สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์

เจ้าหญิงเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ (ดัตช์: Beatrix der Nederlanden; 31 มกราคม ค.ศ. 1938) พระนามเต็ม เบียทริกซ์ วิลเฮลมินา อาร์มการ์ด (Beatrix Wilhelmina Armgard, เสียงอ่านภาษาดัตช์: [ˈbeːjaˌtrɪks ˌʋɪlɦɛlˈmina ˈɑrmɣɑrt] ( ฟังเสียง)) เป็นอดีตสมเด็จพระราชินีนาถแห่งเนเธอร์แลนด์ ทรงครองสิริราชสมบัติตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1980 จนสละราชสมบัติในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 2013 ให้แก่ สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ และทรงเป็นสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวง ตั้งแต่ ค.ศ. 2013 ถึงปัจจุบัน

เบียทริกซ์
พระฉายาลักษณ์ในปี ค.ศ. 2015
สมเด็จพระราชินีนาถแห่งเนเธอร์แลนด์
ครองราชย์30 เมษายน 1980 – 30 เมษายน 2013
(33 ปี 0 วัน)
พิธีขึ้น30 เมษายน 1980
ก่อนหน้าสมเด็จพระราชินีนาถยูเลียนา
ถัดไปสมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์
นายกรัฐมนตรี
ประสูติ (1938-01-31) 31 มกราคม ค.ศ. 1938 (86 ปี)
พระราชวังซุสต์ไดก์ บาร์น ประเทศเนเธอร์แลนด์
พระราชสวามีเจ้าชายเคลาส์แห่งเนเธอร์แลนด์
พระราชบุตร
พระนามเต็ม
เบียทริกซ์ วิลเฮลมินา อาร์มการ์ด
ราชวงศ์
พระราชบิดาเจ้าชายแบร์นฮาร์ทแห่งลิพเพอ-บีสเทอร์เฟ็ลท์
พระราชมารดาสมเด็จพระราชินีนาถยูเลียนาแห่งเนเธอร์แลนด์
ศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์
ลายพระอภิไธย

เจ้าหญิงเบียทริกซ์เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระราชินีนาถยูเลียนาแห่งเนเธอร์แลนด์กับเจ้าชายแบร์นฮาร์ทแห่งลิพเพอ-บีสเทอร์เฟ็ลท์ พระราชชนนีของพระองค์ทรงครองราชบัลลังก์ ใน ค.ศ. 1948 เจ้าหญิงได้ทรงเป็นทายาทโดยสันนิษฐาน เมื่อพระราชมารดาสละราชบัลลังก์ในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1980 เจ้าหญิงเบียทริกซ์ได้สืบราชบัลลังก์เป็นสมเด็จพระราชินีนาถ ทรงเข้าศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาทั่วไปที่ประเทศแคนาดา ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง จากนั้นทรงสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาที่เนเธอร์แลนด์ในช่วงยุคหลังสงคราม ในปี ค.ศ. 1961 พระนางทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาด้านนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยไลเดิน ในปี ค.ศ. 1966 เจ้าหญิงเบียทริกซ์อภิเษกสมรสกับเคลาส์ ฟ็อน อัมสแบร์ค นักการทูตชาวเยอรมัน ซึ่งมีพระโอรสร่วมกัน 3 พระองค์

เจ้าชายเคลาส์สิ้นพระชนม์ใน ค.ศ. 2002 ในช่วงที่พระองค์สละราชบัลลังก์ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์ขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์แห่งเนเธอร์แลนด์[1]

รัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์เป็นสมัยที่มีการถือครองเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีสได้เปลี่ยนรูปแบบใหม่ด้วยการแยกตัวของอารูบาที่ได้กลายเป็นสถานะประเทศองค์ประกอบด้วยตัวเองภายในราชอาณาจักรในปี ค.ศ. 1986 และเช่นเดียวกับเกิดการแยกตัวของเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีสในปี ค.ศ. 2010 ซึ่งเป็นการสร้างรูปแบบการปกครองตนเองแห่งโบแนเรอ ซินต์เอิสตาซียึส และซาบา และประเทศองค์ประกอบอีกสองประเทศคือ กือราเซาและซินต์มาร์เติน

ในวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 2013 สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์ทรงประกาศว่า พระองค์จะทรงสละราชบัลลังก์ในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 2013 ในวันโกนิงงินเนอดัค (วันพระราชินีนาถ)[2] โดยทรงสละราชบัลลังก์แก่พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ เจ้าชายวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์ ทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงแห่งราชบัลลังก์ ทำให้พระองค์ทรงกลายเป็นพระมหากษัตริย์แห่งเนเธอร์แลนด์พระองค์แรกในรอบ 123 ปี

หลังจากทรงสละราชสมบัติแล้ว มีพระนามและพระอิสริยยศเป็น เฮอร์รอยัลไฮนีส เจ้าหญิงเบียทริกซ์แห่งเนเธอแลนด์ เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์-นัสเซา เจ้าหญิงแห่งลิพเพอ-บีสเทอร์เฟ็ลท์ (อังกฤษ: Her Royal Highness Princess Beatrix of the Netherlands, Princess of Orange-Nassau, Princess of Lippe-Biesterfeld)[3]

พระชนม์ชีพตอนต้น

แก้
 
เจ้าหญิงเบียทริกซ์ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1938 กับพระราชบิดาและพระราชมารดา

เจ้าหญิงเบียทริกซ์ทรงมีพระนามตั้งแต่แรกประสูติว่า เบียทริกซ์ วิลเฮลมินา อาร์มการ์ดแห่งเนเธอร์แลนด์ เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์-นัสเซา เจ้าหญิงแห่งลิพเพอ-บีสเทอร์เฟ็ลท์ ประสูติเมื่อวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 1938 ที่พระราชวังโซเอสดิจ์ค, บาร์น เนเธอร์แลนด์ เป็นพระราชธิดาพระองค์แรกในเจ้าหญิงยูเลียนาแห่งเนเธอร์แลนด์กับเชื้อสายขุนนางชั้นสูงชาวเยอรมัน เจ้าชายแบร์นฮาร์ทแห่งลิพเพอ-บีสเทอร์เฟ็ลท์[4] เจ้าหญิงเบียทริกซ์ทรงเข้ารับพิธีบัพติศมาในวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1938 ที่มหาวิหารใหญ่ในเดอะเฮก[5] เจ้าหญิงมีพระบิดามารดาอุปถัมภ์ 5 พระองค์ ได้แก่ พระเจ้าเลออปอลที่ 3 แห่งเบลเยียม เจ้าหญิงอลิซ เคาน์เตสแห่งแอธโลน เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งวัลเด็คและไพร์มอนต์ดยุกอดอล์ฟ เฟรเดอริกแห่งเม็คเคลนบวร์ก เคานท์เตสอัลลีน เดอ ค็อทเซเบอ[6] พระนามกลางของเจ้าหญิงเบียทริกซ์มาจากพระนามของสมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินาแห่งเนเธอร์แลนด์ ที่ทรงครองราชย์อยู่ในขณะนั้น และพระนามของพระอัยยิกาฝ่ายพระราชบิดา คือ อาร์มการ์ดแห่งเซียร์สตอร์ฟ

พระองค์มีพระโสทรกนิษฐภคินี 3 พระองค์ ได้แก่ เจ้าหญิงไอรีนแห่งเนเธอร์แลนด์ เจ้าหญิงมาร์ครีตแห่งเนเธอร์แลนด์ เจ้าหญิงคริสตีนาแห่งเนเธอร์แลนด์

สงครามโลกครั้งที่สองได้มาถึงเนเธอร์แลนด์ในวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1940 (ยุทธการที่ฝรั่งเศส) ในวันที่ 13 พฤษภาคม พระราชวงศ์เนเธอร์แลนด์ได้เสด็จลี้ภัยไปยังลอนดอน สหราชอาณาจักร หนึ่งเดือนถัดมา เจ้าหญิงเบียทริกซ์ได้เสด็จไปยังออตตาวา รัฐออนแทรีโอ ประเทศแคนาดา พร้อมกับเจ้าหญิงยูเลียนา พระราชมารดาและเจ้าหญิงไอรีน พระขนิษฐา ในขณะที่พระราชบิดาของพระนาง เจ้าชายแบร์นฮาร์ทและสมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินา พระอัยยิกายังคงประทับอยู่ที่ลอนดอน[4] พระราชวงศ์ประทับอยู่ที่บ้านสตอร์โนเวย์ (เดิมเป็นบ้านที่พำนักของผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรของแคนาดา)[7] ด้วยกันกับราชองครักษ์และนางพระกำนัล พระราชวงศ์ได้ประทับในช่วงฤดูร้อนที่เลคออฟเบย์ ออนแทรีโอ ซึ่งเป็นกระท่อมหินสี่หลังของรัสอร์ทที่จัดไว้ให้ประทับ ขณะประทับอยู่ที่เกาะบิกวิน รัฐธรรมนูญของเนเธอร์แลนด์ได้ถูกเก็บรักษาไว้ในตู้เหล็กนิรภัยที่ห้องโถงกลมของโรงเตี๊ยมบิกวิน เจ้าหญิงยูเลียนาและพระราชวงศ์ทรงถูกจดจำในฐานะที่ทรง "ลงมาสู่ผืนดิน" ด้วยมิตรไมตรี ความกตัญญูอย่างใหญ่หลวงและการให้ความเคารพอย่างสูงต่อแผ่นดินเกิดและประชาชนของพระองค์ เพื่อที่จะแสดงความเคารพนี้ พระนางทรงงดของฟุ่มเฟือยทั้งหมดที่รีสอร์ทได้บริการให้และมีการจ่ายเงินค่าใช้จ่ายจำนวนมากแก่รีสอร์ทที่ใหญ่ที่สุดและหรูหราที่สุดในแคนาดา เพื่อที่จะทำให้ทรงรู้สึกถึงความปลอดภัย การทำอาหารและเจ้าพนักงานที่ได้รับคำสั่งส่วนบุคคลในช่วงเวลาอาหาร เมื่อทรงเดินทางมาถึง นักดนตรีของโรงเตี๊ยมบิกวินได้ถูกเรียกมาที่ท่าเรือและทำการแสดงในสาธารณะตลอดจนกระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง โดยมีการบรรเลงเพลง วิลเฮลมัส ด้วย ในหลายปีต่อมารีสอร์ทถูกละเลย แต่กระท่อม "ยูเลียนา" ยังคงได้รับการรักษาอย่างดีและเป็นการเก็บรักษาเพื่อระลึกถึงเจ้าหญิงยูเลียนาและพระราชวงศ์ ด้วยการแสดงความขอบคุณที่ได้ให้การคุ้มครองพระนางและพระราชธิดา เจ้าหญิงยูเลียนาทรงดำเนินการจัดส่งดอกทิวลิปจำนวนมากแก่รัฐบาลแคนาดาในทุกๆฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งถือเป็นหัวใจของเทศกาลทิวลิปแคนาดา

พระขนิษฐาองค์ที่สองของเจ้าหญิงเบียทริกซ์ คือ เจ้าหญิงมาร์ครีต[4] ประสูติในออตตาวา ปี ค.ศ. 1943 ในระหว่างทรงลี้ภัยอยู่ในแคนาดา เจ้าหญิงเบียทริกซ์ทรงเข้าศึกษาในสถานรับเลี้ยงเด็กและ[8] โรงเรียนเทศบาลร็อคคลิฟปาร์ค โรงเรียนชั้นประถามศึกษาที่เจ้าหญิงทรงเป็นที่รู้จักในฐานะ "ทริซี่ออเรนจ์" (Trixie Orange)[9][10]

ในวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 กองทัพเยอรมันในเนเธอร์แลนด์ยอมจำนน พระราชวงศ์ได้เสด็จกลับเนเธอร์แลนด์ในวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1945 เจ้าหญิงเบียทริกซ์ทรงเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนประถมศึกษา De Werkplaats ในบิลโทเฟน พระขนิษฐาองค์ที่สาม เจ้าหญิงคริสตีนา ประสูติในปี ค.ศ. 1947[4] ในวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 1948 พระราชมารดาของพระนาง เจ้าหญิงยูเลียนา ทรงครองราชบัลลังก์สืบต่อจากสมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินา ในฐานะ สมเด็จพระราชินีนาถแห่งเนเธอร์แลนด์ และเจ้าหญิงเบียทริกซ์ทรงกลายเป็นทายาทโดยสันนิษฐานแห่งราชบัลลังก์เนเธอร์แลนด์ขณะมีพระชนมายุ 10 พรรษา

การศึกษา

แก้
 
เจ้าหญิงเบียทริกซ์และสมเด็จพระราชินีนาถยูเลียนาในปี ค.ศ. 1960

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1950 เจ้าหญิงเบียทริกซ์ทรงเข้า Incrementum ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Baarnsch Lyceum ซึ่งในปี ค.ศ. 1956 พระองค์ทรงผ่านการสอบในสาขาวิชาศิลปะและคลาสสิก[11]

ในปี ค.ศ. 1954 เจ้าหญิงเบียทริกซ์ทรงหน้าที่เป็นเพื่อนเจ้าสาวในงานแต่งงานของบารอนเนสฟาน รันวีเย็ค กับนายที โบอี[12]

ในวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 1956 เจ้าหญิงเบียทริกซ์มีพระชนมายุ 18 พรรษา นับตั้งแต่วันนั้นภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งเนเธอร์แลนด์ พระองค์ทรงมีสิทธิ์ตามพระราชอำนาจ ในเวลานั้น พระราชมารดาของพระองค์ทรงแต่งตั้งให้พระองค์เป็นสมาชิกคณะกรรมการกฤษฎีกาแห่งเนเธอร์แลนด์

ในปีเดียวกันทรงเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยไลเดิน ในปีแรกขณะในมหาวิทยาลัย พระองค์ทรงศึกษาสังคมวิทยา นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์การเมืองและกฎหมายรัฐธรรมนูญ[11] ในหลักสูตรการศึกษาของพระองค์ พระองค์ทรงเข้าร่วมการฟังบรรยายเกี่ยวกับวัฒนธรรมของซูรินามและเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส กฎบัตรแห่งราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศ ประวัติศาสตร์และกฎหมายสหภาพยุโรป

พระองค์เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรปและองค์การระหว่างประเทศในเจนีวา สทราซบูร์ ปารีสและบรัสเซลส์ พระองค์ยังทรงเป็นสมาชิกของ VVSL (สหภาพนักศึกษาสตรีไลเดิน) ที่ตอนนี้ถูกเรียกว่า L.S.V. Minerva หลังจากรวมเข้ากับองค์กร Leidsch Studenten Corps (ซึ่งแต่ก่อนเป็นองค์กรสำหรับผู้ชายเท่านั้น) ในฤดูร้อน ค.ศ. 1959 พระองค์ทรงผ่านการสอบเบื้องต้นด้านกฎหมายและทรงได้รับปริญญาบัตรด้านนิติศาสตร์ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1961[11]

การมีส่วนร่วมทางการเมือง

แก้
เหตุจลาจลในพิธีขึ้นครองราชย์ของพระองค์ในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1980
"Geen woning; geen Kroning" (ไม่มีบ้าน ไม่ต้องครองราชย์) เป็นข้อความที่ประท้วงต่อสภาพความเป็นอยู่ของคนจนและต่อต้านสถาบันกษัตริย์
กลุ่มผู้ประท้วงขว้างหินใส่ตำรวจที่เข้ามาสลายการชุมนุม

การปรากฏพระองค์ในทางการเมืองเป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งอย่างรุนแรง ในปี ค.ศ. 1965 เจ้าหญิงเบียทริกซ์ทรงหมั้นกับเคลาส์ ฟอน อัมส์เบิร์ก นักการทูตชาวเยอรมัน สังกัดกระทรวงต่างประเทศเยอรมนี ก่อให้เกิดการชุมนุมประท้วงครั้งใหญ่ในพิธีอภิเษกสมรสที่กรุงอัมสเตอร์ดัม เมื่อวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1966 เจ้าชายเคลาส์ทรงเคยรับราชการในยุวชนฮิตเลอร์และเวร์มัคท์ ดังนั้นจึงเป็นความข้องเกี่ยวระหว่างประชาชนชาวดัตช์กับระบอบนาซีเยอรมัน กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงได้มีข้อความการประท้วงซึ่งเป็นที่จดจำได้แก่ "Claus 'raus!" ("เคลาส์ออกไป!") และ "Mijn fiets terug" ("เอาจักรยานของเราคืนมา"-อ้างถึงการยึดครองเนเธอร์แลนด์ของทหารเยอรมันที่ทำการยึดจักรยานของชาวดัตช์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง) ระเบิดควันถูกโยนเข้าใส่รถม้าพระที่นั่งสีทองโดยกลุ่มโปรโว (Provo) ทำให้เกิดการปะทะกับตำรวจอย่างรุนแรงบนท้องถนน แต่เมื่อเวลาผ่านไป เจ้าชายเคลาส์ทรงกลายเป็นหนึ่งในพระราชวงศ์ที่ได้รับความนิยมที่สุดของพระราชวงศ์ดัตช์ และการสิ้นพระชนม์ของเจ้าชายเคลาส์ในปี ค.ศ. 2002 ได้มีการไว้อาลัยแด่พระองค์ทั่วประเทศ

ในวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1975 เจ้าหญิงเบียทริกซ์และเจ้าชายเคลาส์ทรงเป็นผู้แทนพระองค์สมเด็จพระราชินีนาถ ในพระราชพิธีประกาศเอกราชของซูรินามที่เมืองหลวงแห่งใหม่ ปารามารีโบ

 
เฮนค์ อาร์รอน นายกรัฐมนตรีซูรินาม เจ้าหญิงเบียทริกซ์และผู้สำเร็จราชการซูรินาม โยฮัน แฟร์ริเยอ ในช่วงพิธีประกาศเอกราชของซูรินาม ในค.ศ. 1975

เหตุการณ์การจลาจลที่มีความรุนแรงได้เกิดขึ้นอีกในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1980 ในระหว่างพิธีขึ้นครองราชย์ (ประมุขของเนเธอร์แลนด์จะไม่มีการ "สวมมงกุฎ") ของสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์ กลุ่มผู้จับจองแนวคิดสังคมนิยม ใช้โอกาสนี้ประท้วงเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่ของคนจนในเนเธอร์แลนด์และต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์ ด้วยข้อความการประท้วงซึ่งเป็นที่จดจำคือ "Geen woning; geen Kroning" (ไม่มีบ้าน ไม่ต้องครองราชย์) เกิดการปะทะกันอย่างรุนแรงกับตำรวจและกองกำลังรักษาความปลอดภัย เหตุการณ์ครั้งนี้สะท้อนให้เห็นในวรรณกรรมร่วมสมัยในงานเขียนของเอ. เอฟ. ทีเอช. ฟาน เดอ ไฮจเดิน

ในฐานะสมเด็จพระราชินีนาถ พระองค์ทรงพบปะกับนายกรัฐมนตรีทุกสัปดาห์ ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติของรัฐสภาและพระราชกฤษฎีกา จนกระทั่งการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญในช่วงปลายรัชสมัย โดยมีการแต่งตั้งข้าราชการซึ่งมีส่วนช่วยในสภาวะการก่อตัวของรัฐบาลใหม่ ในการเปิดสมัยประชุมสภาในเดือนกันยายนของทุกปี พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสบนราชบัลลังก์ ซึ่งรัฐบาลจะต้องประกาศแผนประจำปีสมัยประชุม ในฐานะสมเด็จพระราชินีนาถ พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งเป็นประธานรัฐสภา และทรงมีบทบาททางพระราชพิธีโดยส่วนใหญ่ และเป็นศูนย์รวมเอกภาพของชาติ พระองค์ไม่ทรงใช้พระราชอำนาจตัดสินพระทัยทางด้านนิติบัญญัติและด้านบริหาร

พระองค์ทรงเป็นสมาชิกของกลุ่มบิลเดอเบิร์ก[13] เป็นกลุ่มลับที่มีการประชุมประจำปีเท่านั้นโดยผู้ร่วมก่อตั้งคือพระราชบิดาของพระองค์ ซึ่งมีการประชุมที่โรงแรมบิลเดอเบิร์กในออสเตอบีค

พระชนม์ชีพส่วนพระองค์

แก้

พิธีหมั้นกับเคลาส์ ฟ็อน อัมส์แบร์ค

แก้
 
พระราชพิธีอภิเษกสมรสของพระองค์และพระราชสวามี ค.ศ. 1966

ในวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1965 ได้มีการประกาศพิธีหมั้นระหว่างเจ้าหญิงเบียทริกซ์กับเคลาส์ ฟ็อน อัมส์แบร์ค ทั้งสองทรงพบกันในงานเลี้ยงก่อนการเสกสมรสของเจ้าหญิงทาทีอานาแห่งไซน์-วิทเกินชไตน์-แบร์เลอบวร์คกับโมริทซ์ ลันท์กราฟแห่งเฮ็สเซิน ในฤดูร้อน ปี ค.ศ. 1964 (ทั้งสองทรงพบกันมาก่อนแล้วครั้งหนึ่งในช่วงก่อนเทศกาลปีใหม่ปี ค.ศ. 1962 ที่บาดดรีบูร์ก ในงานเลี้ยงของเคานส์ ฟ็อน เอินเฮาเซน-เซียร์สตอร์ฟ ซึ่งเป็นพระญาติห่างๆของทั้งสอง) ด้วยการยินยอมของรัฐสภาในการอภิเษกสมรส เคลาส์ ฟอน อัมส์เบิร์กจึงกลายเป็นพลเมืองชาวดัตช์ และเมื่ออภิเษกสมรสจึงกลายเป็นเจ้าชายเคลาส์แห่งเนเธอร์แลนด์ จองคีร์ ฟ็น อัมส์แบร์ค

พระราชพิธีอภิเษกสมรส ค.ศ. 1966

แก้
 
เหตุการณ์หลังจากที่ผู้ประท้วงปาระเบิดควันใส่รถพระที่นั่งของพระราชวงศ์ในพระราชพิธี

เจ้าหญิงเบียทริกซ์อภิเษกสมรสกับเคลาส์ในวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1966 ทั้งรัฐพิธีและพิธีทางศาสนา[14] ทรงฉลองพระองค์แบบดั้งเดิมด้วยผ้าไหมซาตินแบบดัชเชส ที่ออกแบบโดยแคโรไลน์ บรีก-ฟาร์วิค แห่งไมซอนลีเน็ตต์ ในเดน บอร์ชและมงกุฎไข่มุกเวือร์เทมแบร์ก

เพื่อนเจ้าสาวที่อาวุโส ได้แก่ เจ้าหญิงคริสตินาแห่งเนเธอร์แลนด์ (พระโสทรกนิษฐภคินีพระองค์เล็ก) เจ้าหญิงคริสตินาแห่งสวีเดน, เลดี้เอลิซาเบธ แอนสัน, โจแอนนา โรเอล, ยูเจนี ลอดอน และน้องสาวของเจ้าบ่าวคือ คริสตินา ฟอน อัมส์เบิร์ก เพื่อนเจ้าสาวที่อ่อนอาวุโสกว่าได้แก่ แด็ฟเน สจ๊วต คลาร์ก และแคโรลิน อัลทิง ฟอน เกอเซา และเด็ก ๆ เพื่อนเจ้าบ่าวได้แก่ โจอาคิม เจนเคล และมาร์คัส ฟอน เอินเฮาเซน-เซียร์สตอร์ฟ[15]

ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จไปยังพระราชพิธีด้วยรถม้าพระที่นั่งสีทอง[16] พระราชพิธีได้ดำเนินการโดยนายกเทศมนตรีแห่งอัมสเตอร์ดัม กิลส์เบิร์ต ฟาน ฮอล ที่ศาลาว่าการอัมสเตอร์ดัม พิธีรับพรสมรสถูกจัดขึ้นที่เวสเตอร์เคิร์ก ดำเนินการโดยสาธุคุณ เฮนดริก ยาน คาเตอร์ และรับการเทศนาโดยสาธุคุณ โยฮันเนส เฮนดริก ซิลเลวิส สมิต[17]

ทั้งสองพระองค์ประทับที่ปราสาทดราเกนสไตน์ในลาเกวูร์สเชด้วยกันกับพระราชโอรสจนกระทั่งเจ้าหญิงเบียทริกซ์ทรงครองราชบัลลังก์ ในปี ค.ศ. 1981 ทั้งสองพระองค์ได้ทรงย้ายไปประทับที่พระราชวังฮุส เทน บอส์ช ในเฮก

พระราชโอรส

แก้
 
สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์ เจ้าชายพระราชสวามี และพระราชโอรส ค.ศ. 1983

พระองค์และพระราชสวามี มีพระราชโอรสร่วมกัน 3 พระองค์ ดังนี้

ลำดับ พระนาม ประสูติ สิ้นพระชนม์ คู่สมรสและพระโอรส-ธิดา
  สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์ 196727 เมษายน ค.ศ. 1967 อภิเษกสมรสวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2002 กับ มักซิมา ซอร์เรกัวตา มีพระราชธิดา 3 พระองค์ ได้แก่
เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์
เจ้าหญิงอะเลกซียาแห่งเนเธอร์แลนด์
เจ้าหญิงอารียานแห่งเนเธอร์แลนด์
  เจ้าชายฟริโซแห่งออเรนจ์-นัสเซา 196825 กันยายน ค.ศ. 1968 201312 สิงหาคม ค.ศ. 2013[18] อภิเษกสมรสวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 2004 กับ มาเบล วิสซี สมิท มีพระธิดา 2 พระองค์ ได้แก่
เคาน์เตสลัวนา
เคาน์เตสซาเรีย
  เจ้าชายคอนสตันตินแห่งเนเธอร์แลนด์ 196911 ตุลาคม ค.ศ. 1969 อภิเษกสมรสวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 2001 กับ เลาเรนเทียน บริงค์ฮอร์สท์ มีพระโอรส-ธิดา 3 พระองค์ ได้แก่
เคาน์เตสอิโลอีสแห่งออเรนจ์-นัสเซา
เคานต์เคลาส์-คาร์ซีมีร์แห่งออเรนจ์-นัสเซา
เคาน์เตสเลโอนอร์แห่งออเรนจ์-นัสเซา

รัชกาล

แก้
 
พระองค์และพระราชสวามี (ซ้าย) ในพิธีขึ้นครองราชย์ ปี ค.ศ. 1980

ในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1980 สมเด็จพระราชินีนาถยูเลียนา พระราชมารดาของพระองค์ ทรงสละราชบัลลังก์ พระองค์ได้สืบราชบัลลังก์เป็น สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์

ในการประชุมที่ยาวนาน สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์ทรงลงพระปรมาภิไธยในกฎหมายทุกฉบับก่อนที่จะถูกบังคับใช้ ในฐานะสมเด็จพระราชินีนาถ พระราชกรณียกิจหลักของพระองค์คือการเป็นตัวแทนของราชอาณาจักรในต่างประเทศและเป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นเอกภาพในประเทศ พระองค์เสด็จออกรับเอกอัครราชทูตต่างประเทศและพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญตราต่าง ๆ ทรงตอบรับคำเชิญในการเสด็จเปิดนิทรรศการ การเข้าร่วมงานเฉลิมฉลอง การเปิดสะพาน เป็นต้น พระราชดำรัสของพระองค์ถูกยกมาเผยแพร่ต่อสื่อน้อยมากนับตั้งแต่การบริการข้อมูลสาธารณะภาครัฐได้ตั้งเงื่อนไขเกี่ยวกับสัมภาษณ์ว่า พระราชดำรัสของพระองค์จะไม่ถูกอ้างขึ้นมา นโยบายนี้ถูกใช้ไม่นานหลังจากพิธีขึ้นครองราชย์ โดยมีรายงานว่าเพื่อปกป้องพระองค์จากภาวะยุ่งยากทางการเมืองที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด แต่นโยบายนี้ก็ไม่ได้นำไปใช้กับ เจ้าชายวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์ พระราชโอรสของพระองค์

ตลอดรัชสมัย สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์ทรงมีบทบาทสำคัญในกระบวนการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีดัตช์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรงแต่งตั้ง informateur ซึ่งเป็นบุคคลที่เป็นผู้นำการเจรจาต่อรองที่ในที่สุดแล้วนำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาล อย่างไรก็ตามได้มีการเปลี่ยนแปลงในปี ค.ศ. 2012 และพรรคที่มีคะแนนเสียงมากที่สุดในสภาจะทำการแต่งตั้ง "scout" ซึ่งจะเป็นผู้แต่งตั้ง "informateur" อีกทีหนึ่ง

 
สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์และเจ้าชายวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์บนรถม้าพระที่นั่งสีทองในปี ค.ศ. 2007

ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1986 อารูบาได้แยกตัวออกจากเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีสและได้กลายเป็นสถานะประเทศองค์ประกอบด้วยตัวเองภายในราชอาณาจักร

ในวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 2002 เจ้าชายเคลาส์ พระราชสวามีได้สิ้นพระชนม์ลง หลังจากทรงพระประชวรเป็นเวลานาน หนึ่งปีครึ่งต่อมา พระราชมารดาของพระองค์ได้เสด็จสวรรคตจากภาวะสมองเสื่อม ในขณะที่พระราชบิดาของพระองค์ได้สิ้นพระชนม์ลงด้วยโรคมะเร็งในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2004

ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005 พระองค์ทรงได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยไลเดิน ซึ่งเป็นเกียรติแก่สมเด็จพระราชินีนาถโดยปกติแล้วทรงปฏิเสธที่จะรับ การมีพระราชดำรัสของพระองค์ได้สะท้อนภาพของสถาบันกษัตริย์และทรงครองราชสมบัติมาเป็นเวลา 25 ปี[19] พระราชดำรัสของสมเด็จพระราชินีนาถได้มีการออกอากาศทั่วประเทศ[20]

ในวันที่ 29 และ 30 เมษายน ค.ศ. 2005 สมเด็จพระราชินีนาถทรงประกอบพระราชพิธีรัชดาภิเษก พระองค์ทรงพระราชทานสัมภาษณ์ในรายการโทรทัศน์ดัตช์ มีการจัดการแสดงคอนเสิร์ตที่จตุรัสดัมในกรุงอัมสเตอร์ดัม และมีการจัดงานเฉลิมฉลองที่เดอะเฮก ซึ่งเป็นที่ทำการรัฐบาล

ในวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 2010 เกิดการแยกตัวของเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส ซึ่งเป็นการสร้างรูปแบบการปกครองตนเองแห่งโบแนเรอ, ซินต์เอิสตาซียึสและซาบา และประเทศองค์ประกอบอีกสองประเทศคือ กูราเซาและซินต์มาร์เติน มีพิธียุบเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีสจัดขึ้นที่กรุงวิลเลมสตัด ซึ่งเจ้าชายและเจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ในขณะนั้นคือ เจ้าชายวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์และเจ้าหญิงแม็กซิมา พระชายา เสด็จแทนพระองค์สมเด็จพระราชินีนาถในการพิธี

เหตุการณ์การโจมตีพระราชวงศ์

แก้

ในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 2009 สมเด็จพระราชินีนาถและพระราชวงศ์ดัตช์ถูกโจมตีด้วยการใช้รถพุ่งเข้าชนโดยชายชาวดัตช์ ชื่อ คาร์สท์ เท็ทส์ เท็ทท์ได้ขับรถเข้าพุ่งเข้าไปในขบวนเสด็จที่อาเพลโดร์น โดยเฉียดรถบัสพระที่นั่งของสมเด็จพระราชินีนาถ มีประชาชนห้าคนเสียชีวิตทันทีและผู้บาดเจ็บสองคนและรวมทั้งผู้ก่อเหตุได้เสียชีวิตในเวลาต่อมา ผู้บาดเจ็บถูกชนได้รับบาดเจ็บสาหัส หนึ่งสัปดาห์หลังจากการโจมตีผู้บาดเจ็บอีกคนหนึ่งได้เสียชีวิตลง พระราชวงศ์ไม่ได้รับอันตรายใดๆ แต่สมเด็จพระราชินีนาถและพระราชวงศ์ทรงทอดพระเนตรเห็นการพุ่งเข้าชนในระยะใกล้ ภายในไม่กี่ชั่วโมง สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์ทรงออกอากาศในรายการโทรทัศน์ซึ่งเป็นกรณีที่ไม่เกิดขึ้นบ่อย ทรงแสดงความตกพระทัยและเสียพระราชหฤทัยทัยของพระองค์ จากการรายงานของตำรวจได้รายงานว่าเป้าหมายของผู้ก่อเหตุคือพระราชวงศ์โดยมีการวางแผนมาก่อน[21]

สละราชสมบัติ

แก้
 
สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์ พร้อมด้วยเจ้าชายวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์ เจ้าชายแห่งออเรนจ์ เจ้าหญิงแม็กซิมา เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ ในวันสละราชสมบัติ
 
ประชาชนชาวดัตช์ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในโอกาสสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์สละราชสมบัติ และพระบรมราชาภิเษกพระราชโอรสขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งเนเธอร์แลนด์
สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์ทรงประกาศการสละราชสมบัติอย่างเป็นทางการ ซึ่งได้ถ่ายทอดสดไปทั่วประเทศ

ในประกาศที่แพร่ภาพทางสื่อประจำชาติเมื่อวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 2013) สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์ทรงประกาศว่าพระองค์จะสละราชสมบัติในวันที่ 30 เมษายน (วันพระราชินีนาถ) ซึ่งเป็นวันที่พระองค์ทรงครองราชสมบัติครบ 33 ปีพอดี พระองค์ตรัสว่า ถึงเวลาแล้วที่จะ "ฝากความรับผิดชอบของประเทศไว้ในมือของคนรุ่นใหม่"[22] รัชทายาทของพระองค์ คือ เจ้าชายวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่[23] พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์เนเธอร์แลนด์พระองค์ที่สามติดต่อกันที่สละราชสมบัติ ตามสมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินาแห่งเนเธอร์แลนด์ พระอัยยิกา และสมเด็จพระราชินีนาถยูเลียนาแห่งเนเธอร์แลนด์ พระราชมารดา[23] หลังการแพร่สัญญาณดังกล่าว นายกรัฐมนตรี มาร์ค รูทท์ ได้มีถ้อยแถลงตามมา โดยกล่าวถึงสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์ว่า "นับแต่พิธีราชาภิเษกของพระองค์ใน ค.ศ. 2013 พระองค์ทรงมอบหัวใจและวิญญาณให้แก่สังคมดัตช์"[22]

การสละราชสมบัติของสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์และพิธีราชาภิเษกเจ้าชายแห่งออเรนจ์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่จะมีขึ้นในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 2013 สมเด็จพระราชินีนาถจะทรงลงพระปรมาภิไธยในตราสารสละราชสมบัติที่พระราชวัง กรุงอัมสเตอร์ดัม ส่วนพิธีขึ้นครองราชย์ของพระมหากษัตริย์องค์ใหม่จะมีขึ้นที่โบสถ์ใหม่ (Nieuwe Kerk) ในกรุงอัมสเตอร์ดัม[24]

พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์

แก้

ในปี ค.ศ. 2009 นิตยสารฟอร์บส์ ได้ระบุว่าพระองค์ทรงมีพระราชทรัพย์สมบัติรวม 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ[25]

พระราชอิสริยยศ

แก้
ธรรมเนียมพระยศของ
เจ้าหญิงเบียทริกซ์
 
ตราประจำพระอิสริยยศ
 
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลHer Royal Highness
(ใต้ฝ่าละอองพระบาท)
การขานรับYour Royal Highness
(พระพุทธเจ้าค่ะ/เพคะ)
  • ค.ศ. 1938 — ค.ศ. 1980: เฮอร์รอยัลไฮเนส เจ้าหญิงเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์-นัสเซา เจ้าหญิงแห่งลิพเพอ-บีสเทอร์เฟ็ลท์ (Her Royal Highness Princess Beatrix of the Netherlands, Princess of Orange-Nassau, Princess of Lippe-Biesterfeld)
  • ค.ศ. 1980 — 30 เมษายน ค.ศ. 2013: เฮอร์มาเจสตี สมเด็จพระราชินีนาถแห่งเนเธอร์แลนด์ เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์-นัสเซา เจ้าหญิงแห่งลิพเพอ-บีสเทอร์เฟ็ลท์ (Her Majesty Queen of the Netherlands, Princess of Orange-Nassau, Princess of Lippe-Biesterfeld)
  • 30 เมษายน ค.ศ. 2013 - ปัจจุบัน: เฮอร์รอยัลไฮเนส เจ้าหญิงเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์, เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์-นัสเซา,เจ้าหญิงแห่งลิปเปอ-บีสเทอร์เฟ็ลท์ (Her Royal Highness Princess Beatrix of the Netherlands, Princess of Orange-Nassau, Princess of Lippe-Biesterfeld)[3]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์เนเธอร์แลนด์

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้
  •   เม็กซิโก :
    • ค.ศ. 2009 -   เครื่องอิสริยาภรณ์อินทรีแอซเท็ค ชั้นที่ 1[43]
  •   กาตาร์ :
    • ค.ศ. 2011 -   เครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งอิสรภาพ ชั้นสายสร้อย
  •   บรูไน :
    • ค.ศ. 2013 -   เครื่องราชอิสริยาภรณ์ราชบัลลังก์บรูไน[44]
  •   โอมาน :
    • ค.ศ. 2012 -   เครื่องราชอิสริยาภรณ์อัล-ซาอีด [45]
  •   เอสโตเนีย :
    • ค.ศ. ไม่ปรากฏ -   เครื่องอิสริยาภรณ์เทอร์รามาเรียนา ชั้นที่ 1
  •   กานา :
    • ค.ศ. ไม่ปรากฏ -   เครื่องอิสริยาภรณ์ดาราแห่งกานา[48][49]
  •   กรีซ :
    • ค.ศ. ไม่ปรากฏ -   เครื่องอิสริยาภรณ์มหาไถ่
  •   กรีซ :
    • ค.ศ. ไม่ปรากฏ -   เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญโอลกาและโซเฟีย
  •   จอร์แดน :
    • ค.ศ. ไม่ปรากฏ -   เครื่องราชอิสริยาภรณ์อัล-ฮุสเซนบินอาลี ชั้นสายสร้อย
  •   ลัตเวีย :
    • ค.ศ. ไม่ปรากฏ -   เครื่องอิสริยาภรณ์เดอะทรีสตาร์
  •   ไลบีเรีย :
    • ค.ศ. ไม่ปรากฏ -   เครื่องอิสริยาภรณ์ผู้บุกเบิกแห่งไลบีเรีย
  •   เนปาล :
    • ค.ศ. ไม่ปรากฏ -   เครื่องราชอิสริยาภรณ์โอชัชวี ราชันยา
  •   โรมาเนีย :
    • ค.ศ. ไม่ปรากฏ -   เครื่องอิสริยาภรณ์ดาราแห่งโรมาเนีย ชั้นสายสร้อย[51]
  •   เซเนกัล :
    • ค.ศ. ไม่ปรากฏ -   เครื่องอิสริยาภรณ์สิงโต ชั้นที่ 1
  •   ยูโกสลาเวีย :
    • ค.ศ. ไม่ปรากฏ -   เครื่องอิสริยาภรณ์ยูโกสลาฟสตาร์
  •   ลิทัวเนีย
    • ค.ศ. ไม่ปรากฏ -   เครื่องอิสริยาภรณ์วิเตาทัสมหาราช ชั้นพิเศษ
  •   ฟิลิปปินส์ :
    • ค.ศ. ไม่ปรากฏ -   เครื่องอิสริยาภรณ์กาเบรียลาสิลาง
  •   เวเนซุเอลา :
    • ค.ศ. ไม่ปรากฏ -   เครื่องอิสริยาภรณ์ผู้ปลดปล่อย ชั้นสายสร้อย

รางวัล

แก้

พระราชตระกูล

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Myrtille van Bommel, "Beatrix oldest Dutch reigning monarch เก็บถาวร 2013-11-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", Radio Netherlands Worldwide, 2011. Retrieved on 2012-05-15.
  2. "Speech by H.M. the Queen". Het Koninklijk Huis [The Royal House]. 28 January 2013. สืบค้นเมื่อ 29 January 2013.[ลิงก์เสีย]
  3. 3.0 3.1 "Prins van Oranje wordt Koning Willem-Alexander" (in Dutch). Website of the Royal House. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2013
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Youth เก็บถาวร 2009-05-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Dutch Royal House. Retrieved on 2008-07-11.
  5. Geschiedenis เก็บถาวร 2015-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Grote Kerk Den Haag. Retrieved on 2012-05-15. (ดัตช์)
  6. De vijf peetouders van prinses Beatrix. The Memory of the Netherlands. Retrieved on 2008-07-11.
  7. "CBC News". Cbc.ca. 18 January 2008. สืบค้นเมื่อ 2010-03-05.
  8. Education เก็บถาวร 2009-05-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Dutch Royal House. Retrieved on 2008-07-11.
  9. Davison, Janet. "Abdicating Dutch queen was a wartime Ottawa schoolgirl". CBC.ca. Canadian Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 29 April 2013.
  10. "National Capital Commission". Canadascapital.gc.ca. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-13. สืบค้นเมื่อ 2010-03-05.
  11. 11.0 11.1 11.2 "Het Koninklijk Huis". Koninklijkhuis.nl. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2010. สืบค้นเมื่อ 2010-03-05.
  12. "Princess Beatrix Bridesmaid At Wedding". British Pathe.
  13. "Bilderberg Meeting of 1997 Assembles". PR Newswire. 13 June 1997. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-30. สืบค้นเมื่อ 2014-12-20.
  14. "Video: Wedding of Princess Beatrix and Claus von Amsberg". YouTube.
  15. "Royal wedding Beatrix and Claus".
  16. "Wedding of Princess Beatrix and Claus von Amsberg". Amsterdam Palace. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-17. สืบค้นเมื่อ 2014-12-20.
  17. "Queen Beatrix: marriage and family". Dutch Royal House. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-26. สืบค้นเมื่อ 2014-12-20.
  18. Prins Friso overleden (nl) Telegraaf.nl
  19. The complete text of the speech can be found at http://www.koninklijkhuis.nl/NL/nieuws/nieuws.html?Toespraken/2223.html เก็บถาวร 2005-04-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  20. The complete broadcast is available at http://cgi.omroep.nl/cgi-bin/streams?/nos/nieuws/2005/februari/video/080205/beatrix_toespraak.wmv เก็บถาวร 2017-08-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  21. NO. "Koninklijke familie was doelwit (Royal family was the target) (Dutch)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 May 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-05-01.
  22. 22.0 22.1 "Dutch Queen to abdicate in April for son". Al Jazeera. January 28, 2013. สืบค้นเมื่อ January 28, 2013.
  23. 23.0 23.1 "Queen Beatrix of the etherlands to abdicate for son". BBC. January 28, 2013. สืบค้นเมื่อ January 28, 2013.
  24. "Time and place of abdication and investiture, 28 January 2013". Royal Dutch House. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-30. สืบค้นเมื่อ 2013-01-29.
  25. "In Pictures: The World's Richest Royals". Forbes.com. 30 August 2007. สืบค้นเมื่อ 2010-03-05.
  26. Utrechts Nieuwsblad (19-06-1959), pag. 1 van 20 - website Het Utrechts Archief
  27. Rang van Grootkruis van Eer en Devotie เก็บถาวร 2015-07-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - website of Netherlands Association of the Orde of Malta
  28. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แด่สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์และเจ้าชายวิลเลม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์ เก็บถาวร 2014-12-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑, ตอน ๖ข ฉบับทะเบียนฐานันดร, ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๗, หน้า ๑
  29. Ordensdetaljer: ridder af Elefantordenen เก็บถาวร 2011-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - website borger.dk (Danish)
  30. Real Decreto 1818/1985 - BOE website (Spanish)
  31. Viva Máxima Blog, State visit of Beatrix in Spain in 1985, Group Photo เก็บถาวร 2013-09-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, & State visit in Netherlands 2001, Juan Carlos & Beatrix, Group photo เก็บถาวร 2013-07-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  32. Members of the Order of the Garter - The official website of The British Monarchy
  33. Quirinale website
  34. Quirinale website
  35. "Noblesse et Royautés" เก็บถาวร 2012-12-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (French), State visit of Sweden in the Netherlands, April 2009, Group photo เก็บถาวร 2013-01-04 ที่ archive.today
  36. Pesquisa dos membros das Ordens Honoríficas Portuguesas เก็บถาวร 2011-01-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - official website of the President of Portugal (Portuguese)
  37. "Reply to a parliamentary question about the Decoration of Honour" (pdf) (ภาษาเยอรมัน). p. 974. สืบค้นเมื่อ November 1, 2012.
  38. "Reply to a parliamentary question about the Decoration of Honour" (pdf) (ภาษาเยอรมัน). p. 111. สืบค้นเมื่อ November 1, 2012.
  39. State visit, Photo of Beatrix, Claus and Icelandese President
  40. Slovak republic website, State honours : 1st Class received in 2007 (click on "Holders of the Order of the 1st Class White Double Cross" to see the holders' table)
  41. Queen Beatrix welcomed with fanfare - Royal Blog News Summary
  42. Lithuanian Presidency เก็บถาวร 2014-04-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Lithuanian Orders searching form
  43. Poder Ejecutivo Secretaria de Releciones Exteriores เก็บถาวร 2013-05-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - website of the Mexican government (Spanish)
  44. Noblesse et Royautés เก็บถาวร 2013-01-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (French), State visit of the Netherlands in Brunei (21/01/2013), Photo 1 เก็บถาวร 2013-02-16 ที่ archive.today & 2[ลิงก์เสีย]
  45. HM, His Majesty receives Queen Beatrix เก็บถาวร 2013-04-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - website of the Oman Observer
  46. Abdullah Gül present the award to Queen Beatrix (Photo).
  47. H.H Sheikh Khalifa welcomes HM Queen Beatrix of Netherlands เก็บถาวร 2013-04-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - website of the UAE Ministry of Foreign Affairs
  48. Royal Blog.nl, Q. Beatrix speaks of horror of slavetrade
  49. Gotha.fr, La reine Beatrix des Pays-Bas reçoit le président du Ghana เก็บถาวร 2015-04-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  50. The royal forums, State visit of Luxembourg to Netherlands, 2006, Photo เก็บถาวร 2013-04-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  51. Recipients of the order (Excel sheet), Presidency of Romania website (Romanian) (โรมาเนีย)
  52. Der Karlspreisträger 1996 - Königin Beatrix der Niederlande เก็บถาวร 2011-07-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - website of the Internationalen Karlspreises zu Aachen

ดูเพิ่ม

แก้
ก่อนหน้า สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ ถัดไป
สมเด็จพระราชินีนาถยูเลียนา    
พระมหากษัตริย์เนเธอร์แลนด์
(30 เมษายน ค.ศ. 1980 - 30 เมษายน ค.ศ. 2013)
  สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลม-อเล็กซานเดอร์