รัฐเตลังคานา
เตลังคานา (ฮินดี: तेलंगाना; เตลูกู: తెలంగాణ; อูรดู: تلنگانہ) เป็นรัฐในประเทศอินเดียตั้งอยู่ทางใต้ตอนกลางของประเทศ[9] รัฐเตลังคานามีพื้นที่ 114,840 ตารางกิโลเมตร ใหญ่เป็นอันดับที่ 12 และมีประชากร 35,286,757 คน (เมื่อปี 2554) มากเป็นอันดับที่ 12 ของอินเดีย รัฐเตลังคานามีชายแดนติดกับรัฐอานธรประเทศทางทิศใต้และทิศตะวันออก รัฐมหาราษฏระทางทิศเหนือและทิศตะวันตกเฉียงเหนือ รัฐกรณาฏกะทางทิศตะวันตกและรัฐฉัตตีสครห์ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2014 รัฐเตลังคานาได้แยกตัวออกจากส่วนตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐอานธรประเทศ เป็นรัฐใหม่ลำดับที่ 29 โดยมีเมืองไฮเดอราบาดเป็นเมืองหลวง เมืองสำคัญอื่น ๆ เช่น วรังคัล, นิซามาบาด, ขัมมัม, กริมนคร เป็นต้น
เตลังคานา | |
---|---|
สถานที่ในเตลังคานา: จารมินาร์, ป้อมวรังคัล, ไฮเดอราบาดซิตี, สถานีรถไฟนิซามาบาด, น้ำตกกุนตลา, วังฟาลักนุมา | |
เพลง: ชย ชย เฮ เตลังคานา ชนนี (ไชโยแด่มารดาเตลังคานา!) | |
ที่ตั้งในประเทศอินเดีย | |
พิกัด (Telangana): 17°21′58″N 78°28′30″E / 17.366°N 78.475°E | |
ประเทศ | อินเดีย |
เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุด | ไฮเดอราบาด[1] |
อำเภอ | 33 |
การปกครอง | |
• องค์กร | รัฐบาลรัฐเตลังคานา |
• ผู้ว่าราชการรัฐ | ทมิฬิไส สุนทรราชัน[1] (Tamilisai Soundararajan) |
• Chief minister | เค. จันทรเศกร ราว (K. Chandrashekar Rao) (TRS) |
• นิติบัญญัติ | สองสภา (119 + 43 seats) |
• โลกสภา | ราชยสภา 7 โลกสภา 17 |
• ศาลสูง | ศาลสูงรัฐเตลังคานา |
พื้นที่[2] | |
• ทั้งหมด | 112,077 ตร.กม. (43,273 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | ที่ 11 |
ประชากร (2011)[2] | |
• ทั้งหมด | 35,193,978 คน |
• อันดับ | ที่ 12 |
• ความหนาแน่น | 307 คน/ตร.กม. (800 คน/ตร.ไมล์) |
เดมะนิม | ชาวเตลังคานา (Telanganite) / ชาวเตลูกู |
GDP (2019–20)[3][4] | |
• รวม | ₹9.7 แลกห์โคร (4.1 ล้านล้านบาท) |
• ต่อหัว | ₹228,216 (97,000 บาท) |
ภาษา | |
• ทางการ | ภาษาเตลูกู[5] |
• ทางการเพิ่มเติม | ภาษาอูรดู[5][6] |
เขตเวลา | UTC+05:30 (IST) |
รหัส ISO 3166 | IN-TG |
ทะเบียนพาหนะ | TS- |
เอชดีไอ (2018) | 0.669[7] กลาง · ที่ 22 |
การรู้หนังสือ (2011) | 66.46% |
^† เมืองหลวงร่วมกับรัฐอานธรประเทศชั่วคราว ไม่ถึง 10 ปี | |
สัญลักษณ์ของรัฐเตลังคานา | |
ตรา | กกาติยกาลโตรณัม, จารมินาร์ |
เพลง | ชย ชย เฮ เตลังคานา ชนนี ชยเกฐานัม[8] |
สัตว์ | กวางดาว[8] |
สัตว์ปีก | นกตะขาบทุ่ง[8] |
ดอกไม้ | Senna auriculata[8] |
ผลไม้ | ต้นมะม่วง |
ต้นไม้ | Prosopis cineraria[8] |
กีฬา | Kabaddi |
การปรับปรุงรัฐ
แก้ในเดือนธันวาคม 2496 คณะกรรมการปรับปรุงรัฐ (States Reorganisation Commission หรือ SRC) ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเพื่อจัดตั้งรัฐโดยคำนึงถึงภาษา[10] ต่อมา มีข้อตกลงระหว่างผูของเตลังคานาและอานธรประเทศเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2499 ให้ผนวกดินแดนเตลังคานาและอานธรประเทศด้วยความปรารถนาที่จะปกป้องผลประโยชน์ของเตลังคานาจนเกิดเป็นรัฐอานธรประเทศ
ด้วยข้อตกลงสุภาพบุรุษ รัฐบาลกลางจึงผนวกรัฐอานธรประเทศเป็นส่วนหนึ่งของประเทศเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2499
ขบวนการเตลังคานา
แก้มีความพยายามยับยั้งการผนวกดินแดนเตลังคานาเข้ากับอานธรประเทศในปี 2512, 2519 และ 2552 ส่งผลให้เกิดแรงกระตุ้นในการตั้งรัฐเตลังคานาเป็นเอกเทศจากรัฐอานธรประเทศ[11] จนในที่สุดรัฐบาลกลางอินเดียประกาศแผนการในการจัดตั้งรัฐเตลังคานาในที่สุดเมื่อ 9 ธันวาคม 2552
กระนั้น การเคลื่อนไหวหลากรูปแบบก็ยังเกิดขึ้นในนครไฮเดอราบาดและเขตอื่น ๆ ในเตลังคานา[12] มีผู้เสียชีวิตจากการการฆ่าตัวตายนับร้อยคน การนัดหยุดงานประท้วง และการจลาจลเพื่อเรียกร้องชีวิตของประชาชนที่เสียชีวิตเพื่อเรียกร้องการแยกรัฐดังกล่าว
การแยกตัวออกจากรัฐอานธรประเทศ
แก้30 กรกฎาคม 2556 คณะทำงานของรัฐสภา (Congress Working Committee) มีมติเอกฉันท์ให้เสนอแยกเตลังคานาออกจากรัฐอานธรประเทศ[13] มีการนำร่างรัฐบัญญัติปรับปรุงอานธรประเทศ 2014 (Andhra Pradesh Reorganisation Act, 2014 ) เข้าสู่รัฐสภาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2557 ร่างรัฐบัญญัติได้รับอนุมัติในเดือนเดียวกันเพื่อจัดตั้งรัฐเตลังคานาอันประกอบไปด้วยเขต 10 แห่งทางตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐอานธรประเทศ ร่างรัฐบัญญัตินั้นได้รับการลงนามจากประธานาธิบดีและเผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ 1 มีนาคม 2557
รัฐเตลังคานาได้รับการจัดตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2557 โดยมีการเฉลิมฉลองทั้งการจุดพลุตลอดคืน การแสดงจากกลุ่มวัฒนธรรม และการขับร้องเพลง "ชยชยเหเตลังคานา" (జయజయహే తెలంగాణ; Jaya jaya he Telangana) ซึ่งเป็นเพลงประจำรัฐ มากกว่า 150 ครั้ง
อย่างไรก็ตาม เมืองไฮเดอราบาดยังคงเป็นเมืองหลวงร่วมกันระหว่างรัฐเตลังคานาและรัฐอานธรประเทศต่อไปอีกอย่างน้อย 10 ปี[14]
อ้างอิง
แก้- ↑ "New Governors Appointed In 5 States, Tamil Nadu BJP Chief Gets Telangana". NDTV.com. 1 September 2019. สืบค้นเมื่อ 1 September 2019.
- ↑ 2.0 2.1 "Telangana Statistics". Telangana state portal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 December 2015. สืบค้นเมื่อ 14 December 2015.
- ↑ "Telangana Budget Analysis 2018–19" (PDF). Telangana Finance department. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-04-26. สืบค้นเมื่อ 26 April 2019.
- ↑ "MOSPI Gross State Domestic Product" (XLS). Ministry of Statistics and Programme Implementation, Government of India. 1 March 2019. สืบค้นเมื่อ 14 June 2019.
- ↑ 5.0 5.1 "Urdu is Telangana's second official language". The Indian Express. 16 November 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 February 2018. สืบค้นเมื่อ 27 February 2018.
- ↑ "Urdu is second official language in Telangana as state passes Bill". The News Minute. 17 November 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 June 2018. สืบค้นเมื่อ 27 February 2018.
- ↑ "Sub-national HDI – Area Database". Global Data Lab. Institute for Management Research, Radboud University. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2018. สืบค้นเมื่อ 25 September 2018.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 "Telangana State Symbols". Telangana State Portal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 May 2017. สืบค้นเมื่อ 15 May 2017.
- ↑ "Telangana".
- ↑ "History of India", Indian Saga. สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2557.
- ↑ "How Telangana movement has sparked political turf war in Andhra". Rediff.com. 5 กันยายน 2554. สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2555.
- ↑ "Pro-Telangana AP govt employees threaten agitation" เก็บถาวร 2014-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Economic Times. 10 กุมภาพันธ์ 2555. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2555.
- ↑ "Creation of a new state of Telangana by bifurcating the existing State of Andhra Pradesh". กระทรวงเพื่อมาตุภูมิแห่งรัฐบาลอินเดีย สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2556.
- ↑ Amid chaos and slogans, Rajya Sabha clears Telangana bill – NDTV, 20 กุมภาพันธ์ 2557