ประเทศเวเนซุเอลา
สาธารณรัฐโบลีวาร์เวเนซุเอลา República Bolivariana de Venezuela (สเปน) | |
---|---|
พื้นที่ที่ประเทศเวเนซุเอลาควบคุมแสดงในสีเขียวเข้ม; บริเวณที่อ้างสิทธิ์แต่มิได้ควบคุมแสดงในสีเขียวอ่อน | |
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | การากัส 10°30′N 66°55′W / 10.500°N 66.917°W |
ภาษาราชการ | สเปน[b] |
ภาษาพื้นเมือง | |
ภาษาพูดอื่น ๆ | อังกฤษ เยอรมัน โปรตุเกส อิตาลี จีน อาหรับ |
กลุ่มชาติพันธุ์ (ค.ศ. 2011)[1] |
|
ศาสนา (ค.ศ. 2012)[2] |
|
เดมะนิม | ชาวเวเนซุเอลา |
การปกครอง | สหพันธ์สาธารณรัฐระบบประธานาธิบดีและระบบพรรคเด่น |
นิโกลัส มาดูโร (โดยพฤตินัย) (โต้แย้ง)[a] ฮวน กวยโด (โต้แย้ง)[b] | |
เดลซิ โรดริเกซ (ตำแหน่งในรัฐธรรมนูญถูกโต้แย้ง) | |
สภานิติบัญญัติ | รัฐสภา |
เอกราชจากสเปน | |
• ประกาศ | 5 กรกฎาคม ค.ศ. 1811 |
• เป็นที่ยอมรับ | 29 มีนาคม ค.ศ. 1845 |
• เข้าร่วมสหประชาชาติ | 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1945 |
20 ธันวาคม ค.ศ. 1999[4] | |
พื้นที่ | |
• รวม | 916,445 ตารางกิโลเมตร (353,841 ตารางไมล์) (อันดับที่ 32) |
3.2%[d] | |
ประชากร | |
• พ.ศ. 2560 ประมาณ | 31,568,179[5] (รัฐบาล) 28,067,000 (IMF)[6] (อันดับที่ 45) |
33.74 ต่อตารางกิโลเมตร (87.4 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 144) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | ค.ศ. 2022 (ประมาณ) |
• รวม | 191.329 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 81) |
• ต่อหัว | 7,108 ดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 159) |
จีดีพี (ราคาตลาด) | ค.ศ. 2022 (ประมาณ) |
• รวม | 82.145 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 94) |
• ต่อหัว | 3,052 ดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 145) |
จีนี (ค.ศ. 2013) | 44.8[8] ปานกลาง |
เอชดีไอ (ค.ศ. 2021) | 0.691[9] ปานกลาง · อันดับที่ 120 |
สกุลเงิน | โบลิบาร์ดิฮิตัล (VED) |
เขตเวลา | UTC−4 (VET) |
รูปแบบวันที่ | วว/ดด/ปปปป (CE) |
ขับรถด้าน | ขวามือ |
รหัสโทรศัพท์ | +58 |
โดเมนบนสุด | .ve |
|
เวเนซุเอลา (อังกฤษ: Venezuela, ออกเสียง: /ˌvɛnəˈzweɪlə/; สเปน: Venezuela, ออกเสียง: [beneˈswela] ( ฟังเสียง)) มีชื่อทางการคือ สาธารณรัฐโบลีวาร์เวเนซุเอลา[10] (อังกฤษ: Bolivarian Republic of Venezuela, สเปน: República Bolivariana de Venezuela) เป็นประเทศบนชายฝั่งทางเหนือของทวีปอเมริกาใต้ มีอาณาเขตจรดประเทศโคลอมเบียทางทิศตะวันตก จรดบราซิลทางทิศใต้ และจรดกายอานาทางทิศตะวันออก
เวเนซุเอลามีดินแดนราว 916,445 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรโดยประมาณ 29,105,632 คน เวเนซุเอลาถูกพิจารณาว่าเป็นรัฐที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงอย่างยิ่ง โดยถิ่นที่อยู่มีตั้งแต่เทือกเขาแอนดีสทางตะวันตกไปถึงป่าฝนแอ่งแอมะซอนทางใต้ ผ่านที่ราบยาโนสอันกว้างใหญ่และชายฝั่งแคริบเบียนในตอนกลางและสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโอรีโนโกทางตะวันออก
เวเนซุเอลาเป็นสหพันธรัฐที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ประกอบด้วย 23 รัฐ, ดิสตริโตกาปิตัล ซึ่งมีกรุงการากัส และ เดเปนเดนเซียสเฟเดราเลส ซึ่งประกอบด้วยหมู่เกาะนอกชายฝั่งเวเนซุเอลา เวเนซุเอลาอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนทั้งหมดของกายอานาที่อยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเอสเซกวีโบ ซึ่งผืนดิน 159,500 ตารางกิโลเมตรนี้ถูกตั้งฉายาว่า "กัวยานาเอเซกิบา" หรือ "เขตที่ถูกเรียกร้องคืน"
เวเนซุเอลาเป็นหนึ่งในประเทศที่กลายเป็นเมืองที่สุดในลาตินอเมริกา ชาวเวเนซุเอลาส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในนครทางเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรุงการากัส เมืองหลวงของประเทศ ซึ่งเป็นนครใหญ่สุดเช่นกัน นับแต่การค้นพบน้ำมันในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เวเนซุเอลากลายเป็นหนึ่งในประเทศผู้ส่งออกน้ำมันของโลก และมีน้ำมันสำรองใหญ่ที่สุด จากเดิมที่เวเนซุเอลาเป็นประเทศด้อยพัฒนาที่ส่งออกโภคภัณฑ์ทางการเกษตร เช่น กาแฟและโกโก้ แต่น้ำมันขึ้นมาครองการส่งออกและรายได้ภาครัฐอย่างรวดเร็ว ปริมาณน้ำมันที่มากเกินความต้องการในคริสต์ทศวรรษ 1980 นำไปสู่วิกฤตหนี้สินภายนอกและวิกฤตเศรษฐกิจอันยาวนาน ซึ่งเงินเฟ้อแตะ 100% ในปี 2539 และอัตราความยากจนพุ่งแตะ 66% ในปี 2538 โดยที่ในปี 2541 จีดีพีต่อหัวร่วงลงอยู่ระดับเดียวกับปี 2506 หรือลดลงหนึ่งในสามจากจุดสูงสุดในปี 2521 การฟื้นตัวของราคาน้ำมันหลังปี 2544 กระตุ้นเศรษฐกิจเวเนซุเอลาและอำนวยการบริโภคทางสังคม แม้ผลกระทบจากวิกฤตการเงินโลกปี 2551 จะทำให้เกิดเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหม่ อย่างไรก็ดี จนถึงปี 2553 เศรษฐกิจเวเนซุเอลากลับมาเติบโตอีกครั้ง เวเนซุเอลายังได้อ้างว่าตนตั้งอยู่ในตะวันออกกลางและสันนิบาตอาหรับ
ภูมิศาสตร์
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ตามสภาพภูมิศาสตร์นั้น เวเนซุเอลาแบ่งออกได้เป็น 4 ตอน กล่าวคือ ตอนที่เป็นที่ราบต่ำรอบทะเลสาบมาราไกโบ (Maracaibo) ตอนที่ราบสูงทางเหนือ ตอนที่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำโอริโนโก (Orinoco) และที่ราบสูงเดียนา (Diana)
ประวัติศาสตร์
แก้อาณานิคมสเปน
แก้คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสได้เดินทางมาถึงเวเนซุเอลาเมื่อ ค.ศ. 1498 พื้นที่ตรงนี้มีคนพื้นเมือง หลายเผ่า อาศัยอยู่ เช่นเผ่า อาราวัก คาริบ และชิบชา โคลัมบัสได้ยึดดินแดนแห่งนี้เป็นเมืองขึ้นของสเปนและตั้ง ชื่อดินแดน ที่เดินทาง มาถึงนี้ว่า เวเนซุเอลา ซึ่งแปลว่า เวนิสน้อยเพราะมีภูมิประเทศคล้ายกับเมืองเวนิส
เมืองหลวงการากัสได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1567 ซิมอน โบลิวาร์เกิดในเมืองหลวงนี้เมื่อ ค.ศ. 1783 และเขาเป็นบุคคลแรกในทวีปอเมริกาใต้ที่จับอาวุธลุกขึ้นสู้เพื่อกู้เอกราชของชาวลาตินอเมริกาจากแอกของนักล่าอาณานิคมชาวสเปนใน ค.ศ. 1818 และได้รับเอกราชใน ค.ศ. 1821 โดยใช้เวลาเพียง 11 ปีเท่านั้น
ประกาศเอกราช
แก้เมื่อได้รับเอกราชได้ประกาศเป็นประเทศกรันโคลอมเบียโดยรวมประเทศเข้ากับประเทศโคลอมเบีย และ เอกวาดอร์ แต่ต่อมาใน ค.ศ. 1830 ก็แยกประเทศออกมาเป็นประเทศสาธารณรัฐต่างหากมาจนถึงทุกวันนี้
การเมืองการปกครอง
แก้รูปแบบการปกครอง สหพันธ์สาธารณรัฐ (Federal Republic) ประกอบด้วย 1 เขตนครหลวง (federal district) 2 federal territories และ 72 federal dependencies
บริหาร
แก้ประธานาธิบดีเป็นทั้งประมุขของรัฐและหัวหน้าคณะรัฐบาล รวมถึงเป็นผู้แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งในระบบคะแนนนิยม วาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี (ไม่กำหนดวาระ สามารถดำรงตำแหน่งได้หากได้รับการเลือกตั้งต่อไป)
ที่ทำการประธานาธิบดี : ทำเนียบประธานาธิบดีมิราโฟลเรส (Miraflores Palace)
นิติบัญญัติ
แก้ระบบสภาเดียว (Unicameral National Assembly หริอ Asamblea Nacional) จำนวน 165 ที่นั่ง สมาชิกมาจากการเลือกตั้งระบบคะแนนนิยม วาระ 5 ปี อีก 3 ที่นั่งสำหรับชนพื้นเมืองของประเทศ)
ตุลาการ
แก้ศาลสูงสุดเรียกว่า Supreme Tribunal of Justice หรือ Tribunal Supremo de Justicia มีผู้พิพากษา 32 คน มาจากการเลือกตั้งโดยรัฐสภา (National Assembly) วาระการดำรงตำแหน่ง 12 ปี
การบังคับใช้กฎหมาย
แก้ระบบกฎหมาย : ระบบประมวลกฎหมาย ที่มีรากฐานมาจากระบบกฎหมายของสเปน
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้เวเนซุเอลาแบ่งเขตการปกครองออกเป็น
- 23 รัฐ (estado)
- ดิสตริโตกาปิตัล (Distrito Capital) ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงการากัส และ
- เดเปนเดนเซียสเฟเดราเลส (Dependencias Federales)
เขตการปกครอง | เมืองหลวง | เขตการปกครอง | เมืองหลวง |
---|---|---|---|
1) รัฐอามาโซนัส | ปวยร์โตอายากูโช | 13) รัฐเมริดา | เมรีดา |
2) รัฐอันโซอาเตกิ | บาร์เซโลนา | 14) รัฐมิรันดา | โลสเตเกส |
3) รัฐอาปูเร | ซานเฟร์นันโดเดอาปูเร | 15) รัฐโมนากัส | มาตูริน |
4) รัฐอารากวา | มาราไก | 16) รัฐนวยบาเอสปาร์ตา | ลาอาซุนซิออน |
5) รัฐบารินัส | บารินัส | 17) รัฐโปร์ตูเกซา | กวานาเร |
6) รัฐโบลิบาร์ | ซิวดัดโบลิบาร์ | 18) รัฐซูเกร | กูมานา |
7) รัฐการาโบโบ | บาเลนเซีย | 19) รัฐตาชิรา | ซานกริสโตบัล |
8) รัฐโกเฮเดส | ซานการ์โลส | 20) รัฐตรูฮิโย | ตรูฮีโย |
9) รัฐเดลตาอามากูโร | ตูกูปิตา | 21) รัฐยารากุย | ซานเฟลิเป |
10) รัฐฟัลกอน | โกโร | 22) รัฐลากวยรา | ลากวยรา |
11) รัฐกวาริโก | ซานฮวนเดโลสโมร์โรส | 23) รัฐซูเลีย | มาราไกโบ |
12) รัฐลารา | บาร์กิซิเมโต | 24) เดเปนเดนเซียสเฟเดราเลส | ไม่ปรากฏ |
เศรษฐกิจ
แก้โครงสร้างเศรษฐกิจ
แก้- ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) : 402.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
- GDP รายบุคคล : 13,200 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
- อัตราการเจริญเติบโต GDP : 5.7% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
- GDP แยกตามภาคการผลิต : ภาคการเกษตร 3.7%, ภาคอุตสาหกรรม 35.3%, ภาคการบริการ 61.1% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
- อัตราการว่างงาน : 8% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
- อัตราเงินเฟ้อ (Consumer Prices) : 20.9% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
- ผลผลิตทางการเกษตร : ข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อย ข้าว กล้วย ผัก กาแฟ เนื้อวัว เนื้อหมู นม ไข่ ปลา
- อุตสาหกรรม : ปิโตรเลียม วัสดุก่อสร้าง อาหาร สิ่งทอ เหมืองแร่เหล็ก เหล็ก อะลูมิเนียม ชิ้นส่วนมอเตอร์ยานพาหนะ
- อัตราการเติบโตภาคอุตสาหกรรม : 3.4% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2554)
- หนี้สาธารณะ : 49% ของ GDP (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
- ดุลบัญชีเดินสะพัด : 20.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
- มูลค่าการส่งออก : 96.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
- สินค้าส่งออก : ปิโตรเลียม บอคไซต์แลtอะลูมิเนียม เหล็ก เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เกษตร สิ่งประดิษฐ์ง่าย ๆ
- ประเทศคู่ค้า (ส่งออก)ที่สำคัญ : สหรัฐอเมริกา 40.2% จีน 10.5% อินเดีย 5.5% คิวบา 4% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2554)
- มูลค่าการนำเข้า : 56.69 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
- สินค้านำเข้า : วัสดุที่ยังไม่ได้แปรรูป เครื่องจักรและอุปกรณ์ อุปกรณ์การขนส่ง วัสดุก่อสร้าง
- ประเทศคู่ค้า (นำเข้า)ที่สำคัญ : สหรัฐอเมริกา 28.6% บราซิล 10.6% จีน 15.1% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2554)
- สกุลเงิน : โบลีวาร์ (bolivars) , สัญลักษณ์เงิน : VEB
อุตสาหกรรมและเกษตรกรรม
แก้สำหรับภาคอุตสาหกรรมการผลิต (manufacturing) (คิดเป็นร้อยละ 17 ของ GDP ของเวเนซุเอลา) ยังไม่อยู่ในสภาพแข่งขันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตเพื่อการส่งออก ยกเว้นอุตสาหกรรมการลงทุนภาครัฐที่ใช้เงินทุนสูง แม้ว่าในปี ค.ศ. 2005 มีอัตราการเจริญเติบโตร้อยละ 9 แต่ยังคงขาดแคลนการลงทุนจากภาคเอกชน ทั้งนี้ ผลิตผลที่สำคัญ ได้แก่ เหล็กกล้า อลูมินั่ม สิ่งทอ เสื้อผ้า เครื่องดื่ม และอาหาร สำหรับภาคอุตสาหกรรมการเกษตรคิดเป็นร้อยละ 5 ของ GDP และร้อยละ 10 ของการจ้างงาน โดยผลิตผลทางการเกษตรที่สำคัญได้แก่ ข้าว ยาสูบ ปลา ผลไม้เมืองร้อน (tropical fruits) กาแฟ โกโก้ (ในช่วงทศวรรษที่ 1960 และ 1970 เวเนซุเอลาเคยเป็นประเทศผู้ผลิตกาแฟ และโกโก้รายใหญ่ของโลก แต่ในปัจจุบันเวเนซุเอลาผลิตกาแฟเพียงประมาณร้อยละ 1 ของปริมาณกาแฟโลก และส่วนมากเพื่อการบริโภคภายในประเทศ) ทั้งนี้ เนื่องจากการหันเหความสนใจมายังอุตสาหกรรมน้ำมันที่สร้างรายได้หลักให้กับประเทศ อย่างไรก็ดี ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาได้มีความพยายามที่จะฟื้นฟูการปลูกและผลิตโกโก้ในเวเนซุเอลา (โกโก้ของเวเนซุเอลาบางชนิดได้ชื่อว่าเป็นโกโก้ที่ดีและมีกลิ่นหอมที่สุดในโลก และใช้สำหรับการผลิตช็อคโกแลตแท้ชั้นดีเท่านั้น) เวเนซุเอลายังไม่สามารถผลิตสินค้าเกษตรได้พอเพียงกับความต้องการภายในประเทศ ยังคงต้องนำเข้าสินค้าเกษตร เช่น ข้าวสาลี ข้าวโพด ถั่วเหลือง อาหารที่ทำจากถั่วเหลือง ฝ้าย ไขมันจากสัตว์ น้ำมันพืช ส่วนใหญ่นำเข้าจากสหรัฐ ฯ และโคลอมเบีย นอกจากนั้น การพึ่งพาการส่งออกน้ำมันทำให้เวเนซุเอลาได้รับผลกระทบจากความผันผวนทางเศรษฐกิจโลก หากราคาน้ำมันสูง นโยบายการใช้จ่ายงบประมาณจะมากขึ้นด้วย
รัฐบาลเวเนซุเอลามีนโยบายไม่เห็นด้วยกับการจัดทำ Free Trade Area of the Americas (FTAA) แต่มีนโยบายส่งเสริมบูรณาการภายในภูมิภาคอเมริกาใต้ ทั้งนี้ เวเนซุเอลาได้ลงนามในความตกลง Agreement for the Application of the Bolivarian Alternative for the Peoples of Our America and the Peoples Trade Agreements (ALBA) กับคิวบาและโบลิเวียเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 2005 และเมื่อวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 2006 ตามลำดับ โดยหวังว่า ความตกลง ALBA จะเป็นแนวทางการรวมตัวทางเศรษฐกิจและความร่วมมือในภูมิภาคตามแนวความคิดแบบสังคมนิยมและจะเป็นทางเลือกแทนการจัดทำความตกลงการค้าเสรีของภูมิภาคอเมริกาใต้ซึ่งมีสหรัฐฯ เป็นผู้สนับสนุนที่สำคัญ
โครงสร้างพื้นฐาน
แก้การคมนาคม และ โทรคมนาคม
แก้เส้นทางคมนาคม
แก้- เส้นทางรถไฟ : ระยะทางรวม 682 กิโลเมตร
- ระยะทางเส้นทางรถไฟความกว้างมาตรฐาน (Standard Gauge) : ความกว้าง 1.435 เมตร : 682 กิโลเมตร
- เส้นทางรถยนต์ : รวม 96,155 กิโลเมตร
- เส้นทางปรับพื้นผิวถนนแล้ว : 32,308 กิโลเมตร
- เส้นทางที่ไม่ได้ปรับพื้นผิวถนน : 63,847 กิโลเมตร
- เส้นทางน้ำ : 7,100 กิโลเมตร
หมายเหตุ : แม่น้ำโอริโนโค (Rio Orinoco) และทะเลสาบ เลค เด มาราไคโบ (Lake de Maracaibo) สามารถใช้เป็นเส้นทางลำเลียงทางน้ำไปสู่มหาสมุทรได้ แม่น้ำโอริโนโคยาว 400 กิโลเมตร
- การค้าทางทะเล : เรือสินค้า 59 ลำ, เรือต่างชาติ 12 ลำ, เรือจดทะเบียนในต่างประเทศ 12 ลำ
- ท่าอากาศยาน 375 แห่ง
การศึกษา
แก้ก่อนยุคชาเวซจะขึ้นสู่อำนาจ การศึกษาในประเทศเวเนซุเอลานั้นด้อยมาตรฐาน ประชากรส่วนใหญ่แทบอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้เพราะรัฐบาลในขณะนั้นมีการทุจริตคอรัปชั่นสูงมาก หลังฮูโก ชาเวซขึ้นสู่อำนาจ เขาได้ทุ่มงบนโยบายการศึกษาด้วยงบจากการขายนํ้ามันมาพัฒนาการศึกษาในประเทศ ทำให้ชาวเวเนซุเอลาสามารถอ่านออกเขียนออกได้และรู้หนังสือมากขึ้น
หมายเหตุ
แก้- ↑ ได้รับการยอมรับในฐานะประธานาธิบดีโดยสมัชชาแห่งชาติ, ศาลยุติธรรม, สภาการเลือกตั้งแห่งชาติ, กองทัพเวเนซุเอลา และสหประชาชาติ[3]
- ↑ ได้รับการยอมรับในฐานะประธานาธิบดีโดยศาลฎีกาพลัดถิ่นแห่งเวเนซุเอลา
อ้างอิง
แก้- ↑ "Resultado Básico del XIV Censo Nacional de Población y Vivienda 2011 (Mayo 2014)" (PDF). Ine.gov.ve. p. 29. สืบค้นเมื่อ 8 September 2014.
- ↑ Aguire, Jesus Maria (June 2012). "Informe Sociográfico sobre la religión en Venezuela" (PDF) (ภาษาสเปน). El Centro Gumilla. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 24 September 2015. สืบค้นเมื่อ 5 April 2015.
{{cite news}}
: ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ "Report of the Credentials Committee". United Nations General Assembly. สืบค้นเมื่อ 29 January 2020.
- ↑ "Venezuela (Bolivarian Republic of)'s Constitution of 1999 with Amendments through 2009" (PDF). constituteproject.org. สืบค้นเมื่อ 21 October 2020.
- ↑ "การประเมินประชากรโลก พ.ศ. 2560". ESA.UN.org (custom data acquired via website). United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. สืบค้นเมื่อ 10 September 2017.
- ↑ "Report for Selected Countries and Subjects". www.imf.org. สืบค้นเมื่อ 25 May 2019.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 "Report for Selected Countries and Subjects: October 2022". IMF.org. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 14 October 2022.
- ↑ "Income Gini coefficient". United Nations Development Programme. United Nations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 June 2010. สืบค้นเมื่อ 21 September 2015.
- ↑ "Human Development Report 2021/2022" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. 8 September 2022. สืบค้นเมื่อ 8 September 2022.
- ↑ "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- E-Government เก็บถาวร 2001-06-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (สเปน)
- Chief of State and Cabinet Members เก็บถาวร 2013-09-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Venezuela entry at The World Factbook
- Venezuela เก็บถาวร 2008-06-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at UCB Libraries GovPubs
- ประเทศเวเนซุเอลา ที่เว็บไซต์ Curlie
- Venezuela from the Library of Congress Country Studies (1990)
- Venezuela profile from the BBC News
- ดูข้อมูลทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ ประเทศเวเนซุเอลา ที่โอเพินสตรีตแมป
- Maps on Venezuela – Cartographic features เก็บถาวร 2013-01-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Key Development Forecasts for Venezuela from International Futures