัยของเขาเศรษฐกิจซบเซาเป็นอย่างมาก แต่เขายังสามารถทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ใน พ.ศ. 2543 และในการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของเขา เขาเริ่มฟื้นฟูความสัมพันธ์กับประเทศรัสเซียจนดีขึ้นตามลำดับ[3]
ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา
เขาเกิดในหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่แคว้นเซอร์วิฮิฟ[4] เป็นบุตรของดันโยลและปารัสกา คุชมา บิดาของเขาได้รับบาดเจ็บในสงครามโลกครั้งที่สองและถึงแก่กรรมขณะที่เขาอายุได้ 4 ขวบ[5][6] ส่วนมารดาของเขาทำงานที่ฟาร์มโคลคอช เขาเริ่มเข้าเรียนที่โรงเรียนโคสโตรโบโบรฟ ในเมืองเซเมนิวกาไลอัน และศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติดนีโปรเตโตสวัก และสำเร็จการศึกษาใน พ.ศ. 2503[7] ในปีเดียวกันเขาได้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียต[8]
เขาสมรสกับลุดมิลา คุชมา ใน พ.ศ. 2510[9] มีลูกสาวคือโอเลนา พินซุค
เครื่องอิสริยาภรณ์
- สเปน: เครื่องราชอิสริยาภรณ์กิตติคุณฝ่ายพลเรือน ชั้นสายสร้อย[10]
- อิตาลี: เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสาธารณรัฐอิตาลี ชั้นประถมาภรณ์พร้อมสายสร้อย[11]
อ้างอิง
- ↑ "Profile: Leonid Kuchma". BBC. 29 October 1999.
- ↑ Adrian Karatnycky, "Ukraine's Orange Revolution," Foreign Affairs, Vol. 84, No. 2 (Mar. – Apr., 2005), pp. 35–52 in JSTOR
- ↑ Robert S. Kravchuk, "Kuchma as Economic Reformer," Problems of Post-Communism Vol. 52#5 September–October 2005, pp 48–58
- ↑ "Leonid Kuchma | president of Ukraine". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 2016-01-13.
- ↑ "single | The Jamestown Foundation". www.jamestown.org. สืบค้นเมื่อ 2016-01-13.
- ↑ "Engology,Engineer, Leonid Kuchma - President of the Ukraine". www.engology.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-09-23. สืบค้นเมื่อ 2016-01-13.
- ↑ "Profile: Leonid Kuchma". BBC. 2002-09-26. สืบค้นเมื่อ 2016-01-13.
- ↑ Erlanger, Steven (1994-07-12). "UKRAINIANS ELECT A NEW PRESIDENT". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2016-01-13.
- ↑ First ladies of Ukraine, ITAR-TASS (6 June 2014)
- ↑ Bollettino Ufficiale di Stato
- ↑ Sito web del Quirinale: dettaglio decorato.
การ์โลส เมเนม
การ์โลส เมเนม | |
---|---|
เมเนมใน พ.ศ. 2538 | |
ประธานาธิบดีอาร์เจนตินา | |
ดำรงตำแหน่ง 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2532 – 10 ธันวาคม พ.ศ. 2542 | |
รองประธานาธิบดี |
|
ก่อนหน้า | ราอุล อัลฟองซิน |
ถัดไป | เฟร์นันโด เด ลา ลูอา |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | การ์ดลส ซาอุล เมเนม 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2473 อานิลาโก, จังหวัดลาริโอฆา, ประเทศอาร์เจนตินา |
เสียชีวิต | 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 (90 ปี) บัวโนสไอเรส, ประเทศอาร์เจนตินา |
พรรคการเมือง | พรรคยุติธรรม (ประเทศอาร์เจนตินา) |
คู่สมรส |
|
บุตร | 4 |
ความสัมพันธ์ | เอดูราโด เมเนม (น้องชาย) |
ลายมือชื่อ | |
การ์โลส ซาอุล เมเนม อากิล (สเปน: Carlos Saúl Menem Akil, 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2473 – 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564) เป็นอดีตประธานาธิบดีแห่งประเทศอาร์เจนตินา ดำรตำแหน่งระหว่าง พ.ศ. 2532 จนถึง พ.ศ. 2542 เขาถูกมองว่าเป็นพวกลัทธิเปรอนและเขาดำเนินนโยบายแบบเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ[1] เขาเป็นประธานาธิบดีอาร์เจนตินาในคริสต์ทศวรรษที่ 1990 และเป็นประธานพรรคยุติธรรมตั้งแต่ พ.ศ. 2533 จนถึง พ.ศ. 2544
เขาเกิดที่เมืองอะลินาโก ในครอบครัวชาวซีเรีย ครอบครัวของเขานับถือศาสนาอิสลาม[2] ทำให้เขาได้รับการเลี้ยงดูตามแบบศาสนาอิสลาม[2] จนกระทั่งเมื่อเขาเข้าสู่เส้นทางการเมืองเขาจึงเปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เขาได้รับเลือกให้เป็นผู้ว่าการจังหวัดลาริโอฆาใน พ.ศ. 2516 จนกระทั่งถูกปลดและถูกจำคุกในช่วงรัฐประหารในประเทศอาร์เจนตินา พ.ศ. 2519 และได้รับเลือกเป็นผู้ว่าการจังหวัดอีกครั้งใน พ.ศ. 2526 โดยสามารถเอาชนะอังตอนึยู ฆาฟิเรโอได้สำเร็จ ต่อมาเขาชนะการเลือกตั้งทั่วไปใน พ.ศ. 2532 ส่งผลให้เขาได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ซึ่งเขาเริ่มดำรงตำแหน่งในช่วงที่ประเทศอาร์เจนตินาประสบภาวะเศรษฐกิจครั้งร้ายแรงจากการบริหารของราอุล อัลฟองซินประธานาธิบดีคนก่อนหน้า
เมเนมนั้นพยายามแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจโดยการสนับสนุนฉันทามติวอชิงตัน ทั้งนี้เขายังฟื้นฟูความสัมพันธ์กับสหราชอาณาจักรภายหลังจากที่ขัดแย้งกันในสงครามฟอล์กแลนด์ ใน พ.ศ. 2525 และพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับสหรัฐ ในสมัยของเขาประเทศมีปัญหาอาชญากรรมและการก่อการร้ายถึงสองครั้ง ต่อมาเขาชนะเลือกตั้งอีกครั้งใน พ.ศ. 2536 และ พ.ศ. 2538 ซึ่งช่วงนี้อาร์เจนตินาเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นอีกครั้ง ทำให้พรรคฝ่ายค้านจัดตั้งพันธมิตรทางการเมืองที่พยายามลงแข่งขันกับเขาในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ พ.ศ. 2540 และ พ.ศ. 2542[1]
หลังจากที่เขาลงจากตำแหน่งประธานาธิบดี เขาถูกสอบสวนในข้อหาอาชญากรรมและการทุจริตทางการเมือง รวมไปถึงคดีค้าอาวุธอย่างผิดกฎหมาย คดียักยอกเงินแผ่นดิน และคดีรับสินบน แต่เนื่องจากเขาดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา ทำให้เขารอดพ้นจากข้อกล่าวหาดังกล่าว[3][4]
เขาถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 สิริอายุได้ 90 ปี ถือเป็นอดีตประธานาธิบดีอาร์เจนตินาที่มีอายุยืนนานที่สุดที่ยังมีชีวิตอยู่[5][6]
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 "Carlos Menem, Argentine President Who Ushered in 'Pizza and Champagne' Era, Dies at 90". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ February 14, 2021.
- ↑ 2.0 2.1 "Carlos Menem" Encyclopædia Britannica
- ↑ "Argentina: Ex-president gets 7 years in prison for arms smuggling". CNN. 13 June 2013.
- ↑ อดีตผู้นำอาร์เจนฯ พ้นผิด
- ↑ Bruschtein, Luis (14 February 2021). "Murió Carlos Menem". Página 12 (ภาษาสันสกฤต). สืบค้นเมื่อ 14 February 2021.
- ↑ Romo, Rafael; Girón, Nacho; Correa, Hugo Manu (14 February 2021). "Carlos Menem, former President of Argentina, dies at 90". CNN. สืบค้นเมื่อ 14 February 2021.